ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มกราคม, 2011

ขาดทุนไม่ใช่เรื่องแปลก

ช่วงนี้ถ้าพูดเรื่องขาดทุน คงจะเป็นของแสลงของใครหลายคน อันด้วยมาจากดัชนีที่ดิ่งตกลงเหวแบบไม่มีใครขาดคิด ผมไม่เห็นใครที่ไหนมาเตือนเลยว่าระวัง SET จะย่อตัวนะ จนกระทั้งมาเจอเหตุการณ์ ช๊อคชินิม่า ทำเอาหลายคนอึ้งกิมกี่ ไปตามๆกัน สิ่งที่ทำได้คงไม่ใช่การไปโทษฟ้า โทษดิน โทษฝรั่งว่าขายได้ยังไงกัน ไม่บอกกันล่วงหน้า (เอ้า ถ้าบอกกันล่วงหน้าจะขายได้ ราคาไหมอ่ะครับ) ผมเองคิดว่าเราควรโทษตัวเองมากกว่าที่ไม่ได้มีแผนสำรองรับมือเหตุการณ์แบบนี้ มันขายกับน้ำท่วมที่ผ่านมา เราไม่คิดว่ามันจะท่วม เลยไม่ได้รับมือเมื่อภัยมาถึงตัวก็สายเสียแล้ว การขาดทุน ไม่ใช้เรื่องแปลกครับ ตลอดการลงทุนมาคนที่ไม่เคยขาดทุน ไม่มีหรอกแม้แต่นักลงทุนระดับโลก ก็ยังขาดทุน สิ่งสำคัญไม่ใช่การหลีกเลี่ยงขาดทุน คนที่กลัวขาดทุน ควรเอาเงินไปฝังดินหรือฝากธนาคาร(จริงๆก็ขาดทุน เงินเฟ้อนะ) การลงทุนในหุ้น ยังไงก็มีโอกาสขาดทุน สิ่งสำคัญคือการจำกัดความเสียหายและ จำกัดโอกาสการขาดทุนต่างหาก จำกัดโอกาสการขาดทุน การจำกัดโอกาสการขาดทุนทำได้โดย การเลือกลงทุนในเกมส์ที่เรามีโอกาสชนะสูงมากกว่าแพ้ มี win/lose ratio มากกว่าหรือเท่ากับ 1 เช่นโอกาสชนะ 50% โอกาสแพ

เมื่อเทคนิคคอลไม่ง่ายอย่างที่คุณคิด!!!!

ช่วงนี้สินธรกลับมาคึกคักกันอีกรอบ จากการเปิดประเด็นถกเถียงทางวิชาการ เกี่ยวกับ การวิเคราะห์ราคาหุ้นทางเทคนิค(TA) ทำเอากระทบกระเทือนหลายคนที่ใช้กราฟราคาและการวิเคราะห์ทางเทคนิคในการลงทุน ต้องร้อนๆหนาวๆ เพราะเซียนระดับอาจารย์หลายคน ออกมาตั้งประเด็นถกกันอย่างสนุก (แต่หลังๆเริ่มออกแนวใช้อารมณ์แล้ว) กลุ่มฝ่ายที่สนับสนุน แนวคิดการหาสัญญาณซื้อขายจากดัชนีแบบที่ คุณหมอทั้งสอง(ขออนุญาติไม่เอ่ยนาม) ต่างยกเหตุผลสนับสนุนของการตัดสินใจซื้อขายตามสัญญาณจากเครื่องมือเช่น Stochastic,EMA,RSI MACD ส่วนอีกกลุ่มฝ่ายค้านนำทีมโดยอาจารย์ ป. ที่ยกเหตุผลที่น่าสนใจมาถกเรื่องของกราฟ เป็นเพียงการนำข้อมูลในอดีตมาคำนวณมันไม่สามารถใช้นำทางในอนาคตได้ และมีอีกหลายท่านที่หาตัวอย่างมาอภิปรายได้อย่าน่าสนใจ พร้อมอธิบายเหตุผลที่ว่า กราฟของคุณหมอที่สามารถบอกได้ว่า หุ้นจะขึ้นหรือลงนั้นเพราะ ตัดเอามาเฉพาะ case ที่ชัดเจน บางกรณีเป็นตัวอย่าง ซึ่งบางกรณีก็จะไม่เป็นจริง ลองไล่เรียงไปอ่านได้จากกระทู้ต่างๆดังนี้ 1. เริ่มต้นการอภิปราย http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/topic/I10144400/I10144400.html 2. แตกประเด็น - http://www

DCA (Dollar Cost Averaging)

เปิดต้นปีกระต่ายมาเกือบจะเดือนแล้ว ตลาดหุ้นปีกระต่ายเริ่มส่อแววไม่หมูสนามเหมือนปีที่ผ่านมา เพราะความผันผวนของดัชนีที่มีทั้งบวกแรง ลบแรงสลับกันไป คนที่ลงทุนใน Future ก็คงยิ้มได้เพราะที่ผ่านมาสองสัปดาห์มีทั้งขึ้นลงสลับกัน ซึ่งสามารถทำกำไรในขาลงได้ด้วย ต่างจากนักลงทุนหุ้น ที่ขาลงทีไรก็นั่งเซ็งเป็ดเซ็งห่านกันไปตามๆกัน  ที่น่าสงสารสุดๆน่าจะเป็นมือใหม่หัดลงทุน นี่ละครับที่มาเจอตลาด sideway ที่ซื้อตัวไหน เป็นลงทุกทีไป อุตสาห์ตื่นเช้ามาฟังนักวิเคราะห์ อ่านบทวิเคราะห์สารพัดหุ้นเด็ดที่เขาว่าจะมา ซื้อทีไรก็ดอยทุกที  ปัญหานี้มีทางแก้ครับ คือเลิกเล่นหุ้นตามข่าว ตามกระแส หันมาติดอาวุธทางปัญญาใช้ปัญญาวิเคราะห์สถานการณ์ด้วยตัวเอง ดีกว่าลงทุนไปตามๆกัน เพราะสัจธรรมของตลาดหุ้นคือ ถ้าลงทุนตามคนส่วนใหญ่มักจะไม่รอดครับ อีกทางในการแก้ปัญหาตลาด sideway แบบนี้คือการใช้วิธีการลงทุนแบบคลาสสิกง่ายๆคือ DCA (Dollar Cost Averaging) นั้นเป็นวิธีการแรกที่ผมศึกษาตอนที่เริ่มลงทุน เพราะเหมาะกับการลงทุนสำหรับมือใหม่ ไม่ซับซ้อนและมีความเสี่ยงที่ต่ำกว่าการไปเล่นหุ้นตามข่าว หรือการลงทุนครั้งละมากๆ ที่สำคัญมันสามารถแก

siam chart: on-line technical chart

ปัญหาใหญ่ของผมคือเรื่อง กราฟเทคนิคที่ส่วนมากมักจะใช้งานได้แต่บนระบบปฏิบัติการ windows OS ทั้ง efinace smart portal และ metastock แน่นอนว่าถ้าเป็นเครื่อง Linux ก็หมดสิทธิ และถ้าเป็น MAC ก็ต้องลง BootCamp หรือ VMWare นั้นก็ทำให้เครื่องช้าลงไปอีก และก็มีการค้างในบางครั้ง ดังนั้นเมื่อผมมาเจอ siamchart ออนไลน์เทคนิคคอลชาร์ตทำให้ค่อนข้างโดนใจมาก เพราะเป็น web application ที่ทำงานได้บน web browser ได้เลยไม่ต้องติดตั้ง activex หรือโปรแกรมอื่นๆ วันนี้มีเวลาของนำมา review ให้เพื่อนๆนักลงทุนได้อ่านดู ที่สำคัญท่านที่เป็น VI หรือนักลงทุนระยะยาวที่ไม่ต้องการใช้กราฟ real-time ท่านก็สามารถใช้ siamchart  ในการกำหนดจุดซื้อ จุดขายคราวๆได้ siamchart เริ่มต้นการใช้งาน ก็สามารถใช้งานได้ฟรี ผ่านทางเว็บบราว์เซอร์ทั่วไป ผมทดสอบกับ IE Chrome และ FF ผลปรากฏว่าทำงานได้ดี โดยเราสามารถเข้าไปใช้งานได้ที่ http://siamchart.com/ หน้าแรกแสดงดัชนีตลาดต่างๆ ฟีเจอร์หลัก - Quote ฟีเจอร์ Quote นั้น เป็นตารางดัชนีของตลาดต่างๆแบบ Real time แสดงการเคลื่อนไหวขึ้นลงของราคาดัชนีตลาดทั่วโลก - Fund ฟีเจอร์นี้ ผมชอบมากคือมันช

ว่าด้วย P/E

P/E เป็นอัตราส่วนทางการเงิน ยอดนิยมและสำคัญที่เราควรทำความรู้จักไว้ เพราะค่านี้เป็นค่าที่บ่งบอกความถูกและแพงของหุ้น หลายคนใช้เป็นเงื่อนไขในการซื้อ ขาย หุ้นอีกด้วย สืบเนื่องจากอารมณ์ค้างจากเมื่อวานที่คุณเรื่อง P/E กับพี่คนหนึ่ง ระหว่างนั่งซุ่มหัวกันล้วงแคะแกะเกางบการเงินของบริษัทหนึ่งในร้านอาหาร มันมีประเด็นเรื่อง P/E ที่ผมยังไม่เคลียร์เลยใช้เวลาทั้งวันทำการบ้านเพิ่ม ผลก็คือ อินเตอร์เน็ตช่วยได้ กระจ่างศาสตร์ขึ้นมาก ตอนนี้เลยอยากเขียนถึง P/E เพื่อแชร์ความรู้ไว้บนบล็อคสำหรับท่านอื่นๆที่ผ่านเข้ามา เผื่อว่าจะได้เก็บนำไปใช้ประโยชน์กัน P/E คืออะไร P/E หรือ PER คือ Price/Earning per Share (EPS) เป็นอัตราส่วนที่ใช้อนุมานความถูกและแพงของตัวหุ้น(กิจการของบริษัท) โดยใช้ราคา หารด้วย EPS(กำไรสุทธิต่อหุ้น) ค่าที่ได้เป็นจำนวนเท่า โดยถ้ามองการเติบโตที่คงที่ ก็จะทำให้ทราบปีที่จะคุ้มทุน ตัว EPS นี่ละครับ เป็นเหมือนหัวใจของ P/E อีกตัว ถ้าดูข้อมูล P/E ที่ใช้กัน EPS อาจจะใช้ข้อมูลผลประกอบการในอดีต 4Q ย้อนหลังมาคิด หรืออาจจะใช้ข้อมูลการประมาณการผลประกอบการ(เดา)ในอนาคตมาร่วมด้วย P/E ไม่คงที่แปรผันตามเวลา เน