ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Book Review: The quants

 พอดีช่วงนี้กำลังอ่านหนังสือเรื่อง "The Quants: How a New Breed of Math Whizzes Conquered Wall Street and Nearly Destroyed It" ของ Scott Patterson น่าสนใจเลยนำมาแนะนำต่อ เรื่องราวเกี่ยวกับ quantitative analysis ที่ถูกนำมาใช้ในการเก็งกำไรในตลาดหุ้น wall street เขียนโดย คุณ Scott Patterson


ในหนังสือ คุณ Scott Patterson ซึ่งเป็นนักข่าวสายการเงินที่คร่ำหวอด ได้สัมภาษณ์คนดังที่ประสบความสำเร็จสาย Quant หลายคนทั้งทีเป็น Developer , Trader และเป็นผู้จัดการกองทุน hedge fund ต่างๆ 

ได้แก่ Jim Simons จาก Renaissance Technologies (ไม่ได้สัมภาษณ์โดยตรงแต่เก็บข้อมูลและสักถามผ่านผู้ร่วมงาน), Ken Griffin จาก Citadel Investment Group, Cliff Asness จาก AQR Capital, Peter Muller จาก Morgan Stanley's PDT (process driven trading) hedge fund, and Boaz Weinstein จาก Saba Capital (previously at Deutsche Bank) แต่ละคนชื่อชั้นระดับตำนานของวงการ คนเหล่านี้แตกต่างจากนักลงทุนในวอลสตรีท ยุคนั้นตรง เป็นนักลงทุนแนวเก็งกำไร ที่ทำกำไรได้หลายพันล้าน จากความไม่เป็นเห็นเป็นผลของราคาหุ้น ที่เกิดในระยะสั้น ระยะกลาง ผ่านการวิเคราะห์ ประมวลผลข้อมูลด้วยโมเดลคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อน บวกกับการทำงานของคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง เพื่อสร้างกลยุทธการซื้อขาย เข้าทำกำไร

ในหนังสือเล่มนี้ ผมชอบชื่นชอบเรื่องราวของ James Simons จาก Renaissance Technologies ที่่สุด เพราะ James Simons ถือเป็น idol คนหนึ่งของผม ในด้านการเก็งกำไร ชอบวิธีคิด ความเป็นเหตุเป็นผลและการยึดถือระบบการลงทุุนที่ตั้งอยู่บน สมการคณิตศาสตร์ของเขา James Simons เจ้าของ Renaissance Technologies บริหารกองทุน Hedge Fund ที่ใหญ่อันดับต้นๆของโลก เป็นเฮ็ดฟันด์สาย Quant เน้นการใช้โมเดลคณิตศาสตร์ในการเทรดเป็นหลัก บริษัทนี้จ้างหัวกระทิด้าน คณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์มาทำงาน สร้างโมเดลการลงทุนและการเก็งกำไรในตลาดหุ้นและตลาดเงิน เรียกว่าเป็นเฮ็ดฟันด์ที่ประสบความสำเร็จมากในอเมริกา แน่นอนว่าความเครียดในการทำงานก็มีสูง เทรดเดอร์หลายคนนักคณิตศาสตร์ดีกรีระดับด๊อกเตอร์ที่ได้รับค่าตอบแทนสูง  ส่วนตัวคุณลุงไซมอน ค่อนข้าง low profile ไม่เปิดเผยตัว หรือข้อมูลกับสาธารณะมากนัก ไม่ชอบสัมภาษณ์ ไม่ออกรายการทีวี แบบกูรูคนอื่นๆ เขาหลงใหลคณิตศาสตร์และเป็นนักคณิตศาสตร์ระดับหัวกระทิของอเมริกา ปัจจุบันมีสินทรัพย์ถึง $10.6 billion คนนี้ถึงจะแก่แต่เก๋าเกมส์ จัดเป็นบุคคลในตำนานและเป็นเฮ็ดฟันที่ประสบความสำเร็จคนหนึ่งของโลก 



มาถึงตรงนี้คนที่ไม่คุ้นเคย อาจจะสงสัยว่า Quant ที่เรียกกันคืออะไร Quant นั้นคำย่อเรียกมาจาก Quantitative analysis  ที่นำข้อมูลเช่น ราคา , ปริมาณการซื้อขาย บน ช่วงเวลา นำมาผ่านสมการคณิตศาสตร์เพื่อประมวลผล ทั้งแบบการหาค่าความสัมพันธ์ สหสัมพันธ์ระหว่างสองตัวแปร ติดตามรูปแบบการเคลื่อนที่และพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงของราคา รวมถึงการพยากรณ์แนวโน้มในอนาคต เป็นต้น โดยเป็นที่นิยมมากใน fund ต่างๆของอเมริกา ก็จะมีสาย Quantitative Trading โดยเฉพาะเน้นเอานักคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ และนักคอมพิวเตอร์ มาสร้าง mathematical models เพื่อใช้เป็นกลยุทธในการทำกำไร จากการเปลี่ยนแปลงของหุ้น หรือสัญญาล่วงหน้า ที่พบบ่อยๆพวก Algorithmic trading เช่น High Frequency Trade, Statistic arbitrage เป็นต้น พวกนี้จะแตกต่างจากกองทุนที่ลงทุนแบบนักลงทุนที่เน้น การดูพื้นฐานกิจการ หรือโมเดลธุรกิจ(Fundamental) เพราะทุกอย่างที่ใช้ตัดสินใจซื้อขาย สำหรับ Quant นั้นอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลตัวเลขเป็นหลัก คนละแนวทางกับ  Warren Buffett หรือ Peter Lynch

อ่านหนังสือเล่มนี้แล้ว รู้สึกว่าสนุกดีเหมือนได้ไปผจญภัยในวอลสตรีท แต่เสียดายที่หนังสือเขียนแค่ถึงต้นปี 2007 ผลงานหลายๆเฮ็ดฟันด์ เรียกว่าสุดยอดเพราะตลาดยังอยู่ในช่วง super peak ถ้าเลยมาถึง 2008 ช่วง ซับไพร์ม ก็อยากรู้เหมือนกันว่า ผลจะเป็นอย่างไร กองทุนไหนจะเหลือรอดหรือเจ็บต้วน้อยที่สุด   ส่วนตัวผมศึกษาเรื่อง Quantitative analysis มาพอสมควรเพราะมีโอกาสได้ใช้ตอนทำงาน พอเข้ามาในตลาดหุ้นเลยนำเอามาประยุกต์ใช้ 

หลายอย่างอาจจะคล้ายคลึงกับเครื่องมือ Technical analysis ที่เราเคยผ่านตามา แต่แน่นอนว่ารายละเอียดแตกต่างกันมหาศาล เพราะมันไม่ได้สนใจแค่กราฟิค แค่ตัดขึ้นขายตัดลงซื้อ แต่จำเป็นต้องโฟกัสที่ทีสมการ และค่าพารามิเตอร์ต่างๆที่นำมาใช้ รวมถึงการสังเคราะห์และประมวลผลข้อมูล ให้ได้ค่าสัญญาณออกมาเพื่อนำมาใช้ แน่นอนว่าตลาดหุ้นไทยยังไม่อำนวยหรือเปิดมากขนาดนั้น โดยเฉพาะการเข้าถึงข้อมูลเรียลไทม์ แต่อนาคตผมว่าเราก็คงพัฒนากันมากขึ้นไปครับ หวังว่านะ



ตัวอย่างระบบเทรดแบบ volatility breakout system ที่ผมกำลังพัฒนาและทดลองใช้เทรดแบบเก็งกำไรรายวัน ในตลาดทองคำ พัฒนาระบบเทรดอัตโนมัติบน Mt4 platform