ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

อะไรที่ดีเกินจริง มันมักไม่เป็นจริง

เมื่อวานพูดถึงเรื่อง Bernard Madoff ประเด็นการหลอกหลวงครั้งใหญ่ใน wallstreet มูลค่าเสียหาย $18 billion เกมส์การเงินแบบ poncy scheme ที่ Madoff ใช้หลอกนักลงทุน และกองทุนต่างๆให้มาลงทุนผ่านการตกแต่งบัญชี และผลการลงทุนที่สวยงามเกินจริง ซึ่งหลอกให้เหล่า นักการเงินมืออาชีพ,ผู้จัดการกองทุนให้ช่วยหาเงินจากนักลงทุนมา ใส่กองทุนของ Madoff ตลอดหลายปีที่ผ่านมา

วันนี้นำข้อมูลมาขยายความเพิ่มโดยในภาพนี้นำมาจาก Google Investment talk ที่ Andrew W. Lo ไปบรรยายเรื่อง Adaptive Markets ในช่วงนี้คุณ Lo พูดถึง Adaptive Risk perception ที่นักลงทุนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะมืออาชีพ แม้จะ loss aversion หนีความเสี่ยงแต่ก็ยังโดนหลอกจากการถูกดึงดูดเข้าหา High return และ low risk หรือ High sharpe ratio จุดนี้คุณ Lo บอกว่าเรื่องมุมมองเกี่ยวกับความเสี่ยง(Risk) ของแต่ละคนนั้นแตกต่างกันไปและเป็นเรื่องที่มักโดนจัดการปรุงแต่ง ทำให้เชื่อหรือเข้าใจผิดได้ง่าย



จากการสอบถามผู้ฟังบรรยายในคลาสด้วยข้อมูลในภาพก่อนเฉลย คนส่วนใหญ่มักจะเลือกลงทุนบน asset เส้นสีดำ ซึ่งเส้นนี้เป็นผลตอบแทนสะสมระยะ 10 กว่าปีจากการลงทุน $1 ไป $7 (ผลตอบแทนราวๆ 700%) ของเฮ็ดฟังด์ชื่อ FairField sentry ที่เป็น feeder fund ให้ Madoff แต่สุดท้าย ผลลัพธ์ที่ออกมาคือ กลายเป็น 0 เพราะกองทุน Madoff ต้องล้มหลังวิกฤติการเงิน 2008
ในภาพนี้เป็นตัวอย่างที่ดีที่เห็น Madoff ใช้จิตวิทยา+การปรุงแต่งข้อมูลผลตอบแทน มาหลอกขายดึงดูดนักลงทุน แต่ถ้ามองสถิติผลตอบแทนในแต่ละช่วงเวลาเทียบกับภาวะตลาดจะพบความไม่ปกติที่เกิดได้เช่นกัน(แต่คนที่สงสัยหรือตั้งคำถาม มักโดนอิทธิพลของ Madoff ปิดปากทำให้กองทุนรันมาได้หลายปี)
สุดท้ายเมื่อมองข้ามสิ่งที่ "ดีเกินจริง"(too good to be true) และเชื่อมั่นมากเกินไปก็ทำให้เราตกเป็นเหยื่อได้ง่าย ดังนั้นบางทีก็ควรตั้งคำถาม ลงมือค้นหาข้อมูลในสิ่งที่สงสัยให้เข้าใจ ก่อนหลงเอาเงินที่มีไปร่วมลงทุนเพื่อหวังผลตอบแทนในอากาศดีเกินจริงครับ
อ้างอิงจาก