ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์ที่มีป้ายกำกับ Money Management

Money Management เบื้องต้น

 แนะนำการบริหารจัดการเงินแบบ Fixed Fractional Money Management โมเดลการคำนวณหาค่า Risk Per Trade ด้วยการกำหนดขนาดของการขาดทุนสูงสุดที่รับได้เป็นค่า %risk  แปรผันไปตามเงินทุนที่มีในพอร์ต(free margin) หรือสัดส่วน Equity Model ที่หักค่ามูลค่าสัญญาที่เปิดก่อนหน้า  (โดยไม่ได้คิดจาก balance ที่มีทั้งหมด) https://www.youtube.com/watch?v=Maz1K-jW07Q

นิยามความเสี่ยง (Defining Risk)

  เช้านี้ได้อ่านบทความหนึ่ง,น่าสนใจเลยนำมาสรุปประเด็นสำคัญๆ ให้ฟังกัน หลายสิ่งหลายอย่าง หลายเหตุการณ์(event) ในชีวิตล้วนไม่เที่ยงแท้แน่นอน 100% , ดังนั้นจึงมันไม่มีอะไรที่ไม่เสี่ยง(Risk) , ทุกการตัดสินใจบนความไม่แน่นอน(uncertainty) ผลลัพธ์ที่เกิดย่อมมีโอกาสจะผิดพลาด และเกิดผลลัพธ์เชิงลบ(loss) ตามมาได้เสมอ แต่ความเสี่ยง(Risk) ก็ไม่ได้น่ากลัว เสมอไปเพราะ เราสามารถจัดการ Risk ได้ หรือควบคุมความเสียหายหรือผลลัพธ์ด้านลบ(loss) ได้เสมอ โดยการกำหนดขนาดของการเดิมพัน(exposure), ในการปฏิสัมพันธ์กับความเสี่ยงนั้นๆ Key คือการไม่ประมาท ไม่มี Bias ในการตัดสินใจดำเนินการใดๆ , วิเคราะห์ข้อมูล ประเมินความน่าจะเป็น(Probability)ของผลลัพธ์ให้ออก, จากนั้นวางแผนกำหนด ขนาดของการเดิมพัน(exposure) ให้เหมาะสมกับความเสี่ยงที่อาจจะเกิด การตัดสินใจที่ดี มีประสิทธิภาพ ไม่ได้แปลว่าต้องถูกเสมอไป แต่มันคือการตัดสินใจที่ปราศจากอคติ(Bias) และวางแผนรับมือความเสี่ยงหรือผลเชิงลบจากความผิดพลาดไว้ล่วงหน้าเสมอ ดังนั้นพื้นฐานการเทรด ไม่ว่าจะเทรดหุ้น หรือเทรดคริปโต ควรจะเริ่มจากการเข้าใจความเสี่ยง(Risk) และมีกลยุทธ์การจัดการควา

Asymmetric Risk in Trading Strategies

 จาก คลิปการบรรยาย Trade like Jesse Livermore ที่ได้แชร์ไปก่อนหน้า มีประเด็นหนึ่งที่ผมได้พูดเรื่อง Risk Reward Ratio ไว้ว่าการวัดความคุ้มค่าแบบนี้ มันเหมาะใช้กับ Trend Following , หรือ Momentum Trading ที่เราเน้นการถือ Position มีระยะเวลาถือครองสถานะระดับหนึ่ง เพื่อให้เกิด Profit Run จากการเติบโตของเวลา ดังนั้นมันจึงเหมาะสมลงตัว แต่กลุ่ม Volatility Trading strategies เช่น HFT, Scalping , GRID, Mean Reversion มันเทรดตาม volatility ธรรมชาติของความผันผวน มันจะกินเวลาที่สั้นหรือจำกัดอยู่แล้ว ดังนั้นการเทรดถ้าถือสถานะยาว อาจจะไม่ได้เปรียบหรือเกิดประโยชน์ต่อกลยุทธ์ Volatility Trading ดังนั้นพวกนี้เขาจะไม่ได้เปรียบเทียบความคุ้มด้วย RRR จากการเทรดครั้งต่อครั้ง แต่แนวทางจะใช้สิ่งที่เรียกว่า Asymmetric Risk อธิบายสั้นๆ คือ เทรดพวก Limit Risk แต่หาประโยชน์จาก Return ที่เกิดในช่วงสินทรัพย์ผันผวนสูง(ตรงข้ามกับพวกที่เล่น High Risk ,หวัง High Return บนสินทรัพย์เสี่ยงนะ) โดยใช้ Risk management และ Money management จำกัด Downside ที่เกิดจากการเทรด ให้มากที่สุด, เราจะเห็นการเทรดสถานะย่อย,การเข้าออกหลายร

แนะนำแนวทางเริ่มศึกษา Money management

  เมื่อวานมีน้องท่าหนึ่งอยากให้แนะนำเรื่อง Money management ผมจึงแนะนำให้เริ่มจากลงอ่าน paper ที่ชื่อ History of Money Management จะเข้าใจแนวคิดของการดำเนินกลยุทธ์ด้าน Money Management แบบต่างๆมากขึ้น โดยเฉพาะถ้าเทรดอนุพันธ์ เช่น Futures ,CFDs, เป็นต้น พวกนี้จะมีความสำคัญมาก ต่อ ผลกำไร/ขาดทุนที่เกิด ทำให้มันมีการต่อยอดสร้างโมเดลกลยุทธ์ต่างๆ ในการบริหารเงินออกไป คุณ Martin Sewell จาก University College London เรียบเรียงบทความวิชาการเกี่ยวกับ Money Management ไว้ได้น่าสนใจมากโดยเฉพาะส่วนของประวิติศาสตร์สะท้อน timeline ด้านองค์ความรู้ตลอดหลายสิบปี มีนักวิชาการและนักคณิตศาสตร์อีกหลายท่าน ที่นำเสนอบทความ เทคนิคและกลยุทธ์ด้านการบริหารจัดการเงิน ขอยกตัวอย่างเบื้องต้นมาให้ดู เริ่มตั้งแต่สมัย Bernoulli (1738) ใช้ geometric mean การคำนวณ value of risky ตามมาด้วย Latan´e(1959) นำเอา Kelly criterion มาประยุกต์ใช้กับการบริหารจัดการพอร์ตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพผลตอบแทน เช่นเดียวกับ Edward O. Thorp(1962) ตีพิมพิ์บทความวิชาการการใช้ Kelly criterion สำหรับหาขนาดของการเดิมพัน(bet sizes) นอกจากนี้ Thorp ยัง

Hurst Exponent และกลยุทธ์การเทรดขั้นสูง

  วันนี้ได้อ่าน paper หนึ่งน่าสนใจดี เลยอยากนำมาสรุปไว้คราวๆ เพราะสัปดาห์ก่อนผมเคยได้พูดถึงเทคนิค Hurst Exponent ในการวิเคราะห์ TSA ไปเช่นกัน ซึ่งเป็นเทคนิคเบื้องต้นในการใช้ ค่า Hurst Value เพื่อวัดความคงตัวของ Trend (รวมถึงการดูภาวะการกลับทิศหรือการย่อตัวของเทรนด์) และการเฝ้าระวังภาวะความผันผวนที่เกิดขึ้น(โดยเฉพาะการเข้าภาวะ sideway) Hurst Exponent ไม่ใช่เรื่องใหม่มีการใช้เยอะพอควร ปัจจุบันมีเป็นเครื่องมือเทคนิคอลกลุ่ม Modern Technical analysis(ช่วงหลังปี 2002 มีการนำ Hurst Exponent มาใช้เป็นเครื่องมือในการเทรด) แต่ paper นี้ "Short Term Trading Models Using Hurst Exponent and Machine Learning" น่าสนใจ ผู้วิจัยเอา Hurst Exponent มาใช้ทำ segment data ใน Machine Learning เพื่อ trainning โมเดลในการประเมินหรืออนุมานรูปแบบของ Trend ในราคาสินทรัพย์ต่างๆ เช่น S&P500 , Gold , Bitcoin เป็นต้น เพื่อกำหนดรูปแบบกลยุทธ์การเทรด ระหว่าง Mean Reversion และ Trend Following เทรนโมเดลจากข้อมูล 2010 - 2018 และทดสอบผลกับข้อมูลช่วง 2019-2020 จากผลการทดลอง การอนุมานในระยะสั้น short term tr

Risk of Ruin

  วันนี้มีบรรยายเรื่อง Risk of Ruin ในหัวข้อ "การวิเคราะห์โอกาสหมดตัวด้วย Risk of Ruin" เนื้อหาจะอธิบายเทคนิคการวิเคราะห์ ROR เพื่อวัดความแข็งแกร่งของระบบเทรด, และเรียนรู้เรื่องการ optimize ขนาดของ Risk Per Trade เบื้องต้นเพื่อทำให้ ระบบมีค่า ROR ในระดับที่ต่ำ เพื่อการอยู่รอดในตลาดจริง , โดยจะสอนวิธีคิดทั้งโมเดลแบบของคุณ Perry J. Kaufman และของคุณ Ralph Vince รวมถึงตัวอย่างการคำนวณ และสอนวิธีการใช้ Risk of Ruin Calculator สำหรับการประเมินระบบเทรด จาก MyFXbook ให้ได้ทดลองใช้งานจริงในการเทรด อีกด้วย เวลา 20.00 ท่านที่สนใจติดตามได้จา link ด้านล่าง, https://youtu.be/tGtIYt4kVC8

The Mathematics of Money Management

รีวิว The Mathematics of Money Management: Risk Analysis Techniques for Traders ของคุณ Ralph Vince เนื่องจากมีหลายท่านๆ โดยเฉพาะน้องๆเทรดเดอร์มือใหม่ สนใจอยากให้ช่วยแนะนำ แม้หนังสือเล่มนี้จะเป็นหนังสือเก่าแต่ก็เป็นหนังสือด้าน Money management ที่ดีที่สุดเล่มหนึ่งเลยที่มีออกขาย โดยยุคเริ่มต้นหนังสือที่เขียนถึง MM จะมาคู่กับกลุ่ม Trend Following สะเยอะ โมเดลยุคนั้นก็ไปด้าน Fixed Fractional ซึ่งก็มีข้อจำกัดในการใช้งานโดยเฉพาะในตลาดฟิวเจอร์ที่มีความผันผวน, ส่วนใหญ่,ยุค 1962 มีหนังสือของคุณ Edward O. Thorp ที่นำเสนอแนวทางของ Kelly criterion ในการบริหารเงิน(หลังจากนั้นคุณ Thorp ออกหนังสืออีกหลายเล่มเขียนถึงเรื่องนี้), ในปี 1992 คุณ Ralph Vince ซึ่งเป็นเทรดเดอร์และนักพัฒนาระบบเทรดที่สนใจเรื่องโมเดลการบริหารเงิน เขาก็ได้ออกหนังสือชื่อ The Mathematics of Money Management ที่เกี่ยวกับการบริหารเงิน ,การบริหารความเสี่ยงในการใช้ระบบเทรด เล่มนี้เป็นอีกเล่มที่มีการกล่าวถึงเยอะ เพราะเขาได้เผยแพร่โมเดล Optimal f ของการปรับประยุกต์ใช้ Kelly criterion ในการหา position size ในการเทรดทีเหมาะสม ไม่ให้เสี่ย

Volatility scaling (ตัวอย่างการคำนวณและการอธิบายเพิ่มเติม)

  Volatility scaling แนวคิดการใช้ข้อมูล volatility ที่เป็นตัวแทน asset rsik มาทำการร่วมคำนวณปรับค่า Position size ให้เหมาะสมกับพฤติกรรมราคาในตลาด , เพื่อเพิ่มความสามารถในการบริหารเงิน และการถือครองสถานะสัญญา ให้รอดพ้นความผันผวนระยะสั้นที่เกิด , เพิ่มประสิทธิ์ภาพการจัดการความเสี่ยง ลดปัญหาเรื่องการเกิด consecutive loss หรือการเสีย stoploss บ่อยๆ หรือแม้กระทั่งการโดนบังคับ liquidation สัญญาจากการผันผวนของราคาสินทรัพย์ที่เทรด จากคลิปบรรยายเรื่อง "A Century of Evidence on Trend-Following Investing" จะพบว่าเทคนิค Volatility scaling มีส่วนช่วยเรื่องการอยู่รอดของระบบเทรดใช้กลยุทธ์ time-series momentum ระยะยาวในภาวะตลาดต่างๆ ซึ่งในหนังสือ Leverage trading ของคุณ Robert Carver ที่ได้รีวิวไปนั้นก็มีการกล่าวถึงเทคนิคนี้ ดังนั้นผมได้นำเอาตัวอย่างการคำนวณ หาค่า Leverage ที่เหมาะสมจากเทคนิค Volatility Scaling ,มาขยายความเพิ่มเติม ต่อให้ เพื่อคนที่เทรด FX , TFEX หรือ Crypto Futures จะได้นำไปปรับประยุกต์ใช้ ปล. กรณีที่ไม่ได้คำนวณ volatility เอง , เราสามารถใช้ค่า Volatilty จากข้อมูลใน Trading

"การปรับต้นทุน" กับ การเทรด

  เมื่อคืนไปพูดที่ CH เรื่อง sytematic trading ,ประเด็นหนึ่งพูดไว้คือเรื่องของ"การปรับต้นทุน" กับการเทรด แนวคิดนี้หลักๆผมนำมาจากหนังสือด้าน Portfolio management และประยุกต์กับแนวคิด "คลายเครียดเรโซ" (มหาภาคและจุลภาค) ของ เฮียเอ็นโดฟิน ,แม้จะไม่ได้ทำให้เราได้รับ Max Profit แต่ก็สามารถช่วยทำให้ลดความเสี่ยงรวมของพอร์ตและคุม Downside Risk ได้ดีมาก, เทคนิค คลายเครียดเรโซ ของเฮียเอ็นโดฟิน แม้จะมีการนำเสนอมานานแล้ว แต่ทุกวันนี้ยังประยุกต์ใช้ได้เพื่อการอยู่รอด + ทำให้สามารถเสริมเรื่องสภาวะจิตใจในการลงทุน/การเทรด(เมื่อดึงทุนออก ความกังวลกับราคาหุ้นในอนาคตลดลง เช่นเดียวกับความเสี่ยงหรือผลกระทบเชิงลบจาก position นั้นที่จะเกิด) ช่วงตลาดไม่แน่นอนได้อีกด้วย สมการทั้ง คลายเครียดเรโซมหาภาค(ปรับ rebalance portfolio) และจุลภาค(ปรับต้นทุนการเทรดแต่ละ position) แนวทางลองดูในพันทิป จากลิงค์ด้านล่างได้ ไม่ซับซ้อน แต่เพื่อขยายมุมมองและ mind set ผมนำสรุป บทสัมภาษณ์ของเฮียเอ็นโดฟิน( ธานินทร์ งามวิทยาพงศ์) ประเด็นสำคัญมากให้คราวๆดังนี้ 1. อย่าโลภเกินความรู้ ไม่รู้อะไรอย่าเข้าไปยุ่ง ระวั

Leverage trading By Robert Carver หนังสือที่ดีที่ควรอ่าน

พอดีเมื่อวันเสาร์รีวิวหนังสือ Leverage trading และได้พูดเรื่องของคุณ Robert Carver ผู้เขียนไว้นิดหน่อย มีคนสนใจถามเข้ามาเยอะมาก อาจจะเพราะส่วนหนึ่งไม่เคยคุ้นชื่อหรืออาจจะไม่รู้จัก แต่ถ้าตามอ่านบทความ หรือเคยอ่านงานวิจัยด้าน หรือดูคลิปบรรยายด้าน qaunt น่าจะเคยรู้จักชื่อของคุณ Rob บ้างไม่มากก็น้อย เพราะก่อนจะออกเล่มนี้ หนังสือสองเล่มของเขา Systematic Trading และ portfolio management ก็ค่อนข้างจะดัง (และดีงามมาก อยากแนะนำอีกเช่นกัน) โดยหนังสือเล่มนี้ น่าจะเหมาะกับคนที่เทรด CFDs, TFEX หรือ Crypto Futures แฟนๆของไบแนนซ์ เป็นอย่างดี ถ้าสนใจอยากหาข้อมูลของคุณ Rob แนวคิดการเทรดและการทำงาน ลองเข้าไปดูในบทที่ 13 จากหนังสือ Robust trading system ของกระผมได้ ซึ่งได้ทำสรุป รวบรวมแนวคิดของกูรูระดับโลก อย่างเช่นคุณ Robert Carver ไว้ เพื่อให้ได้ลองศึกษากัน ฟังคลิป https://www.youtube.com/watch?v=C23ohxn3Lss รายละเอียดหนังสือ หนังสือหุ้น 31 เคล็ดลับการเทรดเพื่อเอาชนะตลาดอย่างยั่งยืน ( Robust trading system) https://bit.ly/3x6qoxg No matter what leverage I use, the Sharpe ratio will be the same. Hence

เทรดคริปโตฟิวเจอร์ยังไงไม่ให้หมดตัว

หัวข้อถามมาตอบไป เรื่อง เทรดคริปโตฟิวเจอร์ยังไงไม่ให้หมดตัว เป็นหัวข้อคำถามที่มีคนถามมาเยอะคล้ายๆกัน และเป็นหัวข้อที่ยากแต่พยายามจะอธิบายให้เห็นภาพรวมให้เข้าใจง่าย โดยครอบคลุมเรื่อง basic risk management, Money management และ Loss management เพื่อเป็นแนวคิดเบื้องต้นในการเทรด crypto currency futures และน่าจะช่วยในการวางแผนก่อนเทรด เพื่อจะได้ไม่ต้องล้างพอร์ตอีกต่อไปครับ ฟังคลิปบรรยายที่ https://www.youtube.com/watch?v=Zqe-hF08QhM Lecture Note

ล้างพอร์ตคือหายนะ มันไม่ควรเป็นเรื่องปกติสำหรับเทรดเดอร์ล้างพอร์ตคือหายนะ มันไม่ควรเป็นเรื่องปกติสำหรับเทรดเดอร์

เมื่อวาน Bitcoin ราคาเปิดบวกปรับตัวไปทำ High ของวันที่ 52956 ก่อนเริ่มไหลลงมาพักที่ 51000 แล้วราคาดิ่งนรกด้วยแรงขายชุดใหญ่ ราคาลงแบบ High Volatility จากแนว 51000 ไปทำ low ที่ 42900 ในเวลาไม่ถึง 2 ชม. ก่อนดีดกลับมาพักแถว 47000 รอบนี้มาพร้อมข่าวดีในการซื้อ BTC ชุดใหญ่ของรัฐบาลเอลซัลวาดอร์ ที่โหมประโคม , แต่เหมือนจะมีการเทขายทำกำไรจากรายใหญ่ที่ทำให้ราคา BTC ในวันร่วงลงได้ -18.8% เช่นเดียวกับ Alt coin อื่นๆส่วนใหญ่ที่ราคาร่วงลงแรงเฉลี่ยราวๆ -20% เช่นกัน เรียกว่าเป็นการร่วงลงรุนแรงของตลาดคริปโต ในรอบหลายสัปดาห์ หลังปรับตัวขึ้นมาต่อเนื่อง ภาวะ High Volatility ในเหรียญ crypto currency นี้เป็นสิ่งที่ยากจะคาดเดา ดังนั้นก่อนเทรดใน crypto ควรเรียนรู้ที่จะรับมือกับมันให้ได้ก่อนเสมอ โดยเฉพาะตลาด Futures ที่ต้องใช้ Leverage ในการเทรด ไม่เช่นนั้นกำไรที่ได้มากเยอะ ก็จะหายและหมดไป ในรอบนี้ก็ตามคาดเมื่อเกิดภาวะไม่คาดฝัน, และเปลี่ยนแปลงรุนแรง High Volatiltiy , เทรดเดอร์รายย่อยใน Future Market ก็ล้างพอร์ตกันระนาวตามขาด เพราะก่อนหน้าพฤติกรรมตลาดส่วนใหญ่เทรดเดอร์ เน้นไปทาง Long Position และมีการใช้ Levera

Rule 72 กับ Risk management ของระบบเทรด

ขยายความไอเดียที่ แชร์เมื่อคืนในห้องเทรดมือใหม่นะครับ Key สำคัญคือการออกแบบระบบ ที่มันไม่เร่งเกินไป เพื่อให้เราติดกับดักความโลภและการมโนคติ อยากให้ระบบเทพที่แม่นยำสูงๆ กำไรเยอะๆ(สุดท้ายก็ไปแต่งระบบให้สถิติดูดีจน over fitting กับข้อมูลอดีต แต่ใช้จริงไม่รอด) แทนที่จะเร่ง ก็ลองปล่อยให้ระบบมันโตแบบพอดี ผมเลยแนะนำให้ลองนำเอา Rule 72 มาใช้ตั้ง Goal ในการวางแผนระบบ โดย Rule 72 คือแนวทางการประมาณการเพิ่มของเงินต้นเป็น 2 เท่า หรือสร้างผลตอบแทน 100% จากทุนเริ่มต้นที่มี เช่นกรณีนี้ผมตั้งเป้าว่าจะปรับต้นทุนให้เหลือ 0 หรือทำกำไรให้ได้ 100%เพื่อ cover ต้นทุนในการเทรดเริ่มต้นใน 3 ปี ก็ประเมินหา rate of return ที่เหมาะสมได้จาก 72/3 = 24 หรือราวๆ 24% ต่อปี , ตัวเลข Return คาดหวังนี้ก็นำไปใช้ออกแบบ Money management และวางกลยุทธ์ในการเทรดต่อ เช่น ถ้าใช้ leverage 5x , เมื่อเทียบกับการกระจายไปบน asset ที่มี volatility ไม่สูงเกิน 10% ผสม 1-3 ตัวเพื่อลด total risk โอกาสในการทำสำเร็จได้ผลตอบแทนต่อปีตามเป้าก็มีได้จริง โดยไม่ต้องเสี่ยงหมดตัวจากการเร่ง over trading ด้วยการใช้ leverage สูงๆแบบ 50x , 100x ด้วย

Financial Independence, Retire Early (FIRE)

  พอดีมีโอกาสได้ทำโปรเจคกับรุ่นน้องคนหนึ่ง เขาเพิ่งจบ ป.โท จากอเมริกามา น้องคนนี้พอรู้ว่าสนใจเรื่องการลงทุนเหมือนกัน เจอกันทีก็คุยกันยาว เพราะเขาเป็นสาย FIRE เจ้าตัวบอกเลยถ้าเกษียณได้ก่อน 40 จะดีใจกว่าจบ ป เอก 3 ปีอีก, ระหว่างอยู่อเมริกาน้องเขาไปร่วม club ด้าน FIRE ทำให้เขาสนใจมา จากการนั่งคุยกันทำให้มีหลายประเด็นที่ผมสนใจ และลองกลับมาศึกษาเพิ่ม(ตอนแรกที่ได้รู้จัก FIRE ไม่ค่อยอินเท่าไหร่เพราะมันทำยาก) Financial Independence, Retire Early เกิดมานานแล้วจากหนังสือ "Your Money or Your Life แต่มาฮิตหลังซับไพร์มโดยเฉพาะ 4-5 ปีก่อนโด่งดังมากในโลกออนไลน์ และมีคนสนใจเยอะด้วย ประเด็นหลักถ้าจำกันได้คือเรื่อง latte factor นั้นเอง ซึ่งหลายคนมองว่าแนวคิดนี้ดีน่าสนใจ บ้างก็ว่ามันสุดโต่งและทำได้ยาก แต่ปัจจุบัน FIRE มีหลายสายมาก เช่น Fat FIRE,Lean FIRE,Barista FIRE, Coast FIRE ไม่จำเป็นต้องสุดโต่งแบบเก็บเงินเพื่อลงทุน 50%-70% ของรายรับทุกเดือน เพื่อให้ได้เงินล้านและรีบเกษียณก่อนอายุ 30 ปี อีกอย่างปัจจุบัน FIRE เริ่มเข้าใจเรื่อง DCA effect ตอนขายหุ้นมากขึ้น, รวมถึงนำค่าเงินเฟ้อไปปรับค่าเป้าหม

Zero cost position tactic

  ผมเคยอธิบายเทคนิคการปรับต้นทุน การขายทำกำไรลดต้นทุนการถือสถานะเพื่อลดผลกระทบที่เกิดจาก market volatility หรือการทำ Zero cost position ให้ฟังบ่อยๆ วันนี้ผมมีคลิปหนึ่งเอามาให้ดูเป็นเทคนิคของนักลงทุนระยะยาวชื่อคุณ Mark Meldrum (คนเก่ง Finance ใครที่สอบ CFA น่าจะเคยตามหรือดูคลิปช่องของเขา) รายละเอียดมีพอควรแต่ผมจะมาสรุป Key สำคัญให้ฟัง 1. การเทรด spot หรือสินค้าแบบหุ้น(ที่ดี) ไม่ใช่ leverage ได้เปรียบเรื่อง "เวลา" ซึ่งเอามาหาประโยชน์จาก volatility ที่เกิดในตลาดได้ 2. Volatility เกิดจากความอ่อนไหว จากปัจจัยเสี่ยงภายนอก(เศรษฐกิจ+ข่าว+ผลประกอบการ) ของผู้เล่นในตลาด(รายใหญ่,รายย่อย) โดยเฉพาะสายที่ margin trading, long + leverage หรือ long short strategies ที่ต้องเทรดไปตามภาวะตลาดระยะสั้นที่เกิด (โดยเฉพาะภาวะตลาดผันผวนมากๆ ยิ่งทำให้เกิดพลวัตรตลาดมากตาม เช่นจากการ sell off หรือการ deleverage) 3. แรงขับระยะยาวมาจาก นักลงทุนสถาบันรายใหญ่ ที่มีเป้าหมาย long bias (บางช่วงเวลาอาจจะมีการลดสถานะได้เช่นกัน แต่ส่วนใหญ่จะเป็นการ long ใน investment time horizon ระยะยาว) มาร์คมองว่าความน่าจะเป็น

Crypto-low-risk : การบริหารต้นทุนในพอร์ต Cryptocurrentcy

  ความเสี่ยงสำคัญของการเทรด Cryptocurrentcy คือการไม่รู้ต้นการถือครองเหรียญในพอร์ต บางคนซื้อเพราะเชื่อว่ามันจะขึ้น,ซื้อแบบ FOMO กลัวจะตกรถ, แน่นอนว่าพอมันลงแรงๆรอบ market crash ที่ผ่านมา ก็เห็นคนซื้อถัวเฉลี่ย. ซื้อตอนย่อ -20% ถึง -30% เพราะคิดว่ามันคิดว่ามันจะเด้งขึ้น แต่พอมันลงไป -50 -70% เงินหมด ทุนจมขาดทุนสูงมากได้แต่ ดอยและรอคอยความหวังให้ราคาเหรียญเด้งกลับมารับ ความเสี่ยง จากการถมเงินลงไป หรือเข้าซื้อขายตามอารมณ์ นี้เกิดขึ้นเสมอโดยเฉพาะภาวะราคาสินค้ามีความผันผวนสูง การจะจำกัดความเสี่ยงให้ต่ำและเกิดประสิทธิภาพในการถือครอง Cryptocurrentcy ในระยะยาวเราต้องบริหารต้นทุนให้เป็น ปัจจุบันโบรกเกอร์ส่วนใหญ่ไม่ได้ทำการคำนวณต้นทุนและทำระบบติดตามต้นทุนให้เรา , นอกจากโบรกเกอร์ใหญ่บางเจ้าต่างประเทศจะมี Feature การคำนวณต้นทุน P&L analysis ให้ , บาง app มีให้ใช้แต่อาจจะไม่ฟรีและต้องกรอกบันทึกข้อมูลการซื้อขายเอง แต่แน่นอนว่าย่อมดีกว่าการไม่จดไม่บันทึกอะไรเลย ซึ่งจุดนี้ "spreadsheet is your friend" ครับ ต้องจดต้องบันทึกเอง , ส่วนตัวผมก็ใช้ spreadsheet ง่ายๆ บันทึกรายการเทรดแต่ละครั้ง