ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์ที่มีป้ายกำกับ business

กระแสการเลิกจ้างใน U.S. Tech Sector 2022

 ปี 2022 นี้เป็นปีแห่งการ layoff หรือปลดพนักงานของบริษัท Tech company จำนวนมากตั้งแต่ระดับ Top Tech ขนาดใหญ่จนถึง Startup , เช่นบริษัท Microsoft, Intel, Twitter, Tesla, Coinbase,TikTok, Robinhood ,Beyond Meat, Salesforce, Shopify , Noom, Peloton, Stripe, Sketch, Udacity, Crypto dot com เป็นต้น โดยจากข้อมูลของ layoff dot fyi รวมมีการปลดพนักงานกว่า 91,204 ตำแหน่ง,ข้อมูลจาก Crunchbase ในช่วงเดือน October กลุ่ม U.S. tech sector ปลดพนักงานกว่า 44000 ตำแหน่ง หลายบริษัทเลิกจ้างพนักงานใหม่และบางบริษัทปลดพนักงานเฉลี่ยกว่า 20-30% ,รวมถึงการประกาศเริ่มจะลดบางส่วนงานและปิดบางออฟิตลง โดยเฉพาะบริษัทที่ผลประกอบการไม่ดี +ราคาหุ้นดิ่งเหว ทำให้การปลดพนักงานกลายเป็นเรื่องปกติของอุตสาหกรรมนี้ เหตุผลหลักเป็นเรื่องของการลดต้นทุนของบริษัท จากที่เคยแข่งขันจ้าง แข่งกันให้เงินเดือนสูงๆตอนนี้กลายเป็นการเลิกจ้าง ลดต้นทุน คนที่ลำบากก็คือ พนักงาน หรือ ลูกจ้าง ,สิ่งหนึ่งเราจะพบคือ เงินเดือนสูงๆที่ได้ไม่กี่ปีช่วงบูมๆ มันก็มาพร้อมความเสี่ยงหรือความไม่แน่นอนของบริษัทในช่วงภาวะเศรษฐกิจไม่ปกติ (ตอนนี้หลายคนตกงาน เจอป

Songlorious : From Side hustle to startup business

นั่งดูรายการ Shark Tank ไปเจอดีลหนึ่งน่าสนใจมาก ดีลนี้เป็นของ Ellen Hodges, 28,และคุณ Omayya Atout, 33 (ทั้งสองกำลังจะแต่งงานกัน) ที่วิกฤติ covid-19 lockdown ตอนปี 2020 ทำให้ทั้งคู่ไม่สามารถออกไปเล่นดนตรีที่เป็น side-hustle หารายได้เสริม จึงเปลี่ยนมารับจ้างแต่งเพลงฉลองในโอกาสสำคัญๆ เช่น งานแต่งงาน เป็นต้น ขายทางอินเตอร์เน็ต ปรากฏว่ามันได้รับความนิยมในช่วงปีที่ผ่านมา ทำให้ทั้งคู่ได้เปิดตัว Songlorious ,เว็บไซต์ที่เป็น online marketplace สำหรับนักดนตรี นักแต่งเพลงสามารถ มา list บริการรับจ้างแต่งเพลงพิเศษ สำหรับงานแต่งงาน,วันเกิด,วันครบรอบ และการแสดงต่างๆ ,คุณ Atout มองว่า การมอบดอกไม้ หรือแค่การ์ดอวยพร มันเรียบง่ายและเป็นของขวัญที่ธรรมดาเกินไป แต่การให้เพลง มันพิเศษเฉพาะและคงอยู่สามารถฟังซ้ำและรำลึกได้ จากที่เริ่มบริการ Songlorious ได้มีนักดนตรีเข้าร่วมกว่า 160 คนและรับบริการแต่งเพลงจากลูกค้าราว 11,000 เพลง โดยทั้งคู่ได้ลาออกจากงานประจำมารันธุรกิจ และหวังให้ online marketplace เติบโต ด้านตัวเลขผลประกอบการปี 2020 ทำยอดขายกว่า $650,000 และปีนี้ 2021 น่าจะขึ้นไปถึง $2.5 million , โมเดลธุ

ธุรกิจคิดนอกกรอบ: potatoparcel ขายมันฝรั่งบวกไอเดีย

ไอเดีย กับการสร้างธุรกิจ นี้เป็นอะไรที่ อาจจะหาเรียนกันไม่ได้ง่ายๆ วันนี้ผมนั่งดูรายการ shark tank คุณ Riad Bekhit ผู้ประกอบการหนุ่ม เจ้าของ potatoparcel ธุรกิจที่เกิดจากการคิดแก้ปัญหาราคาหัวมันฝรั่งตกต่ำ ด้วยการนำเอา มันฝรั่งมาขายออนไลน์ ฟังดูแล้วไม่มีอะไรแปลกใช่ไหม แต่สิ่งที่แปลกคือ เขาเอามันฝรั่ง มาสร้างเป็น gag gift หรือของขวัญสนุกๆ ที่ลูกค้า สามารถเข้ามากำหนด ข้อความ หรือใส่รูปภาพ ที่ต้องการผ่าน webapp จากนั้นก็บริการส่งพัสดุ ไปให้เพื่อน หรือคนที่ต้องการ ไม่ว่าจะส่งแบบขำๆ หรือส่งเพื่อเป็นของขวัญ เพื่อการระลึกถึงในแบบฮาๆก็ได้เช่นกัน มันฝรั่ง 1 หัวที่มีค่าไม่ถึงเหรียญ potatoparcel สามารถขายได้ผ่านเว็บในราคา $9.99 - $14 ด้วยการตลาดออน์ไลน์ และการโปรโมทผ่านโซเซียลมีเดีย ทำให้เขาสามารถขายมันฝรั่งได้มากกว่า 70,000 หัว คิดเป็นรายได้หลาย แสนเหรียญต่อปีเลยทีเดียว หลังออกรายการ ยิ่งทำให้คนรู้จักมากขึ้น สร้างรายได้เฉลี่ยต่อเดือน $25,000 เขานำธุรกิจมานำเสนอเพื่อขอเงินทุน จากรายการ shark tank สามารถปิดดีลได้รับเงินทุน $50,000 จาก Kevin O’Learyแลกกับการถือหุ้น 10% + royalty fee

Warren Buffett VS Elon Musk

วันนี้นั่งอ่านบทความเรื่องประเด็นโต้แย้งระหว่าง Warren Buffett กับ Elon Musk หลังงานประชุมประจำปีของ Berkshire Hathaway ที่คุณ Buffett ออกมาตอบโต้+ให้คำแนะนำเกี่ยวกับธุรกิจของ Tesla เรื่องของ moats หรือป้อมปราการทางธุรกิจ พร้อมยกตัวอย่างเปรียบเทียบบริษัท See’s Candies ที่มีป้อมปราการกว้างแข็งแกร่ง อยู่รอดมาตั้งแต่ 1972 มีกำไรต่อเนื่อง ด้าน Elon Musk ก่อนหน้าเคยตอบคำถามนักวิเคราะห์เรื่อง moats หรือป้อมปราการทางธุรกิจ ระหว่างช่วง first-quarter earnings call ที่ผ่านมาว่า “I t hink moats are lame,” พร้อมอธิบายต่อว่า การสร้างป้อมปราการป้องกันธุรกิจไม่ทำให้ยั่งยืน แต่การพัฒนานวัตกรรมเป็นปัจจัยสำคัญในการแข่งขันและความได้เปรียบในอนาคต พอมารอบนี้หลัง Warren Buffett เปิดประเด็นคำแนะนำเรื่องนี้ ก็ทำให้ Elon Musk หัวร้อนทวิตโต้ตอบหลายดอก เช่น “I’m starting a candy company and it’s going to be amazing.” , Cryptocandy ล่าสุดที่ดูจะร้อนคือ Then I’m going to build a moat & fill it w candy. Warren B will not be able to resist investing! Berkshire Hathaway kryptonite สรุป คงรอด

The Death of Clothing

วันนี้นั่งหาข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทเสื้อผ้าหนึ่งในตลาดหุ้นสหรัฐ เลยได้ไปเจอบทความ The Death of Clothing นี้เข้า มีหลายข้อมูลที่น่าสนใจ เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมนี้เลยนำมาสรุปเอาไว้ให้อ่านกัน - รายงานระบุคนชั้นกลางของอเมริกาใช้เงินในการซื้อเสื้อผ้าน้อยลงอ้างอิงจากการสำรวจของกระทรวงแรงงานสหรัฐ ในปี 2016 เฉลี่ยเพียง 3.1% ของรายได้ตลอดปีลดลงจากอดีตต่อเนื่อง บวกกับปัจจุบันภาวะค่าใช้จ่ายส่วนต่างๆสูงขึ้น คนใช้เงินในส่วนอื่นเพิ่มขึ้น -ค่าเสื้อผ้าทดแทนด้ว ยรายจ่ายสำหรับการท่องเที่ยว กิน กิจกรรมสันทนาการต่างๆสอดคล้องกับความนิยมของคนในการแชร์ประสบการณ์บนโลกออนไลน์ สัดส่วนราวๆ 18% ของรายได้ บวกกับค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเทคโนโลยี ที่เพิ่มสูงขึ้นมาที่ระดับ 3.4%  - ความจำเป็นการซื้อเสื้อผ้า ลดลงโดยเฉพาะชุดทำงานบริษัทต่างๆในสหรัฐราว 40% อนุญาตให้พนักงานแต่ชุดตามสบายมาทำงานได้มากขึ้นปี 2017 - อุตสาหกรรมแฟชั่นเครื่องแต่งกายกำลังลำบาก brand loyalty หดหาย ความต้องการซื้อลดลง กระทบกับยอดขาย แบรนด์ต่างๆ - ร้านเสื้อผ้า แบรนด์ต่างๆทยอยปิดสาขาลง - คนหันไปซื้อออนไลน์เพิ่มมากขึ้น ผ่าน Amazon แล

Bath bomb จากโครงงานวิทย์สู่ธุรกิจเงินล้าน

4 ปีที่แล้ว สองสาวพี่น้อง Caroline และ Isabel Bercaw วัย 10 , 11 ปีเริ่มต้นทำ Bath bomb ในโครงงานวิทยาศาสตร์ ด้วยความสนุกและรักการทดลอง ทำให้สองพี่น้องตัดสินใจ เปลี่ยนการทำ Bath bomb ให้กลายเป็นธุรกิจเล็กๆ ด้วยการยืมเงินจากคุณพ่อ $350 ลงมือผสม ผลิตพัฒนาสูตรและสร้าง Bath bomb สีสันต่างๆกลิ่นต่างๆใช้เวลาสามเดือนผลิตจำนวน 150 ลูกออกขายในบูทเล็กๆ ตามห้างสรรสินค้า และงาน art fair ทั้งสองยังคงต้องเรียนหนังสือจึงใช้เวลาว่างผลิตสินค้าเพื่อออกขายในวันหยุด ด้วยความชอบทดลองผสมสีสัน แ ละสร้างกลิ่นต่างๆ บวกกับาการสนับสนุนของ พ่อและแม่ของสองพี่น้อง เธอเปิดบริษัท DaBomb Fizzers และดำเนินธุรกิจเป็นทางการเมื่อ 2 ปีก่อน มาวันนี้ธุรกิจของเธอเติบโต ผลิตสินค้าออกขายราว 500,000 ลูกต่อเดือน ธุรกิจโตมีมูลค่าหลักหลายล้านเหรียญ(multi-million dollar) กลายเป็นเจ้าของธุรกิจเงินล้านตั้งแต่ยังไม่จบ มัธยมปลาย สองพี่น้องยังคงสนุกในการทดลอง และสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆออกมาต่อเนื่อง เธอให้สัมภาษณ์ในรายการว่าแม้เรียนจบอนาคตยังคงคิดจะทำธุรกิจนี้ต่อไป ปล. มีลูกมีหลานก็สอนให้คิด ให้เห็นคุณค่าของเงิน หรือหัด

pay-per-minute café

อ่านบทความนี้จาก manager แล้วรู้สึกว่าน่าสนใจ แนวคิด pay-per-minute café การทำร้านกาแฟ ที่เก็บเงินตามเวลาที่นั่ง ลองไป google ดูเจอเยอะเลยในต่างประเทศ เช่น Ziferblat เปิดหลายสาขาที่ในยุโรป หลายอย่างฟรี กาแฟถูกคิด £2.25 เมื่อเลย 15 นาที จะเริ่มคิดค่าบริการตามเวลาที่ลูกค้ามาอยู่ในร้าน การนั่งทำงาน อ่านหนังสือ ฟังเพลง(ร้านมีแผ่นเสียงบริการด้วย) ใช้ wifi เขาพัฒนากลยุทธ์ธุรกิจ ทำให้คนอยากนั่งนานๆ ส่วนตัวผมว่าร้านกาแฟ ไม่เหมาะกับการทำงานเท่าไหร่นะ เพราะมันไม่นิ่ง และบางร้านพลุกพล่านมาก ทำให้สมาธิ เกิดยาก งาน focus อาจจะไม่ค่อยเหมาะ แต่ถ้าชอบความไดนามิก หรือใช้ติดต่องาน ผมว่าน่าจะดี ปัจจุบันร้านกาแฟ ส่วนใหญ่คิดค่าเวลา ร่วมไปในกาแฟ อยู่แล้ว เพราะขายกันแก้วละ 50 บาท ขึ้นไปถึงหลักร้อย คนนั่งแช่นานๆ มีอยู่จริง แต่จำนวนไม่น้อยกลายเป็น ขาประจำ ที่อยากมา พักผ่อน มานั่งชิว ไม่ต้องเร่งรีบ เมื่อเขาพอใจ ลูกค้ากลุ่มนี้ก็จะจ่ายต่อเนื่องระยะยาวให้ ร้านกาแฟ แถมได้ความผูกพัน ได้ลูกค้าที่ภักดีเพิ่มไปอีก อนาคต ถ้าร้านกาแฟ เก็บเงินค่านั่ง เป็นตามช่วงเวลาการใช้งาน อาจจะทำให้ ความถูก และความสะดวก หมดลง