ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

ไม่มีทางลัดสำหรับอิสรภาพ!!!!

ช่วงนี้คำว่า Freedom เป็นกระแสที่กำลังฮิตจริงๆหลายคนอยาก สัมผัสกับอิสระอยากหลุดออกจากรอบเดิม แบบที่ต้องตื่นเช้า ลากสังขารไปทำงานหนักที่ตนเองไม่ได้รัก เจอสภาพแวดล้อมที่โหดร้าย การแข่งขันการเอาเปรียบและการต้องเผชิญต่อแรงกดดันจากเจ้านาย ทั้งหมดทั้งมวลนี้ล้วนพันธนาการเราไว้ด้วยคำว่า "เงินเดือน" ดังนั้นการจะหลุดกรอบนี้ได้ต้องตัดล็อคแม่กุญแจอันโตออก หรืออีกนัยหนึ่งคือการอยู่ได้โดยไม่ต้องพึ่งเงินเดือนจากงานประจำ จึงเป็นที่มาของคำว่า อิสรภาพทางการเงิน  อิสระมีจริงหรือ  หลายคนมองพาหนะที่จะพาตัวเองหลุดจากกรอบเดิมไปสู่อิสรภาพทางการเงินด้วยการเข้ามาสู่ตลาดหุ้น เข้ามาสู่สังเวียนการลงทุน แน่นอนว่าแรงบันดาลใจแรกเริ่มของทุกคน(รวมถึงผมด้วย) ย่อมมาจากเจ้าวลีที่ว่า “อิสรภาพทางการเงิน” หรืออีกคำที่คลาสสิกไม่แพ้กันคือ “ให้เงินทำงานแทนเรา” ฟังสองคำนี้แล้วแทบซึ้งเพราะมันโดนใจจี๊ดขึ้นมาทันที ผมจำได้ว่าหลายปีที่แล้ว วันแรกที่เข้ามาสู่ตลาดหุ้นมันก็คล้ายกับเด็กบ้านนอกเข้ากรุงหรือพจมานถือ ชลอมกำลังจะก้าวเข้าสู่บ้านทรายทอง อะไรที่พบที่สัมผัสล้วนดูแปลกตา ผมมีคำถามมากมายที่เฝ้าถามไถ่คนที่เดินผ่านไปมา สวนทา

ลงทุนให้เหมาะกับอาชีพ

วิชาชีพ คำนี้คือคำสองได้แก่  “ วิชา ” + ” อาชีพ ” คำที่มาเจอกันและผสมกัน มีความหมายแบบสามัญว่า มันคือวิชาที่เราใช้หาเลี้ยงชีพ ทั้งชีพของเราและชีพของครอบครัว เป็นวิชาที่ผสมกับหยาดเหงื่อแรงงาน บวกเวลาอันมีค่า เพื่อนำไปแลกกับเงิน มาใช้ในการดำรงชีวิตในสังคม ทุกคนที่ทำงานแลกเงิน ล้วนแล้วต้องมีวิชาชีพ ไม่ว่าจะจบมหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษาใดๆหรือไม่จบ เพราะทุกคนที่มีอาชีพล้วนผ่านการเรียนรู้ทักษะที่ใช้ในการประกอบอาชีพ ทั้งจากการเรียนในห้องเรียนและเรียนโดยตรงจากการปฏิบัติงาน ซึ่งยิ่งมีชั่วโมงบินสูงๆมีอายุการทำงานสูงๆวิชาชีพท่านยิ่งกล้าแข็ง เก่งกล้า ทำงานแลกเงิน แต่แน่นอนว่า การนำวิชาชีพไปแลกเงินเดือนที่ดูเหมือนจะน้อยนิดเมื่อเทียบกับต้นทุนทางสังคมที่ต้องจ่าย ทั้งค่าเสื้อผ้า ค่ารถ ค่าคอนโด รวมถึงโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ มันทำให้การมองเห็นอนาคตอันสดใสริบหรี่เต็มที่ ยิ่งพยายามเอาเวลาที่มีค่าไปแลกเงินมามากเท่าใด ความสุขในชีวิตก็ยิ่งลดลง ดังนั้นจะดีแค่ไหนที่เราสามารถเอาวิชาชีพที่ร่ำเรียนมา หรือมีความชำนาญ ไปใช้ในการสร้างผลตอบแทนทางการเงินด้วยการลงทุนในตลาดหุ้น มาถึงตรงนี้หลายคนอาจจะสงสัยว่า อาชีพที่ทำท

volume analysis

ด้วยอานิสงค์การลากดัชนี ด้วยเม็ดเงินมหาศาลจากฝรั่ง(ไม่รู้หัวดำ หัวทอง) ที่พาปู่ SET มาไกลทะลุ 1100 ทำเอาพอร์ตเล็กพอร์ตใหญ่เขียวไปตามๆกัน ใครที่มี Bigcap ก็ยิ้มออกหน่อย แต่ถ้านิยมสะสมหุ้นเล็กตามกระแส ก็อาจจะยิ้มไม่กว้างนัก แต่เอาน่ายังไงก็ยังยิ้มได้ หลายคนดีใจเพราะใกล้ลงดอย บางคนก็ผลตอบแทนของพอร์ตทำ new high แน่นอนว่ามีคนดีใจก็ย่อมมีคนเสียใจ อกหักจากการตกรถ เพราะล้างพอร์ตรอกะว่าให้ set หลุด 1000 แล้วไปรับแถว 920 คนกลุ่มนี้ก็อย่าคิดมากครับ วันพระไม่ได้มีหนเดียว โอกาสหน้ายังมี ขอให้เรียนรู้เป็นบทเรียน สิ่งหนึ่งที่จงตระหนักเถอะว่าราคาหุ้น มันคือเรื่องของอนาคต เราไม่สามารถเดาอนาคตได้ทางที่ดีคือหมั่นสังเกต และติดตามราคาอย่างใกล้ชิด เฝ้ารอพิจารณาหุ้นรายตัวที่มีการย่อพักฐานมาทดสอบแนวต้าน แล้วค่อยลงทุน ดีกว่าไปไล่หุ้นที่ปลายดอย ความเสี่ยงจะสูงกว่าครับ คุณภาพของแนวโน้ม ที่สำคัญเวลาเรามองกราฟราคา สิ่งที่ต้องมองให้ออก หรือตีให้แตก(ยืม ดร.นิเวศมาใช้หน่อยนะครับ) สำหรับการเก็งกำไรระยะสั้น ไม่ใช้แค่ตัวเลขราคา แต่สิ่งสำคัญนั้นคือ แนวโน้ม แนวโน้มหรือ Trend คือรูปแบบทิศทางการเคลื่อนตัวของราคาหุ้น ณ กรอบเ

ตกรถ ไม่เจ็บแต่เสียดาย

หลายคนคงงุนงงเป็นไก่ตาแตก หลังจากซึนามิถล่มญี่ปุ่นไม่นาน ตลาดหุ้นบ้านเราก็เจอซึนามิจากกระแสเงินต่างชาติ ถล่มต่อเนื่อง ลากหุ้นไทยจาก 1000 จุดไปทดสอบแนวต้านต่างๆ โดยเฉพาะต้านที่ 1050 ผ่านฉลุย จนหลายคนเริ่มฝันถึง 1200 กันแล้ว บ้างก็ว่าไปถึง 1700 จุดในปลายปี การซื้ออย่างต่อเนื่อง ราวกับแย่งซื้อของราคาถูกย่อมทำให้ นักลงทุนหลายคนประหลาดใจ อาจจะเพราะความมั่นใจในสเถียรภาพการเมืองไทย ที่คิดว่าปีนี้เลือกตั้งจะไม่มีม๊อบออกมาป่วน เผาตลาดหุ้นแบบปีทีแล้ว แต่กระนั้นเองก็ยังไม่อาจจะคาดเดาได้ว่าหุ้นไทยจะบวกได้ไกลสักเพียงไหน อานิสงค์ของนักลงทุนตัวน้อยๆแบบอย่างผมที่พลอยได้ยิ้มไปกับกระแส fund flow ด้วยเพราะหุ้นในพอร์ตเขียวสว่างสดใสตัวละหลายสิบเปอร์เซ็นต์ (หุหุหุ) แต่ยังเพื่อนๆหลายคนที่บ่นกระปอดกระแป๊ดว่าตกรถ!!! ไม่ทันขบวนรอบนี้ วันนี้ผมมีวิธีแก้ปัญหาการตกรถง่ายๆมาแนะนำเพื่อนๆกัน  อาการตกรถ "ตกรถ" เป็นอีกหนึ่งอาการที่แมงเม่า ย่อมต้องเคยเจอ อาจจะนิยามได้ว่าเป็นอาการที่ไม่ได้เจ็บตัวแต่เจ็บที่ใจ อาจจะเกิดจากการซื้อไม่ทัน กลัวไม่กล้าซื้อ หรือรอนานจนขายทิ้งไป ไปถือตัวอื่น และแล้วหุ้นก็ขึ้นโดยไม่มีเรา.

จดหมายอำลานักลงทุนของ Andrew Lahde

บางครั้งมันเป็นเรื่องของเวลา ที่จะพิสูจน์ความเชื่อ ความเชื่อในการพึ่งพาตนเองและการลงทุนแบบพอเพียง ยั่งยืน การลงทุนที่ไม่ทำให้ชีวิตเรา เคร่งเครียดหรือเหนื่อยเกินไป การไม่วิ่งตามความโลภหรือเงาของชิ้นเนื้อในน้ำ แม้แต่ฝรั่งในโลกทุนนิยมยังเริ่มคิดได้  ขอนำบทความแปลดีๆของ คุณ Sarinee Achavanuntakul  คนนี้ก็เป็นนักเขียนในดวงใจผมอีกคน ยังไงลองอ่านดูนะครับ  Andrew Lahde ผู้ก่อตั้งและบริหาร Lahde Capital Management เป็นหนึ่งในผู้จัดการเฮดจ์ฟันด์ (hedge fund) น้อยรายที่พยากรณ์วิกฤตซับไพรมถูกต้องก่อนเกิดเหตุ และทำไรมหาศาลจากการเก็งดังกล่าว (เช่น ด้วยการชอร์ตหลักทรัพย์ที่อิงซับไพรม) กองทุนของเขากองหนึ่งทำกำไรได้สูงถึง 870% ในปี 2007 – หนึ่งในอัตรากำไรสูงสุดตลอดกาลของธุรกิจเฮดจ์ฟันด์ ในเดือนตุลาคม 2008 เขาได้ประกาศอำลาวงการ ยุบเลิกกองทุนทั้งหมดภายใต้การบริหารจัดการ คืนเงินให้กับนักลงทุน ต่อไปนี้เป็นจดหมายถึงนักลงทุนฉบับสุดท้ายของ Andrew Lahde ที่ตีพิมพ์ใน Financial Times: Letter: Andrew Lahde, Lahde Capital Management แปลจาก จดหมายของ Andrew Lahde 17 ตุลาคม 2551 วันนี้ผมไม่ได้เขียนมาเพื่อคุยทับ เมื่

น้ำผึ้งในช้อนกาแฟ

ผมมักเจอปัญหาแบบนี้บ่อยๆมากคือแยกไม่ออกระหว่างการเรื่องการขอคำปรึกษากับการขอหุ้นเด็ด หลายท่านเข้ามาขอคำปรึกษาเรื่องการลงทุนในหุุ้น ผมก็พยายามแนะนำไม่ว่าจะเป็นเรื่องเทคนิคหรือเรื่องพื้นฐาน เท่าที่ตนเองจะรู้ ช่วยเต็มที่ แต่ที่หลายคนมักไม่เลือกที่จะขอความรู้ แต่เลือกที่จะขอหุ้น ราวกับผมเป็นอาจารย์ใบหวย คิดง่ายๆนะครับถ้าผมรู้ว่าหุ้นตัวไหนจะขึ้นเยอะๆผมคงรวยไปแล้ว ไม่ต้องมาทำงานให้ลำบาก คนอื่นๆก็เช่นกันถ้าเขารู้อนาคต รู้ในสิ่งที่ยังไม่เกิดเขาไม่มาลำบากทำงาน หาเงินหรือนั่งเล่นหุ้นหรอกครับ ดังนั้นส่วนมากที่ให้หุ้นก็คือเดาแบบมีหลักการนั้นแหละ ผิดบ้างถูกบ้าง พอผิดก็มีเหตุผลมาแก้ตัวต่างๆนานา ดังนั้นเล่นหุ้นหรือลงทุนอย่าไปเดา ทดลองทำตามระบบที่เราคิด และอยู่กับปัจจุบันดีที่สุด แต่ประเด็นมันอยู่ที่ คนส่วนใหญ่มักคิดที่จะรวยแบบรวดเร็ว การได้หุ้นเด็ด หุ้นแรง ซื้อปุ๊บก็รวย แต่ถามว่าซื้อ 10 ครั้งจะแจ๊คพอต ได้ถึง 5 ครั้งหรือเปล่า ???  ที่สำคัญเมื่อเสียแล้ว เรามักจะเสียติดๆกัน เมื่อเสียแล้วแมงเม่ามักจะติดดอยไม่ค่อยคัดลอส ทำให้เงินทุนก็ลดลง โอกาสกลับมาก็ยาก  การมีความรู้การเข้าใจวิธีคิดและความสามารถในการบริ

เมื่อ IDOL กลายมาเป็น CEO

ผมเชื่อเสมอว่าชีวิตหนึ่งของคนเราที่เกิดมา ย่อมต้องมีความฝัน ความฝันทำให้เรามีเป้าหมาย และที่สำคัญเราต้องมีต้นแบบหรือ IDOL ของตัวเอง จริงๆแล้ว IDOL ของเราก็ไม่ได้ต่างกับซีม่าโรชั่นที่คันก็ต้องทา มันมีความจำเป็นในช่วงเวลาชีวิตที่ท้าทาย ช่วงชีวิตที่เรากำลังค้นหาความหมาย ค้นหาเข็มทิศ สำหรับผมมันคือช่วงชีวิตที่ออกมาจากรั้วมหาวิทยาลัย มาเจอกับโลกความจริง ถ้าเราไม่มีหลัก ไม่มีคนสอนวิธีคิดผมเชื่อว่าการเดินทางมาถึงวันนี้คงยาก ถ้าท่านบ้านรวย พ่อแม่สปอยให้ได้ การที่ต้องขวนขวายหาอนาคตอาจจะไม่จำเป็น แต่ถ้าเป็นเพียงคนต่างจังหวัดธรรมดาที่เข้ามาหาโอกาสดีๆในเมืองหลวงอย่างกรุงเทพ การมีเป้าหมายและกลยุทธในการดำเนินชีวิตผมคิดว่าจำเป็น บางครั้งการตั้งเป้าหมายอาจจะไปไม่ถึงก็ไม่เป็นไร แต่เมื่อมีเป้าหมายย่อมต้องมีเส้นทางที่ก้าวเดินไป เส้นทางนั้นจะทำไม่ให้เราหลงทาง หลงทางไปกับแสงสีและความสนุกกินไอของทุนนิยมที่ทำให้เราติดกับ ถ้านึกไม่ออกว่ามันเป็นยังไง ผมอยากให้ลองมองตัวละครที่สร้างความสุขหรรษาให้เราทุกวันพฤหัสในเรื่อง "เป็นต่อ" ถ้ามองคนที่สนุกแต่ไม่มีการวางแผน ตัวละครที่สะท้อนได้เด่นชัดน่าจะเป็น ไอ้วอ