ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

เทคนิครับมือกับตลาดหุ้นขาลง

อาทิตย์ที่ผ่านมาดูจะเป็นอาทิตย์ที่เลวร้ายในชีวิตการลงทุนของใครหลายคน มีหลายท่าน email เข้ามาทักทายและขอคำปรึกษา ผมเองได้ให้คำปรึกษาที่เป็นกลางๆไป ด้วยความที่ไม่ยากฟันธงหรือชี้นำ ไอ้แบบที่จะให้บอกว่าซื้อเพิ่มถั่วเฉลี่ยเข้าไป ,ให้ติดดอยเพื่อรักษาต้นทุน หรือขายทิ้งล้างพอร์ต ผมคงไม่ทำผมเชื่อว่าเงินของท่าน ท่านควรมีวุฒิภาวะในการตัดสินใจได้เอง ถ้าผ่านจุดนี้ไปไม่ได้ โอกาสจะประสบความสำเร็จก็ยาก แต่ถ้าเราผ่านมันไปได้แล้ว ผมเชื่อว่าท่านจะได้รับประสบการณ์ที่มีค่าอย่างยิ่งในการลงทุน หลังจากดัชนีลดลงมา 100 กว่าจุดในเวลาไม่ถึง สองสัปดาห์ผมเชื่อว่ามันคงทำให้ใครหลายคนตื่นตระหนกได้ไม่น้อย โดยเฉพาะท่านที่เพิ่งเริ่มลงทุนได้ในช่วงตลาดขาขึ้น ยังไม่เคยผ่านวิกฤตหรือเหตุการณ์ตลาดขาลงมาก่อน ด้วยความคิดที่คุ้นเคยว่าตลาดหุ้นทำเงินได้ง่าย ลงไม่เยอะ ลงไม่นานเดี่ยวก็ขึ้น ชุดความคิดนั้นอาจจะใช้ไม่ได้อีกต่อไปในยาม ที่โลกอยู่ในช่วงเฝ้าระวังกับการกำลังเผชิญกับภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจทั้งทางฝั่ง ยุโรปและอเมริกา หลายคนยังคิดมองโลกในแง่ดีกว่ามันไม่น่าจะมาถึงบ้านเรา หรือคิดต่อไปอีกว่า น่าจะเป็นโอกาสของเอซียแต่ความเป็นจริงมันไม

STO (STOCHASTIC OSCILLATOR)

STOCHASTIC OSCILLATOR (STO) คือเครื่องมือที่เน้นไปที่การแกว่งตัวของราคาหุ้น โดยสามารถแสดงถึงลักษณะของราคาปิด ของหุ้น ตามแนวคิดที่ว่า ถ้าราคาหุ้นมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ราคาปิดย่อมมีการขยับตัวสูงขึ้นไปหา high ด้วย หรือในช่วงแนวโน้มขาลง ราคาปิดย่อมมีแนวโน้ม เข้าใกล้ low ของวันด้วย จึงมีการนำเอาสัดส่วนของราคาปิดเทียบมาใช้ในการคำนวณ STO เป็นเครื่องมือดัชนีราคาอีก ที่มีความไวค่อมข้างสูงนิยมในงานมาในตลาดที่มีการแกว่งตัวแบบไร้ทิศทางในกรอบเวลาแคบๆ จาก สมการ          %K คือ ค่า FAST STOCHASTIC OSCILLATOR         %D คือค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ของ FAST STOCHASTIC OSCILLATOR เราเรียกว่า SLOW STOCHASTIC OSCILLATOR การแปลความหมายและการนำไปใช้ การตีความของ STO สามารถจำแนกเป็นลักษณะต่างๆได้ดังนี้ - การดูค่าความอิ่มตัว Overbought และ Oversold เป็นการนำเอาค่าจาก STO มาใช้นิยามค่าความอิ่มตัวของแนวโน้มราคา โดย      Overbought คือช่วง 80 % - 100 %      Oversold คือ 20 % - 0 % โดยการใช้งานของ Overbought และ Oversold จะคล้ายกับ RSI คือในโซน Overbought ย่อมมีโอากาสที่จะเกิดการอิ่มตัวการซื้อ ถ้าราคาไม่สามารถทำ

ลาออกมาเล่นหุ้นอย่างเดียว ดีไหมครับ???

ขอนำคำตอบของคำถามจากน้องคนหนึ่ง ที่ส่งข้อความเข้ามาถามผมว่า "จะลาออกมาเล่นหุ้นอย่างเดียว ดีไหมครับ???" มาแชร์ให้เพื่อนๆได้อ่านกัน เพราะผมคิดว่าหลายคนที่เคยได้กลิ่นหรือลิ้มชิมรสของเงินจากตลาดหุ้นมาแล้ว ล้วนมีความคิดแบบนี้ 

Relative Strength Index (RSI)

RSI คือเครื่องมือดัชนีประเภท fast active oscillator ยอดนิยมในกลุ่ม momentum indicator ที่สามารถนำมาใช้พิจารณาการแกว่งตัวของราคาในช่วงกรอบจำกัด ราคามีความผันผวนหรือใช้สังเกตการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มราคาได้ดีอีกตัวหนึ่ง โดยที่นิยมใช้กันคือการดูค่า Overbought และ Oversold, ดู Crossovers หรือใช้ในการสังเกตการณ์เกิด divergence และ convergence ระหว่างตัวดัชนีและราคาหุ้น ปกติเรามักนิยมใช้ ค่า RSI 14 วันเป็นค่าปกติที่ใช้กัน แต่อาจจะมีการดัดแปลงค่าวันจากการทำการเก็บข้อมูลสถิติเพื่อทดสอบให้เหมาะกับรอบการแกว่งของหุ้นแต่ละตัวได้ เพื่อให้สัญญาณที่ใกล้เคียงกับพฤติกรรมของหุ้น ณ ช่วงเวลานั้นๆมากที่สุด การแปลความหมายและการนำไปใช้ การตีความของ RSI สามารถจำแนกเป็นลักษณะต่างๆได้ดังนี้ - การดูค่าความอิ่มตัว Overbought และ Oversold เป็นการนำเอาค่าจาก RSI มาใช้นิยามค่าความอิ่มตัวของแนวโน้ม เพื่อใช้บอกจังหวะการลงทุนโดย Overbought คือการอิ่มตัวขาขึ้น เกิดจากการซื้อมาก และ Oversold คือการอิ่มตัวขาลง เกิดจากการขายมาก โดยแบ่ง zone ของการอิ่มตัวได้ดังนี้          Overbought คือช่วง 70 % - 100 %          Ove

MACD

MACD เป็นเครื่องมือดัชนีชี้วัดอีกตัวหนึ่งที่เป็นตัวยอดนิยม สำหรับนักเทคนิคคอล ด้วยความที่เป็นดัชนีที่เข้าใจง่ายและประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย ทั้งเรื่องการดูกำลังของแนวโน้ม การพิจารณา divergent ดังนั้นการเรียนรู้และทำความรู้จักกับ MACD จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจและสมควรจะศึกษา MACD(Moving Average Convergence-Divergence) คือเครื่องมือดัชนีประเภท slow active oscillator ลักษณะการพิจารณาการแกว่งในช่วงวันที่กำหนดเหมาะกับช่วงราคาที่มีการแกว่งตัวทั้งระยะสั้นและระยะกลาง แต่อาจจะไม่เหมาะกรณีที่เกิด sideway ในระยะสั้นเพราะจะเกิด false signal หรือการให้สัญญาณที่ช้าและถี่เกินไป โดยเราสามารถใช้เครื่องมือเพื่อ วิเคราะห์สัญญาณซื้อขายได้ สูตรการคำนวณเบื้องต้น ใช้ค่าผลต่างของ EMA เส้นสั้นและเส้นยาว (โดยทั่วไปเส้นยาวจะยาวมากกว่าเส้นสั้นประมาณ 2 เท่า) - MACD: (EMA 12 วัน – EMA 26 วัน ) -  Signal Line EMA 9 ค่า ของ MACD -  MACD Histogram: MACD - Signal Line จากสมการจะเห็นว่า ใช้ค่าต่างของ EMA สองคาบเวลาเป็นตัววันแรงขับเคลื่อนของราคา โดย กรณีที่ MACD เป็นลบหมายความว่า EMA12 < EMA26 แสดงถึงทิศทางการลด

Bollinger band

Bollinger band คือ เครื่องมือที่ใช้บ่งบอกถึงความต่อเนื่องและการเคลื่อนที่ของราคาอย่างดี โดยเราสามารถนำ Bollinger band มาใช้ในการวัดแนวโน้มหรือพิจารณาทิศทางการเคลื่อนที่ของราคา ควบคู่ไปกับ indicator ประเภทอื่นๆเพื่อใช้กำหนดสัญญาณซื้อขาย โดย Bollinger band จะช่วยทำให้เราเห็นภาพกว้างของการเคลื่อนที่และความต่อเนื่องของราคาได้ดีมากขึ้น Bollinger band มีการสร้างกรอบของราคา เพื่อนิยามกรอบทิศทางและทางการเคลื่อนที่ของราคา ณ ขณะเวลาต่างๆโดยใช้ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานมาเป็นตัวแสดงค่าความแกว่งตัวของราคา ซึ่งจะสะท้อนออกผ่านในรูปแบบความกว้างความแคบของกรอบแบนด์ (Band) การตีความและการนำไปใช้  การนำ Bollinger band มาใช้เน้นไปที่การนิยามภาพรวมของแนวโน้มราคา และพิจารณาการเคลื่อนตัว การแกว่งตัวของราคา โดยตัว Bollinger band แบ่งแถบเส้นออกเป็น 3 ส่วนคือ - Upper Band : ขอบบน คำนวณมาจาก SMA 20 วัน + standard deviation 20 วัน x 2 - Middle Band = ขอบกลาง คำนวณจาก simple moving average (SMA) 20 วัน - Lower Band = ขอบล่าง คำนวณมาจาก SMA 20 วัน - standard deviation 20 วัน x 2 การใช้งานเน้นที่การดูกราฟแท่งเทียนของราค

EMA (Exponential moving average)

Moving average คือค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ที่มีการนำราคาหุ้น ณ ช่วงเวลาต่างๆมาทำการสร้างเป็นชุดข้อมูลในรูปแบบกราฟเส้น โดยมีการเกลี่ยข้อมูลให้เรียบ เพื่อลดการผันผวนด้วยจำนวนวัน โดยนิยมใช้ Moving average ในการดูแนวโน้มทิศทางของราคาหุ้น  โดย Moving average มี indicator ต่างๆอีกมากมายเช่น SMA (Simple moving average), WMA (weighted moving average) TMA (Time series moving average) และ EMA (Exponential moving average) เป็นต้น ผมขอเลือก EMA (Exponential moving average) เพราะเป็นตัวที่มีการคำนวณที่ซับซ้อนและมีการเกลี่ยค่าถ่วงน้ำหนักความแปรปรวนของข้อมูล โดย EMA ให้ค่าที่ตอบสนองต่อราคาในปัจจุบันได้ใกล้เคียงมากกว่าตัวอื่นๆ ทำให้แสดงถึงแนวโน้มที่ชัดเจน การตีความหมาย การนำ EMA มาใช้ในการกำหนดสัญญาณซื้อ ขายนั้นส่วนมากนิยมนำเส้น EMA 2 เส้นหรือมากกว่ามาใช้ โดยพิจารณาการตัดกันของเส้นค่าเฉลี่ย EMA โดย - สัญญาณซื้อ(Buy signal) : EMA เส้นสั้นตัด EMA เส้นยาวขึ้น จากภาพ EMA8 (เส้นสั้น) มีค่ามากกว่า EMA20 (เส้นยาว) ทำให้เส้นสั้นตัดเส้นยาวขึ้น แสดงถึงการยกตัวของราคาหุ้น เกิดสัญญาณซื้อ ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มขาขึ้น

Price Indicator 1

การวิเคราะห์ทางเทคนิคด้วยดัชนีราคา(Price Indicator) ก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของอาวุธที่เราใช้ในตลาดหุ้นในเกมเก็งกำไรหรือการล่าส่วนต่างของราคา โดยเป้าหมายหลักของการวิเคราะห์ด้วยกราฟดัชนีราคาคือการอธิบายหรือสังเกตพฤติกรรมของราคาหุ้นโดยใช้ค่าทางสถิติและสมการคณิตศาสตร์มาช่วย และนำไปสู่การพยากรณ์การเคลื่อนที่ของราคาบนแนวโน้มในอนาคตต่อไป ด้วยกราฟดัชนีราคาคือการอธิบายหรือสังเกตพฤติกรรมของราคาหุ้นโดยใช้ค่าทางสถิติและสมการคณิต  สิ่งหนึ่งที่ต้องตระหนักคือ ดัชนีราคาใช้ค่าราคา ณ ช่วงเวลาต่างๆมาคำนวณดังนั้น เมื่อเหตุการณ์เกิดขึ้นแล้ว การย้อนมาดูดัชนีราคามันจึงสมเหตุสมผลทุกครั้ง เพราะสามารถอธิบายปรากฏการณ์ของราคาได้ แต่ส่วนของการคาดเดาอนาคตนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ส่วนนี้ขึ้นอยู่กับการเก็บข้อมูลและการประเมินความถูกต้องของการใช้ดัชนีราคาโมเดลต่างๆกับหุ้น เพื่อให้เกิดความมั่นใจในสัญญาณซื้อ ขายต่อไป  ดัชนีราคาที่ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบันนั้นมีมากกว่า 50 ตัวแยกย่อยไปตามสมการและวิธีการคำนวณ โดยส่วนใหญ่มักจะทำเพื่อสังเคราะห์สัญญาณซื้อ สัญญาณขายของราคาหุ้น ณ กรอบเวลาต่างๆ ในที่นี้ โดยการใช้งานดัชนีราคาให้เกิดประสิ