ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

วันรุ่นพันล้าน#1

มีน้องคนหนึ่งเป็นสมาชิกใน fanpage เขียน email มาคุยเรื่องหุ้น น้องคนนี้มีความรู้สึกว่า กำลังจะเรียบจบ ม.ปลาย แต่เขาไม่อยากทำงานประจำ อยากเล่นหุ้นอยู่บ้าน โดยน้องเขามีวิธีคิดที่เหมือนใครหลายคนที่ผมรู้จักมาคือ คิดจะเล่นหุ้นเก็งกำไรให้ได้ผลตอบแทนวันละ 300 - 500 บาทให้พอเป็นค่าใช้จ่าย และเป็นเหมือนช่วงการฝึกเก็บเกี่ยวประสบการณ์การเป็นเทรดเดอร์ พันล้านในอนาคตต่อไป ผมชอบแนวคิดของน้องคนนี้จัง มันมีความฝันความทะเยอทะยานและความสดซ่อนอยู่ในข้อความที่เขียนมาปรึกษา นึกถึงเรื่องของเถ้าแก่น้อย ในหนังวัยรุ่นพันล้าน เรื่องราวของคนที่อยากรวย อยากก้าวหน้า ตั้งแต่วัยรุ่นกระทง มันเป็นเรื่องที่ดีน่ายกย่อง แต่สิ่งหนึ่งที่เราต้องสำเนียกคือ ชีวิตจริงมันไม่มีอะไรได้มาง่ายๆ ก่อนจะประสบความสำเร็จ ยังไงก็ต้องมีโอกาสลิ้มรสความล้มเหลวได้เสมอ ผมขอนำเอาข้อเสนอแนะที่ผมเขียนตอบน้องคนนี้ไปมาเรียบเรียงไว้ในบล๊อคของผม เพื่อว่าจะมีวัยรุ่นคนไหนที่อยากได้คำแนะนำแนวนี้ไปลองปรับใช้ดู ความกดดันจากคนรอบข้าง ผมว่าการที่เราอยู่บ้านเฉยๆ ไม่ได้ทำงานนี้ เราอาจจะต้องหาคำตอบให้กับครอบครัว เพื่อนบ้าน ตลอดจนคนอื่นๆที่มักถามเราว่าทำงานอะ

ชีวิตนอกกรอบ

สังคมมักตัดสินหรือให้ความสำคัญของคนที่ฐานะการเงิน รถ บ้าน เครื่องประดับ หน้าที่การงาน โดยเรามักมองคนที่มีวัตถุติดกายที่มีมูลค่ามากว่าเป็นคนพิเศษ ให้ความเกรงใจ หรือยอมรับมากกว่า คนที่มีสิ่งเหล่านั้นน้อยกว่า จนมันกายเป็นค่านิยมทางวัตถุที่เกาะกินใจของคนทั่วไป ก่อให้เกิดการปลูกฝังความต้องการทางวัตถุในคนทุกเพศทุกวัย  จนต่อมความอยากมี อยากได้มันเติบโต แซงหน้าต่อมจริยธรรมและสำนึกชั่วดี ทำให้เกิดปรากฏการณ์ความโลภแบบไร้ขีดจำกัดในสังคม ดังที่เราเห็นกันอยู่มากมายด้วยแรงขับดันจากความอยากได้ อยากมี หลงใน ยศ อำนาจและเงินทอง ด้วยความปราถนาที่จะเป็นที่ยอมรับจากคนรอบข้างและคนในสังคม  คนชั้นกลาง ในสังคมที่โดนกระแสวัตถุพัดพาไปก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่วนเวียนอยู่ในค่านิยมนี้และโดนทำร้ายทางอ้อมอยู่เนืองๆ ดังที่เราจะเห็น คนเหล่านี้คือคนที่เป็นแรงงานให้กับนายทุนในระบบทุนนิยม เป็นมนุษย์เงินเดือนที่รับค่าแรง ตามงานที่ทำ และถูกหล่อหลอมให้เกิดการใช้จ่ายเกินตัวจากวัตถุนิยมรอบข้าง ถูกชักนำให้เกิดการก่อหนี้ที่มากกว่าการออม ผ่านการใช้งานบัตรเครดิต และการกู้เงินผ่านธนาคาร แล้วถูกกระตุ้นให้เกิดการแข่งขันด้วยการสะสมทางวัตถ

ลงทุนด้วยหัวใจ ไม่ใช่อยากรวย

ผมว่าเวลานี้คนที่เคยปรามาส ว่าตลาดหุ้นนั้นง่าย เหมือนเด็กสาวใจแตกคงต้องคิ ดใหม่กันอีกรอบ เพราะทุกวันนี้พระเอกที่เคย สร้างเงิน สร้างผลตอบแทนแบบเป็น กอบเป็นกำ ได้กลายร่างมาเป็นนางยักษ์ที่จ้องสูบเงินออกจากพอร์ตขอ งเรา จากเนินเป็นดอยสูง จากกำไรเป็นขาดทุน จากสวรรค์เป็นนรก สับขาหลอกกันจนแมงเม่างงไปหมด บางคนเจ็บปวดทุกครั้งที่คนรอบข้า งถามถึงผลตอบแทนการลงทุน หรือไม่ก็ต้องแกล้งโกหก ว่าตัวเองไม่เดือดร้อนจาก ภาวะเศรษฐกิจที่มีผลต่อตลาด หุ้น จริงๆแล้ว ตลาดหุ้นไม่เคยง่าย ไม่ว่าจะมือเก่า หรือมือใหม่ เราก็คือรายย่อย วรรณะต่ำสุดในห่วงโซ่การลงทุน ด้อยทั้งอำนาจ เงินอำนาจการเข้าถึงข้อมูล และข่าว และอื่นๆ ดังนั้นเมื่อข้อจำกัดเยอะ เราต้องเรียนรู้ที่ต้องปรับ ตัวเอง ให้อยู่กับข้อจำกัดนั้น การลงทุนที่ดี จึงต้องใช้ทั้ง หัว และใจ ครับ  หัวคือสมอง การคิด การวิเคราะห์ อย่าหลงไปตามเกมส์ของทฤษฏีสม คบคิด ที่เขาปรุงแต่งให้เรา ไปตามเกมส์กระแสหลัก, หมั่นสังเกตและตั้งคำถามถึง สิ่งที่เกิด ,อย่าเชื่อเพียงเพราะมีหลาย คนเชื่อตามนั้น ,อย่าหลงไปกับความหวังสวยงา ม ที่กลุ่มนักการตลาด(ชักชวนใ ห้ซื้อหุ้น) อัดฉีดมาให้จนมากไป ส่วน

Thai Trade Contest

เทคนิครับมือกับตลาดหุ้นขาลง

อาทิตย์ที่ผ่านมาดูจะเป็นอาทิตย์ที่เลวร้ายในชีวิตการลงทุนของใครหลายคน มีหลายท่าน email เข้ามาทักทายและขอคำปรึกษา ผมเองได้ให้คำปรึกษาที่เป็นกลางๆไป ด้วยความที่ไม่ยากฟันธงหรือชี้นำ ไอ้แบบที่จะให้บอกว่าซื้อเพิ่มถั่วเฉลี่ยเข้าไป ,ให้ติดดอยเพื่อรักษาต้นทุน หรือขายทิ้งล้างพอร์ต ผมคงไม่ทำผมเชื่อว่าเงินของท่าน ท่านควรมีวุฒิภาวะในการตัดสินใจได้เอง ถ้าผ่านจุดนี้ไปไม่ได้ โอกาสจะประสบความสำเร็จก็ยาก แต่ถ้าเราผ่านมันไปได้แล้ว ผมเชื่อว่าท่านจะได้รับประสบการณ์ที่มีค่าอย่างยิ่งในการลงทุน หลังจากดัชนีลดลงมา 100 กว่าจุดในเวลาไม่ถึง สองสัปดาห์ผมเชื่อว่ามันคงทำให้ใครหลายคนตื่นตระหนกได้ไม่น้อย โดยเฉพาะท่านที่เพิ่งเริ่มลงทุนได้ในช่วงตลาดขาขึ้น ยังไม่เคยผ่านวิกฤตหรือเหตุการณ์ตลาดขาลงมาก่อน ด้วยความคิดที่คุ้นเคยว่าตลาดหุ้นทำเงินได้ง่าย ลงไม่เยอะ ลงไม่นานเดี่ยวก็ขึ้น ชุดความคิดนั้นอาจจะใช้ไม่ได้อีกต่อไปในยาม ที่โลกอยู่ในช่วงเฝ้าระวังกับการกำลังเผชิญกับภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจทั้งทางฝั่ง ยุโรปและอเมริกา หลายคนยังคิดมองโลกในแง่ดีกว่ามันไม่น่าจะมาถึงบ้านเรา หรือคิดต่อไปอีกว่า น่าจะเป็นโอกาสของเอซียแต่ความเป็นจริงมันไม

STO (STOCHASTIC OSCILLATOR)

STOCHASTIC OSCILLATOR (STO) คือเครื่องมือที่เน้นไปที่การแกว่งตัวของราคาหุ้น โดยสามารถแสดงถึงลักษณะของราคาปิด ของหุ้น ตามแนวคิดที่ว่า ถ้าราคาหุ้นมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ราคาปิดย่อมมีการขยับตัวสูงขึ้นไปหา high ด้วย หรือในช่วงแนวโน้มขาลง ราคาปิดย่อมมีแนวโน้ม เข้าใกล้ low ของวันด้วย จึงมีการนำเอาสัดส่วนของราคาปิดเทียบมาใช้ในการคำนวณ STO เป็นเครื่องมือดัชนีราคาอีก ที่มีความไวค่อมข้างสูงนิยมในงานมาในตลาดที่มีการแกว่งตัวแบบไร้ทิศทางในกรอบเวลาแคบๆ จาก สมการ          %K คือ ค่า FAST STOCHASTIC OSCILLATOR         %D คือค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ของ FAST STOCHASTIC OSCILLATOR เราเรียกว่า SLOW STOCHASTIC OSCILLATOR การแปลความหมายและการนำไปใช้ การตีความของ STO สามารถจำแนกเป็นลักษณะต่างๆได้ดังนี้ - การดูค่าความอิ่มตัว Overbought และ Oversold เป็นการนำเอาค่าจาก STO มาใช้นิยามค่าความอิ่มตัวของแนวโน้มราคา โดย      Overbought คือช่วง 80 % - 100 %      Oversold คือ 20 % - 0 % โดยการใช้งานของ Overbought และ Oversold จะคล้ายกับ RSI คือในโซน Overbought ย่อมมีโอากาสที่จะเกิดการอิ่มตัวการซื้อ ถ้าราคาไม่สามารถทำ

ลาออกมาเล่นหุ้นอย่างเดียว ดีไหมครับ???

ขอนำคำตอบของคำถามจากน้องคนหนึ่ง ที่ส่งข้อความเข้ามาถามผมว่า "จะลาออกมาเล่นหุ้นอย่างเดียว ดีไหมครับ???" มาแชร์ให้เพื่อนๆได้อ่านกัน เพราะผมคิดว่าหลายคนที่เคยได้กลิ่นหรือลิ้มชิมรสของเงินจากตลาดหุ้นมาแล้ว ล้วนมีความคิดแบบนี้