ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

Think About Risk

วันนี้ได้ไปให้คำปรึกษาทีมพัฒนา robot trading ของบริษัทแห่งหนึ่ง ใช้เวลาพูดคุยกันครั้งแรกนานพอควร สิ่งหนึ่งที่พบเหมือนกันเกือบทุกคน เช่นเดียวกับตัวผมตอนเริ่มต้น เรามักมองว่าการพัฒนา robot trading ต้องสร้างเงินทำเงิน เอาเงินเป็นตัวหลัก สิ่งที่อยากจะแนะนำคือ เราควรทำให้มันหัดเดิน หัดยืน หรือรอดในตลาดที่ผันผวนให้ได้ก่อน นั้นคือต้องเน้นไปที่การพัฒนาโมเดล Risk Management บน strategies พื้นฐานธรรมดาเสียก่อน คล้ายกับการสร้าง sensor ตรวจจับสัญญาณความเสี่ยง ให้ robot ซึ่งถ้าตรงนี้ Wok  ค่อยไปต่อ ประเด็นนี้ไม่ใช่เฉพาะผมที่ทำ ถ้าเราอ่านเยอะๆจะพบกลุ่มนักพัฒนาต่างประเทศก็ทำเช่นเดียวกัน อย่างข้างล่างเป็นบทความ HOW TO REDUCE TRADER'S RISKS ของ Aleksandr Masterskikh. นักพัฒนาชาวรัสเซีย บทความแปลว่าด้วยประเภทของ Risk ที่จะเกิดต่อระบบเทรด โดยทำการแยกออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ Risk ที่เกี่ยวข้องกับ market dynamics และ Risk ที่ไม่เกี่ยวข้องกับ market dynamics อย่าง Risks associated with market dynamics เขาก็เขียนอธิบายละเอียดแถมพร้อม code การตรวจจับติดตาม risk เหล่านี้ในหมวดย่อยต่างๆไว้ให้ด้วย

FX Carry Trade

บทความนี้ของคุณ Gerald Hwang แห่ง Jirisan Capital เขียนเรื่อง FX Carry Trade ได้น่าสนใจ ผู้เขียนนำเสนอการทำ FX Carry Trade ลักษณะเหมือนการลงทุนในค่าเงินระยะยาว ไม่มีข้อจำกัดหรือต้นทุนเชิงเวลา ไม่ได้ใช้ Leverage หาประโยชน์จากอัตราดอกเบี้ยที่แตกต่างตามสไตล์ sells low interest rate currencies(Low government bond yields) & buys high interest rates currencies(High government bond yields) กลยุทธ์นี้ไม่ได้หาประโยชน์จากทิศทางของราคาค่าเงิน แตกต่างจาก Fx Spot Trading หรือการเทรดค่าเ งินแบบที่ทำกันทั่วไป บทความนี้ยกตัวอย่างการทำ FX Carry ในค่าเงิน IDR (Indonesia) กับ USD มีคำอธิบายรูปภาพประกอบชัดเจนดี บทความก็ไม่ได้เขียนแต่ด้านบวกเขาพูดถึงข้อจำกัด ปัญหาอุปสรรคและความเสี่ยง risk premium ในการใช้กลยุทธ์การทำ FX Carry Trade ไว้ด้วยบอกให้เห็นในทางทฤษฏีกับทางปฏิบัติอาจจะแตกต่างกัน โดยเฉพาะ กรณีที่เงินทุนน้อยและทนรอผลตอบแทนจากดอกเบี้ยระยะเวลาหลายปี รวมถึงความเสี่ยงจากสเถียรภาพเศรษฐกิจของประเทศ การแทรงแซงค่าเงินของรัฐเป็นต้น ผมมองว่าถ้าหัดจะเทรดค่าเงิน การเข้าใจหลักพื้นฐานของ FX Carry

Principle : แตกต่างอย่างสร้างสรรค์

ชวนมาดูตัวอย่างการถกเถียงแลกเปลี่ยนแบบสร้างสรรค์ เพราะอย่างที่บอกมันคงไม่ใช่ทุกคนจะเห็นด้วยกับทุกประเด็นในหนังสือ Principle เสมอไป ในโพสคุณ Royle ไม่เห็นด้วยกับประเด็น radical transparency ในเรื่อง "การสมัครงาน" คุณ Royle แกบอกว่าในโลกความจริง ถ้าไปสัมภาษณ์งาน หนีไม่พ้นการต้องโกหก นำเสนอตัวตนด้านดี ซ่อนจุดด้อยของตัวเองเพื่อให้ได้คัดเลือกเข้าทำงาน การโปร่งใส่ไปบอกจุดอ่อน หรือข้อด้อย(bad stuff) มันเหมาะกับการเปิดเผยกับคนที่พร้อมจะแก้ปัญหาให้เรา ไม่ใช่คนที่จะคัดเลือกเราหรือจ่ายเงินเดือน ให้ผลประโยชน์กับเรา โพสนี้คุณ ray dalio ก็เข้ามาแสดงความคิดเห็น ว่าการเอาตัวตนที่แท้จริง เปิดเผยตัวตนแท้จริงอย่างซื่อสัตย์ ด้านบวกและลบ ไปเลยบนโต๊ะก่อนร่วมงานกันแบบ radical transparency น่าจะเป็นเรื่องดีกว่า ในการประเมินและ โปร่งใส่ และทำงานสร้างสังคมการทำงานร่วมกันแบบซื่อสัตย์และจริงใจ เพื่อความสัมพันธ์ที่ดี จากนั้นตามมาด้วยความคิดเห็นจากหลายคนมากมาย ทั้งเห็นด้วยกับคุณ ray dalio และเห็นด้วยกับ cody Royle ผมชอบตรงฝรั่งเขาแสดงความคิดเห็นกันแบบ ชัดเจนตรงไปตรงมาไม่ได้เชื่อตามอย่างเดียวและไม

Two Centuries of Momentum

เช้านี้นั่งอ่าน paper เรื่อง Two Centuries of Momentum ของ Newfound Research (Quant Investment Firm) มีหลายประเด็นที่น่าสนใจ โดยสรุป paper เขาเขียนถึง momentum strategies สไตล์ Buy High Sell higher นั้นแหละ แต่มิติในการเรียบเรียงนำเสนอไม่ใช่เรื่องกลยุทธ์อย่างเดียว ผู้เขียนนำเสนอประเด็นเกี่ยวกับ momentum ทั้งแบบ cross-sectional และ time series momentum แสดงข้อมูลประวัติตั้งแต่ยุคเริ่มต้นในตลาดหุ้น Wall Street ย้อนไปสมัย David Ricardo, Charles H. Dow(1851) และนำเสนอถึงช่วงตกต ่ำที่ทำให้คนจำนวนไม่น้อยหันหลังให้กับการเก็งกำไรหลังสิ้นสุดช่วงตลาดกระทิง นอกจากนี้ยังรวมไปถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ Modern Portfolio Theory + EMH ,Technical Analysis, Market anomaly และ Risk Management สำหรับผมคิดว่าตอน Manage Risk ด้วย momentum น่าสนใจสุดแหละ อ้างอิงการจัดพอร์ตผสม equity index, currency, commodity และ bond futures บนกลยุทธ์ momentum ของ AQR ซึ่งผู้เขียนไปหาข้อมูลอ้างอิงจาก Academic paper ในยุคต่างๆที่เกี่ยวข้องกับ Momentum Investing/Trading ได้หลากหลายดี เช่น paper คลาสิกสายนี้อย่าง Ret

จากเทรดเดอร์ทองคำสู่ชีวิตชาวไร่

อิสรภาพทางการเงิน คงไม่ใช่แค่มีเงินเยอะหลายร้อยล้านพันล้านจนใช้ไม่หมด แต่มันหมายถึงการมีอิสระที่จะใช้ชีวิตในรูปแบบที่ตัวเองต้องการ มีเงินมากเพียงพอสนองตอบต่อรูปแบบชีวิตที่เราออกแบบเอง คนรู้จักหลายท่านรอบตัวผม อายุ 40 มีเงินระดับหนึ่งลาออกจากการเป็นเทรดเดอร์เต็มเวลากันแล้ว ไม่ใช่ว่ารวยร้อยล้านแต่มีเงินพอที่จะบริหารรองรับการใช้ชีวิตไปยันแก่ ย้ายกลับบ้านเกิดไปทำงานอิสระใช้ชีวิตได้สบายๆ อาจจะไม่ได้อยู่หรู กินหรูหรือรวยแต่เขาก็เลือกใช้ชีวิตแบบที่ต้องการได้ บทความนี้เป็นอีกตัวอย่ างของการมีอิสรภาพทางการเงิน เขากล่าวถึง Graham Birch คนทั่วไปอาจจะไม่รู้จักชื่อเขา แต่ถ้าใครเทรดทองคำน่าจะคุ้นชื่อนี้ คุณ Graham Birch เป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน Gold และตลาดคอมโมดิตี้สินแร่ เขาจบ Ph.D ด้านวิศกรรมเหมืองแร่ ทำงานด้านนี้มานานหลายสิบปีจนได้เป็น Portfolio Manager ที่ BlackRock บริหารเงิน $6.9 billion ของ BlackRock World Gold Fund และบริหาร BlackRock Agriculture Fund มีผลงานที่ดีต่อเนื่อง แต่แล้ววันหนึ่งปี 2010 ช่วงอายุ 50 ปีเขาก็ลาออกหนีกรุงลอนดอน มาเป็นชาวไร่ทำฟาร์มโคนมขนาด 2,300 acres ในเมือง Dorset เขตช

Andrew Krieger: Legendary Forex Trader

วันนี้ได้อ่านหนังสือ The Money Bazaar เรื่องราวเกี่ยวกับ Andrew Krieger เป็นตำนานเทรดเดอร์ค่าเงิน อีกคนที่โด่งดังในอดีต เลยจะนำประเด็นสำคัญมาแชร์ให้ฟัง Andrew Krieger เริ่มทำงานเป็นเทรดเดอร์ให้กับ Salomon Brothers ทำผลงานได้ดีมีชื่อเสียง จนถูกซื้อชักชวนมาทำงานให้กับ Bankers’ Trust ในปี 1986 ซึ่งด้วยผลงานที่ดีทำให้บอร์ดอนุมัติวงเงินเทรด $700 million ซึ่งถือว่าเป็นเทรดเดอร์ค่าเงินที่มีวงเงินเทรดสูงกว่าเทรดเดอร์ทั่วไปในบริษัทมากทีเดียว(ในวัย 30 ต้นๆ) เขามาสร้างชื่อเป็นตำนานจาก การถล่มค่าเงิน Kiwi หรือ New Zealand dollar (NZD) ในช่วง Black Monday ปี 1987 ที่ตลาดหุ้นสหรัฐถล่มรุนแรงกว่า -22% ตามด้วยการ panic และการตกลงของค่าเงิน USD ผู้เล่นในตลาดกลัวที่ถือค่าเงิน USD ก็ทำให้ค่าเงินสกุลต่างๆดีดตัวขึ้นสูง เช่นเดียวกับ NZD การบวกรุนแรงทำให้เกิด short-term overvalue โดย คุณ Krieger มองไปที่ New Zealand ประเทศเศรษฐกิจขนาดเล็กกว่าสหรัฐมาก และมีความอ่อนแอ แต่ด้วยความไม่ปกติของสถานทำให้ค่าเงิน New Zealand dollar แข็งค่ามากกว่า US dollar Andrew Krieger ใช้ currency options (Leverage 400:1

Bootstrapping Method approach to System Evaluation

ขยายความจากการบรรยายเมื่อวาน เรื่องการพัฒนาระบบเทรด ปัญหาที่พบคือระบบที่ทำการทดสอบ Back testing ต่อให้ค่าสถิติออกมาดีแค่ไหน หรือทำกับข้อมูลย้อนหลังมากเพียงใดก็ยังไม่สามารถการันตรีว่าระบบจะทำเงิน หรือรอดในตลาดได้จริง 100% ดังนั้นการทำ Forward Testing ปล่อยให้ระบบเทรดเงินจริงในตลาดจริง(บนสภาวะแวดล้อมข้อจำกัดจริงทั้งเรื่อง liquidity , slippage และอื่นๆ) จะทำให้ได้ผลการประเมินที่สอดคล้องกับความจริงมากขึ้น สำคัญมากต่อการประเมิน  ความเสี่ยง ก่อนเริ่มใช้การเทรดบนเงินทุนจริงเต็มรูปแบบ แต่การทำ Forward Testing ของเทรดเดอร์ก็มีข้อจำกัดเรื่องของเวลา และเงินทุนทำให้อาจจะเก็บข้อมูลส่วนนี้ได้น้อย ค่าสถิติที่นำมาประเมินอาจจะมีนัยยะสำคัญไม่เพียงพอ ตรงนี้ Bootstrapping Method เข้ามามีบทบาทและเพิ่มผลการประเมินระบบ บนค่าความเชื่อมั่นที่ดีขึ้นได้ ซึ่งในตัวอย่างผมทำ Bootstrapping กับข้อมูล trading data ที่ได้จาก forward testing เพื่อประเมินหา risk ในระบบเทรด ก่อนนำไปปรับปรุง หรือวางแผนเพิ่มเติมในการใช้งานเทรดจริงต่อไป(งานนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการ simulation เพื่อ predict future แต่อย่างไร อย่าเข้าใ

13 Things You Should Give Up If You Want To Be Successful

วันนี้ได้อ่านบทความ 13 Things You Should Give Up If You Want To Be Successful รวบรวมโดยคุณ Zdravko Cvijetic ผมอ่านจบแล้ว รู้สึกว่าดีและคิดว่าน่าจะมีประโยชน์ต่อหลายคนเลยอยากเอาโน๊ตสรุปย่อมาแชร์ไว้ 1. ละทิ้งวิถีชีวิตที่ไม่ดีต่อสุขภาพ -นอนให้เพียงพอ กินอาหารที่ดี ออกกำลังกายสม่ำเสมอ 2. เลิกวิธีคิดแบบหวังผลระยะสั้น - วางเป้าหมายระยะยาว โฟกัสในการทำให้สำเร็จ อย่าเห็นกับความสุขระยะสั้น ฉาบฉวย 3. เลิกคิดเล็ก หัดคิดการณ์ใหญ่ - ฝันใหญ่แต่เป็นจริงได้ กล้าวิ่งเข้าหาโอกาส แล้วใช้ศักยภาพของตัวเราให้เต็มที่ 4. เลิกหาข้ออ้างหรือกล่าวโทษสิ่งต่างๆ -คนที่ประสบความสำเร็จ ทุกคนกล้าที่ลงมือทำแล้วยอมรับกับความผิดพลาดที่เกิด เรียนรู้จากความล้มเลวและจุดอ่อนของตัวเอง เพื่อปรับปรุงให้ดีในอนาคต 5. เลิกยึดติดกับความคิดเฉพาะตัว (Fixed Mindset) -เปิดกว้าง รับฟัง เรียนรู้และพัฒนาทักษะใหม่ๆ ตลอดเวลา สร้าง growth mindset 6. เลิกมองหาทางลัด เชื่อในปาฏิหาริย์(Magic Bullet) - เลิกงมงายกับทางลัดนำมาซึ่งความสำเร็จในเวลาข้ามคืน - ผู้ที่ประสบความสำเร็จ คือคนที่ทำงานหนัก จริงจังและพยายามอย่างต่อเนื่อง อาจจะเริ่มจากการทำส

How to become a Python coder at a top hedge fund

คำถามยอดนิยมอันหนึ่งคือถ้าจะหัดเขียนโปรแกรมด้าน Quant แบบจริงจังควรเลือกภาษาอะไร เพื่อไม่ให้ bias จากมุมมองส่วนตัวผมจะขอยกคำแนะนำจาก บทความ How to become a Python coder at a top hedge fund เป็นการสัมภาษณ์จากคุณ Gary Collier ตำแหน่ง CTO ของ Man AHL Man AHL เป็น Quant hedge fund อันดับต้นของโลกมี AUM $24bn เป็นอีกบริษัท Quant Fund ที่แถวหน้าของโลก ที่มีบทบาทและผลงานด้านนี้อย่างจริงจังต่อเนื่องมากหลายสิบปี มีการเผยแพร่ตัว opensource tools ที่สนับสนุนการวิเคราะห์ข้อมูลด้าน fina nce และ time series data เช่นเดียวกันถ้าจะศึกษาด้าน Machine Learning (โดย research เฉพาะ Bayesian approach ) แนะนำให้ลองไปศึกษาได้จาก paper งานวิจัยของบริษัท ในบทความคุณ Gary Collier แกแนะนำภาษา Python ซึ่งเป็นภาษาที่มีจุดแข็งในงานด้าน Data Science และเป็นเครื่องมือสำคัญของ Quant Research (mathematical, statistical and machine learning ) นอกจากนี้ Man AHL ยังจัดงานแข่งขัน Hackathon เพื่อหาโปรแกรมเมอร์ python และ Data scientist เข้าร่วมทำงานในบริษัท อย่างต่อเนื่อง ในบทความ คุณ Gary Collier บอกว่าเขาสนใจที่ค

Trading strategies

เมื่อวานมีคำถามหนึ่งเข้ามาทางกล่องข้อความ เรื่องเกี่ยวกับการเปรียบเทียบกลยุทธ์การเทรด ดูเหมือนน้องเทรดเดอร์คนนี้กำลังพยายามจะหากลยุทธ์ที่ดีที่สุดในการทำเงินในตลาดอยู่ แต่ก็เหมือนที่ผมเคยแนะนำไปหลายครั้ง ว่าทุกกลยุทธ์การเทรดมันมีทั้งข้อดีข้อเสีย สิ่งสำคัญคือเปิดใจ ทำความเข้าใจมันอย่างแท้จริง เลือกกลยุทธ์ที่เหมาะกับตัวเรา (ไม่ใช่จะลอกหรือทำตามคนอื่นๆอย่างเดียว) จากนั้นศึกษา ข้อจำกัดข้อด้อย เพื่อหาทางจัดการ รับมือกับข้อจำกัดนั้นๆ ส่วนตัวผมทำระบบเทรดที่ใช้ Robot trading เป็นหลักท ำให้ในพอร์ตเรามีการรันระบบด้วย trading strategies ที่หลากหลายเพื่อทำการ research และพัฒนาผลการทำงานในภาวะตลาดจริงที่เกิดตรงนี้ทำให้เข้าใจข้อจำกัดของแต่ละกลยุทธ์ดีขึ้น มันไม่ได้สวยหล่อ สมบูรณ์แบบ 100%เหมือนที่นิยมโฆษณากันหรอกครับ นอกจากนี้กรณีต้องการติดตามว่ากลยุทธ์การเทรดใดๆ มีผลการทำงานได้ดีมากน้อยเพียงใด อาจจะลองอ่านบทความศึกษาในต่างๆประเทศ อย่างเช่นวันนี้แนะนำบทความของ eurekahedge เขาติดตาม performance รายปีของ Hedge Fund ขนาดใหญ่และกลาง(AUM มากกว่า $100M) ที่ใช้กลยุทธ์การเทรดแบบต่างๆ ตั้งแต่ช่วงป

Leda Braga #02 Data Science in Wall street

ตอนที่ 2 เกี่ยวกับคุณ Leda Braga ผู้บริหารของ Systematica Investments ผมนำโน๊ตย่อจากการได้ฟังเธอบรรยายเกี่ยวกับ Data Science ในงาน WiDS 2018 Conference ซึ่งจัดขึ้นที่ Stanford University จะบอกว่าเป็นการบรรยายายที่น่าสนใจ และมีประเด็นดีมากจากผู้ที่มีประสบการณ์ตรงด้าน systematic trading ในตลาดหลายสิบปี โดยสรุปใจความเป็นข้อๆได้ดังนี้ (บางเรื่องเป็นเชิงเทคนิคไม่ลงรายละเอียดนะครับ) - ประเด็นหลัก เรื่องของ Systematic trading + Big Data + Execution algorithm + alternative data - เธอเล่าเรื่องประวัติของเธอโดยย่อพื้นหลังด้านวิชาการ เธอจบ phd ด้าน engineer ประสบการณ์ทำงาน - เธอเล่าถึงเรื่องธุรกิจ hedgefund ของ Systematica Investments ว่าเป็น Alternative asset manager บริหารเงิน 9 billion หลากหลายตลาด หลากหลายกลยุทธ์ ลูกค้าจากพอร์ตรายใหญ่ ซึ่งแต่ละลูกค้ามีเป้าหมาย return และระดับความเสี่ยงรวมถึง time horizontal แตกต่างกัน บริษัทสร้างกลยุทธ์พอร์ตโฟริโอที่เหมาะสมกับลูกค้า -บริษัท Systematica มีพนักงาน 108 people เน้นด้าน Phd และนักวิทยาศาสตร์ บริษัทใช้ Data science technology การสร้างกลยุทธ์เพื่

Leda Braga #01

สัปดาห์ที่ผ่านมาเป็นวันสตรีสากล มีคำถามจากท่านหนึ่งเข้ามาว่ามีผู้หญิงที่ประสบความสำเร็จในด้านการลงทุนหรือการเทรดระดับโลกบ้างไหม?? คำตอบคือมีครับ หลายท่านด้วยแต่อาจจะไม่ได้เป็นที่รู้จักหรือโดดเด่นมาก วันนี้ผมนำท่านหนึ่งมาแนะนำให้พวกเราได้รู้จักกัน เธอคนนี้คือคุณ Leda Braga ฉายา Hedgefund Queen Leda Braga มีเส้นทางสายอาชีพที่โดดเด่นมากและประสบความสำเร็จเป็นที่ยอมรับอย่างสูงอีกคนในฐานะ Fund Manager ผู้หญิงคนนี้ปัจจุบันเธอเป็นผู้บริหารของ Systematica Investments ซ ึ่งเป็น Fund สาย CTA ที่ใช้ระบบแบบ computer trading ที่มีผลงานดี Systematica บริหารสินทรัพย์ระดับ $10.2 billion(2016) ย้อนไปหลายสิบปีก่อนเธอเป็นผู้หญิงอีกคนที่โดดเด่นในสายกลยุทธ์การเทรด Trend Following Leda Braga ปัจจุบันอายุ 50 ปีเธอเป็นผจก.กองทุนเฮ็ดฟันด์ที่มีรายได้สูงอันดับต้นของวงการราวๆ $60 million มีประสบการณ์ในตลาดยาวนานหลายทศวรรษ ปี 1994 เธอเข้าทำงานตำแหน่ง quantitative analyst กับ JPMorgan(Cygnifi Derivatives Services) เป็นนักวิจัยกลยุทธ์การเทรดในตลาดอนุพันธ์ จากนั้นปี 2001 ลาออกแล้วเธอใช้เวลา 14 ปีในการเป็นผู้บริห

Pursuing Truth in the Global Economy 2

จากคลิปสนทนาเรื่อง Pursuing Truth in the Global Economy ในตอนท้ายคลิป โปรเฟสเชอร์ Lawrence Summers ได้แนะนำเว็บ  bridgewater.com  ให้กับผู้เข้าฟังทั้งอาจารย์และนักศึกษาของ Harvard เอาไว้ โดยเขาแนะนำว่าเป็นแหล่งความรู้และมี paper หัวข้อเกี่ยวกับเศรษฐกิจและการเงินที่น่าสนใจ จำนวนมาก วันนี้ผมมีโอกาสได้ลองเข้าไปดู พบว่ามีหลาย paper ใน Research Library ของ bridgewater ที่น่าอ่าน โดยเขาแบ่งเป็น 3 หมวดหลัก ได้แก่ Daily Observations(ติดตามสภาวะเศรษฐกิจ นโยบายการเงิน ตลาดต่างๆ) ,economi c machine , All Weather investment strategy, Risk Parity ซึ่งถ้าลองได้อ่านอย่างจริงจัง จะพบว่ามันมีความสัมพันธ์และต่อยอดกัน อย่างเช่นเรื่องของ Risk Parity (+un correlated betting) ที่อยู่เบื้องหลังAll Weather strategy ซึ่ง คุณ ray dalio ได้ชื่อว่าเป็นผู้บุกเบิกแนวคิดการบริหารพอร์ต Risk Parity นี้เลย ยิ่งได้ศึกษา global macro economic จะช่วยเห็นภาพกลยุทธ์การจัดพอร์ต+เลือก asset class และการ re balancing บน economic template ต่างๆ อ่าน paper พวกนี้มันจะช่วยทำให้เข้าใจและเชื่อมโยงภาพได้อย่างชัดเจนและถูกต้องมา

Pursuing Truth in the Global Economy with Ray Dalio

Pursuing Truth in the Global Economy คลิปบทสนทนาของ Ray Dalio และ Lawrence Summers ที่ Harvard Kennedy School ช่วงเดือน กพ. 2018 ที่ผ่านมาเป็นคลิปที่มีหลายประเด็นน่าสนใจมาก เนื้อหาราวๆ 1.20 ชม. ค่อนข้างยาว ดังนั้นผมจะมารีวิวเบื้องต้นให้ลองดูกัน 1. ช่วงแรกการแนะนำตัวของคุณ Ray Dalio ซึ่งเป็นศิษย์เก่าของ Harvard University เล่าถึงเรื่องราวจุดเริ่มต้นก่อตั้งบริษัท Bridge water บริหารงานจนประสบความสำเร็จ 2. ประเด็นแนวคิดหนังสือ Principles ที่ Ray Dalio  เขียน โดยเขาอธิบายวิธีคิด กระบวนการเรียนรู้จากความผิดพลาด รวมไปถึงการสร้างวิธีการหาคำตอบ จากการแลกเปลี่ยนมุมมองความคิดที่แตกต่างกันแบบเปิด 3. ยกตัวอย่างระบบ Dot collector ที่ใช้ในบริษัท Bridgewater การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การโต้แย้ง และการสร้าง algorithm ในการหาคำตอบร่วมกัน การก้าวข้ามความขัดแย้ง 4. ถกกันยาวเรื่องแนวคิด Principle ในโลกความจริง ธุรกิจ การเมือง การบริหารองค์กร ตรงนี้ดีมากเพราะ คุณ Lawrence Summers เขาไม่ได้มองเห็นตาม Ray dalio ทั้งหมด(ไม่ใช่ขาอวย) มีหลายประเด็นที่เขายกขึ้นมาในแง่ปฏิบัติถึงการใช้แนวคิดเพื่อจะสร้าง Meritocrac

South Sea Bubble

เข้ามาในตลาดเก็งกำไร(หุ้น ทองคำ ค่าเงิน และอื่นๆ) นอกจากการเรียนรู้เรื่องการหาเงินสร้างกำไรแล้ว ยังต้องเรียนเรื่องของ"ความเสี่ยง" ให้เข้าใจดีอีกด้วย โดยเฉพาะการเรียนรู้จากเหตุการณ์ในอดีตเนื่องจากตลาดหุ้นบนโลกมีมามากกว่า 200 ปีซึ่งมีบทเรียนมากมายให้เราศึกษา จะช่วยให้เราเข้าใจพฤติกรรมตลาดและพฤติกรรมของคนที่เคยเกิด เพื่อนำมาใช้เตือนตัวเราไม่ประมาทและหาทางรับมือกับความเสี่ยง South Sea Bubble ตอนปี 1720 ในตลาดหุ้นลอนดอนของอังกฤษ เป็นอีกหนึ่งกรณีศึกษาที่นักเก็งกำไรควรเรียนรู้ องค์ป ระกอบของ ความคาดหวังในอนาคต + ความโลภบ้าคลั่งของคน + การปั่นราคาหุ้น ทำให้เกิดหายนะ การขาดทุนมหาศาลจุดจบอันขมขื่น โดยเฉพาะเมื่อมีชื่อของบุคคลดัง มากด้วยสติปัญญาอย่างท่าน Sir Isaac Newton เข้าไปเป็นเหยื่อในเกมส์การเงินนี้ด้วย ใน paper นี้ของคุณ Andrew Odlyzko บอกเล่าเรื่องราวของ และรวบรวมหลักฐานเกี่ยวกับการลงทุนของ Isaac Newton โดยเฉพาะพยายามแสดงข้อมูลเกี่ยวข้องกับบทบาทการเป็นนักลงทุนในตลาดหุ้นของ Newton ข้อมูลการลงทุนในบริษัทต่างๆและประเด็นการขาดทุนสูญเสียเงินอย่างหนักในฟองสบู่ South Sea Bubble เวล