ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

ทำไม Over trading ถึงไม่ทำให้รวย

3 เดือนที่ผ่านมาทำ Project หนึ่งชื่อว่า Bot Over Trade คือสร้าง robot ให้มันเทรดแบบ Over trading ด้วย Leverage ระดับ 100:1 ในบัญชี standard โดยเป้าหมายจะพิสูจน์ประเด็น High Risk High Return มันไม่ work ระยะยาวให้น้องๆที่ร่วมฝึกเทรดด้วยกันดู อีกประการส่วนตัวโดนถาม แนวถากถางบ่อยมากว่าเทรดทีละ 0.01 lot มันจะไปรวยได้ยังไง มันต้องกล้าได้กล้าเสีย ดังนั้นเลยทำการทดลองนี้มาให้ดูว่ามันไม่ได้จำเป็นว่าต้องเทรด lot เล็กเสมอไป ม ันขึ้นกับการออกแบบ Risk Management อีกประการอยากแสดงให้เห็นว่าทำไม ถึงไม่ใช้กลยุทธ์การเทรดแบบ Over trading (เพราะมันไม่ทำให้การเติบโตที่ยั่งยืนไง) ผลการทดลองก็ง่ายๆ เทรด scalping ไปเรื่อยๆยิงเก็บ cash flow ไปโดยใช้เงินเริ่มต้น $30 เทรด ซึ่งเทรดไปตามภาวะ volatility ของตลาด ยิงเก็บ cash flow ไป มีโค้วต้าการเทรด 4 Unit เดือนแรกมัน flow ได้กำไรสูงถึง 63% ต่อเดือน เดือนสองยังแม่นยิงเก็บแต้มไปต่อได้อีก 16.5% เดือนสามประคองตัว มีติดบ้างแต่ปิดได้กำไร 5.4% แต่เหมือนที่บอกครับ การเทรดแบบ Over trading มันไม่เคยทำให้ใครรวยระยะยาวเพราะ เมื่อประเด็นพิเศษเข้ามา ความผันผวนจาก

Salman Khan อดีตเฮ็ดฟันด์ผู้หันมาเปลี่ยนโลก

บทความนี้ขอมาเล่าเรื่องของ khan academy ต่อให้ฟัง ส่วนตัวผมชอบแนวคิดของการรู้และบอกต่อ เข้าใจแล้วถ่ายทอด ของคุณ คาน มาก ตามสโลแกน free world-class education for anyone anywhere เนื้อหาคุณภาพดีๆ เข้าใจง่าย มันถูกแจกจ่ายให้คนทั่วโลก นำไปใช้ ต่อยอดให้เกิดประโยชน์ได้มากมาย ประวัติของคุณ Salman Khan ผู้ก่อตั้งและเจ้าของ khanacademy นี้คืออดีต นักกลยุทธ์ ของ hedge fund ชื่อ Wohl Capital Management เขาจบคณิตศาสตร์และคอม พิวเตอร์จาก MIT และมีปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจจาก Harvard Business School เมื่อตอนปี 2009 คุณSalman Khan เริ่มต้นทำ เนื้อหา ในรูปแบบ vdo ง่ายๆ เพื่อสอน mathematics และ sciences แก่ญาติๆ คนเด็กๆละแวกบ้าน เพื่อติวการสอบให้กับพวกเขาเหล่านั้น ผ่าน YouTube channel บนอินเตอร์เน็ต ทำไปทำมา จากงาน vdo หลัก 100 กลายเป็นหลักพัน หลายพัน รวมเรื่องราวหลายหลายวิชา จากทำอดิเรก กลายเป็นงานประจำ จากทำคนเดียวก็กลายมามีทีมงาน หลายสิบชีวิติ ปัจจุบัน มี vdo มากกว่า 5000 ตอนที่เผยแพร่ หลากหลายสาขาวิชา และได้รับการแปล เป็นภาษาต่างๆมากมาย มีคนเข้า ไปดูและใช้งานหลายล้านวิวต่อเดือน ขยายมาเ

ความแข็งแกร่งของสหรัฐปี 2018(ด้านเศรษฐกิจ&การเงิน)

กระแสเงินพุ่งเข้าสู่สหรัฐ ทั้งตลาดหุ้น พันธ์บัตรและค่าเงิน รับการขยายตัวของเศรษฐกิจ ทิศทางอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น และ Benjamin Jone นวค.จาก State Street ให้ความเห็นด้านปัจจัยบวกพื้นฐานที่ดึงดูดเงินเข้าตลาดสหรัฐจาก Fundametal ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สหรัฐ จะเห็นจากปีนี้แม้จบปัจจัยบวกจากนโยบายลดภาษี ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนโดยเฉพาะบริษัทขนาดใหญ่ ต่างมีตัวเลขการเติบโตที่เป็นบวก จากภาพแรกจะเห็น asset ที่เกี่ยวข้องกับส หรัฐ เช่น S&P500 และค่าเงิน USD บวกต่อเนื่องตลอดปี เอาชนะกลุ่มตลาดอื่นๆ โดยเฉพาะตลาดเกิดใหม่(EM equity และ EM debt)ที่ปีนี้ อาการค่อนข้างไม่สู้ดีไปตามๆกัน ส่วนภาพที่สอง แสดงความผิดปกติ ที่เกิดช่วงกลางปี 2018 ทิศทางลักษณะของตลาดหุ้นสหรัฐ bullish ขยายตัวโดดเด่นแตกต่างจาก ดัชนีตลาดประเทศอื่นๆ และการ divergence มีขนาดและระยะห่างออกไปเรื่อยๆในช่วงเวลา 3 เดือนที่ผ่านมา https://www.bloomberg.com/news/articles/2018-08-13/asian-stocks-set-for-mixed-open-dollar-holds-gain-markets-wrap

stress testing

ได้อธิบาย แนวคิดการทดสอบระบบเทรด ในภาวะไม่ปกติ คล้ายกับการทำ stress test ให้กับระบบเทรดของเรา โดยในภาพนี้ผมเอาตัวข้อมูลจากคุณ charlie bilello ที่รวบรวมการทำ valuation ตลาดหมีไว้มาให้ดู ซึ่งข้อมูลแสดงพฤติกรรมตลาดในอดีตช่วง 1929 -2018 ที่เคยเกิดวิกฤติ มาให้ดู การใช้งานเราก็ลองพิจารณาช่วงเวลาที่เกิดในแต่ละรอบ ออกแบบการจัดการเงินให้รองรับ volatility ที่เกิดแล้วลองรันข้อมูลทำการ Back testing กับ asset ที่เราสนใจเลือกเฉพาะช่วงปีที่เกิดวิกฤตินั้นๆ(Overlap +/-2 ปีก็ได้)แทนกา รรันทดสอบย้อนหลังยาวๆ เพื่อทดสอบผลการทำงานในภาวะไม่ปกติดู ตรงนี้จะ testing แผนการจัดการเงินและการจัดการความเสี่ยงของระบบเราได้ดี มาก ยิ่งถ้าระบบไหนไม่แข็งแรง เรียกว่าไม่พังล้างพอร์ต หรือไม่ก็ Drawdown 80-90% ได้แน่นอน ปล. เพิ่มเติมถ้าพวกเราลองรัน data analysis ของ S&P500 ดูจะพบความน่าสนใจเยอะมาก ในภาพอดีตเราจะเห็นการถดถอยของดัชนี -50% ซึ่งหุ้นบางตัวในตลาดอาจจะลงไปมากกว่า -100% ก็เป็นได้ อีกด้านหนึ่งที่น่าสนใจคือความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาของขาขึ้นหรือตลาดกระทิง ยิ่งขึ้นเยอะขึ้นแรงต่อเนื่องหลายปี การถดถอ

แนะนำรายการ The Curious Investor

นั่งเทรดรอบดึกตลาดทองคำตึงๆไม่มีรอบให้เล่นเท่าไหร่ เลยมานั่งฟัง Podcast หาความรู้เพิ่มเติม ไปเจอ podcast ใหม่ที่มี เพื่อนนักลงทุนต่างชาติเขาแนะนำไว้บนทวิตเตอร์เป็น ช่องของ AQR capital ชื่อ The Curious Investor เพิ่งเปิดตัวเดือน สค.นี้เอง หัวข้อน่าสนใจไม่ได้มานั่งพูดนั่งบ่นเอามันส์เอาสนุกอย่างเดียว สาระเนื้อหาแน่นมาก มีทั้งจับประเด็นมาพูดโดยสอง DJ คือคุณ Dan Villalon คนนี้เป็น MD ของ North America portfolio อด ีตนักวิเคราะห์และนักเขียนที่มีประสบการณ์ด้านการเงินการลงทุนสูง อีกท่านคือคุณ Gabe Feghali คนนี้เป็น VP ของ AQR’s Business Development team อดีตทำงานเป็นทีม Quant research ใน AQR’s Equity portfolio สองคนนี้จัดรายการกันสนุกดี เข้าขากัน ผมเพิ่งฟัง ได้ 2 ตอนถึงตอน Face the Factors เรียกว่าชอบมาก เพราะเขาอธิบายเข้าใจง่าย ไม่ใช่ภาษาวิชาการยากและยกตัวอย่างได้ดีนำเอาทีมงาน นักวิเคราะห์ ผู้บริหารพอร์ตมาร่วมช่วยอธิบายประกอบด้วย รายการยาวประมาณ 22 นาที ไม่มากไปและไม่สั้นไป รถติดๆในช่วงนี้ นั่งฟังเพลินและได้เปิดโลก เปิดความรู้ดีจริงๆ แนะนำลองเข้าไปฟังได้ที่ https://www.stitc

Gold Demand Trends Q2 2018

ช่วงนี้ราคาทองคำกำลังอยู่โซนค่อนข้างต่ำปัจจุบัน 1211 (52 week range 1,365.4 -1,205.1) เมื่อเทียบกับปลายปี 2017 ที่ผ่านมา ท่ามกลาง story ช่วงนี้จะเห็นมีการยิงข่าวเชิงบวกออกมาเรื่อยๆทั้งยอดการสะสมทองคำของ Fund ,การซื้อทองคำของธนาคารกลางบางประเทศ ล่าสุดสัปดาห์ที่ผ่านมามีข่าวอีกชิ้นที่น่าสนใจ เป็นตัวเลข Gold Demand ไตรมาส 2 ของปี 2018 รายงานโดย World Gold Council ซึ่งตัวเลข demand ของ Q2 ที่ออกมายังต่ำและอ่อนตัว 964.3t ทั้งความต้อง การทองคำในกลุ่มต่างๆ ETF ,เครื่องประดับ(-2%), central bank(-7%) ส่วนกลุ่มเทคโนโลยีความต้องการทองคำปรับเพิ่ม +2% เทียบจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนหน้า ด้านตัวเลข Gold supply ไตรมาส 2 รายงานระบุปรับเพิ่ม +3% การเพิ่มติดต่อกัน 2 ไตรมาสปริมาณ supply เข้าแตะระดับ 1,120.2t. พิจารณาเป็นข้อมูลประกอบการวางแผนการเทรดต่อไปครับ https://www.gold.org/research/gold-demand-trends/gold-demand-trends-q2-2018

ทำไมหยวนอ่อนถึงกระทบค่าเงิน AUD

สัปดาห์ที่แล้วลองนำข้อมูลค่าเงินหยวนของจีนมาวิเคราะห์ความสัมพันธ์กับค่าเงิน AUD ให้ดู อธิบายเรื่องความเชื่อมโยงเศรษฐกิจ ทั้งการส่งออกและการท่องเที่ยวที่ออสเตเรียพึ่งพาจีน ดังนั้นเมื่อจีนเล่นเกมส์ค่าเงินอ่อน เพื่อสู้กับสหรัฐ ค่าเงิน Australia ก็เจอแรงกดดันตามไปในภาพใหญ่ปีนี้ลงไป -4.95% โดยเฉพาะช่วงระยะเวลานี้(ลองดูตัวเลขเศรษฐกิจออสเตเรียไตรมาส 1 และ2 ประกอบ) ขณะที่ปีนี้ค่าเงินหยวน CNY ลดลง -5.01% เทียบกับ usd ลองอ่านบทความ  why falling yuan raises economic jitters Australia นี้เพื่อดูรายละเอียดตัวเลขในหมวดต่างๆได้ มันอาจจะไม่ใช่บทสรุปหรือความสัมพันธ์แบบสมบูรณ์ 100% ตลอดเวลา แต่เรื่องพวกนี้เรานำมาใช้ประเมินความเสี่ยงและวางแผนรับมือได้ครับ ศึกษาเพิ่มเติมจาก link  https://m.scmp.com/week-asia/geopolitics/article/2158248/why-falling-yuan-raises-economic-jitters-australia?amp=1