ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

Digital nomad & Travel Trader

เดินทางท่องเที่ยวและผจญภัยรอบโลก นี้มันเหมือนเป็นความฝันของหลายๆคน เมื่อวานมีน้องคนหนึ่งชวนคุยประเด็นนี้ และถามว่าเราจะวางแผนแบบเทรดไปเดินทางท่องเที่ยวและไปใช้ชีวิตในประเทศต่างๆอย่างไร "Digital Nomad" เป็นสไตล์การทำงานยุคใหม่ที่เพิ่งเกิดและดูเหมือนจะบูมในช่วง 2-3 ปีนี้ เทคโนโลยีและธุรกิจ startup ไม่ว่าจะเป็น airbnb , coworking space และอื่นๆอำนวยเหล่า digital nomad มากประมาณกันว่าปัจจุบันมีจำนวน "Digital Nomad" มากกว่า 62,637 แล ะประเทศไทยก็หนึ่งเป็น Hub ของเอเซีย แนวคิดไม่ซับซ้อนมันคือการทำงานแบบไม่มี office ขอแค่มี wifi หรืออินเตอร์เน็ตดีๆ ก็เรียกว่าเริ่มต้นได้แล้ว สำคัญคือคุณมีอิสระในการออกแบบเวลาในการทำงานและใช้ชีวิต(แน่นอนว่าก็ต้องมีวินัยและความรับผิดชอบในงานด้วย) Digital Nomad มีหลายอาชีพมากโดยเฉพาะสายโปรแกรมเมอร์หรือนักพัฒนาและอื่นๆ ที่เดินทางไปทำงานในประเทศต่างๆ(3-4 วันต่อสัปดาห์) จากนั้นใช้เวลาว่างที่เหลือ Backpacking ท่องเที่ยวเรียนรู้วัฒนธรรมไปในตัว นอกจากประสบการณ์ชีวิต ยังได้เปรียบด้านค่าครองชีพที่ถูก ในหลายเมือง ย้อนกลับมาที่ Trader นิด

เตรียมแผนรับมือกับความเสี่ยง1: Gary Shilling

วันนี้ชื่อของ Gary Shilling กลับมาบนหน้าสื่อหลักอีกครั้ง เชื่อว่าคนส่วนใหญ่อาจจะไม่รู้จักไม่คุ้นหูกับชื่อนี้ แต่ถ้าเทรดเดอร์หรือนักลงทุนที่อยู่ในตลาดมาก่อนซับไพร์ม น่าจะพอจำแกได้ Gary Shilling เป็นนักเศรษฐศาสตร์(phd)และเป็นนักวิเคราะห์ ชายที่ออกมาเตือนเรื่องวิกฤติฟองสบู่ในซับไพร์มคนแรกๆ เขียนรายงานเตือนปัญหาและความไม่ปกติที่เกิดตั้งแต่ช่วงปี 2004 จนทำให้ Greg Lippmann เทรดเดอร์(ตัวละครเด่นเล่นโดย Ryan Gosling ใ น Big Short) หลังอ่านรายงานและได้คุยกับ Gary Shilling ออกมา short โปรดักซ์อนุพันธ์ subprime mortgages ทำกำไรจากฟองสบู่ที่เกิดมหาศาล $1.5 billion ให้กับ Deutsche Bank ช่วยให้ธนาคารไม่ต้องรับการขาดทุนหนักจากวิกฤติครั้งนั้น เช่นเดียวกันคุณ Shilling ยังเป็นที่ปรึกษาให้กับคุณ John Paulson ผู้จัดการกองทุนเฮ็ดฟันด์ทำการเทรด credit default swaps ในปี 2006-2007 เมื่อ debt default ฟันด์ทำกำไรไป $4 billion ในปี 2007 คุณ Paulson กล่าวว่านี้คือการเทรดที่ดีที่สุดในชีวิตของเขา ตอนนั้นในปี 2006 ตอนที่ Gary Shilling พยายามนำเสนอแนวคิดและผลการวิเคราะห์ข้อมูลของแกเกี่ยวกับ ซับไพร์มว่าจ

10 Things I've Learned from Meb Faber - "Just Survive"

ใช้เวลาว่างยามเช้านั่งฟัง podcast ในร้านกาแฟ Flirting with Models รายการโปรดสัมภาษณ์แขกรับเชิญผบห.กองทุนสาย Quant คนดังคุณ Meb Faber แห่ง Cambria Investments ผู้ตีพิมพ์บทความวิจัยQuantitative Approach to Tactical Asset Allocation ที่มียอดดาวน์โหลดมากกว่า 200000 ครั้ง คุณ Corey Hoffstein สัมภาษณ์ถึงเรื่องราวต่างๆหลายเรื่องที่น่าสนใจ ผมสรุปโน๊ตประเด็นหลักไว้ ประมาณนี้ 1. Trend following ยังไม่ตาย อันนี้คุยกันถึง paper ที่ Faber เขียนเน้นการทดสอบตัวกลยุทธ์แบบ TSMOM ผสมกับการจัดการความเสี่ยงและทำ TAA บน 5 asset calss หลัก ทำการทดสอบและตีพิมพ์ จากนั้นตอนปี 2012 กลับมา revise เอาข้อมูลใหม่(OSS) มาทดสอบกับระบบเทรดเดิม ผลก็ยังออกมาว่าการเทรดสไตล์ TSMOM ระยะยาวบน Global asset ยังเอาชนะตัวอ้างอิงได้ 2. ไม่มีใครซื้อจุดต่ำสุดหรือขายจุดสูงสุดได้ นั้นคือประเด็นสำคัญที่ Faber ย้ำเรื่อง Trend Following มันเป็นการจับโอกาสจากการเคลื่อนตัวส่วนใหญ่ของ asset การเปลี่ยนแปลงตาม Fundflow ไม่ใช่การพยายาม outperform ตลาดจากโมเดลการพยากรณ์หรือหาจุดเปลี่ยนแปลงเฉพาะเช่น สัญญาณซื้อขายจากจุดกลับตัวสูงสุดต

The next financial crisis ,Ray Dalio

บทความนี้อ้างสัมภาษณ์ความคิดเห็นของ Ray dalio เกี่ยวกับวิกฤติการเงินรอบใหม่ โดยสรุปอาจจะเกิดในอนาคตอันไกล(ไม่น่าจะเกิน 2 ปี) ซึ่งจะเกิดแตกต่างจากวิกฤติการเงินอดีต ปัญหาจะซับซ้อนและยากที่จะแก้หรือกระตุ้นให้ กลับมาเหมือนเดิม อาจจะส่งผลให้เศรษฐกิจพักตัวยาว(slow growth) มีผลกระทบรุนแรงมากต่อสังคม เกิดปัญหาการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ray dalio มอ งว่าความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆในอนาคต และให้ความเห็นว่า Fed ไม่ควรรีบเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วเกินตลาดคาดหวัง ตบท้ายด้วยประโยคสั้นๆ “I’d be more defensive rather than more aggressive,” สถานการณ์ตอนนี้คำว่า crisis กลายเป็นประเด็นที่สื่อต่างๆนำมาถกเถียงและพูดถึงถี่ขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งมันออกไปทางคล้ายๆกันคือ ทุกคนรับว่า asset มันราคาสูง(บางตัว over value) บวกกับอนาคตไปข้างหน้ามันมีความไม่แน่นอน โดยเฉพาะเมื่อสหรัฐโดยโดนัล ทรัมป์จะมาเปิด trade war ทั้งกับจีน ญี่ปุ่น ยุโรป กดดันเศรษฐกิจโลกเข้าไปอีก สุดท้ายเมื่อของกินของใช้แพง มันย้อนไปกระทบเศรษฐกิจของอเมริกา ซึ่งมีทั้งฝ่ายเชื่อว่ามีโอกาสจะเกิดการเปลี่ยนแปลง เกิดวิกฤติในเวลาอันใกล้ และบางฝ่

สุขภาพ ต้นทุนสำคัญของเทรดเดอร์

เทรดเดอร์คืออาชีพ ที่ต้องเผชิญกับความเครียด ความกดดันสูง ยิ่งไปกว่านั้น คือเรื่องของความผันผวนไม่แน่นอน ของตลาดที่เราไม่สามารถควบคุม คาดเดาได้ ส่วนใหญ่ผลกระทบของการขาดทุน มันจะไม่ใช่แค่เสียเงิน อย่างเดียว มันมีเรื่องของสุขภาพ(จิตใจ+ร่างกาย)อีกด้วย ทั้งเรื่องสุขภาพจิตจากความเครียด ความวิตกกังวล จากความทุกข์ ความผิดหวัง รวมไปถึงสุขภาพกายจากการต้องทำงานหนัก ต้องใช้เวลาในการเทรด ในการศึกษาเตรียมตัว ดังนั้นพออายุเข้าเกินหลัก 30 สุขภา พจะกลายเป็นทรัพยากรที่มีค่ามาก และถ้าดูแลรักษาไม่ดี หรือใช้สุขภาพแลกเงินแบบไม่สมดุล โอกาสเสียหรือขาดทุนในระยะยาวก็จะมีสูง บทความ businessinsider อ้างอิงคำบอกเล่าของ Dr. Arjun Ghosh ตำแหน่ง consultant cardiologist จาก Barts Heart Centre ถึงการเก็บสถิติของการป่วยต้องเข้ารักษาตัวของเหล่า Bankers และ finance professional อายุ 20-30 ปีใน UK มีการเข้ารักษาตัวโรคหัวใจสูงเพิ่ม 10% ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา นอกจากนี้กลุ่มอาชีพด้านการเงินการลงทุนช่วงอายุ 20s ,30s มีสถิติการป่วยเป็นโรคหัวใจ หัวใจวาย เพิ่มและมีความถี่การเข้ารักษาตัวฉุกเฉินกับแพทย์หัวใจที่สูงขึ้น(เฉลี่ย3-4

How To Really Tell If a Recession is Coming

คลิปรายการ At what Cost ตอนนี้น่าสนใจ เนื่องจากช่วงปี 2018 นี้ มีการพูดถึง recession กันบ่อยขึ้นหลังเศรษฐกิจสหรัฐฟื้นตัวขึ้นมาต่อเนื่องปีที่ 9 จากวิกฤติการเงิน บลูมเบริกนำเสนอตัวชี้วัดการเกิด economic recession จาก 3 expert  1. yield curve  - Lisa abramowisz นักข่าวผู้เชี่ยวชาญด้าน fix income พูดถึง yield curve เป็น indicator สำคัญที่มีความน่าเชื่อถือในการระบุการเกิด recession(จากอดีต 7 ครั้งที่ผ่าน) ปัจจุบัน yie ild curve ต้องจับตาแม้จะยังไม่ invert แต่ก็ flat ระดับต่ำกว่า 1% เข้าใกล้ 0% 2. consumer confidence - Matthew Boesler พูดถึงตัวชี้วัดเศรษฐกิจอย่าง consumer confidence ที่ปัจจุบันจากการสำรวจล่าสุด ออกมาไม่สดใจ มีการชะลอตัวโดยเกิดปัจจัยของราคาที่เพิ่มสูงต่อเนื่อง ทั้งบ้าน อสังหาริมทรัพย์ และรถยนต์  3. stock market - Peter coy บรรณาธิการข่าวเศรษฐกิจการเงิน พูดถึง stock market แม้จะไม่ใช้ดัชนีชี้วัดที่น่าเชื่อถือมากนัก แต่ดัชนีตลาดหุ้นมีความสัมพันธ์กับเศรษฐกิจของประเทศ ยิ่งภาพเศรษฐกิจดี ส่งผลให้กิจการดี ดัชนีตลาดหุ้นเติบโต เข้าอ้างความคิดเห็นของ paul samuelson ระบุจาก 5

History of Money Management

วันนี้ผมได้อ่าน paper หนึ่งน่าสนใจมากเกี่ยวกับการบริหารจัดการเงิน(Money Management) ศาสตร์และกลยุทธ์ด้านนี้มีความสำคัญอย่างมากต่อเทรดเดอร์ โดยเฉพาะการอยู่รอดและการใช้ทรัพยากรเงินที่มีจำกัดให้เกิดประสิทธิภาพ คุณ Martin Sewell จาก University College London เรียบเรียงบทความวิชาการเกี่ยวกับ Money Management ไว้ได้น่าสนใจมากโดยเฉพาะส่วนของประวิติศาสตร์สะท้อน timeline ด้านองค์ความรู้ตลอดหลายสิบปี มีนักวิชาการและนักคณิตศาสตร์อีกหลายท่าน  ที่นำเสนอบทความ เทคนิคและกลยุทธ์ด้านการบริหารจัดการเงิน ขอยกตัวอย่างเบื้องต้นมาให้ดู Bernoulli (1938) ใช้ geometric mean การคำนวณ value of risky ตามมาด้วย Latan´e(1959) นำเอา Kelly criterion มาประยุกต์ใช้กับการบริหารจัดการพอร์ตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพผลตอบแทน Edward O. Thorp(1962) ตีพิมพิ์บทความวิชาการการใช้ Kelly criterion สำหรับหาขนาดของการเดิมพัน(bet sizes) นอกจากนี้ Thorp ยังได้ทดลองใช้ Kelly criterion แทน Markowitz model ใน portfolio Management  ในปี  Edward O. Thorp( 1980)   ออกบทความ ‘The Kelly money management system’ Ralph Vince 1990 ออกหน