ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

Next downturn by Nassim Nicholas Taleb

วันนี้นั่งฟังคลิปสัมภาษณ์ของคุณ Nassim Nicholas Taleb ฉายาใหม่ Black swan man ซึ่งแกสมเป็นศาสดาด้านนี้จริงเพราะมีแฟนเขียนการตูน อิงเรื่องราวของแกด้วย(อันนี้ผมยังไม่ได้อ่าน เดี่ยวอ่านจบจะมาเล่าต่อ) ประเด็นการสัมภาษณ์ค่อนข้าง Dark ตามสไตล์ความคิดเห็นแนวของแก โดยสรุปคุณ Taleb มองว่าสถานการณ์ปัจจุบันดูเหมือนจะดี แต่จริงๆมันไม่ได้ดี ระบบเศรษฐกิจ ภาคการเงินเปราะบางและอ่อนไหว มากกว่าตอนปี 2007 โดยเฉพาะถ้ามอง ในมุมของ Debt ทั้งฝั่งของ corporate และ government เรื่องหนึ่งที่แกเน้นคือการก่อหนี้ที่สูงและต้องกู้ยืมมาก โดยเฉพาะการกู้เพื่อมาใช้หนี้เก่า ทั้งรัฐบาลสหรัฐและภาคเอกชน ยิ่งมาปะทะกับช่วงต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยสูง มันย่อมจะทำให้เกิดความอ่อนไหว คุณ taleb เชื่อว่าคนที่ได้ประโยชน์จากการลดอัตราดอกเบี้ย สุดท้ายจะต้องเป็นคนได้รับผลกระทบหนักจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ย สุดท้ายถ้าภาวะหนี้ระเบิด(เกิดDebt Crisis) ตลาดที่เชื่อมโยงกับ debt และ interest rate อย่าง อสังหา ก็จะได้รับผลกระทบก่อน ตามมาซึ่งตลาดหุ้น ยังมีประเด็นเรื่องภาวะอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น ที่จะยากในการรักษาให้ตลาดหุ้น bullish หรืออย

Use of Leverage in Strategic Asset Allocation

การใช้ leverge เพื่อปรับระดับความเสี่ยง จริงๆไม่ใช่เรื่องใหม่ ถ้าศึกษาด้านนี้จะพบมีหลายกลยุทธ์มาก หนึ่งในนั้นคือ risk parity ของคุณ ray dalio บิดาด้านนี้ การใช้ Leverage ร่วมกับการทำ diversification บน asset ที่มีการทำ data analysis อย่างดี เพื่อกระจาย risk และเพิ่มประสิทธิภาพการสร้างผลตอบแทนระยะยาว บทความชี้ให้เห็น leverage เหมือนดาบสองคม มันไม่ได้มีแต่โทษ ประโยชน์ก ็มีถ้าใช้ได้เป็น ใช้อย่างเข้าใจ เนื่องจากเป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อน มีเนื้อหาเชิงลึกพอควร อีกอย่างไม่อยากแตะเรื่อง leverage มากเพราะเดียวสื่อแล้วเข้าใจไม่ตรงกันอีก ถ้าสนใจ อยากรู้กลยุทธ์ด้านนี้จริงจัง ลองอ่านจาก paper เรื่อง Use of Leverage in Strategic Asset Allocation นี้เขียนโดยคุณ Lionel Martellini จาก EDHEC Risk Institute Scientific Advisor เรื่องเทคนิคและวิชาการที่เปิดมุมมองความคิด เพื่อความเข้าใจให้เราดี ซึ่งบทความนำเสนอตัวอย่างการใช้ leverage ในระดับ portfolio management บนกลยุทธ์ SAA ซึ่ง key คือระดับการใช้ leverage ใน asset ที่เหมาะสม ผลที่ได้โดยเฉพาะการลด downside risk ระยะยาวนี้น่าสนใจมากทีเดียว

ครบรอบ 10 ปี Bitcoin

สิบปีที่แล้ว Satoshi Nakamoto ได้เผยแพร่เอกสารแนวความคิด “purely peer-to-peer version of electronic cash” ในนาม Bitcoin ในช่วงแรกยังไม่ได้รับการตอบรับมากเท่าไหร่ จนมาถึง May 2010 ที่นักพัฒนา Laszlo Hanyecz ได้นำ 10,000 Bitcoins ไปแลกกับ pizzas ถือเป็นครั้งแรกที่ virtual currency ได้ถูกนำมาใช้แลกเปลี่ยนซื้อสินค้าในโลกจริง คิดมูลค่า Bitcoinในปัจจุบัน พิชซ่าถาดนั้นน่าจะเป็นแพงที่สุดในโลก ทีมงานบลูมเบิรกได้รวบรวมข้อมูลเปรียบเทียบอำนาจกา รซื้อของ 10,000 Bitcoins กับสิ่งของ ในช่วงเวลาต่างๆ นับจากปี 2010 ซึ่งจะพบช่วง Peak ของ Bitcoin ปี 2017 จะพบว่า 10000 bitcoin มีค่าสูงถึง $186 million มูลค่าเทียบเท่ากับภาพเขียน Mark Rothko’s No. 6 แม้ในปี 2018 มูลค่าถดถอยลง 10000 Bitcoin ยังสามารถซื้อเรือ yacht ($87M) หรือแม้เครื่องบินรบ F-35A ($94.6 million)ได้เลยทีเดียว ด้าน Daily transactions ทะลุ $1 million ช่วง April 2011 หลังข่าวการใช้ Bitcoin ซื้อ pizza จุดสูงสุดมาเกิดช่วงปี ปลายปี 2017 โดยเฉพาะจุด peak ที่ January 2018 ที่ transactions สูงถึง $5 billion ต่อวันจากการเทรดเก็งกำไรใน exchag

Stay in the game

บทความนี้ของนักวิเคราะห์จาก Calamos Investments นำเสนอแนวคิดที่ว่า ตลาดหุ้น ในภาพระยะยาวยังไงเสียก็เป็นทางเลือกในการสร้างความมั่งคั่ง (Wealth)ทางการเงินที่ดี แม้ภาพระยะสั้นแต่ละช่วงเวลาจะดูผันผวนและน่าหวาดเสียว บทความนำเสนอผมการทดสอบกลยุทธ์ Buy&Hold ใน S&P 500 โดยเริ่มเงินต้น $10000 จากปี 1996 ไปถึงปี 2016 กินระยะเวลา 20 ปี พบว่าเงินทุนเริ่มต้น 10K จะเติบโตถึง $43,930 แม้ผ่านภาวะวิกฤติการเงินใหญ่ 2 ครั้ง(ช่วงปี 2000 และ 2008) โดยค่าเฉลี่ย an nualized return ระยะ 20 ปี ที่ 8.19% ขณะเดียวกันการรอหาจังหวะเข้าจะ buy low , sell high อย่างเดียวถ้ายืนรอและไม่ได้ทำอะไร การตกรถพลาดโอกาสทอง ก็ทำให้ผลตอบแทนรวมจาก Buy&Hold Strategies ถดถอยลงไปมากเช่นกัน จากในภาพจะพบ กรณีที่พลาดโอกาสในวันที่ตลาดสุดยอด Best return 30 sessions ผลตอบแทนรวมจากเงินต้น $10000 จะลดลงเหลือ $9,026 นั้นคือขาดทุน ในกรณีนี้ผลตอบแทนเฉลี่ยจะอยู่ที่ -0.51% (แตกต่างกันอย่างมาก) สรุปยังไงเราก็ไม่สามารถไปคาดเดาอนาคตได้แม่นยำ 100% เช่นเดียวกัน Fact คือตลาดหุ้นมีโอกาสจะ crash ได้เสมอ ขณะเดียวกันก็มีวันที่ดี (La

ครบรอบ 89 ปี Black Tuesday

เมื่อ 89 ปีที่แล้ว ตลาดหุ้นสหรัฐเผชิญกับเหตุการณ์ Wall Street Crash of 1929 หรือ Black Tuesday โดยตลาดหุ้นนิวยอร์ค New York Stock Exchange หลังจากรับข่าวความตรึงเครียดในยุโรปและเกิดแรงขายมหาศาลกดดันจนตลาด ลอนดอน ถล่มในวันก่อนหน้า ความวิตกกังวลนี้ทำให้เกิด Panic sell เกิดการขายหนักกดดัชนี Dow Jones Industrial Average เปิดตลาดต้องเผชิญ การถล่มของราคารุนแรงสุดอย่างไม่เคยเกิดมาก่อนในขณะนั้น โดยดัชนีปรับตัวลง 2 วัน(28 -29 oct)รวมกันราวๆ -25% ตลาดหุ้นสูญเสียมูลค่่า $30 billion เฉพาะวันที่ 29 ดัชนีปรับลงราวๆ -12% จำนวนหุ้นกว่า 60 ล้านหุ้นถูกขายในวันเดียว ซึ่งราคาหุ้นเกือบทั้งหมดนตลาดสหรัฐปรับตัวลงรุนแรง สิ้นสุดตลาดกระทิงระยะยาว 9 ปีนับตั้งแต่ช่วงต้น 1920 และเหตุการณ์ Black Tuesday นี้นำมาซึ่งการสูญเสียความเชื่อมั่นในตลาดหุ้นสหรัฐ การล้มละลายของธุรกิจ ธนาคาร ปัญหาหนี้ ยังเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดวิกฤติเศรษฐกิจสหรัฐ Great Depression ที่กินระยะเวลายาวนาน 12 ปี เรื่องราวเหตุการณ์วิกฤติการเงิน มีหลายประเด็นที่น่าสนใจเป็นเทรดเดอร์ ลองหาข้อมูล ศึกษาเรื่องเหล่านี้ไว้ ช่วยทำให้มองเห็นสิ่

Gain to Pain Ratio

Gain to Pain Ratio เป็นการประเมินผลการเทรดแบบภาพรวม (ไม่ใช่รายออร์เดอร์) เพื่อใช้วัดประสิทธิภาพของการเทรด ในภาวะตลาดต่างๆ แบบแยกย่อย ไม่ใช่แค่การดูที่ค่ารวมสุดท้ายรายปีหรือรายเดือนอย่างเดียว แนวคิดนี้ถูกนำเสนอโดยคุณ Jack Schwager โดยการคำนวณสัดส่วนของผลรวมการเทรดที่ได้กำไร เทียบกับค่าสมบูรณ์ของผลรวมออร์เดอร์การเทรดที่ขาดทุน ซึ่งค่า GPR ที่ได้สามารถใช้วัดระดับ รายเดือน รายปี ก็ได้แล้วแต่ application ที่นำไ ปใช้ และสามารถใช้ติดตามการผลงานของระบบ แบบรายช่วงเวลาในลักษณะ time series ได้เช่นกัน(จำนวนการเปรียบเทียบควรมีมากเพียงพอทำให้เกิดนัยยะทางสถิติ) การประเมินผลค่า GPR คุณ Jack Schwager แนะนำไว้เบื้องต้นว่า GPR ควรมีค่ามากกว่า 1 และถ้าจะให้ดีที่สุดควรมีค่ามากกว่า 2-3 อิงแนวคิดว่า การเจ็บปวดจากการขาดทุน นั้นไม่เท่ากับความดีใจเมื่อได้กำไร มองอีกมุมถ้าเราประยุกต์หลักความน่าจะเป็นเข้ามาใช้ ผสมกับการเล่นกับมิติของเวลา(Time Horizon) สร้าง tactic ที่ก่อให้เกิดการขาดทุนยากขึ้น ต่อการเปลี่ยนแปลงระยะสั้น ตรงนี้ทำให้เกิดประสิทธิภาพรวมที่ได้ดีขึ้น ซึ่งค่า GPR ที่ได้มีโอกาสปรับขึ้นไปในระด

Bill Eckhardt, father of the CTA

นั่งอ่านบทความ Fifty years of evolutionary trading ของ Bill Eckhardt, เจ้าของฉายา father of the CTA , อดีตเทรดเดอร์สาย Systematic ยุคแรก ผู้บริหารและผู้ก่อตั้ง Eckhardt Trading Company (ETC) ถ้าใครเคยอ่านหนังสือเก่าๆ เช่น The Complete TurtleTrader น่าจะเคยได้ยินชื่อเสียงแก เป็นสมาชิกรุ่น Richard Dennis ชำนาญมากสาย volatility trend-following และ short-term trading เขาเขียนหลายประเด็นได้ดีมากเกี่ยวกับ Sys tematic trading ,Stat&Probability รวมถึงปัญหา Overfitting และอื่นๆ จุดอยากนำมาแชร์ส่วนตัวชอบเรื่อง Risk Management และ Money Management มุมมองแนวคิดเกี่ยวกับ Risk และ Return ที่ดีทำให้พอร์ตของ ETC อยู่รอดมายาวนาน ในภาพประเด็นหนึ่งที่เราน่าจะนำมาประยุกต์ได้คือเรื่องการบริหารจัดการเงินที่เขาคำนวณหา position size อิงจาก Utility function บน factor 4 ตัวหลักได้แก่ - เงินทุนที่มี - พฤติกรรมราคาสินค้า (volatility)ที่เทรด - ขนาดความเสี่ยงที่ลูกค้ารับได้ - ผลงาน(performance) ของระบบเทรดที่ผ่านมา ประเด็นเหล่านี้สำคัญ มากกว่าแค่การเทรดเข้าออกในแต่ละครั้ง ยิ่งในภาวะตลาดหุ้น ตลาดเก็ง