ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

FOMO (Fear of Missing Out) Effect

เมื่อวานมี Message หลายอันเข้ามาถามประเด็น "ตกรถ" อารมณ์ประมาณ ถ้าซื้อหุ้นไม่ทันต้องทำยังไง? ผมเขียนบทความนี้ไว้เมื่อเดือนที่แล้ว(SET 1300 จุด) สำหรับน้องๆเทรดเดอร์ที่ฝึกด้วยกันอ่าน วันนี้นำมาแบ่งปันสำหรับท่านที่เผชิญปัญหาเดียวกัน 1. ตั้งสติ จัดการกับอารมณ์ก่อน - FOMO ตอนนี้เผชิญหลายอารมณ์มาก แตกต่างกันไปบ้างจะเครียด ผิดหวังเสียโอกาส, บ้างอิจฉาคนที่ได้กำไร,บ้างทุกข์เพราะตัดขาดทุนแล้วหุ้นดีดใส่หน้า ,บ้างโกรธโทษเซียนที่บอกให้รอมันย่อ -ดังนั้น ตั้งสติวางอารมณ์ไว้ข้างๆ ก่อนตัดสินใจเทรด ก่อนหาเหตุผลเข้าข้างให้รีบซื้อจากเทคนิคอล เช่น เบรก 10 week, เส้น EMA ตัดกัน(เพราะซื้อแบบไม่คิด พอ volatility เพิ่มสูงก็จะดอยจะป่วนหนักอีก) 2. วางแผน ตลาดวิ่งแรง ไม่มีเหตุผล นั้นปกติแต่ตัวเทรดเดอร์ต้องมีแผนมีเหตุผลในการเทรด ต้องรู้ว่าซื้อหุ้นเป้าหมายอะไร ถือสั้น ถือยาว จะเล่นรอบเก็งกำไร หรือจะเก็บปันผล ทุกอย่างต้องตกผลึก สังเคราะห์มาเป็นแผน เขียนใส่กระดาษ ให้ชัดก่อน 3. จัดการความเสี่ยง - จิตใจ: ตกรถแล้ว ต้องยอมรับให้ได้ ว่าคุณซื้อหุ้นหลังคนอื่น ต้นทุนสูงกว่าคนซื้อหุ้นตอน 1100 1200 แน่นอน - บริหารคว

Bill Ackman กับผลตอบแทน 9,530%

พอดีเมื่อวานมีน้องเทรดเดอร์ถาม กรณีข่าวของ Bill Ackman ที่สามารถทำผลตอบแทน 9,530% ในเดือน March จาก covid-19 crisis ช่วงตลาดสหรัฐร่วงรุนแรง โดยข่าวระบุว่าฟันด์เขาเปลี่ยนเงิน $27 million ให้กลายเป็นผลตอบแทน $2.6 billion จนสื่อเอาไปเล่นกันอย่างครึกโครม บางสื่อกว่าว่าเขาคือผู้ชนะในตลาด บางคนก็อ้างกว่าเป็นผู้ฉวยโอกาสจากวิกฤติบ้าง บทความนี้ Aron Brown ผู้เขียนอธิบายได้เข้าใจง่ายดี โดยกล่าวว่า ตัวเลขผลตอบแทนที่เห็น จริงไม่สามารถอ้างว่าเป็นผลตอบแทนกำไร 9,530% จากเงิน $27 million เพ ราะกรณีนี้ Ackman ทำสัญญา ประกันจากมูลค่าสินทรัพย์รวมทั้งหมด โดยฟันด์ยอมจ่าย $40 million ต่อเดือนเป็นเวลา 5 ปี สำหรับ CDS (credit-default swap) contracts ถือว่าเป็นการประกันพอร์ตขนาด $8 billion ด้วยอัตรา 0.5% ต่อเดือนจากขนาด assets ที่ต้องการปกป้อง เมื่อเกิดวิกฤติ covid-19 ในอเมริกา credit ratings ของเหล่า corporate bonds ตกลงต่ำกว่า investment grade หรือกลายเป็น junk ส่วนของการ Hedge ก็ payoff มูลค่า $2.6 billion หรือคิดเป็น 33% ของ asset ทั้งหมด (แต่ยังถือว่าเป็น Good Betting + Luck เพราะจ่าย insurance premium ไป

The Big Cycles Over The Last 500 Years

ติดตามบทสัมภาษณ์ของคุณ Ray Dalio มาตั้งแต่ปีก่อนช่วง Trade war สังเกตเห็นว่า เขาจะพูดถึงการเปลี่ยนผ่านที่ทำให้จีนขึ้นมาในอนาคตบ่อยมาก ปัจจุบันเหมือน covid-19 Crisis จะกลายเป็นตัวเร่งทำให้เกิดการเปลี่ยน New World Order ชัดเจนขึ้นโดยเฉพาะ ภาพการขัดแย้งระหว่างมหาอำนาจเบอร์หนึ่งสหรัฐ และจีน นอกจากนี้ covid-19 ก็ทำให้สหรัฐเข้าสู่ภาวะอ่อนแอทางเศรษฐกิจอย่างหนัก อีกด้วย ในบทความ The Big Cycles Over The Last 500 Years เขียนถึงโอกาสของกา รเปลี่ยนผ่านในอนาคตที่น่าสนใจ โดยเฉพาะประเด็นของการเปลี่ยนแปลงของ economic & geopolitical war ที่เป็นสัญญาณของการเปลี่ยนผ่าน บทความนี้ Ray Dalio มองว่าจีนมีโอกาสก้าวขึ้นมามีบทบาทมากยิ่งขึ้น แม้จะไม่ได้ฝันธงว่าจะกลายเป็นมหาอำนาจเบอร์หนึ่งแทนอเมริกาในเร็ววัน ก็ตามแต่สิ่งที่มอง US empire กำลังเผชิญความท้าทาย ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศ โดยเฉพาะปัญหาความขัดแย้งภายในประเทศ ที่ยิ่งประทุในช่วงวิกฤติปัจจุบัน ขณะเดียวกันดูเหมือนจีนจะมีปัญหาภายในประเทศที่น้อยกว่า และมีความพร้อมในการเปลี่ยนผ่านด้าน เทคโนโลยี , เศรษฐกิจ สังคม และการทหาร ที่ได้เปรียบกว่าชาติอื่น นอกจา

Survivorship Bias

ชวนน้องๆและเพื่อนๆเทรดเดอร์ที่ฝึกเทรดด้วยกันมาคุยเรื่อง "การขาดทุนและล้างพอร์ต" เวลาเกือบ 2 ชม. หมดเร็วมาก ได้ถกหลายประเด็นและได้ข้อมูลปัญหามาสังเคราะห์ต่อมามาย เป้าหมายการสนทนาพยายามจะเข้าถึงสาเหตุ หรือผลของความผิดพลาด เพื่อหลีกเลี่ยง Survivorship Bias แต่คุยเรื่องนี้ไม่ง่าย เพราะมันเจ็บปวด มันผิดหวัง ทำให้เรามักเลือกที่จะลืมมันมากกว่า จนจำ เจ้า Survivorship Bias นี้เป็น Bias ที่น่ากลัว เพราะบางทีเรามองแต่ความสำเร็จ พยายามมองห าสูตรทำเงิน จนมองไม่ครบ ลืมคิดไปว่าวิธีเดียวกัน ระบบเดียวกัน มันไม่ได้จะ work กับทุกคน ทุกกรณี ทุกภาวะตลาด บางทีไปเอาแนวทางจากเซียน จากกูรู สมัยยุคอดีตมาใช้ ตลาดปัจจุบันอาจจะไม่ได้มีพฤติกรรมและสภาพแวดล้อมเช่นเดิม ผลที่ได้ก็ไม่ได้หมายความว่า เราจะสำเร็จตามนั้นเหมือนกัน สุดท้าย ท้ายสุดบางทีการฟังคนที่ล้มเหลว คนที่ขาดทุนอาจจะทำให้เรามองเห็น แง่มุมบางอย่าง ที่จะก่อให้เกิดองค์ความรู้ ในการพัฒนา ในการป้องกันข้อผิดพลาด เพื่อการอยู่รอดที่ดีขึ้นต่อไป

Risk factors

บทความนี้ของ คุณ Kris Longmore แห่ง robotwealth น่าสนใจ จึงนำมาสรุปไว้ แนวคิดการเพิ่มความแข็งแรงของพอร์ต ในช่วงวิกฤติ ด้วยการวิเคราะห์ risk factors ที่กระทบกับ asset ในพอร์ต Key นอกจากการกระจายความเสี่ยงไปยัง asset ที่มีความสัมพันธ์ต่อกันให้น้อยที่สุดแล้ว ควรพิจารณาจากปัจจัย risk factors ที่มีความเข้มข้น/รุนแรงในปัจจุบันและอาจจะส่งผลกระทบต่อ ผลกำไรขาดทุนในพอร์ต บทความนี้แนะนำ การเลือกถือ asset ที่กระจายไปตามผลกระทบเชิงลบจาก risk factors หลักได ้แก่ Real interest rates , Inflation, Credit ,Liquidity ,Growth และ Political ส่วนกลยุทธ์ที่เขาแนะนำคือการทำ long risk premia หรือซื้อสะสม asset หลายตัวที่ผสม risk factors แตกต่างกัน(มากกว่า 2-3 ประเภท) และใช้การปรับน้ำหนักเงิน แปรผันไปตามช่วงเวลาและภาวะเศรษฐกิจ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของพอร์ต อ่านเพิ่มเติม https://robotwealth.com/harvesting-risk-premia/

Prospect Theory Helps Explain Return Anomalies

paper นี้ของคุณ Barberis, Jin, and Wang ที่ผมพูดถึงเมื่อวาน ถ้าอยากทำความเข้าใจเรื่องของ anomaly ในราคา asset จุดน่าสนใจคือเขาทำโมเดลที่อนุมานทิศทางราคา โดยคำนึงถึงตัวแปรที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมความไม่ปกติ เช่น beta, volatility, skewness, และ ความคาดหวังผลตอบแทนอนาคต  จากผลวิจัยพบ 3 จาก 22 ตัวที่โดดเด่นในกลุ่ม Anomalies ที่มีผลตอบพฤติกรรมราคา และที่สำคัญมีผลกระทบต่อพวกโมเดล ที่สร้างมาเพื่อการพยากรณ์ทิศทางราคาในอนาค ตของสินทรัพย์ต่างๆ ดังนั้นในมุมของเทรดเดอร์ หรือนักพัฒนาระบบเทรด การเข้าใจตัว Anomalies หลักๆเอาไว้ก็จะช่วยให้เรา ไม่ประมาท ไม่มโน และสามารถสร้างระบบเทรดได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ปล. ทฤษฎีคาดหวัง (Prospect theory) เป็นอีกทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับ behavioral economics ที่น่าศึกษา พฤติกรรมของคนกับ การตัดสินใจถูกแทรกแซงทางอารมณ์/ประสบการณ์ความรู้สึกก่อนหน้า ในเกมส์ที่มีผลกำไรขาดทุนเข้ามาเกี่ยวข้อง สนใจศึกษาเข้าไปอ่านได้จาก https://papers.ssrn.com/sol3/papers.cfm?abstract_id=3477463

Consistency Is King

วันนี้มีน้องเทรดเดอร์ เขียนเมลมาถามถึงเรื่องของเครื่องมือเทคนิคอลและการอ่านกราฟสำหรับการเทรด FX แต่จริงๆแนะนำว่า ระบบที่ดีไม่ใช่ระบบที่ถูกต้อง 80-90% อะไรแบบนั้นเพราะสุดท้ายมันไม่มีเครื่องมือหรือโมเดลอะไร จะไปจับทางตลาดได้เช่นนั้น แต่ระบบเทรดที่ดี บางทีอาจจะมีความถูกต้องระดับหนึ่ง แต่มีความน่าเชื่อถือหรือทำกำไรได้ต่อเนื่องบนความเสี่ยงที่จำกัดได้ ก็ถือว่า OK แล้ว เริ่มต้นลองฝึกเทรดจากระบบที่ simple บนขนาด position size ที่เล็ก เพื่อลดผลกระทบจาก การขาดทุน และทำให้เรากล้าตัดสินใจ(ไม่จิตตกมาก กรณีที่ขาดทุนหนัก) รวมถึงทำให้เรามี เงินทุน ในการเทรดได้ยาวนาน อย่าไปรีบกอบโกยในช่วงแรก เพราะสุดท้ายทำให้ over trading แล้วล้างพอร์ตหมดตัว อย่างในภาพตัวอย่าง ผมพัฒนาระบบเทรด เทรดมาแล้วกว่า 5 ปี(ผ่านทุกภาวะแนวโน้มตลาด อย่าปี 2019 2020 อย่างโหด ก็ทำให้ได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ) เราเน้นการคุมผลการเทรด จำกัดความเสี่ยงไม่ให้สูง DD ก็จะไม่ให้เกินเกณฑ์ ขณะเดียวกันพยายามเล่นกับ volatility เก็บรอบสร้างกำไรให้ต่อเนื่อง โดยวัดผลที่จำนวน pips ที่ได้ไม่ใช้ที่จำนวนตัวเงิน($) เอาตัวช่วยหรือ leverage ออกไปก่อน ฝึกแบบนี้ไป

The Founder (2016)

The Founder เป็นหนังชีวประวัติที่ถ่ายทอดเรื่องราวการก่อตั้งธุรกิจ ระดับโลกอย่าง McDonald เนื้อหาของเรื่องค่อนข้างสนุกกระชับ และถ่ายทอดช่วงเวลาที่สำคัญในการขยายธุรกิจ ได้น่าติดตามมาก โดยเฉพาะ Michael Keaton แสดงได้ดีจริงๆ หนังเริ่มเล่าเรื่องของ Ray Kroc ชายวัยกลางคนผู้ที่มีอาชีพเป็นพนักงงานขายเครื่องทำนมปั่น เขาเดินทางไปทั่วหลายรัฐจนไปพบร้านอาหารชื่อ McDonald ของสองพี่น้อง ซึ่งเป็นร้านเล็กๆขายอาหารพื้นฐานสา มัญ เช่น แฮมเบอร์เกอร์,มันฝรั่งทอด,ไอศกรีม,นมปั่น,กาแฟ เป็นต้น ด้วยราคาไม่แพง กินง่าย สะดวกและบริการรวดเร็วไม่ต้องรอนาน Ray มองเห็นโอกาสทางธุรกิจ การขยายกิจการไปทั่วอเมริกา ซึ่งเขาเชื่อมั่นว่ามันจะสำเร็จและกลายเป็นร้านอาหารที่ตอบโจทย์คนส่วนมาก สุดท้ายด้วยโมเดลธุรกิจและการบริหารแฟรนไชส์ทำให้ McDonald โด่งดังเป็นที่ยอมรับและสามารถเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ ขยายสาขาไปทั่วโลก แต่กว่าจะสำเร็จไม่ง่าย ฝ่าฝันอุปสรรคปัญหามากมาย รวมถึงการตัดสินใจทางธุรกิจ ที่ต้องฉลาดและเด็ดขาด กล้าเสี่ยง เป็นที่มาของความสำเร็จในทุกวันนี้ของ McDonald (คล้ายกับ Microsoft ของบิลเกต เหมือนกันนะ ที่ตอนเริ่มต้นต้อง

ระบบเทรดที่ไม่สมบูรณ์แบบ

เมื่อวานได้ร่วมคุยกับทีมเทรดเดอร์สาย systematic trading น้องหลายคนรู้จักกันมาหลายปี รอบนี้ได้คุยกันเพื่อนำเรื่องการทำงานของระบบเทรดช่วงตลาด covid-19 crisis มาอภิปรายและแชร์ประสบการณ์กัน ประเด็นหนึ่งที่ผมนำไปแชร์คือเรื่องความไม่ perfect ส่วนใหญ่ที่ผมพบเทรดเดอร์พยายามจะหาระบบที่สมบูรณ์แบบ แม่นยำ ผิดพลาดน้อยที่สุด บางคนไปหาโมเดลมา prediction ตลาดและหลอกตัวเองว่าโมเดลเราเทพ แม่นมากโดยอิงการทำ back testing จากข้อมูลอดีต แต่เหมือนที่ไมค์ ไทสันกล่าว "Everybody has a plan until they get punched in the mouth." ตลาดหุ้นของจริงมันไม่ง่าย หลายอย่างมันไม่ได้เป็นไปตามตำราไม่ได้เป็นไปตามบทวิเคราะห์ ไม่ได้เป็นไปตามที่เราคิด แต่ไม่ได้หมายความว่าต้องทิ้งระบบเทรด ผิดได้ ขาดทุนได้แต่ต้องผิดให้เป็น สัจจะธรรมคือ ระบบเทรดหรือเทรดเดอร์ส่วนใหญ่ทำกำไรได้ทั้งนั้นยามตลาดขาขึ้นหรือกลับตัวขึ้น สิ่งสำคัญคือผลที่เกิดยามตลาดหุ้นขาลง หรือตลาดผันผวนต่างหากที่เป็น Key ชี้วัด สิ่งที่เทรดเดอร์ต้องทำคือ เริ่มจากระบบที่เรียบง่าย ทดลองเทรดจริงในตลาดจริงกับข้อมูลราคาจริง(Real time data) ใช้เวลาในการพัฒนา ในการวิเคราะ

Bull trap 101

เทรดเดอร์ ที่ท่องยุทธจักรมาพอสมควรน่าจะเคยได้ยินคำว่า Bull trap หรือกับดักตลาดกระทิง ไม่มีอะไรซับซ้อนตามตำราว่ากันว่า อะไรที่ดูเหมือนจะกระทิง ราคาจะวิ่งแรงเบรกแนวต้าน ยิ่งดูเหมือนมันจะคึกคักหรือดีเกินจริง บนความไม่แน่นอน(หรือความผันผวนแฝงตัว) สภาวะนั้นย่อมจะเกิด กับดักทำให้คนเชื่อ หรือไล่ราคาซื้อตาม และสุดท้ายตลาดก็วิ่งกลับตัวในทางตรงข้าม สิ่งที่น่าสนใจคือ Bull trap มักเกิดบ่อยช่วงปลายตลาดกระทิง ช่วงที่ตลาดมีภาวะทิศทางไม่แน่นอนหลังการ sell off ร อบใหญ่ นอกไปจากนั้น Bull trap ยังเป็นส่วนหนึ่งที่ตำราเทคนิคอล ใช้อธิบายสถานะของการเกิด Bubble อีกด้วย เอาเรื่องนี้มาฝาก เพราะช่วงนี้ ต่างประเทศโดยเฉพาะอเมริกา มีการพูดถึงคำนี้บ่อยๆ ส่วนตลาดจะเป็นยังไงต่อไป จะขึ้นหรือลง คงต้องรอดูกัน ไม่ประมาทดีที่สุดครับ อ่านต่อ https://www.investopedia.com/terms/b/bulltrap.asp

ปัญหา Low interest rates

ตอนนี้กำลังวางแผน หาที่พักเงิน สู้กับ ช่วงอัตราดอกเบี้ยต่ำ(low interest rate) อ่านเจอหลายบทความหลาย paper สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจคือความเป็น New Normal ในตลาดตอนนี้ ที่กูรูฝรั่งบอกว่าปัจจุบัน อาจจะไม่มี Safe Haven อีกต่อไป ไม่ว่าจะ Bond หรือ Cash (สกุลต่างๆ) ล้วนเผชิญกับแรงกดดันและความผันผวนที่เกิด ในช่วง covid-19 จากบทความของคุณ Ben Carlson เขานำเสนอข้อมูลพันธ์บัตรและดอกเบี้ยจากอดีต สิ่งที่น่าสนใจจะเห็นพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลง จากเดิมเชื่อ 10ํY Gov Bond จะสู้ Bear Market ได้ แต่หล ังจาก 2008 การทำ QE และการลดดอกเบี้ยของ Fed ทำให้ เกิดผลกระทบต่อพันธ์บัตร ดังภาพปี 2020 ตลาด Bond ผันผวนและ 10Y Yield อยู่ที่เพียง 1.6% อาจจะสูงถ้าเทียบอัตราดอกเบี้ยที่ 0 แต่ต่ำมากเมื่อเทียบกับ Bear Market ในอดีตที่นักลงทุนสามารถนำเงินไปหลบ เช่น 1987 Great Depression ที่ 8.8% หรือช่วง Subprime crisis ที่ 4.5% ซึ่งตารางที่ 2 แสดงให้เห็น แม้จะมีเงินออม $1 Million เพื่อเก็บสะสมใน 10 year treasuries ผลตอบแทนรายปี ต่ำลงมากจนเรียกว่า แทบจะไม่พอกับค่าใช้จ่าย หรือจะใช้พึ่งพาเพื่อดำรงชีวิตหลังเกษียณเลยทีเดียว

หมดตัวเพราะอยากรวย

กล่าวกันว่าไม่มีช่วงเวลาใดที่ดีที่สุดเหมือนในช่วงวิกฤติสำหรับการเรียนรู้เรื่อง Risk Management เพราะเป็นช่วงตลาดเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน และมักให้บทเรียนกับเทรดเดอร์ ที่คิดว่าตัวเองสามารถคาดเดาทิศทางตลาด คาดเดาอนาคตได้ ด้วยโมเดลและความเชื่อที่มี Story นี้เป็นเรื่องของชายคนหนึ่งที่คิดว่า ราคาน้ำมันถูก เขาเดิมพันเงินเก็บ เงินออมเกษียณ ทั้งหมดที่มี ในการซื้อ oil ETF สิ่งที่เกิด ราคาน้ำมันไม่ได้หยุดแค่ $20 ไม่ได้เป็นการลดลงเฉพาะสัญญา Futures ที่จะหมดอายุ แต่กลายเป็นว่า ราคาลงต่อรุ นแรง ทำให้ราคา ETF ลงหนักราคาไม่ recover สิ่งที่เกิดชายคนนี้เปิด Position กว่า $175000 ช่วงบ่ายของวันศุกร์ต้องขาดทุนหนักทันทีจากราคาน้ำมันร่วงหนัก โดยวันจันทร์ผ่านมาเหลือมูลค่าสถานะแค่ $1885 (ไม่แน่ใจว่าเขาใช้ leverage เท่าไหร่ หรือไม่ ถ้าไม่ใช้ ก็น่าจะมีลุ้นถือ ETF ในอนาคตได้) สิ่งที่น่ากลัวคือ การเสี่ยงเกินตัว จนอาจจะทำให้ผลขาดทุนกระทบต่อครอบครัว อีกด้วย แม้ราคาจะลงมาในจุดต่ำที่สุด หรือแม้จะเกิดความกลัว จนทุกคนในตลาดพูดถึง ถ้ากล้าเทรด/ลงทุน ตามความเชื่อแบบปราศจากการป้องกันความเสี่ยงที่ดี สุดท้ายก็ห

บริษัทเทรดน้ำมันยักษ์ใหญ่ จ่อล้มละลาย

ราคาน้ำมันตลาดโลก กำลังเป็น talk of the town สิ่งที่น่ากลัวกว่าราคาน้ำมันป่วน คือบริษัทค้าน้ำมันล้มละลาย ที่กำลังเกิดขึ้นแล้ว ถ้าใครเทรดน้ำมันแบบผม หรือติดตามอ่านข่าวตลาดน้ำมันน่าจะเคยได้ยินชื่อบริษัท ฮินเหลียง เทรดดิ้ง (Hin Leong Trading) เป็นบริษัทค้าขายน้ำมันอิสระใหญ่ที่สุดในประเทศสิงคโปร์ เป็นที่ภาคภูมิใจของสิงคโปร ฐานะผู้เล่นรายใหญ่ที่มีบทบาทในตลาดน้ำมัน วันนี้ ฮินเหลียง เทรดดิ้ง ป่วนหนัก ยื่นล้มละลายหลังหลังขาดทุนถึง - $800 ล้าน ในการซื้อขายนํ้ามันล่วงหน้า (Oil Futures) รวมถึง บริษัทในเครือ โอเชียนแทงเกอร์ส ล้มละลาย ข่าวระบุบริษัทเป็นหนี้ค้างชำระถึง 4.05 พันล้านดอลลาร์ ขณะที่มีสินทรัพย์เพียง $714 ล้าน ต่อให้ขายทุกอย่างจนหมด ยังมีหนี้ค้างกว่า 3.34 พันล้าน สิ่งที่น่ากลัวไม่ใช่แค่บริษัทนี้ล้ม แต่เป็นความกังวลที่ลาก เจ้าหนี้ คือ ธนาคารขนาดใหญ่และสถาบันการเงินกว่า 20 แห่ง ของสิงคโปร และเอเซีย รวมถึง นักลงทุน ล้มไปด้วย นั้นหมายถึงหายนะของเศรษฐกิจสิงคโปร เลยทีเดียว นอกจากรัฐบาลสิงคโปรจะไม่ช่วย bailout แล้ว ยังเปิดการสอบสวนบริษัท Hin L

กองทุน Oil ETF

ราคาน้ำมันโลก กำลังป่วน ด้าน WTI Futures May 2020 วันสุดท้ายถึงกับติดลบ ซึ่งเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์(เพราะไม่มีความต้องการรับส่งมอบ) แม้สัญญา WTI June 2020 เช้านี้ยืน $22.12 +8.27% กองทุนน้ำมัน ETF ไทยส่วนใหญ่จะใช้บริการลงทุนต่อใน Invesco DB Oil Fund คิดว่าน่าจะไม่มีปัญหาขาดทุนหนักจากการถือ WTI Futures เดือน May เพราะพวกนี้จะมีการขายสัญญาใกล้หมดอายุ และเปลี่ยนไปถือสัญญาไกล เดือนอื่นๆแทน ตัว font  อีกประการหลายกองมีการผสมส่วนของเงินสดและพันธบัตร เพื่อลดความผันผวนของพอร์ต ตรงนี้ช่วยลดความเสี่ยงจากราคาน้ำมันในตลาดได้อีกทาง ปีนี้ใครที่ลงทุนกองน้ำมันคงเหนื่อยหน่อย จนกว่าราคาน้ำมันกลับขึ้นมาได้

Virgin Atlantic & Virgin Australia กำลังเข้าตาจน

อุตสาหกรรมการบิน โดน covid-19 เล่นงานหนัก สายการบิน Virgin Atlantic & Virgin Australia ของ Richard Branson กำลังจะไปไม่รอด Richard Branson มหาเศรษฐีระดับโลก เขาเขียนจดหมายขอความช่วยเห ลือจากรัฐบาล UK (Virgin Atlantic airline)และ Australia ให้ช่วย Bailout โดย Financial Times ระบุว่า Virgin Atlantic ได้ยืนขอกู้เงินประมาณ 500 ล้านปอนด ์ แต่ถูกรัฐบาล UK ปฏิเสธ และให้ยื่นข้อเสนอใหม่ ส่วน Virgin Australia ได้ยืนขอเงินกู้มูลค่า 750 ล้านปอนด์ ก็ถูกปฏิเสธเช่นกัน โอกาสสูงมากที่ธุรกิจอาจจะไ ปไม่รอด และต้องปลดพนักงาน หลังมีการบังคับให้ลดเงินเด ือนเพื่อ ลดต้นทุนบริษัทมาแล้วก่อนหน ้า ล่าสุดพนักงานของทั้งสองสาย การบิน 38,000 คน ต้องถูกพักงานชั่วคราว และสายการบินต้องพึ่งพารัฐบ าลในการจ่ายเงินค่าจ้างในสั ดส่วน 80% ของค่าจ้างในช่วงเวลาปกติ Richard Branson โดยวิจารณ์ยับฐานะมหาเศรษฐี  ระดับพันล้าน( 5.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ) แต่ต้องขอเงินภาษีไปสนับสนุ นธุรกิจสายการบิน ซึ่ง Branson ตอบโต้ว่ามูลค่าสินทรัพย์เข าอยู่ในหุ้นของกิจการ เขาไม่มีเงินสดสภาพคล่องมาก ู้ธุรกิจ นอกจากนี้ Branson เสนอ นำ Necker I