ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

จะรู้ได้ไงว่าเรากำลัง "เครียด"

จากโพสเมื่อวาน น้องเทรดเดอร์คนหนึ่งถามเข้ามาทาง message ว่าผมเป็นคนอารมณ์ดี แล้วจะรู้ได้ไงครับว่าเครียดหรือไม่เครียด? อ่านไปก็อดอมยิ้มไม่ได้ ผมเชื่อว่าทุกคนมี base line ของตัวเอง มันคงไม่มีสูตรหรือ solution แต่หลักง่ายๆของผมคือ ลองคิดย้อนไป ช่วงเวลาที่ทำให้ตัวเรา panic หรือต้องนอนไม่หลับ ทางภาวะอารมณ์เกิดหงุดหงิด เกิดจิตตก หรือคิดวนไปวนมาในเรื่องๆเดิมในหัว สัญญาณเหล่านี้ตามตำรา ถือว่าเข้าภาวะ เครียด หรือ จิตตกแล้ว ถ้าจะเอาแบบ Quant แนะนำเทคนิคของน้องคนหนึ่ง เขาเป็น prop trader ให้ บล. ชื่อดัง น้องเขาใช้ smart watch หรือ สายรัดข้อมืออัจริยะ ที่ติดตามอัตราการเต้นของหัวใจ (Heart Rate) และแจ้งเตือนได้ จริงๆย้ำอีกทีการเป็นเทรดเดอร์ เทรดเงินจริง ตลาดจริง มันไม่ได้มีแต่สายรุ้งและ ยูนิคอน แบบที่ถูกทำให้เชื่อ จำเป็นต้องมีภาวะการบริหารจัดการทางอารมณ์ให้ดี มีแผนรับมือผลของความผิดพลาด สำคัญมากในยามภาวะวิกฤติ หรือช่วงเราเกิดปัญหา ในการเทรดครับ ปล. ในภาพเป็น GARMIN Vivosport

บทเรียนจากการสูญเสีย

เวลาเทรดเดอร์เริ่มเข้ามาในตลาด ผมว่าทุกคนคล้ายกัน คือแบก "ความหวัง" "ความกดดัน" และ "ความโลภ" ไว้บนบ่า แต่มีไม่กี่คนที่อยู่รอด ระยะยาวได้ อันนี้คือสัจจะธรรม ที่ต้องตระหนัก อย่าปล่อยให้คำโฆษณาใดๆมาชวนเชื่อ หรือหลอกลวงเรา แน่นอนว่าไม่ผิดที่จะเริ่มเรียนวิธีหาเงินทำเงิน แต่สิ่งที่ต้องเรียนก่อนเข้าไป สู้รบในตลาดจริง คือ วิธีการบริหารจัดก ารความเสี่ยง(Risk management) และการบริหารจัดการความโลภ( Emotion manangement) เรื่องสลด ผมไม่อยากลงรายละเอียดเยอะแต่ลองไปอ่านได้ในบทความ ซึ่งเรื่องน่าเศร้าคือ ตลอดเวลาสิบกว่าปีที่ผมเทรดในตลาด ผมเจอข่าวแบบนี้เยอะมาก เกือบทุกปี โดยสรุปข่าวนี้เล่าเรื่อง เทรดเดอร์มือใหม่คุณ Alexander Kearnอายุ 20 ปีที่เข้าไปเทรดอนุพันธ์ ล่าเงินในช่วงตลาดผันผวนแบบปัจจุบัน จากนั้นด้วยความผิดพลาด ทำให้ขาดทุนในการเทรด options พอร์ต -$730,000 ข่าวระบุผลการขาดทุนหนัก ทำให้เกิดความเครียด สุดท้ายจบชีวิตตัวเองด้วยการฆ่าตัวตาย(สาเหตุเชิงลึกเกี่ยวกับปัญหาทางจิตและอื่นๆ ยังรอการสอบสวน) เป็นเรื่องน่าเศร้า และทางครอบครัวผู้เสียชีวิตก็ออกมา เรียกร้องให้สอบสวน ขอค

อย่าเพิ่งยอมแพ้ แม้ปีนี้จะขาดทุน

ปกติเราพูดถึงเซียนกูรูตามหน้าสื่อมักจะพบแต่เรื่องของความเทพความสุดยอด แท้จริงแล้วทุกคนย่อมเคยผิดพลาด เขียนบันทึกนี้ไว้เพื่อจะเตือนตัวเองให้ไม่ประมาท และ focus ไปที่การเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะความสามารถกันต่อไป บทความข่าวย้อนอดีตของ independent ที่เล่าถึงการขาดทุนใหญ่ ของคุณ George Soros โดยปี 1998 โซรอสมองว่าดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐ จะปรับตัวลงและลงหนักทำให้เขา betting ทางนั้น ปรากฏว่าช่วงปลายปีนั้น ดัชนี DJ30 บวกเพิ่มกว่า 13% หรือ 1000 จุด ทำให้ soros ขาดทุนจากการ short positions ในตลาดฟิวเจอร์ (ตลาดมันถล่มหลัง bullish เพียงแต่มันเกิดปี2000 หลังจาก soros ทำนายและ Short 2 ปีถัดมา) เช่นเดียวกันมีการขาดทุนจากตลาด Hong Kong (รวมถึงมีข่าวว่าขาดทุนหนักอื่นๆระดับ 2 พันล้านเหรียญ แต่ตัวเลขนี้ไม่มีการออกมายืนยัน) ปีนั้นเรียกว่าเป็นปีที่ยากลำบากของ soros fund ซึ่งมีการชี้แจงในจดหมายถึงผู้ร่วมลงทุน soros ยังมีการแจ้งพิเศษกับนักลงทุนรายใหญ่ของฟันด์ว่า ลาพักชั่วคราว ("taking a temporary medical leave of absence") แหล่งข่าวอย่างคุณ Nicholas Roditi ผู้ลงทุนในกองทุน Quantum Fund ออกมายืนยันโดยระบ

Multi-Strategies

แนวคิด Multi-Strategies มีการใช้มานาน มีหลาย paper หลายบทความให้เราศึกษา อย่างผมใช้ Robot trading ทำให้ง่ายต่อรันหรือเทรดด้วย หลายกลยุทธ์ ในพอร์ตเดียวกัน แต่ไอเดียหลักคือการ diversify ไม่ใช่แค่ asset class แตกต่าง แต่เราสามารถกระจาย trading strategies ที่หลากหลาย ในช่วงเวลาเดียวกัน สินค้าเดียวกัน(หรือแตกต่างกัน) เพื่อดีลกับ Risk Factor ในช่วงเวลานั้นๆ ซึ่งสัจจะธรรมคือ แต่ละกลยุทธ์ล้วนมีข้อจำกัดและมีจุดเด่น ที่ตอบสนองได้ดีในภาวะตลาดแตกต่างกัน Key คือการบริหารจัดการให้เกิดประสิ ทธิภาพเพื่อให้เกิด Alpha กรณีเทรดเดอร์ ที่เทรดด้วยมือเทรดเอง ก็สามารถใช้ Multi-Strategies ได้ เพียงแต่ปรับช่วงเวลา หรือ Time Horizon ของกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับ การเทรดเข้าออกของเรา แต่ต้องอิงกับ Basic การบริหารเงินที่เหมาะสม + การพัฒนาระบบเทรดแต่ละกลยุทธ์ให้มั่นใจว่ามันรอดจริงๆก่อน ภาพเป็น paper ของ algoanalytics เฟริ์มอินเดียเจ้าหนึ่งที่ทำ Quantitative Trading แทนจะเน้นไปที่ Trend หรือ Momentum Factor อย่างเดียว เฟริ์มนี้ มองหา Investment Idea และรันกลยุทธ์แบบหลากหลายตามแผน โดยจัดสรรน้ำหนักของเงินทุน ลงในแต่ละกลยุทธ

กองทุนรวมน้ำมัน

บันทึกนี้จะมาสรุปบทเรียน ที่สอนเรื่อง Multi-Strategies & Multiple Products จำได้ช่วงก่อนหน้ามีคนถามเรื่องการต้องการเข้าไปเทรดน้ำมัน(WTI) แต่ด้วยความที่ตลาดผันผวนมาก เลยแนะนำมือใหม่ให้ลองเทรดระยะกลางกับ กองทุนรวมน้ำมัน แทน (ส่วนตัวผมเทรดมาหลายปีแล้ว เทรด Futures และ CFDs มันบริหารความเสี่ยงได้) ซึ่งตัวอย่างที่ทำ live บรรยายให้ดูคือเลือก กองทุนรวมน้ำมัน มาทำให้ดู เพราะ ซื้อขายสะดวก เปิดบัญชีกองทุนรวมของธนาคารหรือโบรกเกอร์ได้เลย (ถ้าใครมี account ต่างป ระเทศก็อาจจะลอง Oil ETFs โดยตรงเช่นของ USO[United States Oil Fund] , Invesco DB Oil Fund) เมืองไทยมี กองทุนรวมน้ำมัน ให้เลือกหลายค่าย เช่น SCBOil, I-OIL, K-OIL เขาก็กินค่าธรรมเนียมและไปลงต่อใน ETF อีกที ตัวอย่างผมเลือก SCBOil เพราะเขาลงใน Invesco DB Oil Fund ความผันผวนไม่มาก ขนาดกองใหญ่และกองนี้ค่าธรรมเนียมพอรับได้ ข้อดีของการเทรด กองทุนรวมน้ำมัน คือ ไม่ใช้ leverage วางเงินซื้อหน่วยลงทุนไม่สูงก็เทรดได้, ข้อเสียคือ price quote ราคาจะช้าไม่รู้ทันที ทำให้ไม่เหมาะกับการเทรดสั้น แต่เทรดตามรอบ momentum สามารถทำได้ , แน่นอนว่ากำไรอาจจะได้ไม่สู

My First Year Trading Full-Time: Ryan Trost

คืนนี้ระหว่างนั่งรอเทรดน้ำมัน เลยฟังคลิป Chat with trader ตอนล่าสุด Aaron สัมภาษณ์ Ryan Trost ซึ่งเป็น Prop Trader, ที่เพิ่งผ่าน 1 ปีของการเทรดที่ SMB Capital มีหลายหัวข้อน่าสนใจดี หลายเรื่องเรานำมาประยุกต์ได้ โดยเฉพาะเรื่องของจิตวิทยาและการรับมือกับอารมณ์ Ryan Trost พูดเรื่องการ วัดอุณหภูมิ อารมณ์ระหว่างวัน และช่วงจบวัน เขาบอกว่าสำคัญมากที่เราจะต้องรู้ตัวเอง ต้องติดตามการ reaction ที่เกิดจากอารมณ์ บางวันแย่ เกิด consistent losses ขาดทุน ต้องไม่ down ไม่โมโห ต้องสามารถเข้ าใจความผิดพลาดสิ่งที่เกิด และปรับแผนมาแก้ต่อได้ การจดบันทึกช่วยเขาได้มาก และเขาก็แนะนำให้เทรดเดอร์ พยายามติดตามเข้าใจอารมณ์ นอกจากการควบคุมผลที่เกิดตามมา เช่นความเครียด ความหงุดหงิด มันช่วยทำให้จิตไม่ตก ไม่มีผลต่อ การใช้ชีวิตปกติ กับครอบครัว (อันนี้คนขาดทุน ติดดอยหนักๆจะเข้าใจ บางทีตลาดปิด หมกหมุ่น นอนคิด นอนไม่หลับ ก็เกิดได้) ชอบตอนนี้เพราะ ไม่ได้พูดอวดผลงานกำไร แต่พูดเรื่องผิดพลาด ขาดทุนและการจัดการกับการขาดทุนเยอะดี จะเห็นเฟริ์มแบบ SMB Capital เขาทำงานเป็นทีม ซึ่งไม่ใช่เทรดแบบเดียวกันหมด สไตล์เดียวกัน แล้วมาแข่งว่า

FOMO (Fear of Missing Out) Effect

เมื่อวานมี Message หลายอันเข้ามาถามประเด็น "ตกรถ" อารมณ์ประมาณ ถ้าซื้อหุ้นไม่ทันต้องทำยังไง? ผมเขียนบทความนี้ไว้เมื่อเดือนที่แล้ว(SET 1300 จุด) สำหรับน้องๆเทรดเดอร์ที่ฝึกด้วยกันอ่าน วันนี้นำมาแบ่งปันสำหรับท่านที่เผชิญปัญหาเดียวกัน 1. ตั้งสติ จัดการกับอารมณ์ก่อน - FOMO ตอนนี้เผชิญหลายอารมณ์มาก แตกต่างกันไปบ้างจะเครียด ผิดหวังเสียโอกาส, บ้างอิจฉาคนที่ได้กำไร,บ้างทุกข์เพราะตัดขาดทุนแล้วหุ้นดีดใส่หน้า ,บ้างโกรธโทษเซียนที่บอกให้รอมันย่อ -ดังนั้น ตั้งสติวางอารมณ์ไว้ข้างๆ ก่อนตัดสินใจเทรด ก่อนหาเหตุผลเข้าข้างให้รีบซื้อจากเทคนิคอล เช่น เบรก 10 week, เส้น EMA ตัดกัน(เพราะซื้อแบบไม่คิด พอ volatility เพิ่มสูงก็จะดอยจะป่วนหนักอีก) 2. วางแผน ตลาดวิ่งแรง ไม่มีเหตุผล นั้นปกติแต่ตัวเทรดเดอร์ต้องมีแผนมีเหตุผลในการเทรด ต้องรู้ว่าซื้อหุ้นเป้าหมายอะไร ถือสั้น ถือยาว จะเล่นรอบเก็งกำไร หรือจะเก็บปันผล ทุกอย่างต้องตกผลึก สังเคราะห์มาเป็นแผน เขียนใส่กระดาษ ให้ชัดก่อน 3. จัดการความเสี่ยง - จิตใจ: ตกรถแล้ว ต้องยอมรับให้ได้ ว่าคุณซื้อหุ้นหลังคนอื่น ต้นทุนสูงกว่าคนซื้อหุ้นตอน 1100 1200 แน่นอน - บริหารคว