ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

Can Money Buy Happiness?

  เมื่อวานเป็น meeting แรกของกลุ่ม Happy trader พยายามจะลองทำโครงการนี้ เพื่อสร้าง framework ง่ายๆ สำหรับคนคอเดียวกัน คำถามหนึ่งที่ติดใจ คือ เราเทรดได้เงินแล้วเงินมันซื้อความสุขได้ไหม ผมตอบประเด็นนี้ไปโดยอิงจาก คลิปนี้ วันนี้ผมจะมาย่อยให้น้องๆได้อ่านอีกรอบ คลิปนี้คุณ Henry Baker เอาปัญหาอย่าง เงินซื้อความสุขได้ไหมมาเจาะลึก สัมภาษณ์ทั้งนักวิจัยและผู้เชืยวชาญที่ทำงานวิจัยและได้บรรยายแนวคิดบน Ted talk เช่น Dr. robert woldinger, Sandra Matz และ Michael Norton สรุปคือ มีเงินดีกว่าไม่มีเงิน และเงินสามารถซื้อความสุขและคุณภาพชีวิตที่ดีได้ โดยมีหลักดังนี้ - รู้จักตัวเองเป็น Introvert หรือ Extrovert ชอบมี enjoy คนเดียว หรือชอบออกสังคม เพราะถ้าใช้เงินไม่เหมาะสมกับจริตของเราใช้มากแค่ไหนก็ไม่ทางมีความสุขได้ - ใช้เงินเพื่อสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม เช่นการบริจาคเงิน การช่วยเหลือคนอื่น การเลี้ยงอาหารเพื่อน และอื่นๆ ทำให้เราอิ่มใจ และรู้สึกมีคุณค่า ขณะเดียวกัน ไม่จำเป็นต้องมีเงินเยอะ ก็สุขได้ - ใช้เงิน เพื่อซื้อประสบการณ์ แทนการซื้อของไม่จำเป็น: นักวิจัยระบุการใช้เงินแบบนี้จะทำให้เรามีความพึงพอใจและมี

Investing Lessons From the Top of a Quant Fund

  สัปดาห์นี้ได้อ่านบทความ Investing Lessons From the Top of a $7.3 Billion Quant Fund ซึ่งเป็นบทสัมภาษณ์ของคุณ Igor Tulchinsky CEO และผู้ก่อตั้ง WorldQuant LLC (quantitative hedge fund , $7.3 billion) ออกมาในช่วงโปรโมทหนังสือเล่มใหม่ The UnRules: Man, Machines and the Quest to Master Markets ผมเป็นแฟนหนังสือของคุณ Igor Tulchinsky ตั้งแต่เล่มแรก พอได้อ่านบทความนี้จบคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์เลยอยากสรุปประเด็นสำคัญแชร์เก็บไว้ 1. Take risks and to remain an optimist - คุณ Tulchinsky อพยพหลบหนีจากโซเวียตมาใช้ชีวิตในสหรัฐตั้งแต่อายุ 10 ขวบ เริ่มต้นจาก 0 ใช้ชีวิตในห้องเช่าเล็กๆ ประสบการณ์สอนเขาว่าคงมีไม่กี่สิ่งที่เสี่ยงมากไปกว่านี้แล้ว ทำให้ เขากล้าเสี่ยง มองมุมบวก มุ่งมั่นที่จะเอาชนะอุปสรรค ผ่านช่วงที่เลวร้ายและความไม่แน่นอนไปได้ 2. Simulation อายุ 17 ปีเขาได้เริ่มเป็น video-game programmer สิ่งที่ได้เรียนรู้คือเรื่องของการคิดสร้างสรรอย่างเป็นระบบ การหาคำตอบบนความไม่แน่นอนด้วยการโมเดลปัญหาแล้วสร้าง simulation เพื่อหาผลลัพธ์หรือทางแก้ปัญหาที่เป็นได้มากที่สุด 3. Cutting losses and moving on ช่ว

What I Learned Losing a Million Dollars

  ผมหยิบหนังสือเก่ามาปัดฝุ่นอ่านเล่นอีกรอบ What I Learned Losing a Million Dollars เป็นหนังสือโปรดอีกเล่ม ที่ผมมักแนะนำให้น้องๆเทรดเดอร์ ลองหามาอ่าน สาระในเล่มไม่หนัก ไม่ได้มีอะไรมาก แต่มันน่าสนใจเพราะเป็นหนังสือ ที่แตกต่างจากหนังสือส่วนใหญ่ที่มักพูดแต่เรื่อง เส้นทางความสำเร็จ (สไตล์ How To Be Successful) ซึ่งในด้านการเงิน หรือการลงทุนบางทีมันไม่สรณะ หรือไม่อาจจะทำตามกันแล้วสำเร็จ เป็นจริงทุกประการ เพราะมีปัจจัยเฉพาะหลายอย่างมาประกอบ(หลายอย่างมันเคยใช้ได้ในอดีตแต่ปัจจุบันวิธีการเดียวกันอาจจะใช้ไม่ดีอีกต่อไป) แต่เรื่องความล้มเหลว หรือการขาดทุน นี้สิ ส่วนใหญ่ ไม่ต่างกัน 80% เกิดจากสาเหตุคล้ายกัน เคยล้มเหลวเหมือนกัน จุดนี้เราเรียนรู้ได้นำไปใช้ป้องกันหรือหลีกเลี่ยงได้ เล่มนี้ก็ไฮไลท์ไปที่ปมใหญ่ คือเรื่อง จิตวิทยา เช่น ego หรืออัตตา ที่ทุกคนล้วนมีเสมอ โดยหนังสือเล่มนี้เล่าตัวอย่างผ่านเรื่องราวของ Jim Paul ผู้ขาดทุน $1 million จากการตัดสินใจผิดพลาดจากการเทรดในตลาดเก็งกำไร(ตลาดหุ้นและคอมโมดิตี้ฟิวเจอร์) ทั้งเรื่องการลงทุนแบบขาดแผน เล่นตามอารมณ์ , ซื้อขายตามคำแนะนำของฝูงชน หรือพยายามยึดมั่นกับ

Hot Hand fallacy อคติที่เทรดเดอร์ควรระวัง

  เมื่อวานไปช่วยวิเคราะห์ผลการเทรดให้รุ่นน้องเทรดเดอร์มือใหม่คนหนึ่ง สิ่งที่พบจากการวิเคราะห์ pattern ผลการเทรดด้วยการทำ data analysis คือพบปัญหาจากอคติ แบบ Hot Hand fallacy เทรดเดอร์มักมีความย่ามใจ ว่าเทรดได้ดี ได้กำไรติดกัน ก็อยากจะรีบกอบโกย บางทีเราไม่ได้อ่านสถานการณ์ หรือ วิเคราะห์พฤติกรรมราคาให้ดีพอ เทรดแบบเดิม แต่เพิ่มขนาด position size เพียงคิดว่าจะต้องได้มากกว่า ถ้ามือขึ้น จุดจบคือ กำไรที่ได้มา หายหมดในไม้เดียว ความเสี่ยง(risk) มันคือสิ่งที่เทรดเดอร์ ควรตระหนักก่อนกำไร(profit)เพราะสุดท้ายราคาสินทรัพย์ที่เราเทรด ล้วนมีความเป็น Random walk ได้เสมอ นั้นหมายความว่าอิทธิพลจากการ random ย่อมมีผลต่อ performance ของเรา ดังนั้นโอกาสจะถูกทุกครั้ง ถูกต่อไปต่อเนื่อง นั้นเป็นไปได้ยาก ถ้าคิดได้แบบนี้ เราจะมีสติในการจัดการความเสี่ยง ทำตามระบบ รู้จักหยุด รู้จักรอและรู้จักมีจุดที่พึงพอใจ กับผลกำไรภาพรวมที่ได้ ในระยะยาวมากกว่า การรีบกอบโกยระยะสั้น ฟังเรื่อง Hot Hand fallacy เพิ่มเติมได้จาก คลิปนี้ครับ https://youtu.be/IsPHmG3ycpo

ปีที่ไม่ค่อยดีของ Trend-following hedge funds

บทความนี้ดีงามมาก เขาพูดถึงกลุ่ม hedge funds สาย Trend following ที่ปีนี้ผลงานไม่ค่อยดี ค่าเฉลียผลตอบแทนของฟันด์สายกลยุทธ์ CTA ติดลบ -2.2% ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยกลุ่มอุตสาหกรรมที่อยู่ราวๆ +2% แต่ไม่ใช่ทุกฟันด์จะแย่ไปหมด บางฟันด์ที่ปรับตัวก็รอดได้ อยากให้ลองอ่านถึงแนวทางการปรับตัว ในวันที่ตลาดผันผวนและ Trend ไม่ชัดไม่มีให้ follow ง่ายๆแบบในอดีต ชอบคำพูดของ Leda Braga, the head of Systematica มาก สอนให้เราเข้าใจตลาด เข้าใจการปรับตัว และไม่งมงายกับความเชื่อว่าจะมีเครื่องมือวิเศษที่คาดเดาตลาด หรือคาดเดาอนาคตได้ “We don’t claim to have found the Holy Grail. We have to continually learn and adapt our algorithms to cope better, enrich our models and prepare them for regime changes,” อ่านบทความเต็ม https://www.ft.com/.../5ea09868-ecc0-47d1-aa5c-57d33af543f4 

ความก้าวหน้าของเทรดเดอร์

เดือนก่อน ก็มีผู้หญิงท่านหนึ่งเขียนมาถามทาง email เพราะแฟนกำลังจะลาออกมาเป็นเทรดเดอร์ กลัวชีวิตจะไม่ก้าวหน้า พอเห็นโพสนี้ได้รับความนิยม เลยอยากแชร์ความคิดเห็นส่วนตัวไว้สักนิดเพื่อว่าจะเป็นประโยชน์กับน้องๆมือใหม่ สำหรับผมมุมมองก็ยังเหมือนเดือน ที่เคยเขียนในหนังสือหรือบทความเมื่อ 5-6 ปีก่อน ว่าไม่ควรรีบจะลาออกจากงานประจำมาเป็นเทรดเดอร์ ควรค่อยๆวางแผน ค่อยๆทำสะสมประสบการณ์ ยิ่งในภาวะตลาดและเศรษฐกิจตอนนี้ เขาเรียกตลาดปราบเซียน จะลาออกมานั้นยิ่งต้องคิดใหม่หนักเลย ดังนั้นเทรดไป เรียนรู้ไปควบคู่กับงานประจำก็ได้เช่นกัน ประเด็นสองความก้าวหน้า การเป็นเทรดเดอร์ เป็นเจ้านายตัวเอง ต้องบังคับตัวเองให้เป็นก่อน รู้จักบริหารเวลา มีวินัย มีความรับผิดชอบให้มาก ถ้ายังทำไม่ได้ อย่าลาออกมาเลยครับ ไม่รอดแน่นอน ข้อดีของความก้าวหน้า มาจากประสบการณ์และฝีมือโดยตรง ตอนปีแรกเหมือนทดลองงาน ให้หัดเทรดเบาๆ position size เล็กๆ ไม่ต้องใช้ leverage นัก เราอาจจะได้กำไรไม่มาก พอผ่านปี 2 ผ่านปี 3 เทรดได้ดี อยู่รอด ทำกำไรได้ต่อเนื่อง ค่อยเพิ่มอัตราความเสี่ยง เพิ่ม leverage (เหมือนใส่เกียร์ 3 4 5 ให้แรงขึ้น) จุดนี้ return หร

อายุกับความสำเร็จของเทรดเดอร์

วันนี้ลองเอา AI ที่พัฒนาเพื่อใช้ช่วยให้คำแนะนำเทรดเดอร์ นำไปใช้ทดสอบประเมินความพร้อม จากการเก็บข้อมูลของมือใหม่ด้วย predictive model สิ่งที่พบหลังจากวิเคราะห์ผลคือ ส่วนใหญ่ถ้าเริ่มเรียนรู้เรื่องการเทรด ในตอนอายุเยอะ(40 ขึ้น+มีครอบครัว) มักจะมีข้อจำกัดเรื่องความเสี่ยงที่รับได้ และเวลาที่ใช้ในการฝึกฝนและศึกษาหาความรู้ ซึ่งขั้นตอนนี้ไม่ว่าจะเป็นเด็กจบใหม่จากมหาวิทยาลัย หรือจะเป็นผจก.บริษัทวัย 50 เมื่อเริ่มต้น เราล้วนต้องใช้เวลาในช่วง preriod นี้ เพื่อเก็บเกี่ยวประสบการณ์และทำความเข้าใจตลาด เช่นกัน(ตรงนี้ไม่มีแต้มต่อจากอายุ หรือ ทางลัดใดๆ) สิ่งที่พบจากการวิเคราะห์ข้อมูล คนที่เริ่มอายุเยอะ มีทรัพยากรเงินเยอะ บางทีเทรดผิดพลาด ผลคือขาดทุน ติดดอย หนักตามขนาดเงินที่ลงไป ดังนั้นถ้าเป็นไปได้ เริ่มให้เร็วนั้นดีที่สุด เพราะผิดพลาดล้มเหลว ในวันที่อายุน้อย มีเงินน้อย ต้นทุนและค่าเสียหายจากผลของความผิดพลาด มันก็จะจำกัดไป แน่นอนแม้เงินน้อยจะไม่ทำให้กำไรเยอะรวยในเร็ววัน แต่ถ้าเก็บประสบการณ์ได้มากพอ เมื่อมีเงินทุนมากขึ้น+ประสบการณ์ที่มากขึ้น โอกาสในการสร้างผลตอบแทน ที่ดีบนโอกาสในการขาดทุนที่จำกัด ก็มีมาก