ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์ที่มีป้ายกำกับ จิตวิทยาการลงทุน

The youngest Trader

มีคนเคยกล่าวว่าการค้นพบว่าตัวเราต้องการอยากทำอะไร เป็นอะไรนั้นเป็นเหมือนรางวัลที่ยิ่งใหญ่ในชีวิต เป็นกุญแจดอกสำคัญที่จะพาเราไปสู่ความสำเร็จ ยิ่งค้นพบตัวเอาเจอเร็วเท่าไหร่ ยิ่งเป็นโอกาสที่ดีที่จะได้ลงมือทำฝันให้มันเป็นจริง ผมเชื่อว่าหลายคนในวัยเด็กคงเคยเจอกับคำถามของคุณครูที่ว่าโตขึ้นหนูอยากเป็นอะไร คงไม่มีใครตอบว่าโตขึ้น หนูอยากเทรดเดอร์ตั้งแต่วัยเด็ก แต่บนโลกนี้มีคนพูดประโยคนั้นครับ วันนี้ผมมีเรื่องของเด็กคนหนึ่ง ที่เขารู้จักตลาดหุ้นตั้งแต่อายุเพียง 6 ขวบ สนใจ และชื่นชอบในการลงทุนเป็นชีวิต จนวันนี้เขากลายเป็นคนดังที่รู้จักในวงการหุ้นและการลงทุนของแคนนาดา เด็กวัยรุ่นไฮสคูล ที่ผมกำลังกล่าวถึงนี้คือ Julian Marchese  ชาว  Canadian   จากเมือง  Mississauga เมืองทางตอนใต้ของ   Ontario  ประเทศแคนาดา ผู้ที่เข้ามาสู่ตลาดหุ้นตั้งแต่วัย 6 ขวบ เขาเริ่มต้นจากการอ่านหนังสือ Rich Dad Poor Dad บวกกับเขาเห็นพ่อของเขาลงทุนในตลาดหุ้น ทำให้เกิดความสนใจในเรื่องการลงทุน ภาพยิ่งชัดเจนไปใหญ่เมื่อตอนอายุ 10 เข้าได้ดูภาพยนต์เรื่อง Trading Places ทำให้เขารู้ในทันทีว่าสิ่งที่เขาอยากเป็นในอนาคตคืออะไร ชีวิตที่ต้อง

กุญแจ 4 ดอกสำหรับนักเก็งกำไร

สองวันนี้ จากแดดร้อนจ้า ก็กับกลายเป็น ฟ้ารั่ว ฝนตกกระหน่ำอย่างหนักต่อเนื่อง ทำเอาเปียกปอนกันแบบไม่ทันตั้งตัวไปตามๆกัน ฝนมารอบนี้ทำเอาแปลกใจเพราะเชื่อว่าหลายคนตั้งหน้าตั้งตารอหน้าหนาว ฤดูกาลแห่งความเย็นสบายกันแล้ว โดยเฉพาะบรรยากาศชิวๆปลายปี สำหรับตลาดหุ้น ไตรมาสสี่ก็เป็นไตรมาสที่มีสีันความสนุกเสมอมา มีทั้งขึ้นและลงสลับกันไป แต่ปีนี้ท่าทางอาจจะเหนื่อยหน่อยเพราะ นักลงทุนและนักเก็งกำไรต้องเจอ กับสองปัจจัยที่มาทดสอบ sentiment ของตลาด นั้นคือเรื่องของ ภาวะ Fiscal Cliff และปัจจัยการเมืองภายในประเทศ ที่กำลังมีการชุมนุมประท้วงของกลุ่ม เสธ อ้าย ภายใต้ชื่อกลุ่ม องค์การพิทักษ์สยาม ที่จะจัดชุมนุมใหญ่ 24-25 พย. นี้ แค่เอ่ยมาสอง ปัจจัยหลักก็เริ่มสนุกแล้ว ยังไม่นับรวมเรื่องของยุโรป ที่กรีซก็มาถึงจุดสำคัญ แม้จะผ่านร่างนโยบายรัดเข็มขัดมหาโหดเพื่อรับความช่วยเหลือทางการเงินเพื่อประทังชีวิตต่อไปได้ แต่นับวันประชาชนและกลุ่มสหภาพแรงงานก็ประท้วงหนัก ล่าสุดก็มีคนออกมาเดินขบวนเกือบ 15000 คนที่หน้ารัฐสภา เพื่อต่อต้านนโยบาย ขณะที่สเปน นั้นก็อาการยังไม่ปกติเช่นกัน แม้จะยังไม่รับความช่วยเหลือ แต่ตัวเลขเศรษฐกิจ

วิกฤติการเงินโลกกับตลาดหุ้นไทย#3

หลังจากที่เกริ่นให้เพื่อนๆ รู้จักกับวิกฤติการเงินโลกครั้งใหญ่ทั้ง 18 ครั้งให้ได้รู้จักกันแล้ว ได้คุยกับหลายคนก็พบว่า นักลงทุนจำนวนมากที่ไม่รู้ หรือไม่เคยศึกษาประวัติศาสตร์ของวิกฤติการเงินโลกมาก่อน มันสะท้อนให้เห็นว่านักลงทุนส่วนใหญ่มักลงทุน โดยเน้นไปทีการมองที่ตัวหุ้น ตัวบริษัทเป็นหลัก โดยไม่ได้คำถึงภาพใหญ่ Macro View ระดับโลก ซึ่งบางครั้งมันก็อาจจะทำให้เป็นจุดเสียเปรียบ วันนี้ขอมาต่อตอนที่ 3 เป็นเรื่องของความสัมพันธ์กับตลาดหุ้นไทย เพื่อให้มองเห็นภาพผลกระทบที่เกิด และการรับมือกับสถานการณ์ที่อาจจะมาถึงในอนาคต ต้นตอของปัญหา จากที่อ่านเรื่องราวของวิกฤติการเงินโลก สาเหตุใหญ่ล้วนมาจาก 3 ประการที่เหมือนๆกัน นั้นคือ 1. ความโลภของภาคธนาคารและวาณิชธนกิจ เช่นกรณีปัญหา Sub prime หรือยุค Wall street Crash และอีกหลายวิกฤติที่เกิดการปล่อยกู้เกินตัว ปล่อยกู้แบบเสรี เพื่อที่จะสร้างกำไรจากการปล่อยกู้ จนเมื่อเกิดปัญหาหนี้เสีย ทุกอย่างก็พังพินาศ 2. ภาวะฟองสบู่ การแห่กันเก็งกำไร ในสินทรัพย์ เช่นหุ้น หรืออสังหาริมทรัพย์ ตามๆกันตามกระแส โดยความโลภของนักลงทุน ที่คิดอยากจะรวย คิดจะหาโอกาสทำเงินโดยปราศจากการพิ

Lie to Me ว่าด้วยการโกหก

ถ้ามีเวลาว่างจากการทำงาน เมื่อไม่ได้อ่านหนังสือ หรือมีกิจกรรมอื่นๆ ก็มักจะหาหนังอะไรสนุกๆ วันที่ผ่านมาผมมีโอกาสได้ดูซีรีย์ฝรั่งเรื่อง Lie to Me จบไปทั่งสามภาค กว่าจะจบผมจะดูจบก็ใช้เวลาเป็นเดือนเหมือนกัน เรื่องนี้ค่อนข้างประทับใจเพราะตอนแรกคิดว่าจะไม่สนุก ดูไปดูมามันส์แหะ โดยเฉพาะบุคลิกลักษณะ ท่าทางกวนตีน บวกกับสำเนียงอเมริกันปนอังกฤษของพระเอก Dr. Cal Lightman ที่ชอบกระตุ้นให้คนที่เขาต้องการประเมิน แสดงอารมณ์ร่วมแท้จริงออกมา ทั้งโกรธ โมโห เครียด หนังเรื่อง Lie to Me ที่ผมพูดถึงเป็นซีรีย์ฝรั่ง(ไม่ใช่หนังรักเกาหลีนะ) ซึ่งเกี่ยวกับ การจับโกหก ในการสืบสวนสอบสวนคนร้าย โดยมี Dr. Cal Lightman เป็นผู้เชื่ยวชาญด้านการจับโกหก แบบเป็นวิทยาศาสตร์ โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์หน้าตา ท่าทาง แบบทีเรียกว่า " microexpressions" เพื่อวิเคราะห์ไปถึงจิตใจ และความคิดของคนคนนั้น ประมาณว่าแค่ดูการตอบสนองจากหน้าและท่าทาง ที่มีต่อคำถามก็รู้แล้วโดยที่ไม่ต้องพูดออกมา โดย  Dr. Cal Lightman นั้นไม่ได้ทำงานคนเดียว แต่เขามีเพื้่อนร่วมงานและทีมงานที่สนับสนุนการวิเคราะห์ ทั้งจิตแพทย์ นักวิเคราะห์เสียง และนักวิ

วิกฤติการเงินโลกกับตลาดหุ้นไทย # 2

วิกฤติการเงินโลก ตอนที่สองนี้ จะเป็นเรื่องราวในช่วงหลังยุค 1990 ซึ่งช่วงนั้นเป็นช่วงที่โลกมีความสงบ ปราศจากสงครามเป็นยุคของการแข่งขันทางอุตสาหกรรม เทคโนโลยี และคอมพิวเตอร์ ทำให้การสื่อสาร การติดต่อระหว่างประเทศนั้นรวดเร็วและง่ายขึ้น ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดี แน่นอนว่าก็เป็นยุคที่มีวิกฤติการเงินโลกมากมาย และมีวัฏจักรการเกิดที่ถี่มากขึ้นด้วย โดยเฉพาะประเทศยักษ์ใหญ่ของโลกอย่าสหรัฐอเมริกา 7. The Japanese asset price bubble (1986-1990) เป็นวิกฤติการเงินแรกที่รุนแรงและเกิดในทวีปเอเซีย โดยขณะนั้นญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีภาคอุตสาหกรรมที่เข้มแข็ง มีตัวเลขเศรษฐกิจ ดีโดยเฉพาะการส่งออก ญี่ปุ่นมีเทคโนโลยีด้านอิเล็กทรอนิค เป็นอันดับต้นๆของโลกในขณะนั้น มีการส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าไปยังประเทศต่างๆทั่วโลก โดยเฉพาะอเมริกา ตลอดจนการผลิตสินค้าอื่นๆ  หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลญี่ปุ่นไม่ต้องใช้จ่ายเงินด้านการสะสมอาวุธและการป้องกันประเทศ เพราะถูกสหรัฐควบคุม ทำให้มีงบประมาณเหลือในการพัฒนาประเทศ พัฒนาคนและเทคโนโลยี ประกอบกับประชาชนหลังจบสงครามโลกครั้งที่ 2 ผู้คนต่างประหยัด สะสมเงินในธนาคาร เพื่อเก็บไว

วิกฤติการเงินโลกกับตลาดหุ้นไทย # 1

จับเอาประเด็นนี้มาเขียนลงรายละเอียด เพราะว่าช่วงนี้ผมเชื่อว่าหลายคนมักจะใจจดใจจ่อกับเรื่องวิกฤติหนี้ของ EU โดยเฉพาะประเด็นของกรีซที่กำลังลูกผีลูกคน คำถามส่วนใหญ่คือ ถ้ามันเกิดวิกฤติจริงๆจะทำยังไง??? ยิ่งถ้าเป็นมือใหม่หรือเป็นแมงเม่าหัดบิน ที่เพิ่งเข้าตลาดมาช่วงซูเปอร์บูมหลังปี 2009 กลุ่มนี้ยิ่งน่าเป็นห่วงเพราะไม่เคยมีประสบการณ์ในตลาดหุ้นช่วงผ่านวิกฤติการเงินโลก ทำให้มีโอกาสจะบาดเจ็บล้มตายสูง หลังวิกฤติการเงินซับไพร์มปี 2008 ดัชนีตลาดหุ้นไทย(SET)  ร่วงลงไปจุดต่ำสุดที่ 384 จุด จากจุดสูงสุดก่อนเกิดวิกฤติที่ 916 จุด เมื่อวิกฤติผ่านพ้นดัชนีก็ฟื้นต้ว บวกกับเงินทุนต่างชาติที่ไหลเข้า และนโยบาย QE1 และ QE2 ปัจจัยที่พาให้ตลาดหุ้นทะยานที่ 1200 จุด จนกลายมาเป็นที่นิยม เป็นสรวงสวรรค์ของคนที่อยากรวย หลายคนซื้อหุ้นถือไว้ ก็กำไรมหาศาล หลายร้อยเปอร์เซ็นต์ บ้างก็รับสมอ้างกลายเซียนหุ้น เป็นกูรู ผู้ประสบความสำเร็จในการลงทุนไปก็มี ตลาดหุ้นมันก็อยู่บนกฏของธรรมชาติ มีขึ้นมีลง มีเกิด และมีดับ เป็นวัฏจักร มันเป็นความไม่แน่นอนของกระแสเงินที่เขามาขับเคลื่อนตลาด จากปัจจัยต่างๆ วัฏจักรใหญ่ของการเคลื่อนไหวตลาดหุ้น