ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์ที่มีป้ายกำกับ Money Management

ไม่มีใครอยากขาดทุน

  ทุกคนที่เข้ามาในตลาด ไม่มีใครอยากขาดทุน(loss) แต่เมื่อต้นดิวกับความไม่แน่นอน และหลายปัจจัยภายนอกที่เราควบคุมไม่ได้ ดังนั้นการขาดทุนมันกลายเป็นส่วนหนึ่งของ การเทรดไป แต่ Key สำคัญคือ -ขาดทุนยังไงแล้วไม่หมดตัว -ขาดทุนแล้วสามารถ recover กล้บมาได้ -ขาดทุนแล้วทำให้เกิดการเรียนรู้(ได้รับประสบการณ์) บทความนี้เขียนถึง Yusaku Maezawa ตำแหน่ง ceo ของ Zozo Inc.,ที่ออกมาทวิตเตอร์ "Deep Regrets" กับการขาดทุนจากการเทรดหุ้นในช่วงภาวะตลาดร่วงรุนแรงช่วงรับข่าว covid-19 pandamic ที่ผ่านมาโดยรอบนั้นเขาขาดทุนไป 4.4 billion yen ($41.4 million) แต่เขาไม่ยอมแพ้ประกาศก้าวจะหาเงินกู้การขาดทุนกลับคืนมา (จากการทำธุรกิจ) Maezawa ยังเป็นเศรษฐีพันล้าน net worth $3.5 billion ลดลง $215 million จากปีก่อนหน้า เขาเองเป็น celeb คนดังในโลกออนไลน์ โดยก่อนหน้าเคยทวิตรับสมัครผู้หญิง ที่สนใจเป็นคู่เดินทางไปดวงจันทรั (ตอนหลังยกเลิกประกาศหาคู่ไปจากประเด็นดราม่า) กับโปรเจคจรวดขนส่งเอกชนของ Elon Musk ที่ตั้งเป้าพาคนไปดวงจันทร์ในปี 2023 อ้างอิงจาก https://www.bloomberg.com/news/articles/2020-09-07/japanese-billionaire-

Survivorship Bias

ชวนน้องๆและเพื่อนๆเทรดเดอร์ที่ฝึกเทรดด้วยกันมาคุยเรื่อง "การขาดทุนและล้างพอร์ต" เวลาเกือบ 2 ชม. หมดเร็วมาก ได้ถกหลายประเด็นและได้ข้อมูลปัญหามาสังเคราะห์ต่อมามาย เป้าหมายการสนทนาพยายามจะเข้าถึงสาเหตุ หรือผลของความผิดพลาด เพื่อหลีกเลี่ยง Survivorship Bias แต่คุยเรื่องนี้ไม่ง่าย เพราะมันเจ็บปวด มันผิดหวัง ทำให้เรามักเลือกที่จะลืมมันมากกว่า จนจำ เจ้า Survivorship Bias นี้เป็น Bias ที่น่ากลัว เพราะบางทีเรามองแต่ความสำเร็จ พยายามมองห าสูตรทำเงิน จนมองไม่ครบ ลืมคิดไปว่าวิธีเดียวกัน ระบบเดียวกัน มันไม่ได้จะ work กับทุกคน ทุกกรณี ทุกภาวะตลาด บางทีไปเอาแนวทางจากเซียน จากกูรู สมัยยุคอดีตมาใช้ ตลาดปัจจุบันอาจจะไม่ได้มีพฤติกรรมและสภาพแวดล้อมเช่นเดิม ผลที่ได้ก็ไม่ได้หมายความว่า เราจะสำเร็จตามนั้นเหมือนกัน สุดท้าย ท้ายสุดบางทีการฟังคนที่ล้มเหลว คนที่ขาดทุนอาจจะทำให้เรามองเห็น แง่มุมบางอย่าง ที่จะก่อให้เกิดองค์ความรู้ ในการพัฒนา ในการป้องกันข้อผิดพลาด เพื่อการอยู่รอดที่ดีขึ้นต่อไป

Risk factors

บทความนี้ของ คุณ Kris Longmore แห่ง robotwealth น่าสนใจ จึงนำมาสรุปไว้ แนวคิดการเพิ่มความแข็งแรงของพอร์ต ในช่วงวิกฤติ ด้วยการวิเคราะห์ risk factors ที่กระทบกับ asset ในพอร์ต Key นอกจากการกระจายความเสี่ยงไปยัง asset ที่มีความสัมพันธ์ต่อกันให้น้อยที่สุดแล้ว ควรพิจารณาจากปัจจัย risk factors ที่มีความเข้มข้น/รุนแรงในปัจจุบันและอาจจะส่งผลกระทบต่อ ผลกำไรขาดทุนในพอร์ต บทความนี้แนะนำ การเลือกถือ asset ที่กระจายไปตามผลกระทบเชิงลบจาก risk factors หลักได ้แก่ Real interest rates , Inflation, Credit ,Liquidity ,Growth และ Political ส่วนกลยุทธ์ที่เขาแนะนำคือการทำ long risk premia หรือซื้อสะสม asset หลายตัวที่ผสม risk factors แตกต่างกัน(มากกว่า 2-3 ประเภท) และใช้การปรับน้ำหนักเงิน แปรผันไปตามช่วงเวลาและภาวะเศรษฐกิจ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของพอร์ต อ่านเพิ่มเติม https://robotwealth.com/harvesting-risk-premia/

Prospect Theory Helps Explain Return Anomalies

paper นี้ของคุณ Barberis, Jin, and Wang ที่ผมพูดถึงเมื่อวาน ถ้าอยากทำความเข้าใจเรื่องของ anomaly ในราคา asset จุดน่าสนใจคือเขาทำโมเดลที่อนุมานทิศทางราคา โดยคำนึงถึงตัวแปรที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมความไม่ปกติ เช่น beta, volatility, skewness, และ ความคาดหวังผลตอบแทนอนาคต  จากผลวิจัยพบ 3 จาก 22 ตัวที่โดดเด่นในกลุ่ม Anomalies ที่มีผลตอบพฤติกรรมราคา และที่สำคัญมีผลกระทบต่อพวกโมเดล ที่สร้างมาเพื่อการพยากรณ์ทิศทางราคาในอนาค ตของสินทรัพย์ต่างๆ ดังนั้นในมุมของเทรดเดอร์ หรือนักพัฒนาระบบเทรด การเข้าใจตัว Anomalies หลักๆเอาไว้ก็จะช่วยให้เรา ไม่ประมาท ไม่มโน และสามารถสร้างระบบเทรดได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ปล. ทฤษฎีคาดหวัง (Prospect theory) เป็นอีกทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับ behavioral economics ที่น่าศึกษา พฤติกรรมของคนกับ การตัดสินใจถูกแทรกแซงทางอารมณ์/ประสบการณ์ความรู้สึกก่อนหน้า ในเกมส์ที่มีผลกำไรขาดทุนเข้ามาเกี่ยวข้อง สนใจศึกษาเข้าไปอ่านได้จาก https://papers.ssrn.com/sol3/papers.cfm?abstract_id=3477463

Consistency Is King

วันนี้มีน้องเทรดเดอร์ เขียนเมลมาถามถึงเรื่องของเครื่องมือเทคนิคอลและการอ่านกราฟสำหรับการเทรด FX แต่จริงๆแนะนำว่า ระบบที่ดีไม่ใช่ระบบที่ถูกต้อง 80-90% อะไรแบบนั้นเพราะสุดท้ายมันไม่มีเครื่องมือหรือโมเดลอะไร จะไปจับทางตลาดได้เช่นนั้น แต่ระบบเทรดที่ดี บางทีอาจจะมีความถูกต้องระดับหนึ่ง แต่มีความน่าเชื่อถือหรือทำกำไรได้ต่อเนื่องบนความเสี่ยงที่จำกัดได้ ก็ถือว่า OK แล้ว เริ่มต้นลองฝึกเทรดจากระบบที่ simple บนขนาด position size ที่เล็ก เพื่อลดผลกระทบจาก การขาดทุน และทำให้เรากล้าตัดสินใจ(ไม่จิตตกมาก กรณีที่ขาดทุนหนัก) รวมถึงทำให้เรามี เงินทุน ในการเทรดได้ยาวนาน อย่าไปรีบกอบโกยในช่วงแรก เพราะสุดท้ายทำให้ over trading แล้วล้างพอร์ตหมดตัว อย่างในภาพตัวอย่าง ผมพัฒนาระบบเทรด เทรดมาแล้วกว่า 5 ปี(ผ่านทุกภาวะแนวโน้มตลาด อย่าปี 2019 2020 อย่างโหด ก็ทำให้ได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ) เราเน้นการคุมผลการเทรด จำกัดความเสี่ยงไม่ให้สูง DD ก็จะไม่ให้เกินเกณฑ์ ขณะเดียวกันพยายามเล่นกับ volatility เก็บรอบสร้างกำไรให้ต่อเนื่อง โดยวัดผลที่จำนวน pips ที่ได้ไม่ใช้ที่จำนวนตัวเงิน($) เอาตัวช่วยหรือ leverage ออกไปก่อน ฝึกแบบนี้ไป

ความไม่เป็นเหตุเป็นผลของตลาด

ราคาสินทรัพย์ เช่น หุ้น ทองคำ น้ำมัน ส่วนใหญ่ในภาวะไม่ปกติ มันจะยากที่จะหาความเป็นเหต ุเป็นผล(สิ่งที่เราเห็นตามส ื่อมันคือคำอธิบาย ผลที่เกิด) เพราะราคาตลาด(market price) มันเปลี่ยนแปลงไปตาม ความหวังในอนาคตของคนในตลาด  ทั้งด้านบวก(positive)และลบ (negative expectation) การพยายามไปหาคำตอบ หรือคำอธิบาย ให้ได้แท้จริงมันยาก ยิ่งพยายามจะไปคาดเดา ห รือพยากรณ์ว่าอนาคตจะเป็นอย ่างไรในภาวะแบบนี้ยิ่งยากไป อีก ช่วงนี้มีแต่คนถามเรื่อง ตลาดหุ้น ว่าทำไมวันนี้ราคาลง ทำไมพรุ่งนี้ขึ้น ส่วนตัวผมไม่มีคำตอบให้จริง ๆ ก็เทรดไปตามระบบ flow ไปกับสิ่งที่เกิด สังเกตและ ปรับตัววางแผนรับมือ สิ่งสำคัญคือ การไม่ใช้อารมณ์ เพราะช่วงนี้ อารมณ์ ถูกเล้าได้ง่าย สุดท้ายยิ่งหมกหมุ่น ยิ่งพยายามหาคำอธิบายหรือหา ความชัดเจน จะยิ่งทำให้เครียดก็จะนำมาซ ึ่งความผิดพลาด ยกตัวอย่างเคสของความไม่เป็ นเหตุเป็นผล กรณีช่วง 4 ปีที่แล้ว ราคาน้ำมัน WTI ลงมาจากปีก่อนหน้า $120 / บาร์เรลมาระดับต่ำสุด $27 /  บาร์เรล โดยปริมาณน้ำมัน 1 บาร์เรลเท่ากับ 159 ลิตร เมื่อเทียบราคากับ น้ำแร่ หรือ แม้แต่ ไวน์ เหล้าต่างประเทศ น้ำมันยังถูกกว่า แต่ตอนนั้นความก

VWAP & Fixed Fractional Model

เมื่อคืนมีคำถามเรื่อง MM ที่ใช้กับ Trend Following ด้วย VWAP Strategies ในตัวอย่างผมแนะนำ Fixed Fractional ไปเพราะ Money Management โมเดลนี้ มันเข้ากับ Trend Following ที่แก่นหลักคือการ Limit loss & Let's Profit Run ได้ดีที่สุด เมื่อเทียบกับ MM โมเดลอื่น อีกด้านจากหลายงานวิจัยจะพบ Fixed Fractional มันทำผลงานได้ดีกับระบบเทรดที่มี %win ไม่สูงเช่น 45-50% จุดเด่นอีกจุดที่ Fixed Fractional นำมาบวก tactic ในการกำหนด %f (เริ่มต้นใช้ที่  1-2%)แบบแปรผัน จะช่วยทำให้ช่วงตลาดมีแนวโน้ม กระทิงมา เมื่อระบบเก็บกำไรก้อนใหญ่ได้ การขยาย position size จะเพิ่มแบบสมูทตามขนาด equity ที่มี และขยายการโตของพอร์ตได้ ตามแนวโน้มในสินทรัพย์ที่เราเทรดด้วย แน่นอนว่า ถ้าตลาดผันผวน เราก็คง risk per trade เท่าเดิม ลด position size ลด contract size ลงแต่ขยาย SLD ให้กว้างออกไปได้เช่นกัน โดยที่ %risk ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากแผนเดิม แต่แน่นอนว่าด้านข้อจำกัดเรื่องประสิทธิภาพมันก็มี เพราะชื่อมันคือ fix นั้นหมายความว่า มันอาจจะไม่ได้หยืดหยุ่นรองรับได้ทุกภาวะที่เกิด ซึ่งตรงนี้ยังมีอีกหลาย Money Management model

volatility based money management (example)

อธิบายเรื่องของ volatility based money management เมื่อคืน ยกตัวอย่างการคุม ค่า Portfolio Variance ให้ไม่เกิน 20% ไปเบื้องต้น โพสนี้เป็นอีกตัวอย่างแนวคิด ที่เราจะสามารถนำไปปรับประยุกต์ได้ เป้าหมายคุม risk โดยใช้ volatility targeting เป็นหัวใจของการออกแบบการเทรด ตัวอย่างนี้เป็นไอเดียของ S&P 500 Risk Control 10% Index ซึ่งกองนี้ขายการลงทุนใน S&P500 แต่ fix ตัว 10% volatility target จริงๆกลยุทธ์นี้น่าสนใจ เขาเน้นการเทรดหรือปรับสมดุลระหว่าง S&P 500 และ Cash โดยใช้ volatility เ ป็นเงื่อนไขหลัก ด้านรายละเอียดไม่ได้ลงมากในบทความนี้ แต่ลองไป google แกะกลยุทธ์ต่อได้ เป้าหมาย เขาจะเกาะโอกาสจากภาวะตลาด S&P500 ที่เติบโต แต่ขณะเดียวกัน ก็ลดทอนความผันผวนและการถดถอยจาก S&P 500 Index ด้วย ปล. ไม่ได้โฆษณา หรือ เชียร์ขายกองทุนนะ แต่เอาแนวคิดมายกตัวอย่างให้ ลองศึกษากันครับ อ่านเพิ่มเติม http://www.annuityadvisors.com/forms/great-american/S&P-500-Risk-Control-Index.pdf

Money Management กับ Negative reinforcement

สรุปประเด็นเมื่อวานที่ติว เพิ่มเติม ผมนำตัวอย่างระบบเทรดจริงมา ให้ดู ระบบนี้เทรดมาครบ 4 ปีเต็ม รันในตลาดจริงเทรดเงินจริง ที่นำมาเป็นตัวอย่าง อยากให้เห็นเรื่องของ "การอยู่รอด"  เพราะส่วนใหญ่ถ้าทำระบบเทรด กัน โดยยังไม่ได้เข้าใจพฤติกรรม ตลาดจริง มักจะเน้นที่ back testing สวยๆแม่นยำ 80%-90% ผลตอบแทนขั้นเทพ สุดท้ายมันก็ over fitting ใช้จริงไม ่ได้ แต่ด้วยความเชื่อมั่นที่มาก  + data mining bias ทำให้ฝืนและต้องมาขาดทุน ดังที่บอก ทำระบบไม่ต้องไปคาดหวังกับก ารทดสอบย้อนหลัง หรือติดกับข้อมูลในอดีตมาก ทำให้ดีระดับหนึ่ง เน้นคุม risk จากนั้นลองเทรดจริง แล้วเก็บข้อมูลตรงนั้นมา optimize  ในภาพระบบเทรดผมไม่ซับซ้อน เทรดแบบ Vector Scalping ธรรมดา แต่สิ่งที่เราทำคือใช้ Money Management แบบ Profit Fixed Fractional นั้นหมายความว่า ถ้าระบบทำกำไรได้ เราก็จะเพิ่มหน้าตัก ถ้าช่วงไหนขาดทุน ผิดพลาดบ่อยหรือไม่ทำผลงานไ ด้ตามเกณฑ์ ก็จะลดขนาดเงินทุนลง  โดยเอา Negative reinforcement คือมีบทลงโทษ เช่นการพักการเทรด ลดจำนวนรอบ หรือโค้วต้าออร์เดอร์ที่เทร ด ทำให้ตระหนัก บทเรียน ในความผิดพลาด ยอมรับในความผิดพลาด อย

ตัวอย่าง volatility based money management

อธิบายเรื่องของ volatility based money management เมื่อคืน ยกตัวอย่างการคุม ค่า Portfolio Variance ให้ไม่เกิน 20% ไปเบื้องต้น  โพสนี้เป็นอีกตัวอย่างแนวคิ ด ที่เราจะสามารถนำไปปรับประย ุกต์ได้ เป้าหมายคุม risk โดยใช้ volatility targeting เป็นหัวใจของการออกแบบการเท รด ตัวอย่างนี้เป็นไอเดียของ S&P 500 Risk Control 10% Index ซึ่งกองนี้ขายการลงทุนใน S&P500 แต่ fix ตัว 10% volatility target จริงๆกลยุทธ์นี ้น่าสนใจ เขาเน้นการเทรดหรือปรับสมดุ ลระหว่าง S&P 500 และ Cash โดยใช้ volatility เป็นเงื่อนไขหลัก ด้านรายละเอียดไม่ได้ลงมากใ นบทความนี้ แต่ลองไป google แกะกลยุทธ์ต่อได้ เป้าหมาย เขาจะเกาะโอกาสจากภาวะตลาด S&P500 ที่เติบโต แต่ขณะเดียวกัน ก็ลดทอนความผันผวนและการถดถ อยจาก S&P 500 Index ด้วย ปล. ไม่ได้โฆษณา หรือ เชียร์ขายกองทุนนะ แต่เอาแนวคิดมายกตัวอย่างให ้ ลองศึกษากันครับ อ่านเพิ่มเติม http:// www.annuityadvisors.com/ forms/great-american/ S&P-500-Risk-Control-Index. pdf

staggered stop-loss strategy

เช้านี้นั่งอ่านบทความเกี่ยวกับ money management ไปเจอกลยุทธ์ด้าน exit strategies หนึ่งชื่อ staggered stop-loss strategy วิธีการไม่มีอะไรซับซ้อน แต่น่าสนใจตรงใช้ profit ที่เกิดมาปรับส่วนของ risk per trade ให้ขยับขึ้นลงแปรผันไปตาม ราคา asset ที่เพิ่มขึ้นตามช่วงเวลา ไอเดียนี้หยืดหยุ่นกว่า volatility based stoploss เพราะคำนวณง่าย และสามารถประยุกต์ใช้กับการเทรดสินค้า แบบกลุ่มที่มีความสัมพันธ์(correlation)ระหว่างกัน แต่มีระดับความผันผวนมีระ ดับต่างกัน ได้อีกด้วย ลองอ่านรายละเอียดจากภาพ (capture มาจากเอกสาร ไม่มี link) ปล. อีกอันที่น่าสนใจคือเขาเขียน ภาพการวาง stoploss แบบกราฟ payoff diagram ของ options ตรงนี้ดูอธิบายไอเดียได้เห็นภาพดี

Use of Leverage in Strategic Asset Allocation

การใช้ leverge เพื่อปรับระดับความเสี่ยง จริงๆไม่ใช่เรื่องใหม่ ถ้าศึกษาด้านนี้จะพบมีหลายกลยุทธ์มาก หนึ่งในนั้นคือ risk parity ของคุณ ray dalio บิดาด้านนี้ การใช้ Leverage ร่วมกับการทำ diversification บน asset ที่มีการทำ data analysis อย่างดี เพื่อกระจาย risk และเพิ่มประสิทธิภาพการสร้างผลตอบแทนระยะยาว บทความชี้ให้เห็น leverage เหมือนดาบสองคม มันไม่ได้มีแต่โทษ ประโยชน์ก ็มีถ้าใช้ได้เป็น ใช้อย่างเข้าใจ เนื่องจากเป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อน มีเนื้อหาเชิงลึกพอควร อีกอย่างไม่อยากแตะเรื่อง leverage มากเพราะเดียวสื่อแล้วเข้าใจไม่ตรงกันอีก ถ้าสนใจ อยากรู้กลยุทธ์ด้านนี้จริงจัง ลองอ่านจาก paper เรื่อง Use of Leverage in Strategic Asset Allocation นี้เขียนโดยคุณ Lionel Martellini จาก EDHEC Risk Institute Scientific Advisor เรื่องเทคนิคและวิชาการที่เปิดมุมมองความคิด เพื่อความเข้าใจให้เราดี ซึ่งบทความนำเสนอตัวอย่างการใช้ leverage ในระดับ portfolio management บนกลยุทธ์ SAA ซึ่ง key คือระดับการใช้ leverage ใน asset ที่เหมาะสม ผลที่ได้โดยเฉพาะการลด downside risk ระยะยาวนี้น่าสนใจมากทีเดียว

Bear Market Checklist

ออกตัวก่อน ผมไม่ได้เน้นการคาดเดาทิศทางตลาดนะ ที่โพสนี้แค่นำเสนอข้อมูล ข่าวและบทวิเคราะห์ ไม่อยากให้เข้าใจผิด และที่สำคัญคืออยากให้พวกเราอ่านแล้วคิด วิเคราะห์ ด้วยตัวเอง บทความนี้เป็นข้อมูลจาก Steve Einhorn มือขวาของคุณ Lee Cooperman ปัจจุบัน Einhorn เขาเป็นผู้บริหารของ Omega Advisors(family office AUM $3.8 billion) เป็นนักวิเคราะห์เจ้าของเว็บ Disciplined Systematic Global Macro Views เขารวบรวมข้อมูล ปัจจัยที่ต้องติดตาม  สำหรับการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ตลาดหมี (Bear Market) แบ่งปันไว้ โดยการวิเคราะห์ก็ไม่ใช้ Bias หรือพยากรณ์มั่วๆอย่างเดียว เขามีกระบวนการ มีปัจจัยที่ติดตามและทำการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงข้อมูลมาตลอดปี ได้แก่ Problematic Inflation ,Hostile Fed ,Prospects of recession ,Investor sentiment และ Valuation ล่าสุดข้อมูลเป็นไปตามภาพที่เห็นปัจจัยต้องตระหนัก ติดตามอย่างใกล้ชิดคือ Hostile Fed และ Prospects of recession แต่ก็ยังไม่ถึงขั้นรุนแรง ลองอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเข้าไปดู global macro view ได้จาก link ด้านล่าง ปล. ส่วนตลาดหมีจะมาเมื่อไหร่ อันนี้ไม่มีใครบอกได้ แต่ติดตามรั

ทำไม Over trading ถึงไม่ทำให้รวย

3 เดือนที่ผ่านมาทำ Project หนึ่งชื่อว่า Bot Over Trade คือสร้าง robot ให้มันเทรดแบบ Over trading ด้วย Leverage ระดับ 100:1 ในบัญชี standard โดยเป้าหมายจะพิสูจน์ประเด็น High Risk High Return มันไม่ work ระยะยาวให้น้องๆที่ร่วมฝึกเทรดด้วยกันดู อีกประการส่วนตัวโดนถาม แนวถากถางบ่อยมากว่าเทรดทีละ 0.01 lot มันจะไปรวยได้ยังไง มันต้องกล้าได้กล้าเสีย ดังนั้นเลยทำการทดลองนี้มาให้ดูว่ามันไม่ได้จำเป็นว่าต้องเทรด lot เล็กเสมอไป ม ันขึ้นกับการออกแบบ Risk Management อีกประการอยากแสดงให้เห็นว่าทำไม ถึงไม่ใช้กลยุทธ์การเทรดแบบ Over trading (เพราะมันไม่ทำให้การเติบโตที่ยั่งยืนไง) ผลการทดลองก็ง่ายๆ เทรด scalping ไปเรื่อยๆยิงเก็บ cash flow ไปโดยใช้เงินเริ่มต้น $30 เทรด ซึ่งเทรดไปตามภาวะ volatility ของตลาด ยิงเก็บ cash flow ไป มีโค้วต้าการเทรด 4 Unit เดือนแรกมัน flow ได้กำไรสูงถึง 63% ต่อเดือน เดือนสองยังแม่นยิงเก็บแต้มไปต่อได้อีก 16.5% เดือนสามประคองตัว มีติดบ้างแต่ปิดได้กำไร 5.4% แต่เหมือนที่บอกครับ การเทรดแบบ Over trading มันไม่เคยทำให้ใครรวยระยะยาวเพราะ เมื่อประเด็นพิเศษเข้ามา ความผันผวนจาก

บทความวิจัยพัฒนา กลยุทธ์การ Stop loss

Stop loss หรือการ Limit loss คือกลยุทธ์การจำกัดผลกระทบจากการขาดทุนที่มาจากความเสี่ยงในการเทรดแบบหนึ่งที่ถูกนำมาใช้แพร่หลาย เรื่องนี้เราสามารถทำความเข้าใจและเรียนรู้ เพื่อนำไปใช้พัฒนาระบบเทรดได้ เมื่อวันจันทร์พูดเรื่องการทดลองใช้ stop loss กับ leverage ไป มีคนถามถึง paper การทดลองอยากเอาไปศึกษาต่อ ผมเลยนำ link ที่บันทึกไว้มาแชร์ ย้ำว่าเป็นแค่บางส่วนนะครับ มีอีกหลายแหล่งที่เราสามารถหาอ่านเพิ่มเติมได้ ถ้าสนใจลองศึกษาดูมีคนวิจัยพัฒนาเทคนิคต่างๆไว้เยอะเลย ซึ่งเราจะได้เห็นข้อเด่น  และข้อจำกัด รวมถึงการ optimize โมเดลในการจัดการความเสี่ยง ถือเป็นการเปิดโลก เพิ่มเติมความรู้ไปในตัวครับ ปล. จะใช้หรือไม่ใช้ stop loss ไม่ใช่ประเด็นนะครับเพราะมันเป็นแค่หนึ่งทางเลือกในการจัดการการขาดทุน แต่สำคัญคือถ้าเลือกจะใช้ ต้องใช้มันอย่างเข้าใจ ใช้ให้ถูกเหมาะสมกับพฤติกรรมของ asset และอย่าไปใช้มันเป็นแพะรับบาปหรือข้ออ้างในการล้างพอร์ต -Assessing Stop-Loss and Re-Entry Strategies https://papers.ssrn.com/sol3/papers.cfm?abstract_id=2277722 -Taming Momentum Crashes: A Simple Stop-Loss Strategy https://pa

GRID Money Management

สรุปผลการแข่งขัน Robot Fighting รอบที่2 เหลือทีมผ่านเข้ารอบ 6 ทีมจาก 20 ทีมในเดือนที่1 เริ่มเทรดเก็บคะแนน รอบใหม่ต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา โดยสัปดาห์ที่ 1 ตัว Vector Scalping 4x4 (Benchmark) คะแนนนำ เทรดไป 37 ครั้งเก็บคะแนน 405.0 pips การแข่งขันที่จัดเน้นการอยู่รอดระยะเวลา 2 เดือนในตลาด เทรดบัญชีจริง(micro) เน้นการเก็บ pip และคุมขนาด Draw down ให้ได้ตามเกณฑ์ จากการทำ Money Management ไม่เน้นการเร่งทำกำไรหรือการอัด lot size การแข่งขันนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์กับสมาชิก จัดรายการ live ชื่อ Robot Fighting Documentary ประกอบไปด้วย โดยสอนเรื่องของ Tactic และกลยุทธ์ ช่วยทำให้สมาชิก พัฒนาระบบเทรด แบบยั่งยืน ไม่ล้างพอร์ต  สองตอนแรก เรื่องของ GRID Money Management สามารถเข้าฟังได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=Ly0OiUi2mrA https://www.youtube.com/watch?v=PRs35bvVH-Q

Economics and Finance Online Course

เทรดเดอร์ เข้ามาตลาดอาจจะไม่ได้มีพื้นฐานความรู้ด้านการเงินและเศรษฐศาสตร์ ซึ่งหลายเรื่อง มันมีความสำคัญและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับการออกแบบพอร์ตและการวางกลยุทธ์ ต่างๆ ผมมีแหล่งเรียนออนไลน์อันหนึ่งที่ดีมาก ของ Khan Academy หัวข้อครอส Economics and finance ผมเองก็ศึกษาจากที่นี้ โดยเฉพาะเรื่อง Macroeconomics และ Finance and capital markets ซึ่งอธิบายได้ดีและเข้าใจง่ายมาก อีกประการคุณ khan นี้เป็นอดีต hedge fund manager เก่าที่ออกมาทำประโยชน์ให้กับโลก แทนที่มุ่งหาเงิน คานเรื่ องความรู้ไม่ธรรมดาเขาเรียนจบปริญญาจาก MIT และ MBA จาก Harvard ดังนั้นเรื่องเนื้อหาคุณภาพสูง การอธิบายและยกตัวอย่างดีมาก อยาก แนะนำลองเข้าไปเรียนได้ที่ https://www.khanacademy.org/economics-finance-domain

เทรดหุ้นโดยไม่ต้องตัดขาดทุน

มีคำถามมาทางกล่องข้อความ อยากให้แนะนำวิธีเทรดหุ้นโด ยไม่ต้องตัดขาดทุน(stoploss ) จริงๆต้องเริ่มต้นทำความเข้ าใจเรื่อง stoploss ก่อนนะครับ ประเด็นมันไม่ได้อยู่ที่มีห รือไม่มี stoploss ประเด็นหลักมันอยู่ที่การจั ดการกับการขาดทุนที่เกิด ถ้าจะเอา stoploss ออกจากสมการง่ายมาก เราก็ต้อง จัดการความเสี่ยง(Risk) ที่เกิดจากความผิดพลาดให้ได ้ก่อน  วิธีการเอาแบบ basic กำปั้นทุบดินไม่ต้องพูดถึงป ระสิทธิ์ภาพการใช้เงิ นเลยนะ step1 >> คิดว่าเรามีเงินทุน(balance ) เท่าไหร่ step2 >> คำนวณค่าเรารับการขาดทุนสูง สุดได้เท่าไหร่ (ขาดทุนแล้วนอนหลับ ไม่หมดตัว ไม่เครียด) step3>> เทรดหุ้นเท่าจำนวนเงิน ขาดทุนที่รับได้ ตย. คุณมีเงิน 1,000,000 รับการขาดทุนได้ 30000 บาท หรือก็คือ 3% ของเงินทั้งหมด ดังนั้น ก็ไปเทรดหุ้น aa ด้วยเงินแค่ 30000 บาทราคาหุ้นละ 100 บาทซื้อได้ 300 หุ้น >> สมมติเกิดขาดทุน worst case คือหุ้นมูลค่าเป็นศูนย์ หรือบริษัทล้มละลาย ก็จะเสียเงินสูงสุด 30000 บาทเท่านั้น เลือกหุ้นหรือสินค้าที่เทรด ดีๆถ้ามันเกิดได้ยากก็แปลว่ าโอกาสขาดทุนหมดเงินก็จะต่ำ ลง แถมทำให้ ไม่ต้องรีบ stoploss

Zone Recovery Tactic

วันนี้มีน้องเทรดเดอร์มาปรึกษา เขาเอาเทคนิคเรียกว่า zone recovery area แนวคิดของฝรั่งคุณ Joseph Nemeth ที่กำลังโด่งดังใน you tube ยอดคนฟังเกือบแสน แนวคิด zone recovery เขาเอามาทำเพื่อทดแทนการ stoploss ด้วยแนวคิดง่ายๆที่ว่า ราคา มันไม่ขึ้นก็ลง ทางใดทางหนึ่ง ดังนั้นใช้พลวัตรของตลาด มาเป็นตัว cover loss ซะจะได้ไม่ต้องขาดทุน ผมไม่ขอสรุปว่าใช้ได้หรือไม่ แต่จะสาธิตการทำงานของอัลกอริทึ่ม Zone recovery tactic ด้วยการเขียนโปรแกรม robot trading เพื่อจำลองการทำงา นกับตลาดจริง สินค้าจริง แล้วมาอภิปรายข้อดีข้อเสีย ลองศึกษาเทคนิคต่างๆไว้ก็ไม่เสียหลายครับ เพราะทุกวิธี ทุกแนวคิดบนโลกนี้มันมีข้อดีข้อเสียเสมอแหละ ใครที่สนใจเทคนิคนี้ลองเข้าไปชมได้จาก link ด้านล่างครับ https://www.youtube.com/watch?v=DX34jq9q7OQ

PAMM Account

มี email ถามมาว่า MAM กับ PAMM ต่างกันอย่างไร ? สรุปคราวๆ มันเป็นระบบ allocation และการบริหารบัญชี ซึ่งเป็นลักษณะปิดภายในโบรก เกอร์(ไม่สามารถข้ามโบรกเกอ ร์ได้) MAM ย่อมาจาก Multi-Account Manager เป็นลักษณ์ software ที่ ผู้บริหารเงินใช้เทรดหรือลง ทุนผ่านบัญชีย่อยต่างๆ ที่อาจจะมีกลยุทธ์หรือมีสัด ส่วนของเงินต่างกัน ข้อดีมันง่ายอยู่ใน terminal เดียวหรือสามารถส่งคำสั่งคร ั้งเดียวแต่ execute บนบัญชีย่อยได้พ ร้อมกันในสัดส่วนเงินต่างกั น ตัวนี้จะมีที่นิยมคือของ MT4 MT5 และ Trade station PAMM ย่อมาจาก Percentage Allocation Management Module ตัวนี้ เป็นระบบบริหารเงิน ที่นักลงทุนสามารถร่วมลงเงิ นกับ Money manager ตามสัดส่วน และระบบจะแบ่งผลกำไร ตาม % เงินที่ลง PAMM นี้ซับซ้อนกว่าแค่โปรแกรมเพ ราะจะมีเงื่อนไขสัญญา ข้อตกลงทางกฏหมายและ Money manager สามารถขาร์จ ค่า fee จากผลกำไรได้ด้วย ตรงนี้ไม่ได้มีทุกโบรกเกอร์ บริการ บางโบรกเกอร์มีขนาดบัญชีขั้ นต่ำ กำหนดปริมาณนักลงทุน ระยะเวลาลงทุน และมีค่าธรรมเนียมพิเศษสำหร ับบัญชี นอกจากนี้ PAMM ยังมีการแข่งขันผลงานเพื่อด ึงนักลงทุนคนอื่นๆ ที่เป็นลูกค้าของ