ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์ที่มีป้ายกำกับ global macro

Druckenmiller: The US is in worse shape for a recession now

เช้านี้ก่อนตลาดเปิด ผมนั่งฟังคลิปของ Druckenmiller ให้สัมภาษณ์กับ CNBC ไว้สัปดาห์ก่อน มีหลายประเด็นน่าสนใจ แต่ค่อนข้างกว้าง เหมือนการสนทนาไปมา โดยสรุป Druckenmiller พูดว่าคุณ Yellen ควรเพิ่มอัตราดอกเบี้ยตั้งแต่ 2016 ให้ไปถึง 3.5-4% ตอนนั้นเป็นช่วงเศรษฐกิจกำลังฟื้นและโอกาสดี เมื่อมาถึงตอนนี้การเรตขึ้นไปน้อย ช้าไป ดังนั้นเมื่อมีความต้องการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง เพื่อเป็นเครื่องมือกระตุ้นเศรษฐกิ จ จึงทำให้เป็นงานยากของ Fed นอกจากนี้ Druckenmiller กล่าวเขาเป็นห่วงอนาคต หลายอย่างเริ่มสะท้อนการถดถอย ขณะนี้ตัวเลขหนี้ โดยเฉพาะ corporate debt ที่สูงโป่งถึง $10 trillion แม้ปัจจุบันตัวเลขทางสถิติ หรือ ดัชนีตลาดหุ้นยัง bullish แต่แกก็ยังใช้คำว่าเรากำลังอยู่ใน worse shape for a recession ยังมีประเด็นย่อยอีกบางส่วนลองเข้าไปฟัง ฉบับเต็ม https://www.youtube.com/watch?v=FfKK6Y18yl8

7 million Americans are 90 days+ behind on their auto loan payments

ตัวเลขหนี้ภาคครัวเรือน เป็นดัชนีชี้วัดสภาวะเศรษฐกิจที่กูรูหลายท่านแนะนำให้ติดตามในปีนี้ โดยเฉพาะเศรษฐกิจระดับล่างของอเมริกา ที่มีหลายกูรูออกมาให้ความเห็นว่ามันอาจจะแตกต่างและไม่ได้สวยงามเหมือนเศรษฐกิจระดับบนที่รัฐบาลและ Fed พยายามอย่างหนักที่จะกระตุ้นกันตลอดหลายปีที่ผ่านมา ตัวเลขหนึ่งที่ประกาศเมื่อวานดูเหมือนจะเป็นที่กล่าวถึงคือตัวเลข การติดค้างชำระค่างวดรถยนต์ จาก  NewYork Fed Report ซึ่งเป็นหนี้ระยะสั้นที่นิยมมีการนำไปใช้วัดสภาพคล่องระดับครัวเรือน ซึ่งตัวเลขล่าสุดออกมา แสดงให้เห็นคนชั้นกลางอเมริกัน จำนวนกว่า 7 million ค้างจ่ายค่างวดของหนี้รถยนต์(auto loan payments) เกินกว่า 90+ วันขึ้นไปเพิ่มจากช่วง 5ปีก่อนหน้าพอควร และเข้าใกล้ระดับตอนช่วงวิกฤติการเงิน ด้านกูรูมองว่าเกิดจาการขาดรายได้มาผ่อนชำระ สะท้อนความไม่ปกติในกำลังซื้อของเศรษฐกิจระดับล่าง นอกจากนี้ กูรูยังแนะนำให้จับตาตัวเลขอื่นๆอย่างหนี้ผ่อนบ้าน , หนี้บัตรเครดิต และหนี้กู้ยืมด้านการศึกษา ก็อยู่ในระดับที่ค่อนข้างตึงเช่นกัน อ้างอิงจาก https://libertystreeteconomics.newyorkfed.org/2019/02/just-released-auto-loans-in

Major Asset Classes 2018 Performance

พอดีเมื่อวานมีน้องท่านหนึ่งของข้อมูล return ของ asset class สรุปปี 2018 เอาไว้ วันนี้ผมเลยนำภาพกราฟิกสรุปจาก visualcapitalist มาแปะไว้ให้ จากภาพจะเห็นกลุ่ม currency ปี 2018 อาการไม่ค่อยดี แถมฉีกกว้าง (ปกติถ้าแกว่งแคบ range ไม่กว้าง,จบปี return ไม่สูงเกิน 1SD พวกนี้จะทำรอบเล่นกับ volatile ได้ดีกว่า การเคลื่อนที่ไปด้านใดด้านหนึ่งของราคาตามโมเมนตรัม ถ้าใครจับทางถูกก็ได้ผลตอบแทนมากตาม เช่นเดียวกันถ้าผิดก ็ขาดทุนหรือรับผลการโตของ DD ไป) สิริสกุลใหญ่ติดลบ CAD -6.3% , AUD -9.9%, GBP -5.9% ด้าน USD +4.6% ด้าน asset ทั่วไป VC จัดอันดับผู้ชนะและผู้แพ้ไว้ พวกนี้คือ extreme ปกติถ้าใครจับถูกก็กำไรงาม จับผิดก็โดนหนัก ด้านผู้ชนะราคาเติบโตในปี 2018 ได้แก่ หุ้น AMD +79.6% เช่นเดียวกับกลุ่มคลาสิก ประเภท ไวน์สะสมเก่าๆ ,งานศิลปะ ด้านผู้แพ้ที่ราคาถดถอยหนักได้แก่ หุ้นเก่แก่ 100 ปีอย่าง GE -56.6%, หุ้นซอส heinz -44.7% และขาดไม่ได้คือ bitcoin -75.4% อ่านข้อมูล asset class อื่นๆเพิ่มเติม จาก https://www.visualcapitalist.com/how-every-asset-class-currency-and-sector-performed-in-2018/

Venezuela Crisis 2019

สถานการณ์ใน Venezuela ก็เข้มข้น ตอนนี้มีการประท้วง ปะทะมีคนเจ็บ ล้มตายเกือบทุกวัน ประเทศ Venezuela แยกสองขั่ว มีสองประธานาธิปดี ฝั่ง Juan Guaidó ก็สามารถเรียกประชาชนที่ต้องการการเปลี่ยนแปลงเพราะปัญหาเศรษฐกิจ Hyperinflation และความยากลำบาก คนตกงาน ไม่มีอาหารกิน ออกมาประท้วงได้จำนวนมากหลายหมื่นตามท้องถนนและสถานที่ต่างๆ แถมยังได้กระแสสนับสนุนจากหลายประเทศ ทั้งยุโรป และสหรัฐ ด้าน Nicolas Maduro ยังครองอำนาจ กำลังทหาร บวกได้การสนับสนุนจาก รัสเซีย ประเ ด็นน่าสนใจจากรายงานการวิเคราะห์นี้คือ Venezuela อาจจะไม่จบง่ายๆเพราะมาถึงจุดที่ประชาชนเหลืออด แน่นอนว่า Juan Guaidó อาจจะล้มเหลว แต่ก็จะมี คนต่อๆไป กล้าขึ้นมาท้าทายอำนาจของ Nicolas Maduro เพราะได้เห็นว่าประชาชนจำนวนมากและชาติประชาธิปไตย อย่างสหรัฐ ยุโรป หนุนหลัง อีกประเด็นเป็นเรื่องสงครามตัวแทน ระหว่างสหรัฐ และรัสเซีย(+จีน+บราซิล) ซึ่งรัสเซียไม่ต้องการสูญเสียอิทธิพล ในทวีป(ด้านพันธมิตรและจุดยุทธศาสตร์ทางการทหาร)และผลประโยชน์ในอุตสาหกรรมน้ำมัน จำนวนมากใน Venezuela ซึ่งเชื่อกันว่า ถ้ามีการปรับปรุงแท่นเจาะหรือลงทุนเทคโนโลยีใหม่ Vene

สถานการณ์ภาคอสังหาฯออสเตรเลีย

หน้าที่ของเราคือ หาข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อเตรียมตัวรับมือกับ risk ที่อาจจะเกิด แน่นอนว่ามันอาจจะเกิดหรือไม่เกิด เกิดหนักเกิดเบาอันนั้นก็คงต้องเป็นเรื่องของอนาคตสำหรับส่วนตัวผมไม่คาดเดา แต่เน้นการเตรียมพร้อมรับมือมากกว่า ที่น่าสนใจคือตั้งแต่ปลายปี 2018 ภาคอสังหาของออสเตรเลีย ดูเหมือนจะเป็นประเด็นร้อนที่มีการกล่าวถึงหนักขึ้นเรื่อยๆ มาพร้อมตัวเลขราคาอสังหาในเมืองใหญ่ เช่น ซิดนีย์ ที่ถดถอยตกลงราวๆ -20% ที่น่าตกใจคือตั วเลขจากนักวิเคราะห์บางกลุ่มที่ออกมาประมาณว่า ตัวเลขการกู้เงินเพื่อผ่อนบ้านมีจำนวนไม่น้อยที่ประสบกับปัญหา และมีตัวเลขการเพิ่มของผู้กู้/จำนองบ้านรอบ 2 สิ่งที่หนักไปกว่านั้น กูรูมองว่าบ้านหลายแสนหลังที่ราคาตกลงหนักต่อเนื่อง แม้เจ้าของบ้านจะขายบ้าน ที่ราคาตลาด ณ ปัจจุบัน ยังต้องติดหนี้ธนาคารผ่อนชำระยอดเงินต้นต่อ ผมไม่ลงตัวเลขที่ประเมินเพราะเดียวจะ panic อยากทราบลองดูในคลิปรายการ 60 Minutes Australia ซึ่งนำเสนอประเด็นปมปัญหาในภาคอสังหาของออสเตรเลีย ทั้งเรื่องอาคาร ample tower ที่เกิดร้าวหลังเปิดได้ไม่ถึงปี จนต้องอพยบคนออก ทำให้นักลงทุนจำนวนมากขาดทุนหนัก และปัญห

Interview with Ray Dalio - Davos 2019

มุมมองของคุณ ray dalio ยังไม่เปลี่ยนจากปีก่อน เชื่อว่ามีโอกาสที่จะเจอ recession ในช่วงราวๆ 2020 สรุป เนื้อหาคราวๆจากคลิปสัมภาษณ์ คุณ dalio ให้ความเห็นว่า เศรษฐกิจโลกจะพบการชะลอตัวทั้ง สหรัฐ ยุโรป จีน ญุี่ปุ่น และ ไม่ใช่แค่เรื่องของ เศรษฐกิจ(เรื่องของหนี้)อย่างเดียว แต่คุณ dalio เชื่อว่าปมประเด็นความขัดแย้งทางการเมือง ที่มาพร้อมช่องว่างระหว่างคนจน คนรวย(Wealth gap) จะทำให้เกิดการเผชิญหน้าของขั่วการเมือง 2 ฝ่าย ทั้งในและนอกสภา นำมาซึ่งปัญหา โดยเฉพาะช่วงปี 2020 อยู่ช่วงเทศกาลเลือกตั้ง ปธน. รวมไปถึงขีดจำกัดของ ธนาคารกลางในการรับมือ กับภาวะวิกฤติหรือการชะลอตัวเศรษฐกิจรอบใหม่กรณีที่เกิดในเวลาอันสั้น สุดท้าย 3 ประเด็นเหล่านี้ มีผลต่อนักลงทุน รายใหญ่ รายย่อย สถาบันการเงิน (ส่วนใหญ่ long และใช้ leverage ด้าน long ช่วงภาวะตลาดขาขึ้น) ที่ต้องมีการปรับแผนการลงทุน หลังตระหนัก ความเสี่ยงที่รุนแรงมากขึ้น จุดนั้นก็จะได้เห็น การเปลี่ยนแปลงของตลาด อย่างมีนัยยะ ปล. ฟังเพิ่มเติมได้จาก clip vdo ค่อนข้างจะสนุก เพราะ ray dalio พยายามจะตอบโต้กับ พิธีกรที่พูดแข่ง แย้งขึ้นมา

Wealth gap

งาน World Economic Forum นอกจากประเด็นความตรึงเครียดระหว่างจีนและสหรัฐแล้ว ยังมีเรื่องของ ความเหลื่อมล้ำ ช่องว่าระหว่างคนจนและคนรวยที่กว้างขึ้น สื่อหลายเจ้านำเสนอประเด็นนี้โดยเฉพาะตัวเลขสถิติ เช่น ทรัพย์สมบัติ ของคนรวยนั้นเพิ่มขึ้นทุกวัน แต่คนจนทรัพย์สมบัติกลับลดลง ค่าเฉลี่ยของคนจน 3.8 billion คนนั้นมีรายได้น้อยกว่า $5.5 ต่อวัน รายงานของ oxfam ระบุปัจจุบันสินทรัพย์ของมหาเศรษฐี นั้นเติบโตขึ้นมากกว่าอดีตหลายเท่าตัว คิดค่าเฉลี่ย 2.5 billion ต่อวัน รวมไปถึงความได้เปรียบ เช่นสิทธิ์ทางภาษีและข้อยกเว้นเพื่อสนับสนุนธุรกิจ จากนโยบายการเมืองของประเทศต่างๆ นักข่าวมองว่า อาจจะได้เห็นการอภิปรายหรือหาทางออกเรื่องปัญหาความเหลื่อมล้ำนี้ ที่กำลังอาจจะกลายเป็นประเด็นใหญ่ของโลกในอนาคต ใน theme หัวข้อ Globalization 4.0 ด้วย จากภาพ บลูมเบริ์กรายงานสินทรัพย์ ของเหล่ามหาเศรษฐีพันล้านคนดัง เทียบขนาดสินทรัพย์จากปี 2009 ถึง ปี 2019 เราจะเห็นถึงการเพิ่มขึ้น อย่างที่เรียกว่า มหาศาลเลยมีเดียว อ่านเพิ่มเติม https://www.weforum.org/focus/davos-2019 https:

Risk Map 2019

วันนี้นั่งอ่านบทความของ Ben Carlson แห่ง Ritholtz Wealth Management เขาพูดถึงความไม่แน่นอนและความเสี่ยงที่จะเกิดในปี 2019 มีหลายประเด็นที่ต้องติดตามกัน รวมไปถึง idea เรื่องการวางกลยุทธ์การเทรด สอดรับกับ theme ของความไม่แน่นอนที่จะเกิด โดยอิงจาก riskmap ในปี 2019 ซึ่งนวค. จาก controlrisks ได้มีการสรุป Top Five Risks for 2019 เอาไว้ ดังนี้ 1. US-China trade rift foretells a new global order > ประเด็น trade war ระหว่างจีนและสหรัฐ ที่มีการมองว่าจะกระทบไปถึง geopolitical และธุรกิจของบริษัทต่างๆ ที่ติดอยู่ตรงกลาง ระหว่างการโต้ตอบของจีนและสหรัฐ 2. The global data switchback ride > ประเด็นเรื่องของข้อมูลและการใช้ประโยชน์ของข้อมูล จากธุรกิจ โดยเฉพาะบริษัทไอทีและเทคโนโลยี กลายมาเป็นประเด็นเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ที่ดูเหมือนกลุ่ม EU และ US มองไม่ตรงกัน ทำให้การเป็นข้อขัดแย้ง ประเด็นนี้รวมไปถึงภัยคุกคาม cyber security อีกด้วย 3. American political gridlock > ความเห็นไม่ลงตัวของพรรคการเมือง Democrats ที่ครองเสียงสภาล่างและRepublican ครองเสียงในสภาสูง หลายนโยบายที่ต้อ

Brexit Scenarios

รายงานของสำน ักต่างๆ แนวโน้มความคิดเห็น นวค.ไปคล้ายกันคือเชื่อว่าป ีนี้ประเด็น Brexit จะเข้มข้นและหนักหน่วงขึ้น โดยเฉพาะแรงกดดันทางการเมือ งที่ตกกับตัวคุณ Theresa May นายกของ UK (จะมีนัดโหวตจากสภาเพื่อพิจ ารณารับข้อตกลงกับ EU รอบแรก 15 มค. นี้) นักข่าวและนักวิเคราะห์การเ มืองมองความน่าจะเป็นของทาง ออกประเด็นนี้ เป็น 4 ทาง แน่นอนว่าทางบวกต่อ GBP และ FTSE 100 index เป็น Soft Brexit แต่ถ้ าออกมา Hard Brexit ดูเหมือน ทั้ง EU และ UK คงจะต้องเหนื่อย ลากกันยาวต่อไปโดยเฉพาะ UK ที่ซีนาริโอออกมาอาจจะเกิดก ารเปลี่ยนแปลงทางการเมืองกั นเลยทีเดียว ล่าสุด 15-01-2019 ร่างข้อตกลง Brexit ไม่ผ่านการโหวตของสภา แพ้ไปด้วยคะแนนเสียง 432-202 ถือว่าเป็นความเสียหายทางการเมืองของพรรครัฐบาลพอควร โดยเฉพาะด้านเสถียรภาพและความเชื่อมั่น ทำให้ประเด็นหาทางออกเรื่องข้อตกลง Brexit ต้องยืดออกไปต่อขณะฝ่ายค้านเตรียมอภิปรายไม่ไว้วางใจ รัฐบาล นายก Theresa May ต่อ ด้านค่าเงิน GBP เมื่อคืนผันผวนมาก GBPUSD ปรับตัวลงแรง รับข่าวไปทำจุดต่ำสุดของวันที่ 1.26685 แต่ก็ทำ V shape เด้งกลับด้วยแรงซื้อ ช่วงเวลาอันสั้น ยกไ

Black rock survey -asset allocation

เมื่อวานอธิบายเรื่อง Fundflow การทำ data analysis จาก asset class ต่างๆเพื่อดูการเคลื่อนของเ งิน รายคาบเวลา มีคำถามหนึ่ง น่าสนใจ เกี่ยวกับ การไหลของเงินของ smart money ในการหลบปัจจัยเสี่ยง  วันนี้ผมไปอ่านเจอบทความของ  Mark Rzepczynski เขาเขียนถึงผลการสำรวจ black rock ล่าสุดที่ไปถามเหล่า institutional investor จำนวน 230 คนมี AUM รวมทั้งหมดมากกว่า $7 trillion เกี่ยวกับการทำ asset allocation (รายงานไม ่ได้ระบุช่วงเวลาของปีที่ทำ การ survey) ข้อมูลจากรายงานพบว่า money managers กังวลเรื่องของความเสี่ยง โดยเฉพาะสิ่งที่เกิดเมื่อปี ก่อนหน้าที่หลาย asset มี performance ที่ไม่ค่อยดี มีการลดน้ำหนักเงินในตลาดหุ ้น และเพิ่มเงินในกลุ่ม fixed income ในขณะที่ asset ประเภท private equity, real estate และ real assets สะท้อนการเพิ่มขึ้นจากเงินล งทุนของ money managers ที่เก็บ asset ประเภทนี้เข้าพอร์ต Mark Rzepczynski เขาก็ตั้งคำถามที่น่าสนใจ แน่นอนว่าตอนนี้ส่วนใหญ่ตระ หนัก ความเสี่ยงและความผันผวนเพิ ่มขึ้นในราคา asset ส่วนใหญ่พยายามจะหลีกเลี่ยง  แต่ทำไมถึงมีการเข้าลงทุน สะสมสินทรัพย์ที่มี liquid ต่ำในพ

Effect of raising interest rates

เมื่อวาน ได้มีโอกาสไปนั่งล้อมวงสนทนาออนไลน์กับพี่น้องนักลงทุนและเทรดเดอร์ ถึงผลกระทบที่เกิด ในปีหน้า ช่วงทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้น ของไทยเริ่มปรับเบาๆ ส่วน Fed ล่าสุดก็ปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 25 bps สู่ร้อยละ 2.25–2.50 ตามคาด ตามข่าวระบุปีหน้ามีแผนปรับขึ้น 2 ครั้ง คุยกันหลายเรื่องหลายประเด็น ผมเองนั่งฟังคนเก่งๆที่ทำการบ้านมาพูด ก็ได้มุมมองเยอะดี โดยเฉพาะผลกระทบต่อกลุ่มอุตสาหกรรมสำคัญ อย่าง การเงิน ,ธนาคาร,อสังหา เป็นต้น ผมเองเมื่อวานเอาข้อมูล ที่อ่านเจอและสรุปเก็บไว้ไปแชร์ อันหนึ่งมาจาก economicshelp คิดว่ามีประโยชน์มาแปะไว้่หน้าเฟสอีกที อันนี้เป็น การวิเคราะห์ของ กูรูอเมริกา ข้อดีเขาแจกแจงด้านบวกด้านลบไว้ ให้เข้าใจง่าย ทำให้เราเห็นภาพได้ชัด รายละเอียด ลองไปแกะกันต่อเพิ่มเติม ส่วนน้องเทรดเดอร์คนหนึ่งถามทิ้งไว้ว่าตลาดหุ้นจะจบรอบเพราะ Fed หรือไม่ แนะนำลองอ่านบทความ fed-actually-trying-cause-stock-market-crash ของ zerohedge หัวข้อนี้ดูครับ ส่วนตัวผมคงไม่ขอเดาหรือทำนายอะไร เตรียมตัวไว้ให้พร้อมดีที่สุด https://www.economicshelp.org/macroeconomics/monetary-policy/effect-rai

Inverted Yield Curves Aren’t a Crystal Ball

ประเด็นกำลังพูดถึงกันเยอะ อีกหนึ่งหัวข้อตามสื่อและเว็บไซต์ต่างประเทศ เห็นจะเป็นเรื่องของ Inverted Yield Curves ที่เมื่อวันจันทร์ เกิดการมุดของเส้น yield curve ของ US 5-Year Bond ลงต่ำกว่า 2Y Bond เป็นครั้งแรกในรอบสิบปี นับจากปี 2007 ตามมาด้วยการปรับลงหนักของตลาดหุ้นสหรัฐ เมื่อวาน S&P500 -3.25% นักวิเคราะห์บอกว่ามาจากความกังวลจาก inverted yield curve. (อาจจะไม่เกี่ยวกันก็ได้) เหมือน กูรู /นวค. บางกลุ่มพ ยายามสื่อว่ามันคือลาง หรือสัญญาณบอกเหตุในอนาคต รวมถึงความคาดหวังเชิงลบที่จะเกิด บทความนี้ของ WSJ เขียนน่าสนใจดี โดยสรุปเขากล่าวว่า Inverted yield curves นั้นมันสามารถแกว่งได้ ปรับตัวได้ แต่มันไม่ใช่สาเหตุ ที่ทำให้เกิดการถดถอยทางเศรษฐกิจ ดังนั้นไม่จำเป็นว่าเมื่อเกิด Inverted yield curves จะต้องเกิดเศรษฐกิจถดถอยทุกครั้ง 100% เพราะyield curves นั้นไม่สามารถทำนายอนาคตเศรษฐกิจและตลาดหุ้นได้ (อันนี้นักวิชาการจาก Fed ออกมาอธิบายก่อนหน้าอย่างละเอียดแล้ว) บทความระบุว่าถ้าจะเกิด recessions จริงจะต้องมีปัจจัยสาเหตุอื่นๆ ประกอบ แต่ตอนนี้สิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้คือเรื่องของ market assu

10 Outrageous Predictions for 2019

ทีมนักกลยุทธ์และนักวิเคราะห์เศรษฐกิจของ saxo bank ทำรายงานที่ชื่อ 10 Outrageous Predictions for 2019 แบบสุดโต่งสุดๆแบบไม่ธรรมดา(และมีโอกาสจะเกิดได้เช่นกัน) มี 10 ข้อ ดังนี้ 1.EU announces a debt jubilee ** ปัญหาหนี้ กระทบต่อสเถียรภาพเศรษฐกิจและการเมืองยูโร 2.Apple “secures funding” for Tesla at $520/share **ฝันที่เป็นจริงของ Elon Musk เมื่อ apple หันมาร่วมมือพัฒนาธุรกิจ self driving car โดยการเข้าซื้อกิจการ Tesla 3.Trump tells Powell “you’re fired” **ทรัมป์เหลืออดกันนโบายของ Fed 4.Prime Minister Corbyn sends GBPUSD to parity **Corbyn ผู้นำจากพรรคแรงงานฝ่ายค้านขึ้นมาเป็นนายก UK คนใหม่ นำนโยบายประชานิยมและ universal basic income มาใช้ประเทศถังแตกเป็นหนี้สูง GBPUSD ร่วงลงรุนแรงระดับ 1.00 5.Corporate credit crunch pushes Netflix into GE’s vortex **ระเบิดหนี้เอกชน หุ้นกู้ ที่ร่วงรุนแรงรุกลามสู่ราคาหุ้น กระทบ ETF และตลาดหุ้นสหรัฐ 6.Australian central bank launches QE on housing bust Down Under ** ตลาดอสังหาออสเตเรียเกิดฟองสบู่ระเบิด RBA ต้องทำ QE กู้วิกฤติ 7.Germany enters recession **

2018 ฺBad Year

ข้อมูลจาก Deutsche Bank แสดงให้เห็นว่าทำไม การเทรดหรือการลงทุนในสินทรัพย์เดียว มันจึงไม่ง่ายที่สร้างผลตอบแทนสะสมที่เติบโต ดูจากสถิติย้อนหลังตั้งแต่ 1990 โดยเฉพาะช่วง วิกฤติการเงิน 1-2 ปี มากกว่า 50% จาก asset class นั้นมีผลตอบแทนติดลบ(negative returns) ส่วนในปี 2018 ยังต้องลุ้นหนักในเดือนสุดท้าย ข้อมูลล่าสุดจะพบ 90% จาก asset class จำนวน 70 ชนิด ผลตอบแทนเป็น negative returns ที่น่าสนใจคือทั้ง stocks(major indexes ต่างลงมามากพอควรชวง 2 เดือนที่ผ่านมา) , Crude Oil, Gold แม้จ ะมีการเคลื่อนที่ที่ไม่สัมพันธ์กัน แต่ก็มีโอกาสที่จะเห็น การจบปีด้วย negative returns สูงเช่นกันในปี 2018 ขณะเดียวกันข้อมูลปี 2017 แสดงให้เห็นว่ามีแค่ 1% เท่านั้นที่มีผลตอบแทนติดลบ ดังนั้นเมือเทียบระหว่างปี 2017 กับปี 2018 ในด้านข้อมูลสถิติ จะทำให้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยยะ ไม่ได้สรุปอะไรมากจาก บทความ นี้แต่ก็ใช้เป็นข้อมูลประกอบในการติดตามตลาดต่อไป ปล. asset ผลตอบแทนรายปีติดลบ ไม่ได้แปลว่าเทรดแล้วจะต้องขาดทุนเสมอไป ถ้าไม่ได้ Buy & Hold ยาว https://www.marketwatch.com/story/how-bad-has-201

Ray Dalio Sees Parallels to 1930s in Today’s Markets

บลูมเบริ์กลงบทสัมภาษณ์ของคุณ Ray dalio โดย Barry Ritholtz มีหลายประเด็นน่าสนใจ สรุปเบื้องต้นเก็บไว้ดังนี้ - debt cycle ในปัจจุบันคล้ายปี 1930 (late stages of this short-term business cycle) - ตัวเลขหนี้จำนวนมหาศาลทำให้เผชิญปัญหา กรณีอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น - อนาคต USD ลดทอนบทบาท(เงินสกุลอื่นจะขึ้นมามีบทบาทแทน แต่ ray ไม่ระบุรายละเอียด)และอาจจะด้อยค่าจากภาวะหนี้ -การสร้างหนี้ในอนาคตของรัฐบาลสหรัฐ จะยากขึ้น มีต้นทุนสูงขึ้นต้องเพิ่มผลตอบแทนเพื่อมาจูงใจเจ้าหนี้ต่างชาติ - Low interest rates ตัวเร่งทำให้เกิดภาวะ leveraged long กระแสเงินทำให้เกิดการเพิ่มกำลังซื้อในตลาดหุ้น ทำให้ราคาหุ้นปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง ทำจุดสูงสุดช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งภาวะนี้ไม่คงอยู่ตลอดไป  -ray แนะนำนักลงทุนเตรียมแผนรับมือ ลดความคาดหวังผลตอบแทนที่สูงเหมือนอดีต รวมบริหารความเสี่ยง balance portfolios [all weather strategies + risk parity] -เมื่อเกิดปัญหาเศรษฐกิจรอบใหม่ จะนำมาซึ่งปัญหาการเมืองต่อเนื่อง สาเหตุจากความไม่เท่าเทียมกันระหว่างคนจนและคนรวย ก่อเกิดระบอบประชานิยม การต่อสู้ของคนสองกลุ่มในสังคมที่รุนแรง

Global Macro Views Q3/2018

อ่านบทความของคุณ Mark Rzepczynski CEO ของ AMPHI Research เจ้าของเว็บ Disciplined Systematic Global Macro Views เขียนเรียบเรียงภาวะตลาดและเศรษฐกิจ ล่าสุดที่ผ่านมาไว้น่าสนใจ โดยสรุป เศรษฐกิจของสหรัฐตัวเลขออกมาเติบโต เช่นเดียวกับการขยับขึ้นของอัตราเงินเฟ้อเป็นไปตามเป้าของธนาคารกลาง ปัจจุบันอยู่ช่วงต้องจับตามองต่อไป ในภาวะการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย และผลกระทบต่อราคาสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้อง เช่น ตลาดหุ้น พันธ์บัตร ค่าเงินดอลลาร์ เป็นต้น ล่าสุดมีการปรับตัวของราคาหุ้น ในตลาด ต่างๆของโลกโดยเฉพาะในตลาดสหรัฐ แต่ตัวเลขผลประกอบการส่วนใหญ่ของบริษัทยังออกมาดี (รอดูผลกระทบ repricing กับช่วงอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นต่อ) แต่ระมัดระวังความผันผวนที่จะเกิด ด้านทองคำและสินแร่มีค่า ราคามีการปรับตัวขึ้นมา หลังจากทำจุดต่ำสุดของปี ไปสอดคล้องช่วงตลาดหุ้นปรับตัวลง แต่ภาพรวมยังไม่มีแนวโน้มที่แข็งแรงและมีความผันผวนอยู่ ส่วนตลาด Bond ชะลอตัวมีแรงขายออกมาแต่แนวโน้มยังเป็นบวก ค่าเงิน USD แข็งแกร่งแนวโน้มบวก รับช่วงพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed อ่านเพิ่มเติม https://mrzepczynski.blogspot.com/2018/11/th

Next downturn by Nassim Nicholas Taleb

วันนี้นั่งฟังคลิปสัมภาษณ์ของคุณ Nassim Nicholas Taleb ฉายาใหม่ Black swan man ซึ่งแกสมเป็นศาสดาด้านนี้จริงเพราะมีแฟนเขียนการตูน อิงเรื่องราวของแกด้วย(อันนี้ผมยังไม่ได้อ่าน เดี่ยวอ่านจบจะมาเล่าต่อ) ประเด็นการสัมภาษณ์ค่อนข้าง Dark ตามสไตล์ความคิดเห็นแนวของแก โดยสรุปคุณ Taleb มองว่าสถานการณ์ปัจจุบันดูเหมือนจะดี แต่จริงๆมันไม่ได้ดี ระบบเศรษฐกิจ ภาคการเงินเปราะบางและอ่อนไหว มากกว่าตอนปี 2007 โดยเฉพาะถ้ามอง ในมุมของ Debt ทั้งฝั่งของ corporate และ government เรื่องหนึ่งที่แกเน้นคือการก่อหนี้ที่สูงและต้องกู้ยืมมาก โดยเฉพาะการกู้เพื่อมาใช้หนี้เก่า ทั้งรัฐบาลสหรัฐและภาคเอกชน ยิ่งมาปะทะกับช่วงต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยสูง มันย่อมจะทำให้เกิดความอ่อนไหว คุณ taleb เชื่อว่าคนที่ได้ประโยชน์จากการลดอัตราดอกเบี้ย สุดท้ายจะต้องเป็นคนได้รับผลกระทบหนักจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ย สุดท้ายถ้าภาวะหนี้ระเบิด(เกิดDebt Crisis) ตลาดที่เชื่อมโยงกับ debt และ interest rate อย่าง อสังหา ก็จะได้รับผลกระทบก่อน ตามมาซึ่งตลาดหุ้น ยังมีประเด็นเรื่องภาวะอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น ที่จะยากในการรักษาให้ตลาดหุ้น bullish หรืออย

Gold and Inflation 2018

ทองคำช่วงนี้ราคายังอยู่โซนต่ำ แถวระดับ $1200 ความน่าสนใจช่วงนี้จะเริ่มเห็นแรงเชียร์ บทวิเคราะห์เชิงบวกมากขึ้นตลอดเดือนที่ผ่านมา อย่างล่าสุด Francisco Blanch หัวหน้า นวค.ของ Bank of America Merrill Lynch มอง Gold จะไป $1350 ในปี 2019 ท่ามกลางเหตุผลต่างๆนานาๆเชิงบวก อันนี้คงรอดูต่อไปว่าปีหน้าทองจะกลับมาได้หรือเปล่า วันนี้ผมได้อ่านบทความชิ้นหนึ่งของ Mark Rzepczynski พูดถึงความไม่ปกติแง่พฤติกรรมความสัมพันธ์ของราคาทองคำ กับเงินเฟ้อ(inflation) ที่ดูเ หมือนแตกต่างจากอดีตที่ผ่าน เนื่องจากข้อมูล CPI ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ด้าน Core inflation ทั้ง US และ EU ก็ปรับขึ้นมาระดับ 2% แต่ราคาทองคำในปีนี้ ยังอยู่ระดับที่ต่ำและมีสัญญาณการถดถอยอยู่ เช่นเดียวกันจากการทำ QE ที่ผ่านมาการเข้าซื้อ Bond จำนวนมหาศาลของ ECB และ Fed นั้นน่าจะทำให้ตลาด fixed income มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นกว่าช่วงเศรษฐกิจปกติ โดยสรุปคุณ Mark Rzepczynski ชี้ให้เห็นว่าราคาทองคำปัจจุบันมีบางอย่างแตกต่างไปจากพฤติกรรมในอดีต เหมือนตลาดยังเชื่อว่า inflation ยังถูกจำกัดและน่าจะกดอยู่ (ยังไม่เกิดภาวะเงินเฟ้อสูงในเวลานี้) ขณะที่ ec

Update Global Macro Economic Q3/2018

Global Economic Data สำคัญที่ต้องติดตามดู นำเสนอโดย Shane Oliver แห่ง AMP Capital 1. Global business conditions PMI Global PMI ของกลุ่มอุตสาหกรรมหลักและบริการในประเทศหลักของโลก นั้นชะลอและ slow down จากจุด Peak สะท้อนถึง global growth ในอนาคตที่อาจจะไม่สดใสนักในปีนี้ 2.Global inflation ติดตามการเพิ่มของ inflation ในประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของโลก ในภาพจะพบ สหรัฐและจีน Inflation ยังอยู่ระดับ 2% ส่วนยุโรป ค่า inflation เริ่มยกกลับขึ้นมาระดับ 1% หลังนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันยังต่ำกว่าช่วงวิกฤติการเงินปี 2007-2008 อยู่ เช่นเดียวกับ ญุี่ปุ่นที่ inflation อยู่ระดับต่ำห่างจากเป้า 2% ก่อนหน้ามาก แม้จะปรับตัวขึ้นได้ในช่วงปี 2017 2018 จากนโยบายของ BOJ 3.US yield curve ติดตามความไม่ปกติ ระดับ short rates วิ่งยกตัวขึ้นใกล้เคียงระดับใกล้เหนือ long rates สะท้อนพฤติกรรมตลาด ความเชื่อมั่นในอนาคตเศรษฐกิจระยะยาว ที่อาจจะดูไม่ดีนัก ส่วน GAP ของ 10Y bond yields และ the Fed Funds rate นั้น flat ระดับ 1.2% , ด้านGAP ของ 2Y bond yields และ the Fed Funds rate นั้นเ

เตรียมแผนรับมือกับความเสี่ยง1: Gary Shilling

วันนี้ชื่อของ Gary Shilling กลับมาบนหน้าสื่อหลักอีกครั้ง เชื่อว่าคนส่วนใหญ่อาจจะไม่รู้จักไม่คุ้นหูกับชื่อนี้ แต่ถ้าเทรดเดอร์หรือนักลงทุนที่อยู่ในตลาดมาก่อนซับไพร์ม น่าจะพอจำแกได้ Gary Shilling เป็นนักเศรษฐศาสตร์(phd)และเป็นนักวิเคราะห์ ชายที่ออกมาเตือนเรื่องวิกฤติฟองสบู่ในซับไพร์มคนแรกๆ เขียนรายงานเตือนปัญหาและความไม่ปกติที่เกิดตั้งแต่ช่วงปี 2004 จนทำให้ Greg Lippmann เทรดเดอร์(ตัวละครเด่นเล่นโดย Ryan Gosling ใ น Big Short) หลังอ่านรายงานและได้คุยกับ Gary Shilling ออกมา short โปรดักซ์อนุพันธ์ subprime mortgages ทำกำไรจากฟองสบู่ที่เกิดมหาศาล $1.5 billion ให้กับ Deutsche Bank ช่วยให้ธนาคารไม่ต้องรับการขาดทุนหนักจากวิกฤติครั้งนั้น เช่นเดียวกันคุณ Shilling ยังเป็นที่ปรึกษาให้กับคุณ John Paulson ผู้จัดการกองทุนเฮ็ดฟันด์ทำการเทรด credit default swaps ในปี 2006-2007 เมื่อ debt default ฟันด์ทำกำไรไป $4 billion ในปี 2007 คุณ Paulson กล่าวว่านี้คือการเทรดที่ดีที่สุดในชีวิตของเขา ตอนนั้นในปี 2006 ตอนที่ Gary Shilling พยายามนำเสนอแนวคิดและผลการวิเคราะห์ข้อมูลของแกเกี่ยวกับ ซับไพร์มว่าจ