ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์ที่มีป้ายกำกับ risk management

พฤติกรรมตลาดหุ้นและการจัดการกับความเสี่ยง

ตลาดหุ้น ย่อมมีวัฏจักร มีรอบของมัน เมื่อเช้ามีพี่ท่านหนึ่งๆถามว่าน่ากลัวไหม ตอบตรงๆก็คือไม่น่ากลัว ถ้าเราเข้าใจเพราะมีหมี ก็มีกระทิง สิ่งที่เราทำได้คือ เข้าใจพฤติกรรมตลาด(การทำ data analysis) และวางแผนรับมือกับความเสี่ยง(Risk Management) สิ่งสำคัญคือชั้นคือการทำการกระจายความเสี่ยง(Risk Parity or Max Diversification) ภาวะตลาดหุ้นปัจจุบันที่ไม่มี edge มากก็ไม่จำเป็นต้องโฟกัส ไปที่ asset class เดียว ใช้กลยุทธ์การบริหารจัดการพอร์ตมาช่วย กระจาย risk ไปหลากหลาย asset ที่มีพฤติกรรม ราคาตอบสนองกับปัจจัยเสี่ยง ปัจจัยลบที่แตกต่างกัน เพราะเมื่อเกิด market crash ที่มาพร้อม high volatility ตัวระบบเทรด ที่เทรดอยู่บน asset เดียว ,ตลาดเดียว เช่นหุ้น มันมักเอาไม่อยู่ ภาพนี้เอามาจากรายงานของ Dimensional Fund Advisors LLC จำแนกขนาดและระยะเวลาของดัชนี S&P500 แยกตามภาวะตลาดหมี และ ตลาดกระทิง ย้อนกลับไปตั้งแต่ปี 1926 รอบนี้นับจาก 2007 ตลาดกระทิง วิ่งขึ้นมากว่า 126 เดือน(ย้อนตัวไม่เกินระดับ threshold -10%) ไม่มีใครรู้ว่าอนาคต ดัชนีจะไปต่อได้อีกนานแค่ไหน แต่สิ่งที่พบคือความผันผวน เกิดขึ้นเรื

An Animal Kingdom of Different Risks

บทความนี้ของ คุณ Mark Rzepczynski ( Ceo AMPHI Research ,อดีต PM ของ GRT Capital) อธิบายเรื่อง Risk ได้น่าสนใจมาก เขาจำแนก risk แบบต่างๆโดยใช้ สัตว์เป็นตัวแทน ได้แก่ เสือดาว,แรด และหงส์ดำ Black Swans หรือหงส์ดำ น่ารู้จักกันดี โดยเฉพาะถ้าเคยอ่านงานของ taleb ตรงนี้ตัวท๊อป เพราะความน่าจะเป็นการเกิดต่ำ นานๆเกิดที แต่เกิดแล้วผลกระทบรุนแรง หนักหน่วง คำแนะนำในการรับมือบทความนี้คือ maximum diversification Grey Rhinos หรือ แรดเทา คุณ Rzepczynski มองว่ามันเป็นความเสี่ยงที่ใหญ่ มีคนทักมีคนพูดถึง แต่คนส่วนใหญ่ละเลย หรือมีเหตุให้เชื่อว่ามันไม่น่าจะมีอะไร เช่น ตัวหนี้สาธารณะ,ตัวเลขเศรษฐกิจบ่งชี้ เป็นต้น คนส่วนประมาทความเร็วและความแรงของ แรดเทา แต่ถ้ามันโจมตีขึ้นมา ก็ยากที่จะรอด ดังนั้น คุณ Rzepczynski แนะนำให้จับตามองและกระจายความเสี่ยงไปยังสินทรัพย์อื่นๆหลบปัจจัยเสี่ยงประเภทนี้บ้าง White Leopards ตัวนี้เสือดาวขาว เร็ว แรง และฉลาดหลบซ่อน ทำให้คนมองเห็นได้ยาก ความเสี่ยงประเภทนี้มักซ่อนอยู่ บางทีกว่าจะเจอก็โดนเล่นจนอ่วม รวมไปถึงความเสี่ยงที่เกิดจากกลยุทธ์ในการเทรดกับสินค้าใดๆ หรือความเสี่

Uncertainty ว่าด้วยความไม่แน่นอน

อธิบายเรื่อง Uncertainty Analysis และ Monte Carlo Method จบทิ้งท้าย slide ด้าน quote คำพูดคมๆจากบทความของ Cassie Kozyrkov Uncertainty means you can come to the wrong conclusion, even if you have the best math in the world. การเทรดยังไงเสียก็หนี้ไม่พ้น risk ส่วน risk เป็นซับเซตของ uncertainty นั้นแหละแต่ risk นั้นมักจะสามารถ คำนวน probability และ impact ที่เกิดได้ ลองดูภาพด้านล่างได้ ประกอบ

กรณีศึกษาจาก SEC เรื่องความเสี่ยง เมื่อ Hedgefund ทำนักลงทุนหมดตัว

SEC Bars Hedge Fund Manager Who Lost 88% In 3 Day ไม่ว่าจะมือสมัครเล่นหรือมืออาชีพ เมื่อเข้ามาในตลาด "การจัดการความเสี่ยง" เป็นเรื่องสำคัญ ผมนำกรณีศึกษาเรื่องหนึ่งที่กำลังเป็นข่าวมาฝาก เป็นเรื่องของคุณ Matthew Rossi แห่ง SJL Capital เขาเป็นผู้ก่อตั้งและ Hedge Fund Manager มืออาชีพลงทะเบียนถูกระเบียบและรับบริหารเงินให้ลูกค้า แต่กลับหลอกลวงลูกค้า ใช้การโฆษณากลยุทธ์การบริหารพอร์ตแบบกระจายความเส ี่ยง บวกกับ proprietary algorithm trading ชื่อ MarketDNA strategy เคลมว่าทำเงินในตลาดมาหลายสิบปี มาชวนเชื่อขายฝัน สุดท้ายกลับนำเงินลูกค้าไปเทรด unhedged options เสี่ยงสูงแม้ช่วงแรกทำเงินกำไรมากกว่า 101% ในเวลาไม่หนึ่งเดือน แต่สุดท้ายไม่กี่เดือนต่อมาช่วง August 2016 ด้วย strategies ที่ใช้เทรด options เดียวกัน ทำขาดทุนกว่า 88% ในไม่กี่วัน ยื้อต่อได้ไม่นานถึงเดือน November พอร์ตของ Fund ก็ขาดทุนจนหมดเงิน จนนักลงทุนสูญเงินลงทุนทั้งหมดกว่า $1.8 million และเข้าร้องเรียนกับ SEC แต่ Matthew Rossi กลับสร้างหลักฐานแต่งบัญชีปลอม และอ้างว่าการขาดทุนเกิดจาก rogue trader (คลาสิกมากได้กำไร

The Global Risks Report 2019

วันนี้นั่งอ่านรายงาน The Global Risks Report 2019 ของ World Economic Forum พบว่ามีหลายประเด็นน่าสนใจมาก โดยเฉพาะการประเมินความน่าจะเป็นและผลกระทบของ risk ที่จะเกิดในปี 2019 ตรงนี้มีทั้งด้าน เศรษฐกิจ สังคม การเมือง เทคโนโลยีและภาวะแวดล้อม ที่เชื่อมโยงกัน รายงานนี้เขียนรายละเอียด และรวบรวมข้อมูล อธิบายประเด็นได้ดีเข้าใจง่าย ความยาวกว่า 114 หน้า พวกเราเทรดเดอร์ หรือ นักลงทุน ก็สามารถใช้ข้อมูล เหล่านี้ ในการวางแผน ปรับกลยุทธ์ เพื่อรับมือกับ risk ที่เกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะส่วน macroeconomic risks และ geopolitical risk ซึ่งหลายประเด็นอาจจะไม่ได้เป็นความเสี่ยงระยะสั้น แต่ในด้านการวางแผนสำหรับ long term portfolio น่าจะใช้ประโยชน์ได้ไม่มากก็น้อยเลยทีเดียว ใครสนใจลองเข้าไป download มาอ่านได้จาก link ด้านล่างครับ World Economic Forum http://www3.weforum.org/docs/WEF_Global_Risks_Report_2019.pdf

Next downturn by Nassim Nicholas Taleb

วันนี้นั่งฟังคลิปสัมภาษณ์ของคุณ Nassim Nicholas Taleb ฉายาใหม่ Black swan man ซึ่งแกสมเป็นศาสดาด้านนี้จริงเพราะมีแฟนเขียนการตูน อิงเรื่องราวของแกด้วย(อันนี้ผมยังไม่ได้อ่าน เดี่ยวอ่านจบจะมาเล่าต่อ) ประเด็นการสัมภาษณ์ค่อนข้าง Dark ตามสไตล์ความคิดเห็นแนวของแก โดยสรุปคุณ Taleb มองว่าสถานการณ์ปัจจุบันดูเหมือนจะดี แต่จริงๆมันไม่ได้ดี ระบบเศรษฐกิจ ภาคการเงินเปราะบางและอ่อนไหว มากกว่าตอนปี 2007 โดยเฉพาะถ้ามอง ในมุมของ Debt ทั้งฝั่งของ corporate และ government เรื่องหนึ่งที่แกเน้นคือการก่อหนี้ที่สูงและต้องกู้ยืมมาก โดยเฉพาะการกู้เพื่อมาใช้หนี้เก่า ทั้งรัฐบาลสหรัฐและภาคเอกชน ยิ่งมาปะทะกับช่วงต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยสูง มันย่อมจะทำให้เกิดความอ่อนไหว คุณ taleb เชื่อว่าคนที่ได้ประโยชน์จากการลดอัตราดอกเบี้ย สุดท้ายจะต้องเป็นคนได้รับผลกระทบหนักจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ย สุดท้ายถ้าภาวะหนี้ระเบิด(เกิดDebt Crisis) ตลาดที่เชื่อมโยงกับ debt และ interest rate อย่าง อสังหา ก็จะได้รับผลกระทบก่อน ตามมาซึ่งตลาดหุ้น ยังมีประเด็นเรื่องภาวะอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น ที่จะยากในการรักษาให้ตลาดหุ้น bullish หรืออย

Use of Leverage in Strategic Asset Allocation

การใช้ leverge เพื่อปรับระดับความเสี่ยง จริงๆไม่ใช่เรื่องใหม่ ถ้าศึกษาด้านนี้จะพบมีหลายกลยุทธ์มาก หนึ่งในนั้นคือ risk parity ของคุณ ray dalio บิดาด้านนี้ การใช้ Leverage ร่วมกับการทำ diversification บน asset ที่มีการทำ data analysis อย่างดี เพื่อกระจาย risk และเพิ่มประสิทธิภาพการสร้างผลตอบแทนระยะยาว บทความชี้ให้เห็น leverage เหมือนดาบสองคม มันไม่ได้มีแต่โทษ ประโยชน์ก ็มีถ้าใช้ได้เป็น ใช้อย่างเข้าใจ เนื่องจากเป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อน มีเนื้อหาเชิงลึกพอควร อีกอย่างไม่อยากแตะเรื่อง leverage มากเพราะเดียวสื่อแล้วเข้าใจไม่ตรงกันอีก ถ้าสนใจ อยากรู้กลยุทธ์ด้านนี้จริงจัง ลองอ่านจาก paper เรื่อง Use of Leverage in Strategic Asset Allocation นี้เขียนโดยคุณ Lionel Martellini จาก EDHEC Risk Institute Scientific Advisor เรื่องเทคนิคและวิชาการที่เปิดมุมมองความคิด เพื่อความเข้าใจให้เราดี ซึ่งบทความนำเสนอตัวอย่างการใช้ leverage ในระดับ portfolio management บนกลยุทธ์ SAA ซึ่ง key คือระดับการใช้ leverage ใน asset ที่เหมาะสม ผลที่ได้โดยเฉพาะการลด downside risk ระยะยาวนี้น่าสนใจมากทีเดียว

Gold and inflation Q3 2018

ทองคำช่วงนี้ราคายังอยู่โซนต่ำ แถวระดับ $1200 ความน่าสนใจช่วงนี้จะเริ่มเห็นแรงเชียร์ บทวิเคราะห์เชิงบวกมากขึ้นตลอดเดือนที่ผ่านมา อย่างล่าสุด Francisco Blanch หัวหน้า นวค.ของ Bank of America Merrill Lynch มอง Gold จะไป $1350 ในปี 2019 ท่ามกลางเหตุผลต่างๆนานาๆเชิงบวก อันนี้คงรอดูต่อไปว่าปีหน้าทองจะกลับมาได้หรือเปล่า วันนี้ผมได้อ่านบทความชิ้นหนึ่งของ Mark Rzepczynski พูดถึงความไม่ปกติแง่พฤติกรรมความสัมพันธ์ของราคาทองคำ กับเงินเฟ้อ(inflation) ที่ดูเ หมือนแตกต่างจากอดีตที่ผ่าน เนื่องจากข้อมูล CPI ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ด้าน Core inflation ทั้ง US และ EU ก็ปรับขึ้นมาระดับ 2% แต่ราคาทองคำในปีนี้ ยังอยู่ระดับที่ต่ำและมีสัญญาณการถดถอยอยู่ เช่นเดียวกันจากการทำ QE ที่ผ่านมาการเข้าซื้อ Bond จำนวนมหาศาลของ ECB และ Fed นั้นน่าจะทำให้ตลาด fixed income มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นกว่าช่วงเศรษฐกิจปกติ โดยสรุปคุณ Mark Rzepczynski ชี้ให้เห็นว่าราคาทองคำปัจจุบันมีบางอย่างแตกต่างไปจากพฤติกรรมในอดีต เหมือนตลาดยังเชื่อว่า inflation ยังถูกจำกัดและน่าจะกดอยู่ (ยังไม่เกิดภาวะเงินเฟ้อสูงในเวลานี้) ขณะที่

It Was the Worst of Times: Diversification During a Century of Drawdowns

เช้านี้ผมเพิ่งมีโอกาสอ่าน paper ล่าสุดของ AQR จบพบว่าน่าสนใจอยากนำมาแนะนำ paper นี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับ การป้องกันความเสี่ยงและการถดถอยของพอร์ต จากตลาดหุ้นขาลงและฟองสบู่ โดยทีมวิจัยทำการวิเคราะห์ข้อมูล asset ต่างๆในรอบเกือบ 100 ปี ทดสอบประเมินผลกลยุทธ์การกระจายความเสี่ยง(Diversification)แบบดั่งเดิม(ผสมหลาย asset class) และการทำ Hedging (แบบต่างๆทั้งด้านกลยุทธ์และการใช้อนุพันธ์เช่น put opt ions) เพื่อเปรียบเทียบและประเมินด้านต้นทุนและผลตอบแทนเชิงชดเชยที่ได้รับในช่วงตลาดเลวร้าย การวิจัยโฟกัสไปที่ความคุ้มค่าของการ trade off จากการทำ diversification และการ hedging เพื่อลดและป้อกัน equity drawdowns ผลการทดลองน่าสนใจมากแต่ผมคงไม่นำมาเขียนในทีนี้เพราะ มันเป็นเรื่องละเอียดอ่อนต้องอธิบายกันเยอะ เดี่ยวคนไม่เข้าใจจะไปตีความผิด แต่ผมแนะนำให้ลองอ่าน paper นี้อ่านแบบวิชาการไม่ต้องรีบเชื่อหรือมีธง แค่ data ที่เขารวมหรือประมวลผลออกมา มันก็มีประโยชน์มากโขแล้ว ยังไม่นับรวมเทคนิคการป้องกันความเสี่ยงในแบบต่างๆหลาย level สปอยให้นิด ผลการวิจัยค่อยข้างน่าสนใจ เช่นความเชื่อหลายอย่างในการท