ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์ที่มีป้ายกำกับ technical analysis

System Patching / Asset Swing

กำไร มันเป็นเรื่องของ odd แต่ สิ่งที่ต้อง take care คือ loss หรือ การขาดทุนต่างหาก  ถ้าเราหาได้ว่า ระบบมี %loss ที่จะเจอมากแค่ไหน ยิ่งเป็นที่แน่นอนว่า แน่ๆเจอแน่ๆ นี่ยิ่งดี เพราะ ค่าสถิติ loss (maxloss consec loss min loss recover time dd maxdd ) ทั่้งหลายจากการทดสอบระบบ จะนำไปใช้ใน การวางแผนจัดการความเสี่ยง ได้  ตรงนี้ที่มืออาชีพ สนใจ รายมายาวเพื่อจะตอบคำถาม ก่อนจบ พยายามจะทำตัวเอง ไม่ให้เป็นพวก NATO (No action talk only)

เทคนิคอล แล้วไปไหน??

เมื่อบ่ายอ่านหนังสือ ตายแล้วไปไหน เลยอยากเขียนบทความ บวกกับเจอคำถาม ของน้องคนหนึ่ง เกี่ยวกับเทคนิคอลอนาไลสิส น้องเขาถามหลายประเด็น แลกเปลี่ยนสนุกดี อันหนึ่งที่ติดใจคือ "เทรดเดอร์ต้องเรียน เทคนิคอลไปจนตายเลยไหม" ขอตอบ มันแยก 2 ประเด็น เทคนิคอลพวกโมเดล มันมีอะไรใหม่ๆตลอด ถ้าอัพเดตได้ก็ดี แต่ตรงนี้ก็ขึ้นความสนใจ ส่วน ถ้าเราเจอที่ถนัด ก็อาจจะเลือกใช้เป็นหลักไปอันเดียวและศึกษาเชิงลึกเฉพาะก็ได้

เทคนิคอล เป็นแค่ “ปาหี่” แบบเขาว่าจริงหรือ???

ถ้ามีคนถามว่าผีมีจริงหรือไม่ ผมคงตอบว่าไม่รู้ เพราะผมไม่เคยเจอ และไม่เคยศึกษาเรื่องวิญาณหรือเรื่องเล้นลับอย่างจริงจัง แต่ผมคงไม่ไปตัดสิน หรือฟันธงอะไรจากความไม่รู้ หรือรู้เท่าที่มีของตนเอง เพราะสิ่งสำคัญที่สุดของการจะตัดสินอะไร ต้องมองจากข้อมูล จากสิ่งที่ปรากฏเป็นจริง

OTS: Heikin Ashi

ห่างหายจากการเขียนบทความนานพอสมควร เพราะตอนนี้กำลังทำโปรเจค Thaitrade โปรเจคที่เทรนด์น้องๆและเพื่อนๆที่อยากเข้ามาเป็นเทรดเดอร์อิสระ คัดเลือกผู้สนใจจากการสอบเบื้องต้นด้วยการเขียนรายงาน assay นำเข้ามาเทรนด์ทั้งภาคทฤษฏีและปฏิบัตินาน 3 เดือน ยอมรับว่าทำโครงการนี้แล้ว กินเวลาส่วนใหญ่ไปเยอะพอสมควร โดยใช้เวลาหมดไปกับการอ่านรายงานและอ่าน Trader diary ของผู้เข้าอบรม รวมถึงการติวเข้ม และการเตรียมเนื้อหาการสอน ทำให้ต้องลดงานด้านการเขียนบทความ และการเขียนตำราลง

Metatrader 4 Publisher

ช่วงนี้โปรแกรม Myfxbook โปรแกรม web application สำหรับการทำ system analysis กำลังมีปัญหาในการเข้าถึงข้อมูล log การซื้อขายจาก server ของโบรกเกอร์หลายเจ้าๆ ทางเว็บประกาศให้เทรดเดอร์ที่ต้องการใช้งานย้ายจากช่องเดิมไป 2 ช่องทางใหม่คือ การ update ข้อมูลผ่าน EA หรือ การใช้ MT4 Publisher

Quantitative Qualitative Estimation (QQE)

วันนี้นำเครื่องมือ วิเคราะห์ราคาเชิงปริมาณชื่อ Quantitative Qualitative Estimation (QQE) มาแนะนำกันครับ ความน่าสนใจของเจ้าตัวนี้คือการใช้ค่าความผันผวน (volatility) มาเป็นตัวตีความถึงจังหวะการซิ้อขาย ไม่ทราบมาแต่มีใช้กันมานานหลายปีแล้ว มีใช้เป็นฟีเจอร์ในโปรแกรมเทรดชื่อดังหลายตัว

MAE/MFE Charts

การพัฒนาระบบ สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กับการทำ Black Testing ก็คือขั้นตอนการประเมินผลการทำงานของระบบ ในสถานการณ์จริง เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของระบบ และการเทรดของเทรดเดอร์ ขั้นตอนการประเมินผล มีหลายโมเดล โมเดลหนึ่งที่ผมจะนำมาเสนอคือเรื่องของ MAE/MFE

Pivot Points

Pivot Points เป็นเครื่องมือหนึ่งที่นิยม นำมาใช้ประกอบการสังเกตและวิเคราะห์การเคลื่อนที่ของราคา โดยมีลักษณะการทำงาน แบบเส้นสังเกต ในรูปแบบแนวรับแนวต้านที่ แสดงการเคลื่อนตัวและกำลังของการเคลื่อนที่ ในระดับราคาต่างๆ 

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับเทคนิคอล: ยิ่งเยอะยิ่งดี

เมื่อเช้ามี email เข้ามาคุยเรื่องเกี่ยวกับการทำระบบเทรด และการใช้อินเคเตอร์ประเภท Price indicator พี่เขาพูดถึงการใช้อินดิเคเตอร์และนำตัวอย่างหน้าจอโปรแกรมกราฟหุ้นของเขามาให้ดู ทำเอาผมตกใจเพราะมันเยอะแยะหลากสี เต็มไปด้วยเส้นสายตางๆ แอบสงสัยว่าทำไมมันเยอะจัง คุยไปคุยมาพบว่า พี่ท่านนี้ชอบเครื่องมือหลายตัวนำมาใช้รวมกันมันจะได้แม่นยำขึ้น!!! ถามต่อไปอีกว่าที่แม่นยำ พี่ทราบได้ยังไงเคยทดสอบ Forward Test และ Back Test ไหม??? แกบอกว่าไม่เคยที่รู้ว่าแม่นเพราะเสียเงินไปเรียน เซียนเขาสอนมา เอามาใช้มันก็ยังไม่ขาดทุน ปัญหาใหญ่ของการใช้เทคนิคอลสำหรับ นักลงทุนที่ผมพบ คือพวกเราไม่เข้าใจมันอย่างลึกซึ้ง เราเน้นที่ตัวเส้น เน้นที่การดูกราฟิก มากกว่าการทำความเข้าใจสมการ หรือโมเดลคณิตศาสตร์ แถมยังไม่เคยทดสอบและทดลองกับพฤติกรรมของหุ้นและจังหวะการเคลื่อนไหวของ ราคาก่อนใช้ เครื่องมือนั้นๆ มันจึงทำให้เกิด ความบกพร่อง ผิดพลาด และขาดประสิทธิภาพ ยกตัวอย่างแค่ค่าเฉลี่ย ผมลองทดสอบถามเบื้องต้นว่าทำไมใช้ WMA ทำไมไม่ใช้ EMA SMA MMA TSMA ทำไมต้อง 50 วัน 20 วัน 200 วัน ทำไมไม่ใช่ 18 36 วัน คำถามเบื้องต้นเหล่านี้

Parabolic SAR

Parabolic SAR (Stop And Reversal)เป็นเครื่องมือดัชนีราคา อีกหนึ่งตัวที่นิยมนำมาใช้ในการกำหนดสัญญาณซื้อขาย โดยเฉพาะการใช้เป็นสัญญาณการออก การปิดออร์เดอร์(trilling stop) หรือบ่งบอกการกลับตัว การย่อตัวของแนวโน้มราคา เป็นดัชนีราคาที่วิเคราะห์การเคลื่อนที่ของราคา ในช่วงแนวโน้มต่างๆ Parabolic SAR Indicator ถูกพัฒนาโดย Welles Wilder เขาเรียกระบบที่เขาพัฒนาขึ้นว่า "Parabolic Time/Price System" ซึ่งเผยแพร่แนวคิดนี้ตอนปี 1978 ในบทความ New Concepts in Technical Trading Systems หลักการพิจารณาการเคลื่อนที่ของราคา ตามแนวโน้มต่างๆ พิจารณาการเพิ่มหรือลดของราคาเทียบกับจุดอ้างอิงก่อนหน้า โดยคำนวณสมการของ SAR ได้ดังนี้ PSARn+1 = PSARn + (AF*(EP - PSARn)) -EP = ราคาจุดสูงสุดหรือต่ำสุด ก่อนหน้าบนแนวโน้ม -Acceleration Factor (AF) =ค่าปกติคือ 0.02 (2%) หมายถึง Step increasing ครั้งละ 0.02 (2%)โดยเพิ่มจดถึงค่าสูงสุด maximum = 0.20 (20%) -PSARn+1 = ค่า PSAR  ล่้าสุด -PSARn = ค่า PSAR  ก่อนหน้า อัตราความเร่งของ Price Movement จะถึงนำมาใช้ในการคำนวณ การเคลื่อนที่ของราคาบนแนวโน้มทั้งขาขึ้นและขาลง โดย P

กุญแจ 4 ดอกสำหรับนักเก็งกำไร

สองวันนี้ จากแดดร้อนจ้า ก็กับกลายเป็น ฟ้ารั่ว ฝนตกกระหน่ำอย่างหนักต่อเนื่อง ทำเอาเปียกปอนกันแบบไม่ทันตั้งตัวไปตามๆกัน ฝนมารอบนี้ทำเอาแปลกใจเพราะเชื่อว่าหลายคนตั้งหน้าตั้งตารอหน้าหนาว ฤดูกาลแห่งความเย็นสบายกันแล้ว โดยเฉพาะบรรยากาศชิวๆปลายปี สำหรับตลาดหุ้น ไตรมาสสี่ก็เป็นไตรมาสที่มีสีันความสนุกเสมอมา มีทั้งขึ้นและลงสลับกันไป แต่ปีนี้ท่าทางอาจจะเหนื่อยหน่อยเพราะ นักลงทุนและนักเก็งกำไรต้องเจอ กับสองปัจจัยที่มาทดสอบ sentiment ของตลาด นั้นคือเรื่องของ ภาวะ Fiscal Cliff และปัจจัยการเมืองภายในประเทศ ที่กำลังมีการชุมนุมประท้วงของกลุ่ม เสธ อ้าย ภายใต้ชื่อกลุ่ม องค์การพิทักษ์สยาม ที่จะจัดชุมนุมใหญ่ 24-25 พย. นี้ แค่เอ่ยมาสอง ปัจจัยหลักก็เริ่มสนุกแล้ว ยังไม่นับรวมเรื่องของยุโรป ที่กรีซก็มาถึงจุดสำคัญ แม้จะผ่านร่างนโยบายรัดเข็มขัดมหาโหดเพื่อรับความช่วยเหลือทางการเงินเพื่อประทังชีวิตต่อไปได้ แต่นับวันประชาชนและกลุ่มสหภาพแรงงานก็ประท้วงหนัก ล่าสุดก็มีคนออกมาเดินขบวนเกือบ 15000 คนที่หน้ารัฐสภา เพื่อต่อต้านนโยบาย ขณะที่สเปน นั้นก็อาการยังไม่ปกติเช่นกัน แม้จะยังไม่รับความช่วยเหลือ แต่ตัวเลขเศรษฐกิจ

Fibonacci Fan

วันนี้มีเครื่องมือ วิเคราะห์การเคลื่อนที่ของราคา(Price Movement) ที่ชื่อว่า Fibonacci Fan มากแนะนำกัน เป็นอีกเครื่องมือที่เราสามารถใช้ควบคู่ไปกับการอ่านแนวโน้ม หรือใช้กำหนดแนวรับแนวต้านได้อีกด้วย มาลองศึกษาดูกันนะครับ Fibonacci number นั้นมาจาก นักคณิตศาสตร์ชาวอิตาเลียน ลีโอนาโด ฟีโบนัชชี (Leonardo Fibonacci) ผู้ค้นพบลำดับฟีโบนัชชีในต้นศตวรรษที่ 13 เขาเรียนรู้ระบบเลขฐานสิบ และใช้การคำนวณตัวเลข มาอธิบายการสังเกตรูปทรงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ การศึกษาจากตัวอย่างจำนวนมาก ของเขาพบว่า การเกิดของ ปรากฏการณ์เหล่านี้มีรูปแบบที่เป็นปกติ และค่อนข้างสม่ำเสมอ โดยนำมาคิดเป็นตัวเลขทางคณิตศาสตร์ คือ 0, 1, 1, 2, 3, 5, 8, 13, 21, 34, 55, 89, 144, 233, 377, 610, 987, 1597, 2584, 4181, 6765, 10946, 17711, 28657, 46368, 75025, 121393, 196418, 317811 ซึ่งตัวเลขลำกับเกิดจากการนำ ตัวเลขสองตัวข้างหน้ามาบวกกัน เช่น 1+1 = 2, 1+2 = 3 ความน่าอัศจรรย์ ของลำดับเลข ฟีโบนัชชีคือ ลำดับที่จะมีอัตราส่วนจากการหารตัวเลขหลังด้วยตัวเลขหน้า แล้วได้ผลลัพธ์ที่เข้าใกล้ 1.618 ยิ่งตัวเลขมากขึ้นความใกล้เคียงยิ่งมากขึ้นแบบไม่ม

CCI indicator

วันนี้จะขอนำเอาเรื่องของ Commodity Channel Index (CCI) มาเล่าให้ฟัง เพราะหลายคนที่อีเมลเข้ามาพูดคุย สนใจเรื่องของการเทรดหุ้นแบบเก็งกำไรรายรอบ ถ้าจะให้แนะนำเครื่องมือ ก็จะคงไม่มีอะไรพิเศษ เพียงแต่นึกขึ้นมาได้ว่า CCI ก็เป็นอีกหนึ่งตัวที่เทรดเดอร์นิยมนำไปใช้ ในการหาสัญญาณซื้อขายในระบบเทรด และตัวนี้ผมยังไม่เคยกล่าวถึงมาก่อน วันนี้จึงนำมาสรุปให้อ่านกัน Commodity Channel Index (CCI) เป็นเครื่องมือดัชนีราคา ประเภท oscillator ที่ถูกพัฒนาโดยคุณ Donald Lambert เขาออกแบบทดสอบกับข้อมูลราคาในหุ้น ดัชนีตลาด ETF และสินค้าโภคภัณฑ์ ที่มีการเคลื่อนที่แบบเป็นรอบวัฏจักร เพื่อหาจังหวะจากคาบการแกว่งตัวของราคา หลักการทำงานของ CCI คือการหาค่าการกระจายตัวและการเบี่ยงเบนของราคาปัจจุบันจากราคาค่าเฉลี่ยเทียบกับการกระจายตัวของค่ากลาง ในคาบเวลา(interval) ที่สนใจ โดยมีสมการการคำนวณดังนี้ CCI = (Typical Price - SMA(n) of TP) / (.015 x Mean Deviation)  -Typical Price (TP) = (High + Low + Close)/3  -Constant = .015 -n = time interval คาบเวลาที่เราสนใจ  การปรับปรุงโมเดลของ CCI ให้ดีขึ้นคือการหาค่าเฉพาะของคาบเวลา ที่สอด

Book Review: The quants

 พอดีช่วงนี้กำลังอ่านหนังสือเรื่อง "The Quants: How a New Breed of Math Whizzes Conquered Wall Street and Nearly Destroyed It" ของ Scott Patterson น่าสนใจเลยนำมาแนะนำต่อ เรื่องราวเกี่ยวกับ quantitative analysis ที่ถูกนำมาใช้ในการเก็งกำไรในตลาดหุ้น wall street เขียนโดย คุณ Scott Patterson ในหนังสือ คุณ Scott Patterson ซึ่งเป็นนักข่าวสายการเงินที่คร่ำหวอด ได้สัมภาษณ์คนดังที่ประสบความสำเร็จสาย Quant หลายคนทั้งทีเป็น Developer , Trader และเป็นผู้จัดการกองทุน hedge fund ต่างๆ  ได้แก่ Jim Simons จาก Renaissance Technologies (ไม่ได้สัมภาษณ์โดยตรงแต่เก็บข้อมูลและสักถามผ่านผู้ร่วมงาน), Ken Griffin จาก Citadel Investment Group, Cliff Asness จาก AQR Capital, Peter Muller จาก Morgan Stanley's PDT (process driven trading) hedge fund, and Boaz Weinstein จาก Saba Capital (previously at Deutsche Bank) แต่ละคนชื่อชั้นระดับตำนานของวงการ คนเหล่านี้แตกต่างจากนักลงทุนในวอลสตรีท ยุคนั้นตรง เป็นนักลงทุนแนวเก็งกำไร ที่ทำกำไรได้หลายพันล้าน จากความไม่เป็นเห็นเป็นผลของราคาหุ้น ที่เกิดในระยะสั้น ระย

ZigZag

ZigZag เป็นเครื่องมือดัชนีราคาประเภทที่นิยมนำมากรองหาการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของราคา โดยเฉพาะการดูจุดกลับตัวหรือจุดย่อตัวที่อาจจะมีนัยยะสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงแนวโน้ม zigzag เป็นเครื่องมือที่พัฒนาจากโมเดลคณิตศาสตร์ไม่ซับซ้อน การใช้งานดัชนีตัวนี้อาจจะไม่ใช่พระเอกที่สามารถนำมากำหนดสัญญาณซื้่อขายได้เพียวๆตัวเดียว แต่ zigzag ก็สามารถรับบทเป็นพระรองตัวประกอบที่มีคุณค่าได้ดีทีเดียว ZigZag เป็นเครื่องมือดัชนีราคาแบบ lagging เน้นไปที่การตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงข้อมูลแน่นอนว่าเมื่อจะได้ค่ามานั้น ราคาย่อมต้อง action ไปก่อน ดังนั้น ZigZag จึงเหมาะที่เป็นตัวกรอง โดยหลักการทำงานของ ZigZag คือการตั้งค่า %change ของการเปลี่ยนแปลง  price movement ไว้ โดยค่าที่นิยมเช่น 3% 5% 8% 10% 15% เป็นต้น  โดยเมื่อราคาเคลื่อนที่เกิน % ที่ตั้งไว้โปรแกรมก็จะทำการสร้าง leg ของ Zigzag เพื่อแสดงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น แต่เนื่องจาก zigzag เน้นไปที่การติดตามการเปลี่ยนแปลง นั้นหมายความว่า ปลาย leg ของ zigzag ไม่ใช่เส้นแสดงทิศทางที่แน่นอน เพราะถ้าราคาเปลี่ยนแปลงถึงระดับที่ตั้ง leg ก็จะสามารถกลับทิศได้ทันที  ยกตัวอย่างเช่น

Andrews Pitchfork

Andrews Pitchfork เป็นเครื่องมือที่ใช้วิเคราะห์แนะโน้มราคาหุ้น เพื่อดู Price movement ที่นิยมอีกตัวหนึ่ง ในรูปแบบ median line ซึ่งถูกพัฒนาโดย Dr. Alan Andrew มีประโยชน์มากในการเล็งแนวโน้มและการเคลื่อนตัวของราคาผ่านแนวรับแนวต้าน วันนี้ผมจะนำเอาเทคนิคการใช้งานเครื่องมือตัวนี้มาแนะนำกัน แนวคิดหลักของเครื่องมือนี้คือการมองว่า ทิศทางราคา 80% ย่อมแสดงถึงแนวโน้มที่ชัดเจนแบบมีนัยยะสำคัญอันเกิดจากพลังของแรงซื้อแรงขาย ในตลาด และ 20% อาจจะเกิดการแกว่งตัว การย่อตัวตามสภาวะและอารมณ์ ในช่วงต่างๆ ดังนั้น Andrew จึงสร้างเครื่องมือที่ใช้ค่าทางสถิติมาประมวลหาเส้น median line ซึ่งเป็นเส้นตัวแทนการแกว่งตัวและการเคลื่อนตัวของแนวโน้ม และยังสร้างเส้นกรอบแนวรับแนวต้าน(Support&Resistance Trend line) จากการประมาณค่าแบบ linear regression จากเส้น median line เพื่อใช้เป็นแนวสังเกตสำหรับการเคลื่อนที่ของราคาในแต่ละช่วง โดยเฉพาะการเฝ้าระวังการออกนอกกรอบของแนวโน้ม อันจะเป็นสัญญาญของการกลับตัวหรือเปลี่ยนแปลงแนวโน้ม การใช้งาน Andrews Pitchfork tools ก็ไม่ยาก เราหาแนวโน้มของราคาให้เจอ (นิยามแนวโน้มใหญ่ว่า ขึ้นหรือล

Momentum indicator

ห่างหายไปนานกับการเขียนเรื่องการวิเคราะห์เชิงเทคนิค วันนี้เลยขอนำเอา เครื่องมือดัชนีราคาชื่อ Momentum มาฝากกัน โดยเครื่องมือนี้กลุ่มประเภทนำราคา ลักษณะการให้สัญญาณเหมือนกับพวก Oscillator อื่นๆ นิยมใช้ในการให้สัญญาณระยะสั้น เพื่อดูการแกว่งตัวในกรอบ หรือดูการเปลี่ยนทิศทางของแนวโน้มราคา คำว่า Momentum นี้ไม่ใช่ประเภทกลุ่มดัชนี (indicator Group) หรือเป็นคำที่ VI เอาไปใช้เรียกการดูสภาวะตลาดแบบแรงเฉื่อย อะไรแบบนั้น แต่ Momentum indicator ที่ผมกำลังพูดถึงนี้คือเครื่องมือเชิงเลข ที่ใช้วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้น ปัจจุบันเทียบอดีตแบบสัมพัทธ เพื่อดูพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้น ในทิศทางต่างๆ โดยเราสามารถใช้เครื่องมือดัชนีราคาตัวนี้ได้จากโปรแกรมเทรดทั่วไป สมการของ  Momentum Indicator          MOMENTUM = CLOSE(x)/CLOSE(i-x)*100 โดย        CLOSE(x) — ราคาปิดแท่งเทียนปัจจุบัน;        CLOSE(i-x) — ราคาปิดแท่งเทียนก่อนหน้า ตามคาบเวลาที่สนใจ. การนำไปใช้สามารถใช้ได้ในทุกคาบเวลา ที่ต้องการวิเคราะห์ และใช้ค่า parameter จำนวนแท่งเทียน ตามสภาวะตลาดได้ ตัวอย่างการใช้งาน ทั่วไป นิยมใช้ x = 9, 10 ห

Break out !!!!!!!

  บรรยากาศ ฝนตกพร่ำๆแบบนี้ ผมชอบไปนั่งกินกาแฟนอกชาน ได้กลิ่นหอมๆของกาแฟ ผสมกับกินดินหลังฝนตก เป็นอะไรที่ผ่อนคลาย สบายใจเป็นอย่างมาก ทุกวันนี้แม้จะไม่รวย ไม่มีมีเงินเยอะ แบบคนอื่นๆ แต่การได้ทำอะไรที่ตัวเองอยากทำ นั้นก็ถือว่าเป็นโชคดีในชีวิตผมแล้ว  สิ่งที่อยากมีมากคือ ได้มีบ้านนอกเป็นของตัวเอง คือการได้ใช้ชีวิตในต่างจังหวัด ไม่ได้ต้องมานั้่ง make money บนตึกสูงในเมืองหลวงแบบชีวิตมนุษย์เงินเดือน สำหรับผมนั้นเป็นเป้าหมายหนึ่งในชีวิตที่ตัวเองได้สำเร็จ ตอนนี้ได้ทำงานที่อยากทำควบคู่ไปกับการเทรดหุ้นและอนุพันธ์ มันก็ทำให้ทุกวันที่ตื่นเช้ามีความหมาย มีอะไรท้าทาย ให้ทำอยู่เสมอ ดังนั้นเวลาที่มีคนถามผมว่าทำไมถึงเข้ามาเล่นหุ้น คำตอบของผมนั้นไม่ใช่เพราะรวย เหมือนคนอื่น แต่สำหรับผมมันคือ เรื่องของอิสระ อิสระ ไม่ใช่อิสระภาพทางการเงิน เพราะยังไปไม่ถึงจุดหลุดพ้นหรือนิพานทางการเงินตรงนั้น แต่อิสระของผมมันเหมือนกับการค้นพบเกราะเพชรเจ็ดสี ที่คอยปกป้องเราจากความจน คอยสนับสนุนด้านการเงินกับเรา แบบที่เรามั่นใจได้ว่า ยังไงชีวิตนี้ก็ไม่อดตาย ทำให้ผมกล้าจะฉีกกรอบได้เบรคเอ๊าท์ ออกจากขนบดั่งเดิมบนทางเดินของคนชั้นกล