ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

Be hustle, Be humble

ระหว่างกินข้าวเที่ยว พี่ชายที่เคารพถามเรื่องวิธีสอนการเงินให้กับลูกที่กำลังจะจบมหาวิทยาลัย แนะนำไปหลายแนวทาง แต่ปัจจุบันมีทั้งหนังสือ ทั้งเว็บดีๆให้ความรู้ และมีเครื่องมือเช่น app ต่างๆมากมายช่วยอำนวยความสะดวก เหลือแค่ วินัย ในการบังคับตัวเองให้อดออม ให้ยั้งคิดในการใช้เงิน หรือบังคับอดทนรอเพื่อสร้างผลตอบแทนที่ยั่งยืน สมัยผมเริ่มต้น ผมเริ่มจากเงินสี่ด้าน(Cashflow Quadrant)จากหนังสือพ่อรวยสอนลูก แต่กว่าจะทำได้แต่ละด้าน ต้องใช้เวลาต้องรอ แถมสมัยก่ อนต้องเผชิญกับความเชื่อ ทัศนคติ ของคนรุ่นเดิมไม่น้อย ปัจจุบัน คนยุคมิลเลเนี่ยล มี leverage จากอินเตอร์เน็ตและเทคโนโลยี มาช่วยเพิ่มโอกาส ทำให้อาจจะไม่ต้องรีบเลือก สามารถทำทั้ง 4 ด้าน พร้อมกันได้เลย(แล้วค่อยๆขยายสเกลต่อไป) เช่น -E: เรียนจบทำงานประจำไปก่อน เพื่อเก็บเงิน รักษาฐานรายได้ที่มั่นคง -S: หาเงินเพิ่มในช่วงเวลาว่าง เช่น การขายของออนไลน์, ขายขนม,รับจ้างฟรีแลนซ์,เปิดช่องยูทูป,ไกด์นำเที่ยวออนไลน์ ,ตัวแทนขายประกัน เป็นต้น -B: มีเงินพอ ลองทำธุรกิจแบบ weekend entrepreneur (ใช้เงินไม่มาก,บางส่วน outsource ได้ และใช้เวลาไม่เกินไป)ทำได้ดีพอ เก่งพอ ล

Expedition Happiness

ถ้าถามถึงนิยามของคำว่า "ความสุข" เชื่อว่าแต่ละคนอาจจะแตกต่างกันไปร้อยแปดพันเก้า แต่สำหรับ คุณ Felix Starck (จาก Pedal The World) และคุณ Selima Taibi มันคือการเดินทาง การออกไปพบปะสิ่งใหม่ๆ ทั้งผู้คนและสถานที่ เพื่อการเรียนรู้ และทำความเข้าใจชีวิต ผมมีโอกาสได้ดู Expedition Happiness หนัง สารคดีที่ถ่ายทอดเรื่องราวการเดินทางของคู่รักชาวเยอรมันทั้งสอง พร้อมหมาคู่ใจ(Rudi) ที่เดินทางข้ามทวีป North America ด้วยรถโรงเรียน(American school bus) จุดเริ่มต้ นจาก North Carolina(เมืองที่ซื้อรถโรงเรียนและลงแรงสร้างให้มันกลายเป็นบ้านติดล้อ) ไป Canada, Alaska, ผ่าน U.S. West Coast, Mexico เป้าหมายปลายทางคือจะไปประเทศ Argentina ทั้งสองเผชิญอุปสรรคและประสบการณ์ต่างๆ มากมายระหว่างการเดินทาง มีทั้งรอยยิ้มและคาบน้ำตา เรียกว่าทำให้ดูสนุกและคุ้มค่ากับเวลาหนึ่งชั่วโมงครึ่ง มันไม่ใช่หนัง art หรือหนัง hippy ทั่วไป แต่ภาพมุมสูง การตัดต่อ และเพลงประกอบนี้ไม่ธรรมดาเลยจริงๆ ถ้ากำลังมองหาความหมายในชีวิต แนะนำ "Expedition Happiness" ครับ https://www.youtube.com/watch?v=PKRvZLjkRJA

การนอน กับอาชีพเทรดเดอร์

การนอน นี้เป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับ เทรดเดอร์ โดยเฉพาะการเทรดในตลาดค่าเงิน(FX),ทองคำ หรือตลาดต่างประเทศ(US , DAX) ยิ่งถ้าต้องรีบตื่นไปทำงานประจำ หรือทำธุรกิจส่วนตัวในตอนเช้า การเทรดดึก กว่าจะได้นอนตี 2 - 3 มันจะทำให้เหนื่อยมาก(บางวันขาดทุนหนัก เทรดพลาด หมกหมุ่นนอนไม่หลับเอาง่ายๆได้อีก) และถ้าทำต่อเนื่องหลายเดือน มันจะล้าสะสม มีผลต่อสุขภาพ บวกกับอาจจะทำให้ performance การเทรดและการตัดสินใจ ของเราแย่ลง ได้ บางวันเครื่องดับไปดื้อก็ได้ ดังนั้น ถ้าเป็น part-time trader ไม่มีเวลาพ ักงีบระหว่างวัน ต้องวางแผนเวลา การนอนและการเทรดให้ดี เช่น -อาจจะเลือกกลยุทธ์การเทรดรอบกว้างขึ้นที่เหมาะกับเรา, -อาจจะเทรดสินค้าบางตัวที่ active ในเฉพาะช่วงเวลา ไม่เกิน เที่ยงคืน -หรืออาจจะเทรดแบบวัน เว้นวัน เทรดตามเป้าเช่นตั้งเป้าสัปดาห์ละ 1% ทำยอดได้ ก็พัก เป็นต้น มีหลายวิธีเคยอธิบายไว้ลองอ่านบทความย้อนหลังได้ ในภาพเอาตัวอย่างตารางการนอนและเวลาตื่นที่เหมาะสมต่อสุขภาพแบบ กฎนอนหลับ 90 นาที มาฝากครับ https://health.mthai.com/howto/health-care/24127.html https://www.jeab.com/fit-firm/fit-life/sleep-90-min-rules

Trader & Financial Freedom

เมื่อวานมีน้องท่านหนึ่งถาม ว่าถ้าเป็นเทรดเดอร์จะมีอิส รภาพทางการเงิน แบบไม่ต้องทำงานได้อย่างไร เพราะต้องนั้งเทรดตลอดเวลา ไม่เทรดก็ไม่ได้เงิน ?? เป็นคำถามที่ดีเพราะมันเป็น คำถามที่ผมถามตัวเองตั้งแต่ วันแรกที่เริ่มเดินทางนี้ละ  สิ่งที่เรียนรู้ Key คือเรื่องการ management ตัวทรัพยากร เวลา(Time) และเงิน( Money) สำหรับส่วนตัวผม จำแนกโหมดการเทรดของตัวเองเ ป็น 3 แบบ ผสมกันคือ 1. Passive trading : ใช้เวลาเทรดติดตามต่อวันน้อ ย+จำนวนการเทรดน้อย (time horizon ยาว)+ payoff สองทาง(ํYiled +Capital gain) เงื่อนไขพวกนี้เราจะใช้การเ ลือก asset และ strategies ต่อไป 2. Active trading : ใช้เวลาเทรด/ ติดตามต่อวันมาก(อายุมากๆ สุขภาพไม่อำนวยหรือมีครอบคร ัว เริ่มทำให้ work ยากละ) + รอบการเทรดสูง + ระยะการเทรดสั้น + time horizon สั้นปรับตามสถานการณ์ตลาด 3. Automatic/Robot trading : ใช้เวลาติดตามต่อวันน้อย + จำนวนการเทรดสูง + ระยะการเทรดสั้น + payoff สองทาง(ํYiled +Capital gain) + time horizon สั้นปรับตาม risk factor ปัจจุบัน ดังนั้นในพอร์ตที่บริหาร จะจัดสัดส่วนเงินกระจายไปทั ้ง 3 โหมด(สัดส่วนแตกต่างกันตามช ่วง

อิสรภาพทางการเงิน

กระทู้นี้ถามถึงจำนวนเงินเท ่าไหร่ถึงจะมีอิสรภาพทางการ เงิน ไม่ต้องทำงาน มีหลายคอมเมนต์ที่น่าสนใจ แบ่ง 2 แบบหลักๆ 1-ใช้เท่าไหร่เก็บเท่านั้น ถ้าใช้เงินปีละ 500k ประเมินว่าจะใช้ชีวิตอยู่ต่ อหลังหยุดทำงานสัก 20 ปี ก็ต้องมีเงินก้อนสัก 500k*20 = 10 ล้าน >วิธีคิดนี้ตรงไปตรงมาแต่ อันตรายเพราะ ถ้าครบ 20 ปี เงินหมดนี้ปัญหา , อีกประการคือการเก็บเงินก้อ นขนาด 10 ล้านด้วยเงินเดือนระดับพนัก งานทั่วไป โอกาสเกิดจริงไ ม่ง่าย 2-ใช้ประโยชน์จากดอกเบี้ย ความคิดเห็นแบบนี้ สไตล์ให้เงินทำงานแทนเรา แนะนำให้คิดรายจ่ายอนาคต และประเมินย้อนจาก ผลตอบแทนความเสี่ยงต่ำที่ไม ่ทำให้ เงินทุน เงินออมหาย เช่น ถ้าจะใช้ชีวิตปีละ 500k บาท, จากอัตราดอกเบี้ยความเสี่ยง ต่ำ(Risk free rate) 2% จะต้องออมเงินให้ได้ 500k*(100/2) = 25 ล้าน > วิธีนี้ถ้าออมเงินได้ก็สบาย  จะอยู่ต่อไปกี่ปีก็ได้ เพราะเงินจะงอกไปเอง แต่ข้อจำกัด การหาเงินก้อนใหญ่ไม่ง่าย + อัตราดอกเบี้ยต่ำ ถ้าอนาคตเงินเฟ้อสูง ค่าครองชีพแพง โอกาสจะมีเงินพอใช้ก็จะยากข ึ้น สรุป จากผมไล่อ่าน ทั้งสองประเภทขึ้นกับ 4 ปัจจัย ได้แก่ = {รายได้ ,เงินออม ,ค่าใช้จ่าย และผลตอบแทนจากเ

How (NOT) To Predict Stock Prices

การวิเคราะห์ข้อมูล มันมีประโยชน์เสมอ ถ้าเราเข้าใจสิ่งที่ทำ ลองมองกลับมุม แทนจะใช้ Deep learning แบบ LSTM หรือ Variational autoencoder LSTM ไป ทำนายอนาคต ทำนายราคาหุ้น ราคา asset ในภาวะที่เราควบคุมไม่ได้ เพื่อหา upside เปลี่ยนไปใช้ทำนาย / ประเมิน anomaly ใน P/L Timeseries ประเมินระบบ ประเมิน performance ของพอร์ตเพื่อป้องกัน down side แทน (เพราะถ้าถูกเราป้องกันผลกระทบการขาดทุนได้ แต่ถ้าโมเดลผิด เราก็เสมอตัวไม่เสี่ยงเกิน) บทความนี้สรุปดี แทนที่จะไป prediction ค่า value ก็เปลี่ยนไปจำแนก movement แทน(binary classification problem) หรือไม่ก็ทำ ensemble of models แบบหลายโมเดล หลายกลยุทธ์ปรับไปตาม market behavior https://towardsdatascience.com/how-not-to-predict-stock-prices-with-lstms

New Normal ในยุคอัตราดอกเบี้ยติด 0

อ่านกระทู้นี้แล้ว มีหลายคอมเมนต์น่าสนใจ จนอยากเขียนบันทึกเก็บไว้ โดยเฉพาะมุมมองของคนทั้งใช้เวลาทั้งชีวิต ใกล้เกษียณ ทำงานเก็บเงิน 10 ล้าน หวังใช้ชีวิตอยู่จาก fix income ฝากธนาคารรอกินดอกจากเงินก้อนนี้ มาเจอภาวะปัจจุบัน ดอกเบี้ย 0-0.5% (เงินเฟ้อ 2%) ผลตอบแทนจากดอกเบี้ยบนเงินทั้งก้อน 10 ล้าน ยังเท่ากับ ค่าแรงขั้นต่ำรายปี และไม่พอค่าครองชีพในเมืองใหญ่+ค่าหมอค่ายา สรุปคือ มีเงินสด 10 ล้าน ถ้าไม่มี "ระบบ/ความรู้" ที่ขยายให้เงินทำงาน สร้างผลตอบแทนเพื่อเติบโต ไม่นานก็หมดจากการใช้จ่าย(แน่นอนว่ามี service บริการแต่ก็ต้องมีความรู้จะเลือกใช้เช่นกัน เพราะบางโปรดักซ์ผลตอบแทนก็ไม่คุ้มกับค่า fee ที่จ่ายไป) จะเรียกว่า New Normal ในยุคอัตราดอกเบี้ยติด 0 ต่ำเป็นประวัติการณ์ บวกกับเงินเฟ้อก็จะมาเงินฝืดก็น่ากลัว(นักเศรษฐศาสตร์อเมริกัน ประเมินความน่าจะเป็น 1-2 ปีว่าเศรษฐกิจโลกอาจจะเกิดได้ทั้ง inflation และ deflation) การเงินเก็บ อย่างเดียวไม่พอละ ต้องมีความรู้ในการบริหารจัดการเงิน เบื้องต้นด้วย อาจจะไม่ต้องเป็น active trader หรือซีเรียสติดตามข้อมูลข่าวสารทุกวัน แต่อย่างน้อยต้องรู้จักลงทุนเป็น เห็

strategic thinking

strategic thinking คือกระบวนการคิดเชิงกลยุทธ์ เพื่อการวางแผนดำเนินงานหรือแก้ปัญหาให้บรรลุไปตามเป้าหมายบนแนวทางที่มีประสิทธิภาพที่สุด พอดีอ่านเรื่องนี้ "How To Master Strategic Thinking Skills" มีหลายประเด็นที่น่าสนใจ โดยเฉพาะเรื่องการพิจารณาปัจจุบัน การหัดตั้งคำถามกับตัวเองเพื่อการวางแผนในอนาคต เช่น "ตอนนี้สิ่งที่เราทำ มัน work กับตัวเราหรือไม่" โดยเอา strategic thinking มาประยุกต์ใช้ ถ้าเรากำลังรู้สึก ติดหล่ม หรือ หนักใจไปต่อไม่ถูก เช่น อยากเป็นเทรดเดอร์ เทรดทุกวัน ได้กำไรสลับขาดทุนแต่รู้สึกพอร์ตยังไม่โต กำไรสุทธิต่อปียังไม่พอ ค่าไฟ ลองใช้แนวทาง strategic cycle มาวิเคราะห์ดู เริ่มจาก 1. What : ลอง list สิ่งที่กำลังทำประจำ 5 งานหลัก เพื่อรีวิวแนวทางและกระบวนการที่เราใช้ 2. Why : เขียนลงกระดาษ อธิบายสิ่งที่เราทำด้วยประโยคสั้นๆ Key คือ หาสิ่งที่เราทำแต่ไม่รู้ทำไปทำไม เพราะหลายอย่างเราทำตามคนอื่น โดยที่ไม่รู้ว่ามันคืออะไร ทำไปทำไม สิ่งพวกนี้อันตรายต้องระวัง 3. Way : ทบทวนสิ่งที่เราทำและแนวทางปฏิบัติว่า มันเป็นทางที่ดีจริงๆหรือไม่ ,ด้านผลดีและผลลบที่เกิดจากการทำมันเหมาะ

Two Sigma Financial Modeling Code Competition

เช้านี้นั่งอ่านบทความหนึ่ง ชื่อ "Two Sigma Financial Modeling Code Competition, 5th Place Winners’ Interview" เขาสัมภาษณ์ผู้ชนะอันดับ 5 ในการแข่งขันรายการ Two Sigma Financial Modeling Challenge รายการนี้แข่งขันปี 2016 -2017 ระยะยาวและ Two Sigma ซึ่งเป็น Quant Fund อันดับต้นของโลกก็จัดรางวัลให้เต็ม รวม $100,000 พร้อมโอกาสร่วมธุรกิจ ทำให้มีคนสนใจแข่งรายการนี้มากพอควรกว่า 2000 ทีม บทความนี้ยาว ผมขอสรุป key สำคัญสั้น สำหรับผมสิ่งที่น่าสนใจคือ ผู้ชนะอันดับ 5 ทีม Bestfitting เขาใช้เทคนิค lag-N features ในการทำ Feature Engineering ของข้อมูล Time Series , การทำ Quant โมเดล เขาเริ่มจากการทดลองสร้าง weak model ออกมาก่อน จากนั้นปรับปรุงเรื่อยๆ ให้ดีขึ้น level ต่อมาเป็น stable model แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ เขาไม่ได้ปรับแบบเปลี่ยนใหม่ แต่เป็นการทำ Ensemble model ซึ่งรองรับความเป็น dynamic ของตลาดไม่ใช่การ prediction แบบโมเดลเดียว fit all , พัฒนา self-adaptive strategy สร้างตัวแปรใช้ปรับการโมเดลแปรผันตาม ค่า market volatile (volatility data) ออกแนวคล้าย reinforcement learning (แต่ไม่ได้สร้างโ

จะรู้ได้ไงว่าเรากำลัง "เครียด"

จากโพสเมื่อวาน น้องเทรดเดอร์คนหนึ่งถามเข้ามาทาง message ว่าผมเป็นคนอารมณ์ดี แล้วจะรู้ได้ไงครับว่าเครียดหรือไม่เครียด? อ่านไปก็อดอมยิ้มไม่ได้ ผมเชื่อว่าทุกคนมี base line ของตัวเอง มันคงไม่มีสูตรหรือ solution แต่หลักง่ายๆของผมคือ ลองคิดย้อนไป ช่วงเวลาที่ทำให้ตัวเรา panic หรือต้องนอนไม่หลับ ทางภาวะอารมณ์เกิดหงุดหงิด เกิดจิตตก หรือคิดวนไปวนมาในเรื่องๆเดิมในหัว สัญญาณเหล่านี้ตามตำรา ถือว่าเข้าภาวะ เครียด หรือ จิตตกแล้ว ถ้าจะเอาแบบ Quant แนะนำเทคนิคของน้องคนหนึ่ง เขาเป็น prop trader ให้ บล. ชื่อดัง น้องเขาใช้ smart watch หรือ สายรัดข้อมืออัจริยะ ที่ติดตามอัตราการเต้นของหัวใจ (Heart Rate) และแจ้งเตือนได้ จริงๆย้ำอีกทีการเป็นเทรดเดอร์ เทรดเงินจริง ตลาดจริง มันไม่ได้มีแต่สายรุ้งและ ยูนิคอน แบบที่ถูกทำให้เชื่อ จำเป็นต้องมีภาวะการบริหารจัดการทางอารมณ์ให้ดี มีแผนรับมือผลของความผิดพลาด สำคัญมากในยามภาวะวิกฤติ หรือช่วงเราเกิดปัญหา ในการเทรดครับ ปล. ในภาพเป็น GARMIN Vivosport

บทเรียนจากการสูญเสีย

เวลาเทรดเดอร์เริ่มเข้ามาในตลาด ผมว่าทุกคนคล้ายกัน คือแบก "ความหวัง" "ความกดดัน" และ "ความโลภ" ไว้บนบ่า แต่มีไม่กี่คนที่อยู่รอด ระยะยาวได้ อันนี้คือสัจจะธรรม ที่ต้องตระหนัก อย่าปล่อยให้คำโฆษณาใดๆมาชวนเชื่อ หรือหลอกลวงเรา แน่นอนว่าไม่ผิดที่จะเริ่มเรียนวิธีหาเงินทำเงิน แต่สิ่งที่ต้องเรียนก่อนเข้าไป สู้รบในตลาดจริง คือ วิธีการบริหารจัดก ารความเสี่ยง(Risk management) และการบริหารจัดการความโลภ( Emotion manangement) เรื่องสลด ผมไม่อยากลงรายละเอียดเยอะแต่ลองไปอ่านได้ในบทความ ซึ่งเรื่องน่าเศร้าคือ ตลอดเวลาสิบกว่าปีที่ผมเทรดในตลาด ผมเจอข่าวแบบนี้เยอะมาก เกือบทุกปี โดยสรุปข่าวนี้เล่าเรื่อง เทรดเดอร์มือใหม่คุณ Alexander Kearnอายุ 20 ปีที่เข้าไปเทรดอนุพันธ์ ล่าเงินในช่วงตลาดผันผวนแบบปัจจุบัน จากนั้นด้วยความผิดพลาด ทำให้ขาดทุนในการเทรด options พอร์ต -$730,000 ข่าวระบุผลการขาดทุนหนัก ทำให้เกิดความเครียด สุดท้ายจบชีวิตตัวเองด้วยการฆ่าตัวตาย(สาเหตุเชิงลึกเกี่ยวกับปัญหาทางจิตและอื่นๆ ยังรอการสอบสวน) เป็นเรื่องน่าเศร้า และทางครอบครัวผู้เสียชีวิตก็ออกมา เรียกร้องให้สอบสวน ขอค

อย่าเพิ่งยอมแพ้ แม้ปีนี้จะขาดทุน

ปกติเราพูดถึงเซียนกูรูตามหน้าสื่อมักจะพบแต่เรื่องของความเทพความสุดยอด แท้จริงแล้วทุกคนย่อมเคยผิดพลาด เขียนบันทึกนี้ไว้เพื่อจะเตือนตัวเองให้ไม่ประมาท และ focus ไปที่การเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะความสามารถกันต่อไป บทความข่าวย้อนอดีตของ independent ที่เล่าถึงการขาดทุนใหญ่ ของคุณ George Soros โดยปี 1998 โซรอสมองว่าดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐ จะปรับตัวลงและลงหนักทำให้เขา betting ทางนั้น ปรากฏว่าช่วงปลายปีนั้น ดัชนี DJ30 บวกเพิ่มกว่า 13% หรือ 1000 จุด ทำให้ soros ขาดทุนจากการ short positions ในตลาดฟิวเจอร์ (ตลาดมันถล่มหลัง bullish เพียงแต่มันเกิดปี2000 หลังจาก soros ทำนายและ Short 2 ปีถัดมา) เช่นเดียวกันมีการขาดทุนจากตลาด Hong Kong (รวมถึงมีข่าวว่าขาดทุนหนักอื่นๆระดับ 2 พันล้านเหรียญ แต่ตัวเลขนี้ไม่มีการออกมายืนยัน) ปีนั้นเรียกว่าเป็นปีที่ยากลำบากของ soros fund ซึ่งมีการชี้แจงในจดหมายถึงผู้ร่วมลงทุน soros ยังมีการแจ้งพิเศษกับนักลงทุนรายใหญ่ของฟันด์ว่า ลาพักชั่วคราว ("taking a temporary medical leave of absence") แหล่งข่าวอย่างคุณ Nicholas Roditi ผู้ลงทุนในกองทุน Quantum Fund ออกมายืนยันโดยระบ

Multi-Strategies

แนวคิด Multi-Strategies มีการใช้มานาน มีหลาย paper หลายบทความให้เราศึกษา อย่างผมใช้ Robot trading ทำให้ง่ายต่อรันหรือเทรดด้วย หลายกลยุทธ์ ในพอร์ตเดียวกัน แต่ไอเดียหลักคือการ diversify ไม่ใช่แค่ asset class แตกต่าง แต่เราสามารถกระจาย trading strategies ที่หลากหลาย ในช่วงเวลาเดียวกัน สินค้าเดียวกัน(หรือแตกต่างกัน) เพื่อดีลกับ Risk Factor ในช่วงเวลานั้นๆ ซึ่งสัจจะธรรมคือ แต่ละกลยุทธ์ล้วนมีข้อจำกัดและมีจุดเด่น ที่ตอบสนองได้ดีในภาวะตลาดแตกต่างกัน Key คือการบริหารจัดการให้เกิดประสิ ทธิภาพเพื่อให้เกิด Alpha กรณีเทรดเดอร์ ที่เทรดด้วยมือเทรดเอง ก็สามารถใช้ Multi-Strategies ได้ เพียงแต่ปรับช่วงเวลา หรือ Time Horizon ของกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับ การเทรดเข้าออกของเรา แต่ต้องอิงกับ Basic การบริหารเงินที่เหมาะสม + การพัฒนาระบบเทรดแต่ละกลยุทธ์ให้มั่นใจว่ามันรอดจริงๆก่อน ภาพเป็น paper ของ algoanalytics เฟริ์มอินเดียเจ้าหนึ่งที่ทำ Quantitative Trading แทนจะเน้นไปที่ Trend หรือ Momentum Factor อย่างเดียว เฟริ์มนี้ มองหา Investment Idea และรันกลยุทธ์แบบหลากหลายตามแผน โดยจัดสรรน้ำหนักของเงินทุน ลงในแต่ละกลยุทธ

กองทุนรวมน้ำมัน

บันทึกนี้จะมาสรุปบทเรียน ที่สอนเรื่อง Multi-Strategies & Multiple Products จำได้ช่วงก่อนหน้ามีคนถามเรื่องการต้องการเข้าไปเทรดน้ำมัน(WTI) แต่ด้วยความที่ตลาดผันผวนมาก เลยแนะนำมือใหม่ให้ลองเทรดระยะกลางกับ กองทุนรวมน้ำมัน แทน (ส่วนตัวผมเทรดมาหลายปีแล้ว เทรด Futures และ CFDs มันบริหารความเสี่ยงได้) ซึ่งตัวอย่างที่ทำ live บรรยายให้ดูคือเลือก กองทุนรวมน้ำมัน มาทำให้ดู เพราะ ซื้อขายสะดวก เปิดบัญชีกองทุนรวมของธนาคารหรือโบรกเกอร์ได้เลย (ถ้าใครมี account ต่างป ระเทศก็อาจจะลอง Oil ETFs โดยตรงเช่นของ USO[United States Oil Fund] , Invesco DB Oil Fund) เมืองไทยมี กองทุนรวมน้ำมัน ให้เลือกหลายค่าย เช่น SCBOil, I-OIL, K-OIL เขาก็กินค่าธรรมเนียมและไปลงต่อใน ETF อีกที ตัวอย่างผมเลือก SCBOil เพราะเขาลงใน Invesco DB Oil Fund ความผันผวนไม่มาก ขนาดกองใหญ่และกองนี้ค่าธรรมเนียมพอรับได้ ข้อดีของการเทรด กองทุนรวมน้ำมัน คือ ไม่ใช้ leverage วางเงินซื้อหน่วยลงทุนไม่สูงก็เทรดได้, ข้อเสียคือ price quote ราคาจะช้าไม่รู้ทันที ทำให้ไม่เหมาะกับการเทรดสั้น แต่เทรดตามรอบ momentum สามารถทำได้ , แน่นอนว่ากำไรอาจจะได้ไม่สู

My First Year Trading Full-Time: Ryan Trost

คืนนี้ระหว่างนั่งรอเทรดน้ำมัน เลยฟังคลิป Chat with trader ตอนล่าสุด Aaron สัมภาษณ์ Ryan Trost ซึ่งเป็น Prop Trader, ที่เพิ่งผ่าน 1 ปีของการเทรดที่ SMB Capital มีหลายหัวข้อน่าสนใจดี หลายเรื่องเรานำมาประยุกต์ได้ โดยเฉพาะเรื่องของจิตวิทยาและการรับมือกับอารมณ์ Ryan Trost พูดเรื่องการ วัดอุณหภูมิ อารมณ์ระหว่างวัน และช่วงจบวัน เขาบอกว่าสำคัญมากที่เราจะต้องรู้ตัวเอง ต้องติดตามการ reaction ที่เกิดจากอารมณ์ บางวันแย่ เกิด consistent losses ขาดทุน ต้องไม่ down ไม่โมโห ต้องสามารถเข้ าใจความผิดพลาดสิ่งที่เกิด และปรับแผนมาแก้ต่อได้ การจดบันทึกช่วยเขาได้มาก และเขาก็แนะนำให้เทรดเดอร์ พยายามติดตามเข้าใจอารมณ์ นอกจากการควบคุมผลที่เกิดตามมา เช่นความเครียด ความหงุดหงิด มันช่วยทำให้จิตไม่ตก ไม่มีผลต่อ การใช้ชีวิตปกติ กับครอบครัว (อันนี้คนขาดทุน ติดดอยหนักๆจะเข้าใจ บางทีตลาดปิด หมกหมุ่น นอนคิด นอนไม่หลับ ก็เกิดได้) ชอบตอนนี้เพราะ ไม่ได้พูดอวดผลงานกำไร แต่พูดเรื่องผิดพลาด ขาดทุนและการจัดการกับการขาดทุนเยอะดี จะเห็นเฟริ์มแบบ SMB Capital เขาทำงานเป็นทีม ซึ่งไม่ใช่เทรดแบบเดียวกันหมด สไตล์เดียวกัน แล้วมาแข่งว่า

FOMO (Fear of Missing Out) Effect

เมื่อวานมี Message หลายอันเข้ามาถามประเด็น "ตกรถ" อารมณ์ประมาณ ถ้าซื้อหุ้นไม่ทันต้องทำยังไง? ผมเขียนบทความนี้ไว้เมื่อเดือนที่แล้ว(SET 1300 จุด) สำหรับน้องๆเทรดเดอร์ที่ฝึกด้วยกันอ่าน วันนี้นำมาแบ่งปันสำหรับท่านที่เผชิญปัญหาเดียวกัน 1. ตั้งสติ จัดการกับอารมณ์ก่อน - FOMO ตอนนี้เผชิญหลายอารมณ์มาก แตกต่างกันไปบ้างจะเครียด ผิดหวังเสียโอกาส, บ้างอิจฉาคนที่ได้กำไร,บ้างทุกข์เพราะตัดขาดทุนแล้วหุ้นดีดใส่หน้า ,บ้างโกรธโทษเซียนที่บอกให้รอมันย่อ -ดังนั้น ตั้งสติวางอารมณ์ไว้ข้างๆ ก่อนตัดสินใจเทรด ก่อนหาเหตุผลเข้าข้างให้รีบซื้อจากเทคนิคอล เช่น เบรก 10 week, เส้น EMA ตัดกัน(เพราะซื้อแบบไม่คิด พอ volatility เพิ่มสูงก็จะดอยจะป่วนหนักอีก) 2. วางแผน ตลาดวิ่งแรง ไม่มีเหตุผล นั้นปกติแต่ตัวเทรดเดอร์ต้องมีแผนมีเหตุผลในการเทรด ต้องรู้ว่าซื้อหุ้นเป้าหมายอะไร ถือสั้น ถือยาว จะเล่นรอบเก็งกำไร หรือจะเก็บปันผล ทุกอย่างต้องตกผลึก สังเคราะห์มาเป็นแผน เขียนใส่กระดาษ ให้ชัดก่อน 3. จัดการความเสี่ยง - จิตใจ: ตกรถแล้ว ต้องยอมรับให้ได้ ว่าคุณซื้อหุ้นหลังคนอื่น ต้นทุนสูงกว่าคนซื้อหุ้นตอน 1100 1200 แน่นอน - บริหารคว

Bill Ackman กับผลตอบแทน 9,530%

พอดีเมื่อวานมีน้องเทรดเดอร์ถาม กรณีข่าวของ Bill Ackman ที่สามารถทำผลตอบแทน 9,530% ในเดือน March จาก covid-19 crisis ช่วงตลาดสหรัฐร่วงรุนแรง โดยข่าวระบุว่าฟันด์เขาเปลี่ยนเงิน $27 million ให้กลายเป็นผลตอบแทน $2.6 billion จนสื่อเอาไปเล่นกันอย่างครึกโครม บางสื่อกว่าว่าเขาคือผู้ชนะในตลาด บางคนก็อ้างกว่าเป็นผู้ฉวยโอกาสจากวิกฤติบ้าง บทความนี้ Aron Brown ผู้เขียนอธิบายได้เข้าใจง่ายดี โดยกล่าวว่า ตัวเลขผลตอบแทนที่เห็น จริงไม่สามารถอ้างว่าเป็นผลตอบแทนกำไร 9,530% จากเงิน $27 million เพ ราะกรณีนี้ Ackman ทำสัญญา ประกันจากมูลค่าสินทรัพย์รวมทั้งหมด โดยฟันด์ยอมจ่าย $40 million ต่อเดือนเป็นเวลา 5 ปี สำหรับ CDS (credit-default swap) contracts ถือว่าเป็นการประกันพอร์ตขนาด $8 billion ด้วยอัตรา 0.5% ต่อเดือนจากขนาด assets ที่ต้องการปกป้อง เมื่อเกิดวิกฤติ covid-19 ในอเมริกา credit ratings ของเหล่า corporate bonds ตกลงต่ำกว่า investment grade หรือกลายเป็น junk ส่วนของการ Hedge ก็ payoff มูลค่า $2.6 billion หรือคิดเป็น 33% ของ asset ทั้งหมด (แต่ยังถือว่าเป็น Good Betting + Luck เพราะจ่าย insurance premium ไป

The Big Cycles Over The Last 500 Years

ติดตามบทสัมภาษณ์ของคุณ Ray Dalio มาตั้งแต่ปีก่อนช่วง Trade war สังเกตเห็นว่า เขาจะพูดถึงการเปลี่ยนผ่านที่ทำให้จีนขึ้นมาในอนาคตบ่อยมาก ปัจจุบันเหมือน covid-19 Crisis จะกลายเป็นตัวเร่งทำให้เกิดการเปลี่ยน New World Order ชัดเจนขึ้นโดยเฉพาะ ภาพการขัดแย้งระหว่างมหาอำนาจเบอร์หนึ่งสหรัฐ และจีน นอกจากนี้ covid-19 ก็ทำให้สหรัฐเข้าสู่ภาวะอ่อนแอทางเศรษฐกิจอย่างหนัก อีกด้วย ในบทความ The Big Cycles Over The Last 500 Years เขียนถึงโอกาสของกา รเปลี่ยนผ่านในอนาคตที่น่าสนใจ โดยเฉพาะประเด็นของการเปลี่ยนแปลงของ economic & geopolitical war ที่เป็นสัญญาณของการเปลี่ยนผ่าน บทความนี้ Ray Dalio มองว่าจีนมีโอกาสก้าวขึ้นมามีบทบาทมากยิ่งขึ้น แม้จะไม่ได้ฝันธงว่าจะกลายเป็นมหาอำนาจเบอร์หนึ่งแทนอเมริกาในเร็ววัน ก็ตามแต่สิ่งที่มอง US empire กำลังเผชิญความท้าทาย ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศ โดยเฉพาะปัญหาความขัดแย้งภายในประเทศ ที่ยิ่งประทุในช่วงวิกฤติปัจจุบัน ขณะเดียวกันดูเหมือนจีนจะมีปัญหาภายในประเทศที่น้อยกว่า และมีความพร้อมในการเปลี่ยนผ่านด้าน เทคโนโลยี , เศรษฐกิจ สังคม และการทหาร ที่ได้เปรียบกว่าชาติอื่น นอกจา

Survivorship Bias

ชวนน้องๆและเพื่อนๆเทรดเดอร์ที่ฝึกเทรดด้วยกันมาคุยเรื่อง "การขาดทุนและล้างพอร์ต" เวลาเกือบ 2 ชม. หมดเร็วมาก ได้ถกหลายประเด็นและได้ข้อมูลปัญหามาสังเคราะห์ต่อมามาย เป้าหมายการสนทนาพยายามจะเข้าถึงสาเหตุ หรือผลของความผิดพลาด เพื่อหลีกเลี่ยง Survivorship Bias แต่คุยเรื่องนี้ไม่ง่าย เพราะมันเจ็บปวด มันผิดหวัง ทำให้เรามักเลือกที่จะลืมมันมากกว่า จนจำ เจ้า Survivorship Bias นี้เป็น Bias ที่น่ากลัว เพราะบางทีเรามองแต่ความสำเร็จ พยายามมองห าสูตรทำเงิน จนมองไม่ครบ ลืมคิดไปว่าวิธีเดียวกัน ระบบเดียวกัน มันไม่ได้จะ work กับทุกคน ทุกกรณี ทุกภาวะตลาด บางทีไปเอาแนวทางจากเซียน จากกูรู สมัยยุคอดีตมาใช้ ตลาดปัจจุบันอาจจะไม่ได้มีพฤติกรรมและสภาพแวดล้อมเช่นเดิม ผลที่ได้ก็ไม่ได้หมายความว่า เราจะสำเร็จตามนั้นเหมือนกัน สุดท้าย ท้ายสุดบางทีการฟังคนที่ล้มเหลว คนที่ขาดทุนอาจจะทำให้เรามองเห็น แง่มุมบางอย่าง ที่จะก่อให้เกิดองค์ความรู้ ในการพัฒนา ในการป้องกันข้อผิดพลาด เพื่อการอยู่รอดที่ดีขึ้นต่อไป

Risk factors

บทความนี้ของ คุณ Kris Longmore แห่ง robotwealth น่าสนใจ จึงนำมาสรุปไว้ แนวคิดการเพิ่มความแข็งแรงของพอร์ต ในช่วงวิกฤติ ด้วยการวิเคราะห์ risk factors ที่กระทบกับ asset ในพอร์ต Key นอกจากการกระจายความเสี่ยงไปยัง asset ที่มีความสัมพันธ์ต่อกันให้น้อยที่สุดแล้ว ควรพิจารณาจากปัจจัย risk factors ที่มีความเข้มข้น/รุนแรงในปัจจุบันและอาจจะส่งผลกระทบต่อ ผลกำไรขาดทุนในพอร์ต บทความนี้แนะนำ การเลือกถือ asset ที่กระจายไปตามผลกระทบเชิงลบจาก risk factors หลักได ้แก่ Real interest rates , Inflation, Credit ,Liquidity ,Growth และ Political ส่วนกลยุทธ์ที่เขาแนะนำคือการทำ long risk premia หรือซื้อสะสม asset หลายตัวที่ผสม risk factors แตกต่างกัน(มากกว่า 2-3 ประเภท) และใช้การปรับน้ำหนักเงิน แปรผันไปตามช่วงเวลาและภาวะเศรษฐกิจ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของพอร์ต อ่านเพิ่มเติม https://robotwealth.com/harvesting-risk-premia/