ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

Zero cost position tactic

  ผมเคยอธิบายเทคนิคการปรับต้นทุน การขายทำกำไรลดต้นทุนการถือสถานะเพื่อลดผลกระทบที่เกิดจาก market volatility หรือการทำ Zero cost position ให้ฟังบ่อยๆ วันนี้ผมมีคลิปหนึ่งเอามาให้ดูเป็นเทคนิคของนักลงทุนระยะยาวชื่อคุณ Mark Meldrum (คนเก่ง Finance ใครที่สอบ CFA น่าจะเคยตามหรือดูคลิปช่องของเขา) รายละเอียดมีพอควรแต่ผมจะมาสรุป Key สำคัญให้ฟัง 1. การเทรด spot หรือสินค้าแบบหุ้น(ที่ดี) ไม่ใช่ leverage ได้เปรียบเรื่อง "เวลา" ซึ่งเอามาหาประโยชน์จาก volatility ที่เกิดในตลาดได้ 2. Volatility เกิดจากความอ่อนไหว จากปัจจัยเสี่ยงภายนอก(เศรษฐกิจ+ข่าว+ผลประกอบการ) ของผู้เล่นในตลาด(รายใหญ่,รายย่อย) โดยเฉพาะสายที่ margin trading, long + leverage หรือ long short strategies ที่ต้องเทรดไปตามภาวะตลาดระยะสั้นที่เกิด (โดยเฉพาะภาวะตลาดผันผวนมากๆ ยิ่งทำให้เกิดพลวัตรตลาดมากตาม เช่นจากการ sell off หรือการ deleverage) 3. แรงขับระยะยาวมาจาก นักลงทุนสถาบันรายใหญ่ ที่มีเป้าหมาย long bias (บางช่วงเวลาอาจจะมีการลดสถานะได้เช่นกัน แต่ส่วนใหญ่จะเป็นการ long ใน investment time horizon ระยะยาว) มาร์คมองว่าความน่าจะเป็น

How to Hedge Against Inflation

บทความน่าสนใจจากคุณ Ben Carlson Director จาก Ritholtz Wealth Management. เขียนถึง inflation หลังล่าสุดข้อมูล US CPI เพิ่มจากปีก่อนหน้า +5% , ในด้านสถิติเป็น biggest CPI gain มากสุดตั้งแต่ปี 2008 ก่อนช่วง financial crisis , นอกจากนี้ยังมีตัวเลขราคารถมือสองและราคารถ ที่เพิ่มสูงขึ้น 7.3% จากเดือนก่อนหน้าและเพิ่ม 29.7% รอบ 12 เดือน ซึ่งนวค.มองว่าเป็นหนึ่งปัจจัยเร่ง inflation มาเกิดช่วง reopen economy ที่จะมีผลต่อ demand และ supply ในระบบ ด้าน นวค. แนะนำให้จับตามอง inflation ซึ่งแนวโน้มการเพิ่ม inflation ในช่วงอัตราดอกเบี้ยต่ำ อาจจะส่งผลต่อท่าทีของ Fed ที่อาจจะมีนโยบาย หรือแผนออกมาหลังตัวเลข CPI เพิ่มสูง ขณะที่ Initial jobless claims ล่าสุดออกมา 376,000 สูงกว่าคาด , Ben Carlson นำเสนอข้อมูลความสัมพันธ์ของ inflation กับผลตอบแทน U.S. stock market (S&P 500) ในช่วงต่างๆ โดยเฉพาะช่วงปี 1970s ที่เกิด high inflation สูง 6.8% แม้ real return ของ S&P500 ปิดได้ราวๆ 7.7% ทำให้ผลตอบแทนหลังปรับค่าเงินเฟ้อ -0.9% ซึ่งผู้เขียนแนะนำให้ เราไม่ควรประมาทกับ inflation ควรหาทางป้องกันพอร์ตเงินทุนขอ

Commodities super-cycle จะมาหรือไม่??

  วันนี้เป็นอีกวันที่ได้ยินคำว่า "commodities super-cycle" จาก podcast ที่ฟัง ประโยคนี้มีการพูดถึงมาตั้งแต่ต้นปี 2021 ที่ราคา commodity มีการเปลี่ยนแปลงรุนแรง และทำจุด New High หลายตัวพร้อมๆกัน ทั้งกลุ่มโลหะ, สินค้าเกษตร(agricultural commodities) และอื่นๆ ความน่าสนใจคือเดือน May ที่ผ่านมา หลังสหรัฐมีการประกาศความสำเร็จในการฉีดวัคซีน covid-19 + มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหญ่ ทำให้ นักวิเคราะห์เริ่มออกมาพูดถึงผลกระทบระยะสั้น จากการเปิดเศรษฐกิจ เช่นเรื่องของ demand shock ที่อาจจะเกิด รวมถึงเรื่องของตัวเลขสะท้อนการเพิ่ม inflation , สัปดาห์นี้ commodities super-cycle กลับมาอีกรอบเพราะน้ำมันดิบ (WTI และ Brent ) ต่างทำจุดสูงสุดใหม่ สัปดาห์นี้ไปแตะ $69.32, จะHigh นับตั้งแต่ปี October 2018 (ผ่านพ้นช่วงถดถอยหนักมาได้) น้ำมันมารอบนี้ก็ดีใจกับ น้องๆและเพื่อนๆสาย oil trader กันด้วย แม้ WTI จะเป็นคอมโมดิตี้ที่มาช้ากว่าเพื่อนในกลุ่ม metal แต่ชัดเจนว่ามาจริงๆตาม นวค.คาด Gregor Spilker, CME Group เขียนบทความเดือนก่อนว่าการเพิ่มของ demand จากการกลับมา reopen economy + นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจขอ

Crypto-low-risk : การบริหารต้นทุนในพอร์ต Cryptocurrentcy

  ความเสี่ยงสำคัญของการเทรด Cryptocurrentcy คือการไม่รู้ต้นการถือครองเหรียญในพอร์ต บางคนซื้อเพราะเชื่อว่ามันจะขึ้น,ซื้อแบบ FOMO กลัวจะตกรถ, แน่นอนว่าพอมันลงแรงๆรอบ market crash ที่ผ่านมา ก็เห็นคนซื้อถัวเฉลี่ย. ซื้อตอนย่อ -20% ถึง -30% เพราะคิดว่ามันคิดว่ามันจะเด้งขึ้น แต่พอมันลงไป -50 -70% เงินหมด ทุนจมขาดทุนสูงมากได้แต่ ดอยและรอคอยความหวังให้ราคาเหรียญเด้งกลับมารับ ความเสี่ยง จากการถมเงินลงไป หรือเข้าซื้อขายตามอารมณ์ นี้เกิดขึ้นเสมอโดยเฉพาะภาวะราคาสินค้ามีความผันผวนสูง การจะจำกัดความเสี่ยงให้ต่ำและเกิดประสิทธิภาพในการถือครอง Cryptocurrentcy ในระยะยาวเราต้องบริหารต้นทุนให้เป็น ปัจจุบันโบรกเกอร์ส่วนใหญ่ไม่ได้ทำการคำนวณต้นทุนและทำระบบติดตามต้นทุนให้เรา , นอกจากโบรกเกอร์ใหญ่บางเจ้าต่างประเทศจะมี Feature การคำนวณต้นทุน P&L analysis ให้ , บาง app มีให้ใช้แต่อาจจะไม่ฟรีและต้องกรอกบันทึกข้อมูลการซื้อขายเอง แต่แน่นอนว่าย่อมดีกว่าการไม่จดไม่บันทึกอะไรเลย ซึ่งจุดนี้ "spreadsheet is your friend" ครับ ต้องจดต้องบันทึกเอง , ส่วนตัวผมก็ใช้ spreadsheet ง่ายๆ บันทึกรายการเทรดแต่ละครั้ง

REITs & Re open economy theme

  REITs เป็นสินทรัพย์ประเภทหนึ่งที่โดนผลกระทบจาก covid-19 หนักหน่วงมาก ซึ่งจะเห็นการถดถอยของราคา REITs ส่วนใหญ่ของโลกเมื่อเทียบช่วงต้นปี 2020 ล่าสุดเริ่มมีกูรู นักวิเคราะห์กลับมาพูดถึง REITs มากขึ้น รับกับ theme การ Reopen Economy หลังหลายประเทศ เช่น จีน,สหรัฐ,อังกฤษ วัคซีนเริ่มได้ผลดีในการควบคุมการระบาด จนเกือบจะกลับมาเปิดเศรษฐกิจได้อีกครั้ง Mike Zaccardi, เขียนบทความโดยอิงข้อมูลในสหรัฐ ซึ่งเขาทำการวิเคราะห์ US REIT โดยแยกเป็นประเภทของ REIT ได้แก่ -กลุ่มได้ประโยชน์หรือมีผลกระทบน้อย COVID beneficiaries (Specialty, Industrial, and Storage REITs) , -กลุ่มได้รับผลกระทบมาก immediately impacted the hardest (Retail, Hotel/Resort, Healthcare) -กลุ่มผลกระทบตามช่วงการปิดเมือง “Slow Burn” group (Residential and Office REITs). ตามภาพจะเห็นว่ากลุ่มรับผลกระทบมาก REIT ท่องเที่ยว,โรงแรมนี้หนักสุด แต่ก็เห็นสัญญาณการ rebound มากขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงเดือน มีค. - เมย. เช่นเดียวกับกลุ่มอื่นๆ ส่วนกลุ่ม COVID beneficiaries พวกนี้ได้รับผลกระทบน้อย และเริ่มมีแรงซื้อกลับเข้ามาเพิ่มมากขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ต้น

Crypto-low-risk : Diversification&Coin Selection

  Crypto-low- risk : Diversification&Coin Selection ................................... บทความนี้ตั้งใจเขียนเพื่อแชร์ไอเดีย ต้องเคลียร์ก่อนจริงๆไม่ใช่ Cryptocurrency เป็นสินทรัพย์ความเสี่ยงต่ำ แต่สิ่งที่เราทำได้คือจำกัดความเสี่ยง(Risk)ในพอร์ตของเราให้ต่ำที่สุด เพื่อให้การลงทุน/เทรด Cryptocurrency ไม่ทำร้ายตัวเรา ตอนสองเป็นเรื่องของการกระจายความเสี่ยง(Diversification) และ Product selection , เพื่อความเข้าใจง่ายมองเหรียญคริปโต เหมือน หุ้น มีหลายประเภทหลายกลุ่ม แม้จะอยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน, เหรียญคริปโตตัวหลักมีมากกว่า 50 ชนิดแต่พอเราศึกษาเชิงลึกจะพบว่า Business model และการนำไปประยุกต์ใช้นั้นแตกต่างกัน , จุดนี้มีผลในระยะยาวเพราะเมื่อมีการนำ Block chain technology ไปประยุกต์ใช้มากขึ้นๆๆใน 2-3 ปีข้างหน้า บทบาทและการเติบโตของ เหรียญ Cryptocurrentcy ย่อมเพิ่มตาม(Growth Factor) แม้ปัจจุบัน Cryptocurrency ส่วนใหญ่จะมีความสัมพันธ์(correlation) ระดับสูงกับ Bitcoin กล่าวคือยังแชร์ Risk Factor เดียวกัน เหมือนหุ้นที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน แต่สิ่งที่เห็นจากข้อมูลช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาคื

crypto-low-risk : Asset Allocation

  crypto-low- risk : Asset Allocation ............................... เมื่อสุดสัปดาห์มีโอกาสไปแชร์ประสบการณ์เทรดและถกเรื่องตลาดคริปโตในช่วง market crash ที่ผ่านมา ผมนำไอเดียการสร้างพอร์ต digital asset แบบความเสี่ยงต่ำไปแลกเปลี่ยนกับ พี่ๆน้องๆเทรดเดอร์ วันนี้เลยจะมาแบ่งปันไอเดีย ไว้ในเพจด้วยเพื่อว่าใครที่สนใจจะได้ลองนำไปประยุกต์ใช้(ย้ำเป็นแนวทางส่วนตัว ไม่ซิ่งแต่ก็เน้นปลอดภัยไม่ตกรถแน่นอน) หัวข้อที่ 1 เป็นเรื่องของการทำ asset allocation ปัจจุบัน crypto currecntcy กลายเป็น asset ซึ่งเป็นที่ยอมรับจากโลกการเงินไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นกองทุนหรือแม้แต่บริษัทวาณิชธนกิจยักษ์ใหญ่เช่น JPM, Goldmansach และ Blackrock ก็แนะนำลูกค้านักลงทุนในการสะสม crypto currecntcy ในพอร์ตกันแล้ว , ประเด็นสำคัญคือ จะถือเท่าไหร่ ที่เหมาะสม? กับ ความเสี่ยง(Risk) ที่เรารับได้ อันนี้เป็นโจทย์ ที่แต่ละคนไม่เหมือนกัน คริปโตเช่น Bitcoin มีระดับความผันผวนสูงมาก โดยเฉพาะ ถ้าต้องเข้าซื้อใน ราคาปัจจุบัน(ปี2021) ดังนั้นมองแต่ Return ในอนาคตและเป้าของนวค. ที่ $100000, ไม่พอ แต่ต้องคิดถึง Risk contribution ที่จะส่งกลับมาด้วยเม

สาระมันอยู่ที่ เงินเฟ้อ

อีกหนึ่งสัญญาณ สื่อหลักเริ่มเล่นข่าวดี กระตุ้น positive sentiment หลังวันนี้ราคาดีดมา 15-30% บลูมเบริก ,CNBCและเว็บสื่อคริปโต เอาประเด็นนี้จาก coindesk มาเล่นเรียกความเชื่อมั่น เป็นการแสดงความคิดเห็นของคุณ ray dalio ที่ลงในงาน CoinDesk’s Consensus 2021 conference. สื่อเอาประเด็นความคิดเห็นทาง bearish ในพันธ์บัตรของคุณ Ray ที่มองว่าการถือ Bond ในปัจจุบันเมื่อเทียบผลตอบแทนกับระดับเงินเฟ้อ เป็นสิ่งที่ไม่ค่อยดีไม่ค่อยเข้าท่า(“has become stupid”) แน่นอนว่า Bitcoin ความเสี่ยงก็ย่อมสูงกว่า แต่ก็มีโอกาสได้รับ return ที่ดีกว่าเช่นกันในภาวะที่เงินเฟ้อเริ่มกลับมาขาขึ้น(greatest risk is its success) แล้วโยงด้วยอีกหนึ่งคำสัมภาษณ์ตอบคำถาม Michael J. Casey ในงาน CoinDesk’s Consensus ที่คุณ ray dalio กล่าวว่า “I have some Bitcoin,” Dalio แต่ความคิดเห็นนี้แสดงไว้วันที่ 6 May 2021 (บันทึกเทปบทสนทนา)ต้นเดือนก่อนตลาดคริปโต crash และไม่ได้ระบุ ว่า Ray dalio ซื้อลงทุนในบิตคอยเท่าไหร่,และไม่ได้อ้างอิงการลงทุนของ Bridgewater Fund สื่อเอาส่วนหนึ่งของสัมภาษณ์มาลงก็น่าจะนำมาปลุกความเชื่อมั่นในตลาดระดับหนึ่ง

กรณีศึกษา มหกรรมล้างพอร์ต!!!

  เหตุการณ์เมื่อวาน ในตลาดคริปโตทำให้เกิดการพูดถึงกันมากในหลายกลุ่มเทรดเดอร์ ถึงเหตุการณ์มหกรรมล้างพอร์ต โพสนี้คุณ nasim taleb เขียนข้อความอ้าง ข้อมูลจาก bybit ที่แสดงสถิติจำนวนบัญชีกว่า 750,000 crypto traders ต้องโดน liquidated (ล้างพอร์ต เงินหมด) เขารวมสถิติจากโบรกเกอร์คริปโต ดังๆ เช่น bianance, ftx , huobi สรุปสั้นๆ มาจากเทรดเดอร์รายย่อย มีเงินทุนน้อยจำกัดแต่การใช้ leverage ระดับสูง(50-125x) เพื่อขยาย position size , เมื่อเจอการเหวี่ยงแบบ high volatility ก็เอาไม่อยู่ ล้างพอร์ตทันที ประเด็นนี้ไม่ใช่เรื่องการเดาทางผิดหรือถูกเท่านั้นนะ เพราะบางคนคิดว่าลง ไป short 125x เห็นกำไรหลายร้อย % ไม่นาน ไม่นานปรากฏว่า ราคาขึ้นดีดกลับ +20% สวนใส่หน้า กำไรหาย ขาดทุนล้างพอร์ต, เช่นเดียว คิดว่าถูกลงมาเยอะ เข้าไปสวน Long 125x โดนลากต่อไปราคาลงไป -10 -20% (แล้ววันต่อมาราคาก็ดีดขึ้นให้ เสียน้ำใจ) แน่นอนว่า เอาไม่อยู่ เพราะ การเปิด position size ใหญ่ด้วย leverage ทำให้มีเงินทุนไม่พอรักษามูลค่าสัญา กันระดับ SLD พอระดับ volatility ที่เกิดได้ นอกจากนี้เมื่อวาน ยังมีประเด็นพิเศษคือ เทรดเยอะระบบของโบรกเกอ

Fidelity Will Let Your Teen Trade Stocks—For Free

ข่าวนี้น่าสนใจเพราะ มันเป็นอีกหนึ่งสัญญาณการเปลี่ยนผ่านในตลาดหุ้นยุคใหม่ ยุคที่ ค่า fees & commissions ไม่ใช้ต้นทุนอุปสรรคในการเทรดอีกต่อไป , เช่นเดียวกัน การโตของธุรกิจโบรกเกอร์ ก็ไปจับกลุ่ม เด็กวัยรุ่นและกลุ่ม millennials ซึ่งในข่าวระบุว่าโบรกเกอร์รายใหญ่ของอเมริกาอย่าง Fidelity กำลังเจาะตลาดกลุ่มวัยรุ่น(13-17 ปี) แน่นอนว่ายังคงต้องให้ ผู้ปกครองเป็น ผู้ดูแล เป้าหมายเน้นการสอนให้ เด็กเข้าถึงการลงทุนในตลาดหุ้นตั้งแต่ เด็ก (เป็นคำตอบในยุคอัตราดอกเบี้ยเงินฝากติดศูนย์) เปิดให้เทรดซื้อขายหุ้น และกองทุน( mutual funds & ETFs )ของ Fidelity ขณะเดียวกัน Fidelity ช่วยลดต้นทุนการเทรดและไม่มีขั้นต่ำในการเปิดบัญชี ( zero subscription fees, zero account fees, zero minimum balances, zero domestic ATM fees) เพื่อให้เด็กๆ หรือครอบครัวรายได้ไม่มาก สามารถเทรดหุ้นในตลาดอเมริกาได้ โดยโบรกเกอร์นำเสนอแผนกลยุทธ์บน platform 3 ส่วนหลักคือ Save and Spend, Learn และ Plan & Invest รายงานระบุการโตขยายของ stock market ที่จะเพิ่มขึ้นจากฐานบัญชีใหม่ ที่กลุ่มโบรกเกอร์ zero fee เข้าไปทำการตลาดเพื่อแ

Decentralized Finance: On Blockchain- and Smart Contract-Based Financial Markets

  วันหยุดผมมีโอกาสได้อ่าน บทความวิจัยชิ้นหนึ่ง เชิง review ของ Fed (Federal Reserve Bank of St. Louis Review) เขียนถึง Decentralized finance (DeFi) ทั้งในเชิง Tech และ ด้าน Financial ปัจจุบันยุคใครๆก็ defi (เมื่อเช้าได้ยินเด็กวัยรุ่นคุยกันเรื่อง Farm ในร้านกาแฟเลย) มันสะท้อนให้เห็นเรื่อง ความสะดวกในการเข้าถึง และการเติบโต ที่เหมือนจะเร็วมากในปี 2021 ไม่กี่เดือนนี้ บทความวิจัยนี้ เขียนทั้งด้าน โอกาส (opportunities) และ ความเสี่ยง (potential risks) เชิง review ให้ความรู้กับระชาชนด้วยภาษาทั่วไป สะท้อนให้เห็น Fed ติดตาม จับตาและเขาศึกษาเชิงลึก อธิบายการศึกษาตั้งแต่ DeFi architecture ,asset tokenization, decentralized exchange protocols, decentralized lending platforms, decentralized derivatives, และ on-chain asset management. (อ่านมาหลายชิ้นบทความนี้อธิบายครบและเข้าใจง่ายสุดแล้ว) ประเด็นหนึ่งน่าสนใจคือทีมวิจัยมองว่า defi มีศักยภาพ ที่มาเปลี่ยน financial infrastructure ให้โปร่งใส่ แบบไร้ตัวกลาง และเป็นคู่แข่งหรือภัยคุกคามระบบธุรกิจการเงินแบบอดีตได้ด้วย , แต่ความคิดเห็นของทีมวิจัย จาก Fe

ไม่ควรกดดันตัวเอง จากผลกำไรของคนอื่น

  บนโซเซียลมีเดีย เรามักจะเห็นแต่การอวดโชว์กำไรจากการเทรดหุ้น, ค่าเงิน, เหรียญ crypto currency จนบางทีมันทำให้เรารู้สึกยิ่งอยากได้กำไร ,ทำให้เรารู้สึกว่าตัวเราไม่เก่ง ไม่ดี เมื่อต้องขาดทุน , อยากฝากเอาไว้ว่าอย่าไปหลงกับมโนคติและการตลาดเช่นนั้นครับ เพราะเกมส์การเก็งกำไร ไม่มีใครถูกได้ทุกครั้ง ไม่ใครไม่ขาดทุน สำคัญคือขาดทุนแล้วเราจะรับมือกับมันอย่างไร , การติดกับกำไร บางทีมันก็พาเราไปสู่ dark side ได้ง่ายๆ วันนี้นำตัวอย่างการขาดทุนที่พาไปสู่หายนะของ Alexis Stenfors อดีต currency trader ของ Merrill Lynch มาฝาก จากดาวรุ่งมือหนึ่งของบริษัทกลายเป็นตำนาน rogue trader หลังจากตอนปี 2009 เทรดผิดพลาด ทำให้สูญเสียเงินจำนวน 456ล้านเหรียญ ด้วยประสบการณ์ เทรดและเพิ่งผ่านพ้นการทำกำไรระดับ 7 หลักได้มาจากปีก่อนหน้า ทำให้ประมาทต้องการทำเงินเพิ่มมากขึ้น บวกกับความเชื่อว่า ตัวเขาสามารถอ่านและทำนายทิศทางตลาดได้ ทำให้ Stenfors เทรดแบบ ประมาท over trade เขาเปิด Position ขนาดใหญ่หวังทำเงิน แล้วขาดทุนก็ พยายามกลบตกแต่งบัญชีเทรด โยกเงินมาเทรดเพิ่มทำให้สุดท้ายขาดทุนรวมกันมูลค่า $100m และความผิดพลาดทำให้เกิดการ

Perpetual contracts

Perpetual contracts หรือ perpetual swap คือสัญญาอนุพันธ์สำหรับการเทรด Buy , Sell โดยคล้าย Futures รองรับการเทรดสัญญาอนุพันธ์ด้วย leverage (ขึ้นกับข้อตกลงของผู้ออก) ตามขนาดสัญญาที่กำหนดไว้ และเป็น cash settlement ชำระเป็นเงินสดไม่มีการส่งมอบสินค้าจริง แต่ Perpetual contracts ไม่มีวันหมดอายุ สัญญา Perpetual Futures ช่วงนี้กลายเป็นสินค้ายอดนิยมในโบรกเกอร์ crypto currentcy หลายเจ้า เช่น Binance, BitMEX และเจ้าอื่นๆ ซึ่ง,มีการออกสัญญา cross ระหว่างเหรียญคริปโต กับ stable coin (USDT) หรือ USD หลายประเภทและมีระดับ leverage มีตั้งแต่ 10x - 50x (บางโบรกเกอร์ บางโปรดักซ์ไป 125x ก็มี) ถือยาวไม่หมดอายุ แต่ไม่ฟรี เพราะยิ่งใช้ leverage มาก+ถือยาว ยิ่งจ่าย Funding Rate ที่มากตาม โดย Funding Rate มาจาก อัตราดอกเบี้ย( 0.03% ต่อวัน ตามขนาด contract value )และพรีเมียม(แปรผันไปตามค่าต่างระหว่าง spot กับ future price ซึ่งฝ่าย Long และ Short จ่ายแตกต่างกันตามภาวะตลาด) Funding Rate = Interest + Premium Premium (P) = (Max(0, Impact Bid Price – Mark Price) – Max(0, Mark Price – Impact Ask Price)) / Spot Pric

World’s 20 most valuable companies

  FT นำเสนอข้อมูลบริษัทที่มีมูลค่าอันดับต้น Top 20 ของโลก -อันดับต้น ยังเป็นหุ้น Top5 ของตลาดหุ้นสหรัฐ เช่น Apple, Microsoft, Amazon. Alphabet, Facebook -มีบริษัทใหญ่ในเอเซีย ขึ้นมาติด Top10 เช่น Saudi Aramco, Tencent, Alibaba, Taiwan semicon, Samsung -ด้านยุโรป บริษัทมูลค่าสูงมีเจ้าเดียวที่ติด Top20 คือ LVMH (หลุยส์ วิตตอง) จากฝรั่งเศส -กลุ่มอุตสาหกรรมหลัก ที่บริษัทมีมูลค่าสูง Top10 ในปัจจุบัน เป็นกลุ่ม Tech&IT , พลังงาน(รายเดียว),การเงินและธนาคาร https://www.statista.com/statistics/263264/top-companies-in-the-world-by-market-capitalization/