ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

Bitcoin is going to disrupt payments.??

บทความจากคุณ charlie อธิบายถึงตอนปี 2010 กระแสสกุลเงินคริปโตและบิตคอย มาแรงมาก ท่ามกลางการก้าวกระโดดของราคาตลอดหลายปี บนความเชื่อที่ว่า จะมาแทน หรือดิสรัป โมเดลการจ่ายเงินแบบเดิม ซึ่งกระทบโดยตรงต่อ digital และ online payment แต่สิ่งที่เกิด ค่อนข้างจะไม่เป็นไปตรามความเชื่อหรือสมมติฐานนั้น คุณ charlie bilello นำเสนอข้อมูล return ของราคาหุ้น VISA และ Mastercard ตั้งแต่ช่วงปี Jan 2009 ที่เริ่มมีการแลกเปลี่ยนและใช้ Bitcoin จนถึงปัจจุบันราว10 ปี กว่า ผลคือ Visa: +1,462% และราคาหุ้น Mastercard: +2,139% (ครับอ่านไม่ผิด ไม่ใช่หลักร้อยแต่เป็นหลักพันเปอร์เซนต์ ในขณะที่ความผันผวนต่ำกว่าบิตคอยหลายเท่านัก) ธุรกิจของสองบริษัท ยังมีกำไรและขยายตัวได้ต่อเนื่อง เช่นเดียวกับนักลงทุน ที่ถือหุ้นในบริษัทเหล่านี้ สิ่งที่เห็นอาจจะไม่ใช่การ disruption แต่น่าจะเป็นการปรับเปลี่ยนโมเดลธุรกิจ ทำให้สอดคล้องกับโลกออนไลน์และสังคมไร้เงินสด ในอนาคตมากกว่า ในขณะเดียวกัน นักวิเคราะห์อ้างถึงตัวเลขการใช้ สกุลเงินคริปโต สำหรับการซื้อขายแลกเปลี่ยน สินค้า ในโลกจริง ที่ยังมีปริมาณน้อยมากในการนำไปใช้เมื่อเทียบก

การเพิ่มอัตราค่าแรงขั้นต่ำเพียง $1 สามารถลดอัตราการฆ่าตัวตายในกลุ่มคนทำงานได้ถึงเฉลี่ย 4%

ผลงานวิจัยเผยแพร่ใน Journal of Epidemiology and Community Health ระบุการเพิ่มอัตราค่าแรงขั้นต่ำเพียง $1 สามารถลดอัตราการฆ่าตัวตายในกลุ่มคนทำงานอายุระหว่าง 18 - 64 ปีที่จบการศึกษาระดับมัธยมปลายลงไป ได้ราว 3.4% to 5.9% (เทียบเท่ากับประชากรหลายพันคนต่อปี) งานวิจัยนี้ดูเหมือนจะถูกใช้เป็นแรงกระตุ้นในภาคการเมืองและผู้กำหนดนโยบายหันมาเพิ่มอัตราค่าแรงขั้นต่ำให้เหมาะสม (สอดคล้องกับการปรับเพิ่มของค่าครองชีพในเมืองใหญ่) ดูจากการศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ของค่าแรงกับความสุขในชีวิตของคนในประ เทศที่เจริญแล้ว หรือกำลังพัฒนาก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่า เงินรายได้ ที่เพียงพอ นั้นมีบทบาทสำคัญต่อความสุขที่จะเกิด ขณะเดียวกันค่าครองชีพของอเมริกา ก็มีแนวโน้มปรับสูงขึ้น จากภาพล่าสุดจะเห็นค่ารักษาพยาบาล, ต้นทุนการเลี้ยงดูบุตร และอื่นๆ ล้วนมีอัตราเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา อ้างอิง https://www.nytimes.com/2020/01/14/health/minimum-wage-suicide.html

วิกฤติวัยกลางคน(midlife crisis) นั่นอาจจะเกิดขึ้นได้

ผลการศึกษาด้านความสัมพันธ์ของอายุและคุณภาพชีวิต ของ Professor David Blanchflower จาก Dartmouth College ตีพิมพ์ผลการวิจัยลง National Bureau of Economic Research แสดงให้เห็นว่า วัยกลางคน คือช่วงอายุที่ คนส่วนใหญ่จะพบกับความทุกข์มากสุดในชีวิต จากค่าสถิติพบว่าช่วงอายุ 47.2 จะเป็นจุด Peak ของความห่อเหี่ยวและความทุกข์ จากภาพผู้วิจัย แสดง "happiness curve" จากค่าการวิเคราะห์ข้อมูล ออกมาเป็น U shape จุด 47.2 ในประเทศที่พัฒนาแล้ว(median wage ระดับสูงและอายุเฉลี่ยประชากรค่อนข้างยาว) จากนั้นก็จะเริ่มผ่อนลงอาจจะเกิดจาก การเปลี่ยนแปลงทัศนคติ หรือการยอมรับในสิ่งที่เกิด ทั้งฐานะการเงิน สุขภาพ ครอบครัว และตำแหน่งหน้าที่การงาน ผู้วิจัยเน้นถึงการสร้าง เกาะป้องกันสุขภาพจิต ที่คนควรหันมาให้ความสำคัญมากขึ้น โดยเฉพาะอนาคต ถ้าโลกเผชิญกับวิกฤติทางเศรษฐกิจและความไม่แน่นอนทางการเมืองต่างๆ ที่ผลต่อ คุณภาพชีวิตคน รายได้และความมั่นคั่งของคนวัยทำงาน ที่มีภาระรายจ่ายและค่าครองชีพที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ปัญหาและวิกฤติมันเกิดได้แน่ สุดท้ายจะผ่านวัยกลาง ได้อย่างไร คงจะต้องเป็นเรื่องที่ ต่างคนต่า

2019 Asset Performance

ข้อมูลเทรดค่าเงินและทองคำ ปีที่ผ่านมานะครับ ในภาพนี้ผมสรุปค่า Return และ Risk ของค่าเงินสกุลหลักและทองคำ มาให้ดู เหมือนได้อธิบายไปว่าปีที่ผ่านมา ความผันผวนในค่าเงินไม่สูง(เมื่อเทียบอดีตและค่าอ้างอิง)  ด้าน Return ส่วนใหญ่ก็เป็นบวก โดยเฉพาะ CAD GBP ที่กลับมาได้จากการถดถอยหลายปีก่อนหน้า , ส่วนตัวที่ return ติดลบเช่น EUR ก็ไม่มาก -2.16% ส่วน AUD ต้นปีไม่ดีปลายปีบวกกับทำให้จบปี -0.43% ถือว่าไม่เยอะ (อีกนัยยะหนึ่งค ือ ถ้าถือค่าเงินเหล่านี้ไว้ โดยไม่ใช้อนุพันธ์ไม่มีผลกระทบจาก leverage โอกาสจะขาดทุนหมดตัวน้อยมาก ) ส่วนค่า Anualized Volatility ของ Fx สกุลหลัก มากสุดราวๆ 11% กลุ่มผันผวนสูงเช่น JPY และ AUD เล่น story ของ Trade War ทังปี จากข้อมูลจะพบว่า Fx ยังผันผวนน้อยกว่า GOLD และ S&P500 แต่สาเหตุที่คนเทรด forex แล้วขาดทุนล้างพอร์ต มันไม่ได้เกิดจาก asset มันมาจากการเทรดโปรดักซ์พวกอนุพันธ์ CFDs ที่ใช้ Leverage สูง เช่น 100x 500x พอคูณค่าความผันผวน ยามผิดทางก็หมดตัวแน่นอน เป็นเทรดเดอร์รายย่อย มีเงินจำกัด ต้องวางแผนดีๆ ดังนั้นการป้องกันจัดการความเสี่ยง(Risk Management)แล

ดีที่สุดในจุดที่ยืน

เมื่อปลายปีที่แล้ว มีโอกาสได้ทดลองให้เทรดเดอร์และสมาชิกที่ติดตามทำแบบสอบถาม ถึงผลการเทรดในปี 2019 ที่ผ่านมา โดยมีสมาชิกเทรดเดอร์ที่ร่วมตอบประมาณ 200 ท่าน (เฉพาะตลาด FX และ Gold) ผลที่ออกมาค่อนข้างน่าสนใจคือ 62% นั้นยอมรับกับผลงานตัวเอง แต่ยังคิดว่าควรจะต้องปรับปรุงตัวต่อไป ในขณะเดียวกัน 21.9% นั้น แย่และขาดทุนหนัก มีแค่ 1.8% เท่านั้นที่ คิดว่าผลงานตัวเองสุดยอด ในโจทย์การศึกษาเดียวกัน ข้อมูลจากการสำรวจเชิงลึกเพิ่มเติม ผมได้มีโอกาสเอาไปวิเคราะห์ต่อ แยกประเภทกลยุทธ์ , อายุ และอาชีพ(เวลาที่พร้อมใช้เทรด) ทำให้เห็น infomation และ pattern บางอย่างที่น่าสนใจหลายประการ เช่นกลยุทธ์ยอดนิยม คนใช้เยอะแต่กลายเป็นกลุ่มใหญ่ที่ขาดทุน ในขณะเดียวกันส่วนน้อยบางคนก็ทำผลงานได้ดี , หรือกลยุทธ์เดียวกันเทรดใน asset ที่แตกต่างกัน ผลงานก็ออกมาแตกต่างกันไป อนาคตจะมาเล่าให้ฟังต่อไป ส่วนท่านใดที่ปี 2019 ยังทำผลงานได้แย่ และไม่ดี ก็ค่อยๆเรียนรู้และพัฒนาตัวเองกันต่อไป Key สำคัญไม่ใช่การลอกหรือทำตามคนอื่นๆ แต่ต้องเป็นการเรียนรู้ ทดลอง ฝึกฝนและสร้างแนวทางการเทรดที่เหมาะกับตัวเอง ให้เจอครับ

Your Money Or Your Life

หนังสือเล่มแรกของปีที่มีโอกาสได้อ่านจบ เล่มนี้มีแปลภาษาไทยชื่อ "เงินหรือชีวิต : Your Money Your Life" ของ Joe Dominguez และคณะ เขียนแนวคิดของเงินได้ดีมาก จริงๆแนะนำให้ลองหามาอ่านกันโดยเฉพาะ เด็กเพิ่งจบมหาวิทยาลัย หรือ คนที่ไม่เคยศึกษาเรื่องของ เงิน มาก่อน แนวคิดหนึ่งที่ดีมาก คือการนิยามว่าการหา "เงิน" คือ สิ่งที่เราใช้พลังงานชีวิตไปแลกมา โดยมีต้นทุนเช่น เวลา และสุขภาพ มาประกอบ โดยในเล่มนี้โยงให้เห็น หน่วยของเงิน ในเทอมของ"เวลา"ด้วย ทำให้ เราเห็นภาพมากยิ่งขึ้น ว่า เรากำลังจะเอาพลังชีวิต 1 วันของเราไปใช้ทำอะไร และผลตอบแทนที่ได้ มันคุ้มค่าหรือไม่? (ซึ่งบางคนไม่เคยคิดนะ) รูปจากอินเตอร์เน็ต เราใช้ "พลังงานชีวิต" ไปทำงานแลก "เงิน" จากนั้นเหนื่อย เบื่อ ทุกข์ เราก็เอา "เงิน" ไปเติม"พลังงานชีวิต" กลับด้วยการหา"ความสุข" ชั่วคราวใส่ตัว เช่น การใช้จ่ายซื้อของที่อยากได้ ,กินอาหารแพง, เที่ยวหรู สุดท้ายก็จะติด loop เดิม ไม่สามารถออกจากวงจรนั้นได้ ดังนั้น ถ้าจะ กำไร หมายความว่า จะต้องทำงานที่สร้างความสุข ก่อน

สวัสดีปีใหม่ 2020 แจก Year book

ขอบคุณมิตรภาพดีๆที่เพื่อนทุกท่านมอบให้ ขอบคุณสมาชิกที่ติดตามและเข้ามาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นมุมมองต่างๆกันตลอดทั้งปี ปีใหม่นีัผมมีของกำนัลมาแจก เป็นหนังสือ Ebook "บันทึกเส้นทางเทรดเดอร์ปี 2019" ความยาว 298 หน้า บันทึกความรู้ ประเด็นเศรษฐกิจและเรื่องราวเกี่ยวกับการเทรดตลอดปี 2019 สามารถเข้าไปอ่านได้ที่ link ด้านล่าง https://www.mebmarket.com/ebook-111931-The-Trader039s-Journal-volume7 ปล. ไฟล์อยู่บน Meb เพื่อแก้ปัญหาเรื่องการแสดงผล ข้อความและฟอร์ทภาษาไทยบน macOS รวมไปถึงสามารถดูผ่านเปิดบนสมาร์ทโฟนและ tablet ได้อย่างสมบูรณ์ด้วย(2 ประเด็นนี้เป็นปัญหาที่หลายท่านมาแจ้งเข้ามา) ปล. ก่อนเข้าอ่านก็สมัครสมาชิก Meb และดาวน์โหลด application ก็สามารถอ่านได้ทันทีครับ