ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์ที่มีป้ายกำกับ portfolio management

PyPortfolioOpt

หลักจากใช้งานมาสักระยะ รู้สึก ชอบ PyPortfolioOpt มากคือเป็น lib ที่มีครบเรื่อง portfolio optimization จริงๆ ถ้าเป็นแต่ก่อนจะทำ Risk parity , จะรัน CVaR หรือใช้ Black Litterman ก็ต้องเขียน code ยุ่งยากหลายขั้นตอนเลย กว่าจะเสร็จ แถมต้องใช้เครื่องแรงๆมารัน simulation , ตอนนี้ใช้ Google Colab ประมวลผลรันหา weight ด้วยโมเดลต่างๆ แล้วทดสอบ Portfolio Performance แสดงผลรับเป็นกราฟด้วย Quant Stat จบเลย ทุ่นแรงเบาเวลา ไม่มากจริงๆ ใครสนใจลองศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ https://pyportfolioopt.readthedocs.io/en/latest/

รีวิวหนังสือ Unshakeable

  รีวิวและ สรุป 5 Key สำคัญจากหนังสือ Unshakeable: Your Financial Freedom Playbook ของคุณ Tony Robbins - หนังสือเล่มนี้คนดังเขียน แต่เนื้อหาไม่อ่อนหรือเน้นขายฝันแต่อย่างใด เป็นหนังสือ ลงทุนที่อ่านง่ายและมีข้อมูลสถิติประกอบการอธิบาย เน้นแนวคิดภาพรวมการสร้างพอร์ตระยะยาวเพื่อ อิสรภาพทางการเงิน เพื่ออยู่รอดทุกภาวะวิกฤติ - โดย Key หลักของความมั่นคง คือการจัดพอร์ตที่ดี, การบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม(Risk Management), การเลือกสินทรัพย์ที่ดีไม่ล้มหายตามกาลเวลาและการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ สุดท้ายเอาชนะจิตใจตัวเองแล้วใช้ประโยชน์จาก market discount ที่เกิดเพื่อเป้าหมายระยะยาว ลองเข้าไปฟังรีวิวได้ที่ https://youtu.be/ZYjKux_Drws

David Swensen and Yale Endowment Management

  ผมมีโอกาสได้ฟัง Lecture ครอส Financial Markets (2011) ใน Open Yale Courses Program ของ Professor Robert J. Shiller , ซึ่งได้เชิญคุณ David Swensen เจ้าของ "Yale Model" ,ตำนานผู้บริหารกองทุน Yale Endowment Management มาบรรยาย และถ่ายทอดประสบการณ์ หลายสิบปีในตลาดให้นักศึกษาฟัง คุณ David Swensen ผลงานไม่ธรรมดาเขาบริหาร Yale Endowment ตั้งแต่ปี 1985 - 2011 ,ผลงาน 20 ปี average return ที่ 13.1% สร้างมูลค่าเพิ่มให้พอร์ตระยะ 20 ปีกว่า $12.1 billion , ผมเคยมีโอกาสได้อ่านบทความและหนังสือ" Unconventional Success: A Fundamental Approach to Personal Investment" ของ คุณ Swensen มาบ้างเลยชอบแนวคิดของท่าน ในคลิปนี้ คุณ David Swensen บรรยายแนวทางการบริหารพอร์ตกองทุน Endowment Fund จุดหนึ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของท่านคือ เน้นไปที่การทำ Asset Allocation เป็นหลักเพื่อสร้างพอร์ตโฟริโอที่มั่นคงและมีการ deversification ที่ดี(รับได้ทุกภาวะตลาด/ภาวะเศรษฐกิจ) ,เขาอ้างงานวิจัยที่สรุปว่าอิทธิผลมากกว่า 90% ใน return นั้นมาจากกลยุทธ์การทำ asset allocation. ประเด็นนี้โดยสรุปคุณ Swensen แนะนำให้ทำ

สรุป The Simple Path to Wealth by JL Collins

  ผมเขียนถึง JL Collins โพสก่อนหน้ามีคนถามเข้ามาถึงหนังสือของแกว่าดีหรือไม่? ส่วนตัวผมไม่เคยอ่านครับไม่กล้าแนะนำ แต่อ่านบทความจาก Blog ชอบเพราะเขาเขียนจากประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับการไปสู่ Finacial Freedom และอ่านเข้าใจง่าย ดังนั้นเพื่อขยายภาพแนวคิด Passive Investing ของ JL Collins ผมจึงทำบทสรุปในรายการ Talks at Google หัวข้อ The Simple Path to Wealth | JL Collins มาแบ่งปัน ให้ท่านสนใจลองศึกษากัน 1. JL Collins ให้นิยามความหมายของ Wealthในมุมมองของเขาว่า มันมองได้สองมุม มุมแรกด้านจิตใจ ความมั่งคั่งตัวแทนของความปลอดภัยและอิสระด้านปลอดภัยเพราะช่วยปกป้องตัวเราจากผลกระทบต่างๆที่เกิดขึ้น,รวมถึงความมีอิสระในการตัดสินใจและเลือกที่จะใช้ชีวิตของเรา -มุมที่สองด้านการเงิน จำนวนเงิน เขาไม่ได้ให้ความสำคัญการมีมากที่สุด แต่เขาอิงกับระดับความมีอิสระทางการเงินตามกฏ 4% Rule, หรือ การที่มีเงินหรือสินทรัพย์ ที่นำไปสร้างผลตอบแทนระดับ 4% มากพอจะดำรงชีพรายปี(ครอบคลุม cost of living ของตัวเรา) จุดนี้น่าสนใจเพราะ Colins บอกแต่ละคนไม่จำเป็นต้องเท่ากันเสมอไป บางคนมั่งคั่งมีอิสรภาพทางการเงินได้ด้วยจำนวนเงินไม่สูง ขึ

Crypto-low-risk : Diversification&Coin Selection

  Crypto-low- risk : Diversification&Coin Selection ................................... บทความนี้ตั้งใจเขียนเพื่อแชร์ไอเดีย ต้องเคลียร์ก่อนจริงๆไม่ใช่ Cryptocurrency เป็นสินทรัพย์ความเสี่ยงต่ำ แต่สิ่งที่เราทำได้คือจำกัดความเสี่ยง(Risk)ในพอร์ตของเราให้ต่ำที่สุด เพื่อให้การลงทุน/เทรด Cryptocurrency ไม่ทำร้ายตัวเรา ตอนสองเป็นเรื่องของการกระจายความเสี่ยง(Diversification) และ Product selection , เพื่อความเข้าใจง่ายมองเหรียญคริปโต เหมือน หุ้น มีหลายประเภทหลายกลุ่ม แม้จะอยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน, เหรียญคริปโตตัวหลักมีมากกว่า 50 ชนิดแต่พอเราศึกษาเชิงลึกจะพบว่า Business model และการนำไปประยุกต์ใช้นั้นแตกต่างกัน , จุดนี้มีผลในระยะยาวเพราะเมื่อมีการนำ Block chain technology ไปประยุกต์ใช้มากขึ้นๆๆใน 2-3 ปีข้างหน้า บทบาทและการเติบโตของ เหรียญ Cryptocurrentcy ย่อมเพิ่มตาม(Growth Factor) แม้ปัจจุบัน Cryptocurrency ส่วนใหญ่จะมีความสัมพันธ์(correlation) ระดับสูงกับ Bitcoin กล่าวคือยังแชร์ Risk Factor เดียวกัน เหมือนหุ้นที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน แต่สิ่งที่เห็นจากข้อมูลช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาคื

crypto-low-risk : Asset Allocation

  crypto-low- risk : Asset Allocation ............................... เมื่อสุดสัปดาห์มีโอกาสไปแชร์ประสบการณ์เทรดและถกเรื่องตลาดคริปโตในช่วง market crash ที่ผ่านมา ผมนำไอเดียการสร้างพอร์ต digital asset แบบความเสี่ยงต่ำไปแลกเปลี่ยนกับ พี่ๆน้องๆเทรดเดอร์ วันนี้เลยจะมาแบ่งปันไอเดีย ไว้ในเพจด้วยเพื่อว่าใครที่สนใจจะได้ลองนำไปประยุกต์ใช้(ย้ำเป็นแนวทางส่วนตัว ไม่ซิ่งแต่ก็เน้นปลอดภัยไม่ตกรถแน่นอน) หัวข้อที่ 1 เป็นเรื่องของการทำ asset allocation ปัจจุบัน crypto currecntcy กลายเป็น asset ซึ่งเป็นที่ยอมรับจากโลกการเงินไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นกองทุนหรือแม้แต่บริษัทวาณิชธนกิจยักษ์ใหญ่เช่น JPM, Goldmansach และ Blackrock ก็แนะนำลูกค้านักลงทุนในการสะสม crypto currecntcy ในพอร์ตกันแล้ว , ประเด็นสำคัญคือ จะถือเท่าไหร่ ที่เหมาะสม? กับ ความเสี่ยง(Risk) ที่เรารับได้ อันนี้เป็นโจทย์ ที่แต่ละคนไม่เหมือนกัน คริปโตเช่น Bitcoin มีระดับความผันผวนสูงมาก โดยเฉพาะ ถ้าต้องเข้าซื้อใน ราคาปัจจุบัน(ปี2021) ดังนั้นมองแต่ Return ในอนาคตและเป้าของนวค. ที่ $100000, ไม่พอ แต่ต้องคิดถึง Risk contribution ที่จะส่งกลับมาด้วยเม

What I Really Think of Bitcoin by Ray Dalio

วันนี้ผมได้อ่านบทความหนึ่งชื่อ "What I Really Think of Bitcoin" ของคุณ Ray dalio ซึ่งเป็นมุมองเกี่ยวกับ Bitcoin ล่าสุดของคุณ Ray dalio ที่ออกมาช่วงปลายเดือน มกราคม 2021 พร้อมด้วยรายงานประกอบฉบับเต็ม เขียนดีมาก เลยอยากแชร์สรุปให้น้องๆเทรดเดอร์ได้ลองศึกษากัน - Ray Dalio สรุปมุมมองความคิดเห็นต่อ Bitcoin เขาออกตัวชัดว่านี้คือมุมมองส่วนตัวตรงๆไม่ผ่านการดัดแปลงจากสื่อ,ฝ่ายชอบหรือฝ่ายแช่งบิตคอย - นอกจากนี้เขาย้ำชัดว่าเขาไม่ใช่ Bitcoin/cryptocurrency expert แต่เขาเป็นผู้จัดการกองทุน (ผู้มีประสบการณ์ในตลาดและศึกษาระบบเศรษฐกิจ การเงินของโลกมายาวนานหลายสิบปี) - เขาเชื่อว่า Bitcoin เป็นนวัตกรรมทางการเงินยุคใหม่ ที่พัฒนามาจากสายของนักคอมพิวเตอร์ เติบโตและกลายเป็นที่นิยมอย่างมากในปัจจุบันทั้งลักษณะของเงิน(Money)และสินทรัพย์(storehold of wealth) - เขาเปรียบว่าเป็น alternative gold-like asset มองว่าบิตคอยได้สำเร็จในการพิสูจน์ให้เห็น สร้างความเชื่อถือและความนิยมในตลาดและโลกการเงิน (จะเห็นจากข้อมูลเหล่ากองทุนก็มีการเข้าถือ Bitcoin เพื่อเป็นสินทรัพย์ทางเลือกในพอร์ตมากขึ้น) ส่วนมูลค่าคนส่วนให

The Ivy Endowments Portfolio

ปีนี้มีโอกาสได้ไปช่วยงาน wealth management ได้ไปทำ Quant เกี่ยวกับ Portfolio management strategies เยอะพอควร (ซึ่งค่อนข้างจะต่างจากการทำระบบเทรด เดี่ยวปลายปีจะมารีวิวให้ฟัง) ทำให้มีโอกาสได้ไปศึกษาพวก Endowments Fund ของอเมริกา หลายเจ้าในกลุ่มมหาวิทยาลัย ivy league ค่อนข้างหน้าสนใจมาก คือกลยุทธ์ไม่ได้ซับซ้อน แต่ผลงานระยะ 10-15 ปีนี้ค่อนข้างจะดูดีเลยทีเดียว บทความนี้ของ Markov Processes International เปรียบเทียบประสิทธิภาพผลตอบแทนของ endowments fund รายใหญ่มหาวิทยาลัยกลุ่ม Ivy League ซึ่ง AUM ทั้งกลุ่มสิริรวม $135.7 billion(ปี 2018) โดยทำการศึกษาในช่วงระยะเวลา 2008 - 2018 ผลออกมา พบว่าผลงานดูดีทีเดียว(โดยเฉพาะด้านความผันผวนรวมของพอร์ตทีค่อนข้างต่ำ ในขณะผลตอบแทนเป็นบวก ชนะเงินเฟ้อและมากกว่า RF) แต่สิ่งที่ผู้ศึกษาตั้งคำถามคือเรื่องของ ประสิทธิภาพ ที่เมื่อเทียบกันแล้ว พอร์ตของ endowments ทั้งหลาย แพ้พอร์ตประเภท 60/40 จุดที่น่าสนใจคือ Asset Class ที่เหล่า ผจก.กองทุนเลือก ผสมเพื่อลดความเสี่ยงรวม ในช่วงหลังหลายพอร์ตนำเอาพวก Venture Capital , Private equity และ Hedgefund เข้ามาร่วม

Diversifying Well Is the Most Important Thing You Need to Do in Order to Invest Well

วันนี้ผมมีโอกาสอ่าน บทความหนึ่งของ Bridgewater Associates เขียนโดย Ray dalio เขาพูดถึงการกระจายความเสี่ยง ที่ช่วยทำให้เกิดประสิทธิภาพของพอร์ต อ่านจบรู้สึกมีประโยชน์ โดยเฉพาะการเทรด/ลงทุนภาวะตลาดแบบนี้ เลย สรุปประเด็นสำคัญ แบ่งปันเอาไว้ ดังนี้ - Ray dalio เขาเชื่อว่าตลาดนั้นเต็มไปด้วยสิ่งที่ไม่รู้ มากกว่าสิ่งที่เรารู้ -เมื่อไม่รู้ ก็ไม่ควรไปวัดดวง ดังนั้น diversification จะเป็นกุญแจสำคัญในการปรับ expected return-to-risk ratio ที่เหมาะสม - บางทีเลือกหุ้น เลือกสินทรัพยที่ดี จาก khowleage ที่มีแต่ไม่ได้การันตรีว่า outcome ออกมาจะ Win เสมอไป เพราะมันมีปัจจัยอื่นๆ unkhown เข้ามาเกี่ยว - การทำ Diversify ที่ดีช่วยลด expected risk อันนี้ ray dalio ยกเรื่องที่พูดถึง Holy Grail of Investing ในหนังสือ อธิบายต่อว่ามันเป็นหลักการของ risk parity ซึ่งเป็นแก่นของ All Weather ในการทำ balanced portfolio - Extreme movement ใน market หรือ economic เกิดได้เสมอ เช่นเดียวกับราคา asset ที่มีทั้ง “discounted” หรือ “priced in” การตัดสินใจซื้อขาย เพื่อไม่ให้ผิดพลาด ไม่ควรใช้อารมณ์ ควรการจำแนกภาวะไม่คงต

The Death of the 60/40 Portfolio

เช้านี้ผมได้อ่านบทความเรื่อง The Death of the 60/40 Portfolio ของ Guy Haselmann เขาเขียนถึงหลายประเด็นที่น่าสนใจ โดยเฉพาะในยุคที่เกิด negative nominal yield ,หรือการเกิด yield < Inflation ผู้เขียนชี้ให้เห็นผลกระทบต่อ 60/40 stock & bond portfolio ยิ่งเฉพาะเมื่อ Bond อาจจะไม่สามารถทำหน้าที่รับมือกับ down-side protection หรือปกป้อง inflation ที่เกิดได้ดีเหมือนอดีต เช่นเดียวกันถ้า ตลาดหุ้น ถดถอยรุนแรงย่อมทำให้เกิด downside ขนาดใหญ่ใน portfolio ได้ โดยสรุป Haselmann แนะนำนักล งทุนว่า ไม่ควรบาลานแค่ 2 asset เป็นหลัก ควรกระจายความเสี่ยงไปยัง asset class อื่นๆ เพื่อปกป้อง risk , การด้อยค่าของค่าเงิน(currency devaluation)และ inflation ในขณะเดียวกันแนะนำเรื่องของ mindset การไม่เสี่ยงเกินตัว หลีกเลี่ยงความเสี่ยง เพื่อเป้าหมายของพอร์ต ระยะยาว อ่านรายละเอียดฉบับเต็มเพิ่มเติมที่ https://www.linkedin.com/pulse/death-6040-portfolio-guy-haselmann-caia/

Betting Against Beta (BAB) Construction

เอา paper มาแชร์อธิบายเพิ่มจากที่กล่าวถึงกลยุทธ์ Betting Against Beta (BAB) ไปเมื่อวาน ซึ่ง BAB โฟกัสเน้นไปที่กลุ่ม low volatility , low beta ( สไตล์ short high beta ,long low beta แล้วใช้ leverage เพื่อ adjust ค่า beta รวมให้เข้าใกล้ 1) ปัจจุบันมี paper เขียนถึง Betting Against Beta เยอะโดยเฉพาะของ AQR หรือแม้แต่ paper ตัว buffett's alpha ก็มีการอธิบายกลยุทธ์นี้ไว้ ถ้าใครเพิ่งเริ่มศึกษาแนะนำให้ลองอ่านบทความนี้ของ J ack Vogel เขาแสดงผลการทดสอบ BAB พร้อมประเด็นเปรียบเทียบการจัด weight แบบต่างๆและการกำหนด factor ในการเลือกหุ้นประกอบ(ช่วยปิดจุดอ่อนของการใช้แค่ค่า correlation อย่างเดียว) รวมถึงพวกข้อจำกัด เช่นต้นทุนในการเทรด สภาพคล่องของหุ้นและอื่นๆอีกด้วย อ่านเพิ่มเติม https://alphaarchitect.com/2019/08/06/betting-against-beta-bab-construction/ https://papers.ssrn.com/sol3/papers.cfm?abstract_id=3300965

Robust Asset Allocation for Robo-Advisors

วันนี้นั่งหาบทความเกี่ยวกับการทำ RoboAdvisor ไปเจอหลาย paper ที่น่าสนใจ แต่อันหนึ่งที่ชอบสุดคือ paper ของ Amundi Asset Management เขียนเรื่อง Robust Asset Allocation for Robo-Advisors paper นี้ค่อนข้างยาว 70 กว่าหน้า ผู้วิจัยแนะนำแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพของพัฒนา Robo-Advisor ซึ่งนิยามปัจจุบันคือการทำ automated portfolio management แต่หลายเจ้ายังใช้คน( human-based ) เพราะมองว่า portfolio optimization เป็นงานที่ยากโดยเฉพาะเมื่อต้องเผชิญก ับภาวะความไม่แน่นอน และความผันผวนของตลาด ประเด็นหลักๆพูดถึง - เทคนิคและข้อจำกัด mean-variance optimization ,การสร้างพอร์ตให้เกิด maximum Sharpe ratio (risk/return trade-off ) แบบเดิม การ overfit ของโมเดลกับ data ในอดีต ที่ทำให้การ optimize น้ำหนักของโมเดล ไม่สามารถทำงานได้ดีในภาพตลาดที่แตกต่างจากอดีต ส่งผลให้พอร์ตมีความผันผวน - การทำ hedging portfolios ,การเลือก asset ในจากค่า ความสัมพันธ์(correlation) เพื่อทำ diversification - นำเสนอเรื่อง portfolio regularization แก้ข้อจำกัดของ MVO portfolio แบบเดิมโดยกล่าวถึงการใช้ L1 และ L2 Regularization

Black rock survey -asset allocation

เมื่อวานอธิบายเรื่อง Fundflow การทำ data analysis จาก asset class ต่างๆเพื่อดูการเคลื่อนของเ งิน รายคาบเวลา มีคำถามหนึ่ง น่าสนใจ เกี่ยวกับ การไหลของเงินของ smart money ในการหลบปัจจัยเสี่ยง  วันนี้ผมไปอ่านเจอบทความของ  Mark Rzepczynski เขาเขียนถึงผลการสำรวจ black rock ล่าสุดที่ไปถามเหล่า institutional investor จำนวน 230 คนมี AUM รวมทั้งหมดมากกว่า $7 trillion เกี่ยวกับการทำ asset allocation (รายงานไม ่ได้ระบุช่วงเวลาของปีที่ทำ การ survey) ข้อมูลจากรายงานพบว่า money managers กังวลเรื่องของความเสี่ยง โดยเฉพาะสิ่งที่เกิดเมื่อปี ก่อนหน้าที่หลาย asset มี performance ที่ไม่ค่อยดี มีการลดน้ำหนักเงินในตลาดหุ ้น และเพิ่มเงินในกลุ่ม fixed income ในขณะที่ asset ประเภท private equity, real estate และ real assets สะท้อนการเพิ่มขึ้นจากเงินล งทุนของ money managers ที่เก็บ asset ประเภทนี้เข้าพอร์ต Mark Rzepczynski เขาก็ตั้งคำถามที่น่าสนใจ แน่นอนว่าตอนนี้ส่วนใหญ่ตระ หนัก ความเสี่ยงและความผันผวนเพิ ่มขึ้นในราคา asset ส่วนใหญ่พยายามจะหลีกเลี่ยง  แต่ทำไมถึงมีการเข้าลงทุน สะสมสินทรัพย์ที่มี liquid ต่ำในพ

It Was the Worst of Times: Diversification During a Century of Drawdowns

เช้านี้ผมเพิ่งมีโอกาสอ่าน paper ล่าสุดของ AQR จบพบว่าน่าสนใจอยากนำมาแนะนำ paper นี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับ การป้องกันความเสี่ยงและการถดถอยของพอร์ต จากตลาดหุ้นขาลงและฟองสบู่ โดยทีมวิจัยทำการวิเคราะห์ข้อมูล asset ต่างๆในรอบเกือบ 100 ปี ทดสอบประเมินผลกลยุทธ์การกระจายความเสี่ยง(Diversification)แบบดั่งเดิม(ผสมหลาย asset class) และการทำ Hedging (แบบต่างๆทั้งด้านกลยุทธ์และการใช้อนุพันธ์เช่น put opt ions) เพื่อเปรียบเทียบและประเมินด้านต้นทุนและผลตอบแทนเชิงชดเชยที่ได้รับในช่วงตลาดเลวร้าย การวิจัยโฟกัสไปที่ความคุ้มค่าของการ trade off จากการทำ diversification และการ hedging เพื่อลดและป้อกัน equity drawdowns ผลการทดลองน่าสนใจมากแต่ผมคงไม่นำมาเขียนในทีนี้เพราะ มันเป็นเรื่องละเอียดอ่อนต้องอธิบายกันเยอะ เดี่ยวคนไม่เข้าใจจะไปตีความผิด แต่ผมแนะนำให้ลองอ่าน paper นี้อ่านแบบวิชาการไม่ต้องรีบเชื่อหรือมีธง แค่ data ที่เขารวมหรือประมวลผลออกมา มันก็มีประโยชน์มากโขแล้ว ยังไม่นับรวมเทคนิคการป้องกันความเสี่ยงในแบบต่างๆหลาย level สปอยให้นิด ผลการวิจัยค่อยข้างน่าสนใจ เช่นความเชื่อหลายอย่างในการท

GRID Money Management

สรุปผลการแข่งขัน Robot Fighting รอบที่2 เหลือทีมผ่านเข้ารอบ 6 ทีมจาก 20 ทีมในเดือนที่1 เริ่มเทรดเก็บคะแนน รอบใหม่ต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา โดยสัปดาห์ที่ 1 ตัว Vector Scalping 4x4 (Benchmark) คะแนนนำ เทรดไป 37 ครั้งเก็บคะแนน 405.0 pips การแข่งขันที่จัดเน้นการอยู่รอดระยะเวลา 2 เดือนในตลาด เทรดบัญชีจริง(micro) เน้นการเก็บ pip และคุมขนาด Draw down ให้ได้ตามเกณฑ์ จากการทำ Money Management ไม่เน้นการเร่งทำกำไรหรือการอัด lot size การแข่งขันนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์กับสมาชิก จัดรายการ live ชื่อ Robot Fighting Documentary ประกอบไปด้วย โดยสอนเรื่องของ Tactic และกลยุทธ์ ช่วยทำให้สมาชิก พัฒนาระบบเทรด แบบยั่งยืน ไม่ล้างพอร์ต  สองตอนแรก เรื่องของ GRID Money Management สามารถเข้าฟังได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=Ly0OiUi2mrA https://www.youtube.com/watch?v=PRs35bvVH-Q

Economics and Finance Online Course

เทรดเดอร์ เข้ามาตลาดอาจจะไม่ได้มีพื้นฐานความรู้ด้านการเงินและเศรษฐศาสตร์ ซึ่งหลายเรื่อง มันมีความสำคัญและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับการออกแบบพอร์ตและการวางกลยุทธ์ ต่างๆ ผมมีแหล่งเรียนออนไลน์อันหนึ่งที่ดีมาก ของ Khan Academy หัวข้อครอส Economics and finance ผมเองก็ศึกษาจากที่นี้ โดยเฉพาะเรื่อง Macroeconomics และ Finance and capital markets ซึ่งอธิบายได้ดีและเข้าใจง่ายมาก อีกประการคุณ khan นี้เป็นอดีต hedge fund manager เก่าที่ออกมาทำประโยชน์ให้กับโลก แทนที่มุ่งหาเงิน คานเรื่ องความรู้ไม่ธรรมดาเขาเรียนจบปริญญาจาก MIT และ MBA จาก Harvard ดังนั้นเรื่องเนื้อหาคุณภาพสูง การอธิบายและยกตัวอย่างดีมาก อยาก แนะนำลองเข้าไปเรียนได้ที่ https://www.khanacademy.org/economics-finance-domain

Diversification

อ่านบทความแนวนี้เยอะมากช่วงปีนี้ หลายที่พูดคล้ายกันว่าอนาคต การทำ Diversification อาจจะทำให้เกิด return ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าการเทรด หรือการลงทุนในตลาดเดียว เพราะจากภาวะความผันผวนที่จะเข้ามา จากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ บทความนี่น่าสนใจเอามาแปะไว้ เรื่อง Diversification Works Whether You Want It To Or Not เขียนโดย Eric D. Nelson จาก ServoWealth นำเสนอข้อมูลผลตอบแทน asset class แบบจำแนกช่วงเวลาได้น่าสนใจ ลองมาคิดต่อ จากข้อมูลที่เขานำเสนอ มันก็จริงเพราะ ด้วยความยากของตลาดและ volatile ที่เกิด ประเภท trader hero หรือการใช้ skill อย่างเดียว เพื่อรีดเอากำไร อาจจะยากกว่าอดีตโดยเฉพาะสาย trend หรือ momentum ดังนั้นการปรับตัวคือ การเทรดแบบกระจาย ตาม fundflow เพราะการโยกเงินของเรา เข้าถูกตลาดที่มีเม็ดเงิน fundflow ไปลง มันสามารถสร้างกำไร ได้บนภาวะความเสี่ยงที่น้อยกว่า เช่นเดียวกัน ถ้าเงินเราไปอยู่ผิดที่ในตลาดที่ fundflow ออกหรือหมดความสนใจ ต่อให้ใช้กลยุทธ์ใช้เทคนิคขั้นสูงยังไง มันก็รีด กำไรออกมายาก แถมความเสี่ยงในการขาดทุนก็จะสูงด้วย http://www.servowealth.com/resources/articles/diversification-wor

Portfolio Evaluation

มีคำถามเรื่อง การประเมินผลการลงทุนเข้ามาบ่อย ผมตอบไปก็เยอะ วันนี้ถือโอกาสนำมาเรียบเรียงเป็นบทความเอาไว้ให้เพื่อนๆได้อ่านกัน ไปเลย เชื่อว่าหลายคนคงอยากรู้วิธีการประเมินผลงานของการลงทุนของตัวเอง นอกเหนือจากการดูแค่กำไรขาดทุน เพียงอย่างเดียว

ความเสี่ยง มือสังหารที่ไร้ความปราณี

เราอยู่บนโลกของการลงทุน ความเสี่ยงน่าจะเป็นเพื่อนสนิทที่เราต้องเจอและต้องทำความรู้จักกับมันให้มากๆ เพราะถ้าเราไม่สนิท ไม่รู้จัก หรือประมาท ดูเบามัน วันหนึ่งความเสี่ยงก็จะเข้ามาทำร้ายเรา และนำเราไปสู่ความหายนะได้ ไม่ว่าเราจะคิดว่าตัวเองเก่งแค่ไหน หรือจะมีเครื่องมือวิเคราะห์ดีเท่าใด ถ้าเราไม่สามารถรับมือและควบคุมความเสี่ยงไว้ได้ ก็ไร้ประโยชน์ ปลายอาทิตย์ที่ผ่านมา ข่าวที่ใหญ่ที่สุดข่าวหนึ่งของแวดวงการเงินโลก คงหนี้ไม่พ้นเรื่องการขาดทุนแบบไม่คาดฝัน ของ JP Morgan (JPM) ที่มากถึง สองพันล้านดอลล่าห์สหรัฐ( $2 billion) เงินจำนวนมหาศาลที่ขาดทุนจากลงทุนภายในระยะ 6 สัปดาห์บนตราสารอนุพันธ์ จาก hedging mechanism ของฝ่าย proprietary trading ที่ห้องค้าลอนดอนโดยทาง CEO ยืนยันว่าไม่ใช้ rogue trader หรือการทุจริตแต่อย่างใด การขาดทุนเสียหายจากโมเดลการลงทุนที่ซับซ้อนในช่วงตลาดผันผวนแต่ขาดการดูแลความเสี่ยงให้ดีพอ ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้เสมอ เพราะโลกนี้มันไม่มีอะไรที่แน่นอนเราไม่สามารถคาดเดาอนาคตที่จะเกิดขึ้นได้ การลงทุนไม่ว่าจะสั้นหรือยาว นั้นก็เป็นการเสี่ยงบนความน่าจะเป็น ที่มีโอกาสผิดพลาดเสมอ ความเสี