ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์ที่มีป้ายกำกับ commodity

แนะนำ Commodity ETFs

  แนะนำ Commodity ETFs เพราะ จากโพสก่อนหน้าเรื่องผลตอบแทนของสินค้าในตลาด commodity มีน้องที่ติดตามถามเข้ามาว่า ถ้าอยากลงทุนหรือเทรดในสินค้า commodity ตลาดสหรัฐทำได้หรือไม่ คำตอบคือทำได้นะครับ โดยหลักๆการเทรด commodity สามารถเทรดได้ในตลาด Futures และแบบ Spot ผ่านสินค้า ETFs แต่แนะนำเทรดเดอร์มือใหม่ และไม่ต้องการความยุ่งยากในการเทรด ลองเริ่มต้นจาก Commodity ETFs ก่อนก็ได้เช่นกันครับ เพราะทุกวันนี้เปิดบัญชี global Trading account ที่รองรับการเทรดตลาดสหรัฐ เช่น DIME , InnovestX และอื่นๆ ก็สามารถเทรดได้เลย ข้อดีของ Commodity ETFs คือ เป็น spot ไม่ใช้ leverage ดังนั้นขนาดสินค้าออกแบบมาให้เล็ก ใช้เงินจำนวนไม่มากก็เทรดได้ + ไม่มีข้อจำกัดเรื่องความผันผวนราคามากและเรื่องการ rollover กรณีสัญญาฟิวเจอร์หมดอายุ นอกจากนี้ยังมีความหลากหลายของผู้ออก ETFs กลุ่มนี้ ซึ่งมีเชื่อมโยงสินค้าคอมโมหลายประเภท ทั้ง Gold , Oil , หรือแม้แต่สินค้าเกษตร รวมไปถึงยังมีแบบผสมที่เรียกว่า รวมคอมโมดิตี้หลายประเภทอีกด้วย ตัวอย่างภาพนี้ผมนำมาจาก Dime เราก็จะเห็นว่ามีเยอะมาก จุดนี้เหมาะสำหรับคนที่อยากเข้ามาเรียนรู้ในตลาดสิน

ภาพรวมผลงานสินค้า commodity ปี 2023

จากสถิติย้อนหลัง เหมือนจะกลายเป็นธรรมเนียม ที่ช่วงเดือนแรกของปี จะเป็นช่วงตลาดคอมโมดิตี้ มีความผันผวน และมีการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรง ตอบสนองกับปัจจัย เศรษฐกิจ(เช่น Inflation , Recession, Supply Shock ), การเมืองระหว่างประเทศ(ตะวันออกกลาง,รัสเซียยูเครน) และสภาพภูมิอากาศ จากข้อมูล performace (รวมสินค้า Futuresทั้งหมด)จะพบปีที่ผ่านซอฟท์คอมโมที่ปิดบวกแรงได้แก่ OJ , Cocoa , Coffee, Sugar ด้านโลหะมีค่า แรงสุดคือ Gold +7.07% ส่วนตัวที่ราคาร่วงแรง จะมีอย่าง Natural Gas , Wheat , Corn , Canola และ Soybean กลุ่มน้ำมัน WTI ไม่ได้ลงเยอะ เพราะปลายปีบวกคืนได้ แต่ปิดทั้งปีติดลบไปบางๆ WTI -7.6% ปีนี้ 2024 ก็น่าจับตาเช่นกัน คงติดตามต่อว่าจะเป็นวิกฤติ หรือโอกาส สำหรับเทรดเดอร์ ในตลาดคอมโมดิตี้

Commodities super-cycle จะมาหรือไม่??

  วันนี้เป็นอีกวันที่ได้ยินคำว่า "commodities super-cycle" จาก podcast ที่ฟัง ประโยคนี้มีการพูดถึงมาตั้งแต่ต้นปี 2021 ที่ราคา commodity มีการเปลี่ยนแปลงรุนแรง และทำจุด New High หลายตัวพร้อมๆกัน ทั้งกลุ่มโลหะ, สินค้าเกษตร(agricultural commodities) และอื่นๆ ความน่าสนใจคือเดือน May ที่ผ่านมา หลังสหรัฐมีการประกาศความสำเร็จในการฉีดวัคซีน covid-19 + มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหญ่ ทำให้ นักวิเคราะห์เริ่มออกมาพูดถึงผลกระทบระยะสั้น จากการเปิดเศรษฐกิจ เช่นเรื่องของ demand shock ที่อาจจะเกิด รวมถึงเรื่องของตัวเลขสะท้อนการเพิ่ม inflation , สัปดาห์นี้ commodities super-cycle กลับมาอีกรอบเพราะน้ำมันดิบ (WTI และ Brent ) ต่างทำจุดสูงสุดใหม่ สัปดาห์นี้ไปแตะ $69.32, จะHigh นับตั้งแต่ปี October 2018 (ผ่านพ้นช่วงถดถอยหนักมาได้) น้ำมันมารอบนี้ก็ดีใจกับ น้องๆและเพื่อนๆสาย oil trader กันด้วย แม้ WTI จะเป็นคอมโมดิตี้ที่มาช้ากว่าเพื่อนในกลุ่ม metal แต่ชัดเจนว่ามาจริงๆตาม นวค.คาด Gregor Spilker, CME Group เขียนบทความเดือนก่อนว่าการเพิ่มของ demand จากการกลับมา reopen economy + นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจขอ

บันทึกราคาน้ำมัน Nov 2018

ราคาน้ำมันดิบ ลดลงรุนแรงเมื่อคืน WTI ลบไปราวๆ -7.0% ถือว่าเป็นการถดถอยภายในวันที่มากที่สุดในรอบหลายปี ประเด็นกดดันยังเป็นเรื่องตัวอุปทานน้ำมันโลกลดลงในปีหน้า ส่วนด้าน OPEC ออกรายงานเชื่อว่าคาดการณ์ตัวเลขผลิตน้ำมันปีหน้าจากประเทศผู้ผลิตน้ำมันยังคงขยายตัว รวมถึงล่าสุดตัวเลขการผลิตจากสหรัฐ U.S. production เข้าระดับ 11.6 million barrels ต่อวัน ในช่วงเดือน พย. นี้ นวค.มองว่าอนาคตราคาน้ำมันยังไม่สู้ดี weake world demand และ oversupply บวกกับประเด็น trade war ความตรึงเครียดจะกดดันการเติบโตเศรษฐกิจโลกและการขยายการลงทุนทางธุรกิจ ด้านราคาน้ำมัน WTI จากต้นเดือน ตุลาคม ไปทำจุดสูงสุดระดับ 76.75 หลังจากนั้นมีประเด็นเรื่องของซาอุ และการวิพากษ์วิจารณ์ของปธน.สหรัฐ ราคาน้ำมันรับประเด็น sentiment ไหลลงมาเรื่อยๆพร้อมแรงขายต่อเนื่อง หลุดแนว 70 และ 60 ล่าสุดทำจุดต่ำสุดระดับ $55 ใกล้โซน price cluster เดิมที่ระดับ $53 รอบนี้แรงขายกดดันทำให้ราคาถดถอยลงราวๆ -28% ในระยะเวลา 6 สัปดาห์ จากการวิเคราะห์ข้อมูล ราคา คงชัดเจนว่าเข้าภาวะการเปลี่ยน zone ดังนั้นปรับแผน ย้อนกลับมาเทรดโซนเดิมช่วงกลางปีต่อไป

Commodity Market ตลาดปราบเซียน

ปี 2018 ผ่านมาสองเดือนมีพี่น้องเทรดเดอร์หลายท่านเลยมาปรึกษาเรื่องเข้าเทรดในตลาด commodity ซึ่งส่วนใหญ่เหตุผลแนวคิดคล้ายกันคือเชื่อว่าเงินเฟ้อจะมา ราคาคอมโมดิตี้น่าจะฟื้น เลยคิดจะเข้ามาเทรด ส่วนตัวผมไม่ได้แย้งไม่ได้ขัดอะไรเพราะไม่ถนัดในการทำนายอนาคตอยู่แล้ว แต่อยากเอาข้อมูลอีกด้านมาให้พิจารณากัน คุณ Eric Onstad เขียนบทความเรื่องราวเกี่ยวกับการปิดกองทุนของ Hedgefund ในตลาด commodityในช่วงปี 2017 ไว้ได้น่าสนใจโดยมีความคิดเห็นของหลายท่านว่าตลาดมันไม่ได้ง่าย ไม่ได้ปกติแบบอดีต เขารวบรวมความคิดเห็นของเหล่าผู้บริหารกองทุนต่างๆไว้ดังนี้ - Anthony Ward ปี 2017 ปิด CC+ Hedge fund ซึ่งอดีตชำนาญด้านการเทรด (cocoa&coffee)โดยเขากล่าวโทษว่า HFT และ Algorithmic trading ทำให้พฤติกรรมตลาดเปลี่ยน ราคามีความผันผวนสูง เทรดเดอร์ทั่วไปเสียเปรียบซื้อขายไม่ทัน HFT ทำให้ได้ราคาไม่ดีต้นทุนสูง นอกจากนี้ Ward ยังบอกว่า HFT ทำให้ราคาตลาดวิ่งรุนแรง รับข่าวและการประกาศตัวเลข ราคามากกว่าผลเชิงปัจจัยพื้นฐานไป 10-15% - Stephen Jamison ปิดฟันด์ Jamison Capital ต้นปี 2018 เขากล่าวโทษ AI และ HFT เช่นกันโดยระบุว่า

2015 commodity performance table

หน้าตาเหมือนตารางธาตุเลย จริงๆแล้วมันคือ performance table ของ สินค้า commodity ซึ่ง 2 ปีที่ผ่านมาถือว่า ปีที่ตกต่ำ แต่คนเทรดขาลงหรือ short นี่รวยนะ ลองดูในภาพกลุ่มถ่านหิน น้ำมัน ทองคำตลอด 5 ปี เรียกว่า ลบหนักและลบมากกว่าบวก กลุ่มขา short เลยค่อนข้างได้ผลตอบแทนดี แน่นอนว่าใครไปซื้อหรือเน้น long ก็เน่าไป แต่การตกต่ำต่อเนื่องนานๆ ก็ทำให้หลายคนลุ้นแสงสว่างปลายอุโมง ว่ามันจะมีโอกาส กลับคืนขึ้นมาได้หรือไม่ แต่อย่างว่าครับถ้า demand มันยังไม่กลับมา เศรษฐกิจประเทศบริโภคคอมโม อย่างจีน ยังไม่ฟื้น ก็คงไม่ง่ายจะเห็นราคาคอมโมดิดี้กลับมาเป็นขาขึ้นเหมือนอดีต (แต่จับตามมองอย่างใกล้ชิดก็ไม่เสียหาย)  ถ้าเทรดคอมโมดิดี้ จะพบ มันไม่ได้เหมือนอดีต ที่เป็นทรง cycle ชัด แต่ตลาดนี้กลายเป็น มีความผันผวน เปลี่ยนแปลงแบบปีต่อปี เช่นปี 2010 มีคนไม่น้่อยคิดว่า มันคือ วัฏจักรขาขึ้น จบขาลง เพราะ การโตของราคา แต่ไม่กี่ปีต่อมา ราคากลับชะลอและตกต่ำ ทำเอา หลายเทรดเดอร์ หลายกองทุน ปวดตับ ขาดทุนหนักกันไป ดังนั้นโมเดล อดีต ยุคก่อนปี 2000 ถ้าคิดจะเอามาใช้ในปัจจุบันกับ ภาวะตลาดคอมโม แบบนี้ คงต้องคิด วางแผนให้ดีๆ