ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มีนาคม, 2021

Dividend volatility trading

  เมื่อคืนบรรยาย Downside protection ผมพูดถึง Dividend volatility trading. สไตล์การเทรดใช้ volatility และ correlation ไม่ใช่เรื่องใหม่และมีการพัฒนามากนานและหลากหลายรูปแบบมาก อันหนึ่งที่น่าสนใจคือ Dividend volatility trading หรือประเภท Dividend Arbitrage Strategies ใช้พฤติกรรมราคาของหุ้น ที่เกิดความไม่ปกติได้รับผลกระทบในวันขึ้นเครื่องหมาย(ex-dividend date) จ่ายปันผล บางหุ้นมีแรงขายกดดันทำให้ราคาหุ้นลงแรง กระทบกับอนุพันธ์ที่อ้างอิงราคาหุ้นนั้น เช่น stock options กลยุทธ์ Dividend Arbitrage ใช้โอกาสจากจุดนี้ โดยสรุปคือ ซื้อหุ้นก่อนขึ้นเครื่องหมาย และซื้อ Put option (ในบทความแนะนำ ITM เพื่อให้ premuim ไม่สูงและเกิดประสิทธิภาพทางต้นทุนในการ hedge ,ขณะเดียวกันไม่จำเป็นซื้อ ITM Put ในวันขึ้นเครื่องหมายทันทีเสมอไป อาจจะวางแผนล่วงหน้าได้) โดยประมาณหุ้นที่ซื้อ ใกล้เคียงกับขนาดสัญญา Options ส่วนการทำกำไร ก็รอหลังวันขึ้นเครื่องหมายเพื่อให้ได้ dividend ร่วมด้วย ผลลัพธ์สุดท้าย ปิดสถานะทำกำไรจาก Put option มาชดเชยผลขาดทุนจากราคาหุ้นลง(ถ้าถือหุ้นยาวต่อก็ไม่ต้อง ขายหุ้นทันทีก็ได้) Dividend Arbitrage ใช

บันทึก Stable Coin - THT

  กำลังเป็นประเด็นร้อน แต่อยากบันทึกข้อมูลเอาไว้ ด้าน ธปท. วันนี้ออกตัวแรง ประกาศห้าม หลังทนความร้อนที่มีการกล่าวถึงของ THT บน Terra Platform ไม่ไหว ประกาศเตือน"การทำ จำหน่าย ใช้ หรือนำออกใช้ วัตถุหรือเครื่องหมายแทนเงินตรา ที่เป็นความผิดตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. 2501 และเตือนว่าประชาชนไม่ควรเข้าไปเกี่ยวข้องกับ THT เพราะจะไม่ได้รับการคุ้มครองทางกฎหมาย เสี่ยงการถูกโจรกรรมทางไซเบอร์ และเสี่ยงตกเป็นเครื่องมือในการฟอกเงิน" https://www.bot.or.th/.../Pre.../Press/2021/Pages/n1564.aspx ส่วนล่างเป็นแนวคิดเริ่มต้นของผู้สร้าง(ธันวา อาภรณ์ทิพย์) ทำ Proposal ไปที่ Terra Chain เพื่อเสนอโหวตจากกลุ่ม คอมมูนิตี้ แนวคิดไม่ซับซ้อนอยากมี เหรียญไทยบาท สำหรับการแลกเปลี่ยนบนโลก DeFi และให้ ไทยบาทดิจิตอลเป็น risk-diversified investment portfolio เท่านั้นเอง ผลโหวตออกมาดีมาก จนได้สร้างออกมา ตรึงมูลค่า 1 เหรียญต่อ 1 บาท ใช้ Luna บน Terra มาสวอป ปัจจุบันที่ใช้กันก็คือ พักเงิน เปลี่ยนเหรียญระหว่างการเทรด/การขุด แต่ตอนนี้ที่หลายคนกำลังรอ Peer to Peer Lending หรือ Antchor บน Terra Chain ซ

Remote Traders

  เมื่อคืนที่พูดถึงว่า ภาษาอังกฤษนี้เป็นสิ่งที่ช่วยเทรดเดอร์ให้พบโอกาสดีๆได้มากขึ้นทั้งเรื่องเงินทุนและดีลธุรกิจต่างๆ ยิ่งปัจจุบันเรามี internet เป็น leverage ให้กับโอกาสในการทำงานของเราได้ด้วย Remote Traders นี้เป็นอีกแขนงของการร่วมงานกับบริษัทต่างประเทศ ถ้าเรามีระบบเทรดดีๆ มีฝืมือจริงที่แสดงผ่าน Trading Record ระยะยาวได้ ก็สามารถสมัครร่วมงาน กับฟันด์ที่เปิดรับได้หลายเจ้าเลย โดยเฉพาะปัจจุบันการ WFH กลายเป็นที่ยอมรับและมีการปฏิบัติจริงช่วง covid-19 ผ่านมา รวมถึงมีเครื่องมืออำนวยความสะดวกมากมายสนับสนุนการทำงาน หนึ่งในตัวอย่างที่ผมรีวิวให้ฟังของ sevenpointscapital เขารับสมัคร Remote Traders ทั่วโลก โดยการสมัครก็ลงรายละเอียดตามแบบฟอร์ม ,แนบส่ง CV แนะนำตัว , Trading Record 90 วัน และบางเฟริ์มในอเมริกา อาจจะต้องการ FINRA Series 57 License(เพื่อนเทรดเดอร์ที่เคยสอบเล่าให้ฟังว่าค่าสอบ $60 , online testing แบบตัวเลือก ) ร่วมด้วยกรณีถ้าได้ร่วมงานจริงกับเฟริ์ม , จากนั้นรอ การสัมภาษณ์ออนไลน์ ซึ่ง Remote Traders ถือเป็นอีกเส้นทางอาชีพและการเข้าถึงเงินทุนขนาดใหญ่(ตามลำดับขั้น)สำหรับในการเทรดได้ ปัจ

บันทึกผลการทดสอบ cwAlphaX รอบแรก

  การทดสอบรอบนี้โจทย์ค่อนข้างยากเพราะเวลาจำกัดแค่ 10 วัน(เทรดจริง 8 วัน) โดยการบัญชีทดลองใช้ Balance ที่ $50,000 , Max loss -10%, Max Daily Loss -5% ความท้าทายคือ เทรดให้ผ่าน Profit Target ที่ 5% ใน 2 สัปดาห์ ทำให้การเทรดต้องใช้ leverage และทำรอบการเทรด ให้เหมาะสมเพื่อสร้าง Profit ให้ได้ ซึ่งรอบนี้ใช้ กลยุทธ์การเทรด scalping และบริหารเงินแบบ Volatility Target Model (ลด position กรณีเกินระดับทุกสัปดาห์) โดยใช้ leverage ที่ 16x (4 unit * 2 layer รวมทั้งหมด 8 ไม้ย่อย ขนาด Position size = 1 lot / unit ) ผลการเทรด "ไม่ผ่าน" รอบนี้เทรดไป 41 ครั้ง, ด้วยความต้องเร่ง Profit ในเวลาสั้นทำให้เทรด lot size เล็กไม่ได้ รอ position ที่ติดให้หลุดก็ไม่ได้ ประกอบช่วงตลาดผันผวนมาก ช่วงผ่านมาทำให้ Max Daily Loss พุ่งเกินในสัปดาห์สุดท้าย น่าเสียตายมาก ทั้งที่สัปดาห์แรกค่อยๆไปคุมเกมส์ได้ดีแล้ว ,การเทรดระยะสั้น มีข้อจำกัดมาก ถ้าเลือก Product ไม่ดี โดยเฉพาะกรณีที่ไม่วิ่ง จะทำให้ ปั่นรอบทำ cashflow ไม่ได้ , การคุม Max loss ไม่ได้ยากแบบที่คิด เพราะถ้าเริ่มต้นมี cash buffer ดีการบริหารพอร์ต จะทำได้ไม่ย

The patterns of mistakes

  ไม่มีใครอยากผิดพลาด แต่แน่นอนว่าคงเป็นไปไม่ได้ที่ชีวิตนี้คนเราจะไม่ผิดพลาด โดยเฉพาะถ้าเราต้องตัดสินใจในภาวะที่ข้อมูลจำกัด, เวลาจำกัด และมีแรงกดดันจากผลของการตัดสินใจ วันนี้เข้าไปอ่านบทความของเพจคุณ Ray Dalio เจอเรื่องหนึ่งน่าสนใจมากเกี่ยวกับ the patterns of mistakes โดยสรุปเขียนว่า ให้เราเรียนรู้จากความผิดพลาด ที่เป็นผลผลิตจากความจุดอ่อนของตัวเรา เรียนรู้จุดอ่อน บันทึกความผิดพลาด และพัฒนาตัวเราเพื่อก้าวข้ามจุดอ่อนนั้น คุณ Ray dalio เขียนว่าทุกคนล้วนมี one big challenge หรือจุดอ่อนที่เราต้องก้าวข้าม เขาแนะนำให้เริ่มจากจุดอ่อนที่เป็นปัญหาที่สุด 1-3 อย่าง( "big three.")และเริ่มท้าทายตัวเองด้วยการยอมรับ และปรับปรุงตัวเราให้ก้าวข้ามมันไป แนวคิดนี้มาก แทนที่เราจะรีบลืม หรือ ปฏิเสธความผิดพลาดของเรา เปลี่ยนมา ยอมรับ และเรียนรู้จากมัน เพื่อจะได้ไม่ผิดพลาดซ้ำ ยิ่งทำให้เราแข็งแกร่ง และเติบโต ในอนาคต https://www.linkedin.com/in/raydalio/detail/recent-activity/

Are We In a Stock Market Bubble? by Ray dalio

  บทความนี้คุณ Ray dalio ชวนให้ตั้งคำถาม และสอนวิธีคิดสไตล์ Bridewater ให้เราดูด้วย ผมอ่านจบคิดว่ามันน่าจะมีประโยชน์เลยอยากแบ่งปันโน๊ตสรุปของบทความนี้ โดยคุณ Ray Dalio นำเสนอ bubble indicator ระบบที่เขาพัฒนาจากประสบการณ์ตรงกว่า 40ปีในตลาดและจากการศึกษาข้อมูลในอดีต บทความนี้เขายกตัวอย่าง US stocks เริ่มต้นคุณ Ray ตีกรอบนิยามของ Buble == unsustainably high price โดยเขาจะวัดจาก 6 ตัวแปรได้แก่ -How high are prices relative to traditional measures? (momentum) -Are prices discounting unsustainable conditions? (price discounting) -How many new buyers (i.e., those who weren’t previously in the market) have entered the market? (investor , people) -How broadly bullish is sentiment? (market sentiment) -Are purchases being financed by high leverage? (leverage) -Have buyers made exceptionally extended forward purchases (e.g., built inventory, contracted forward purchases, etc.) to speculate or protect themselves against future price gains? (Speculate / Heding in Future ,Options) -วิธีการวัดระดับ bu

tiny-house movement

  วันหยุดได้นั่งดูคลิปรายการ tiny house nation บนเน็ตฟลิกและไล่ดูคลิปบน Youtube ช่อง Living Big In A Tiny House หลายสิบตอนมาก เรียกว่านั้งดูเพลินเลย เพราะรวมทั้งงานออกแบบที่น่าสนใจสวย(มีทั้งแบบเรียบ เท่ห์และดูหรู) รวมไปถึงการพัฒนาเฟอร์นิเจอร์และวิธีการใช้พื้นที่ให้มีประสิทธิภาพเพราะขนาดพื้นที่จำกัด ส่วนใหญ่ tiny-house ขนาดเฉลี่ยประมาณ 37 ตรม. แต่ก็แบ่งย่อยไปอีกเช่น สร้างเองใช้ตู้คอนเทรนเนอร์ 1-2 ตู้ก็จะใหญ่หน่อย หรือถ้าเป็นแบบ on wheel แบบตู้คอนเทรนเนอร์บนหัวลากเคลื่อนที่ได้ ขนาดก็จะเล็กตามมาตรฐานของถนน(13.5-feet * 8.5-feet *40-feet ) การตกแต่งนี้ก็น่าสนใจเพราะมันคือกล่องและเล็ก การใช้แสง, การจัดวางเฟอร์นิเจอร์, การใช้สี ทุกอย่างมีผลหมดเลย ทั้งห้องน้ำ ห้องครัว ห้องนอน ห้องนั่งเล่น หลายบ้านมีโมเดลการออกแบบและสร้างมันอย่างน่าสนใจ ในขณะที่เรื่องฟังก์ชั่น เช่นการระบายอากาศ,การป้องกันความหนาว,การทำความร้อน ก็ใช้งานอยู่อาศัยได้จริง เช่นเดียวกันกับระบบน้ำและระบบไฟ หลายบ้านมีโมเดลการประหยัดพลังงานที่น่าสนใจ เช่นการใช้โซลาร์เซลล์, การใช้ composting toilet หรือไปแบบ Off-The-Grid เลยก็มี นอกจากน

Special Purpose Acquisition Company(SPAC)

  คำว่า Special Purpose Acquisition Company(SPAC) ถูกพูดถึงเยอะเลย ไม่ใช่เรื่องใหม่ มีกันมานมนานแล้ว แต่ปี 2021 นี้เป็นที่พูดถึงกันมากจนสื่อเรียกว่าเป็น Wall Street’s hottest trends ซึ่งก่อนหน้าก็มีหลายบริษัทที่ใช้วิธีในการเข้าตลาด เช่น WeWork, Virgin Galactic, DraftKings, Opendoor ,Nikola Motor Co, DraftKings และอื่นๆในข่าวระบุว่ามีกว่า 200 บริษัทในปี 2020 ที่ใช้วิธี SPACs และอยู่ในตลาดหุ้นสหรัฐ ระดมเงินได้กว่า $64 billion ส่วนปี 2021 นี้ก็มีอีกหลายบริษัทที่กำลังเดินหน้าเข้ามาในตลาดหุ้นผ่านทาง SPACs เช่น Butterfly Network, 23andMe และอื่นๆ SPACs แตกต่างจาก IPO โดย SPACs บริษัทที่จดทะเบียนเข้าสู่ตลาด และระดมเงินจากนักลงทุนแล้ว แต่ไม่มีแผนธุรกิจแน่ชัด หรือมีความตั้งใจจดทะเบียนเพื่อจะควบรวม/เข้าซื้อกิจการอื่น(มีเวลาจำกัดตามตกลง ถ้าควบรวมไม่ได้หรือไม่ได้นำเงินไปทำธุรกิจต่อก็ต้องคืนเงิน) โดยบริษัทควบรวมผ่าน SPACs ก็สามารถเทรดในตลาดหุ้นได้เลยเหมือนหุ้นปกติ ซึ่งจะเป็นดึงดูดของ บริษัทขนาดเล็กและStartup ที่ได้รับการช่วยเหลือและเข้าถึงเงินทุนผ่านการควบรวมจากบริษัทใหญ่ประเภท SPAC(ส่วนใหญ่เป

Dynamic Volatility Targeting Note

  ตอนนี้กำลังตีโจทย์ออกแบบระบบที่ fix ขนาดของ MaxDD (ระดับเดือน 10%)และ Daily loss อยู่ จริงๆมันก็ไม่ยากถ้าไม่มีโจทย์เรื่อง Profit tatget ที่ 10% เข้ามาด้วย เพราะปกติสองด้านนี้มันสองสายเลย ความยากมันจึงเกิด จริงๆแล้ว Return นี้มันไม่อาจจะควบคุมเพราะมันแปรผันไปตามภาวะตลาดและราคา asset แต่ Risk หรือความเสี่ยงเราคุมได้สบายๆ พอโจทย์มันจับสองตัวมาผูกกัน(เข้าใจว่าเขาพยายามจะทำให้ผ่านยาก) ตรงนี้แหละปัญหา วันนี้ได้ฟัง podcast อันหนึ่งของ Perry Kaufman จากรายการ toptradersunplugged เขาพูดถึงการใช้ Volatility Targeting ไอเดียโดยสรุปคือการคำนวณ volatility ของพอร์ต เพื่อใช้กำหนดขนาดของ position size และการใช้ leverage ในกลยุทธ์การเทรดของ system , แนวทางของ Kaufman ใช้การคำนวนvolatility ของพอร์ตจาก mean 40 day return ซึ่งตั้ง target ที่ 12% ถ้า portfolio มันเคลื่อนเกิน 12% เขาก็จะ stoploss หรือปรับลด position ลง โดยเฉพาะ position ที่ใช้ leverage , ขณะที่ถ้า portfolio volatility ต่ำกว่า 12% เขาจะดึง volatility ขึ้นการใช้ leverage เพื่อเพิ่มขนาด position size ในช่วง low volatily เพื่อบูต return ของพอ

รีวิวเล็กๆ Settrade Open API

  ปลายปีที่แล้ว จากคำแนะนำจากของรุ่นน้องที่เป็น quant dev ของบริษัทหนึ่ง ย้ำมากว่าพี่ต้องลอง สัปดาห์นี้หลังเคลียร์งานเก่าเสร็จ ผมจึงมีโอกาสลอง Settrade Open API กับ Python (RL Trading System) ได้ลองหลายอย่างส่วนการ Data, Account, Portfolio และ Market Subscribe ผ่าน MQTTWebsocket วันนี้ผลทดสอบการใช้เบื้องต้นกับตัว DQN Agent โมเดลเก่าที่เทรนด้วยกลยุทธ์ GRID บนตลาด TFEX เบื้องต้นผลการทดสอบน่าสนใจมาก แน่นอนว่าแม้จะเป็น sandbox แต่ความเร็วและการตอบสนอง realtime ถือว่าใช้ได้ แถมส่งคำสั่งไม่มีปัญหา ไม่มี error , และ subscribe ข้อมูล bids/offers ยังทำได้ดีทำให้ โมเดลสามารถตอบสนองกับราคาเรียล์ไทม์ได้ดีเลย อีกอันที่ต้องชมคือ Doc ดีมาก ทำ API Reference ให้ใช้งานได้ง่าย แถมมี Code Snippet ให้ด้วย ปล. เอาจริงๆถ้าเทรดบัญชีจริงได้ คงอยากเปลี่ยนจาก MT4 ที่เทรดมาใช้ Settrade Open API แทนเหมือนกัน ส่วนคนไม่ถนัด python เขายังมี SDK บน VBA และ amibroker ให้ด้วยครับ ลองใช้งานและดูตัวอย่างโค้ดได้ที่ https://developer.settrade.com/open-api/

แบบจำลอง Gamma squeeze & Short squeeze ในหุ้น GME

  พอดีวันนี้หาข้อมูลตัวอย่างการอธิบาย Gamma Squeeze ไปเจอคลิปนี้ใน youtube ดีงามมาก เขาใช้ agent-based simulation จำลองภาวะตลาด พฤติกรรมราคาให้เห็นถึง market dynamics ผ่านข้อมูล limit order book (LOB) ของหุ้น GameStop ช่วงเดือน Jan 2021 ที่ผ่านมา โดยโปรแกรมจำลองนี้เขาแบ่งกลุ่มผู้เล่นเป็นทั้ง -Short Seller (Early/Late), -Investor(Long/Buy stock), -Retail Trader(Buy stock,long call options), -Option Market Maker( hedging with buy underlying stock), นั่งดูการ simulation แล้วก็น่าสนใจดี เห็น volume มันกระชากในบางช่วง,และภาวะการเปลี่ยนแปลงของ Bid ask spread ที่ไม่ปกติ สะท้อนภาวะความไม่คงตัวของ market dynamics ที่เกิด ดูคลิปนี้ทำให้เข้าใจพฤติกรรมราคาของ GME จาก player กลุ่มต่างๆมากขึ้นเพราะมันไม่ใช่การไล่ราคาหุ้นปกติธรรมดา แต่มันมีเกมส์ของรายใหญ่ รายย่อยจำนวนมาก(WSB)และกลุ่ม options maker เข้ามาร่วมด้วย ปล. GME ปัจจุบันจบรอบ ราคาไปทำ High ที่ 483 ช่วงปลายเดือน มกราคม ล่าสุดราคาร่วงหนักลงมาเหลือ 40.59 ทำให้เทรดเดอร์ที่ไล่เข้าช่วง $100 ขาดทุนไปตามระเบียบ ปล. จริงๆมันคงเกิดกับหุ้นในตลาดสหรัฐปก

เมาไม่เทรด

ตลาดน้ำมัน oil future นี้มี story น่าสนใจเยอะ ผมเทรดน้ำมันมา 6 ปีได้บันทึกเรื่องราวไว้หลายเรื่องเลย พอดีต่อจากบทความก่อนหน้าเรื่องสมาธิกับเทรดเดอร์น้ำมัน เลยขอนำอีกเรื่องมาแชร์ซึ่งเป็น Oil Trader ผู้ขาดสติ บทความนี้เขียนถึง Stephen Perkins เขาเป็น oil futures trader ของ PVM Oil Futures Broker บริษัทโบรกเกอร์น้ำมันเจ้าใหญ่ โดน Financial Services Authority(FSA) สอบสวน ข้อหาปั่นราคา(market manipulation) น้ำมัน Brent oil จากออรเดอร์การซื้อสัญญา Future ช่วงวันที่ 29-30 June. 2009 ทำเกิดการกระชากของราคา Brent oil Future ด้วย volume ผิดปกติ 69% ในตลาดจากการเทรด ความน่าสนใจคือผลการสอบ FSA เปิดการสอบสวนจริงจัง แต่ผลที่ออกไม่ใช่การปั่นทำราคา แต่เป็นการเทรดผิดปกติเพราะความเมาสุราของคุณ Stephen Perkins เทรดเดอร์รุ่นใหญ่ของบริษัทที่เทรดด้วยความเมา เปิดสถานะ(position)ซื้อสัญญาน้ำมันให้พอร์ตลูกค้าขนาดใหญ่กว่า $8m (ได้น้ำมัน 7 ล้านบาเรล,lev 10x)ผลคือลากราคาไปทำจุด High ที่ $73.50 / barrel พุ่งจากวันก่อนหน้า $66.50 เรียกว่าซีเรียสเลยกับราคาน้ำมันโลกที่พุ่ง $2 ในหนึ่งวัน ความผิดปกตินี้ถูกแจ้งเตือนจาก