ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์ที่มีป้ายกำกับ Volume analysis

Dividend volatility trading

  เมื่อคืนบรรยาย Downside protection ผมพูดถึง Dividend volatility trading. สไตล์การเทรดใช้ volatility และ correlation ไม่ใช่เรื่องใหม่และมีการพัฒนามากนานและหลากหลายรูปแบบมาก อันหนึ่งที่น่าสนใจคือ Dividend volatility trading หรือประเภท Dividend Arbitrage Strategies ใช้พฤติกรรมราคาของหุ้น ที่เกิดความไม่ปกติได้รับผลกระทบในวันขึ้นเครื่องหมาย(ex-dividend date) จ่ายปันผล บางหุ้นมีแรงขายกดดันทำให้ราคาหุ้นลงแรง กระทบกับอนุพันธ์ที่อ้างอิงราคาหุ้นนั้น เช่น stock options กลยุทธ์ Dividend Arbitrage ใช้โอกาสจากจุดนี้ โดยสรุปคือ ซื้อหุ้นก่อนขึ้นเครื่องหมาย และซื้อ Put option (ในบทความแนะนำ ITM เพื่อให้ premuim ไม่สูงและเกิดประสิทธิภาพทางต้นทุนในการ hedge ,ขณะเดียวกันไม่จำเป็นซื้อ ITM Put ในวันขึ้นเครื่องหมายทันทีเสมอไป อาจจะวางแผนล่วงหน้าได้) โดยประมาณหุ้นที่ซื้อ ใกล้เคียงกับขนาดสัญญา Options ส่วนการทำกำไร ก็รอหลังวันขึ้นเครื่องหมายเพื่อให้ได้ dividend ร่วมด้วย ผลลัพธ์สุดท้าย ปิดสถานะทำกำไรจาก Put option มาชดเชยผลขาดทุนจากราคาหุ้นลง(ถ้าถือหุ้นยาวต่อก็ไม่ต้อง ขายหุ้นทันทีก็ได้) Dividend Arbitrage ใช

Volume footprint

เมื่อคืนได้ติวเทรดเดอร์ที่จะลงแข่งรายการปีหน้า 2019 ผมอธิบายการวิเคราะห์ volume นอกจากการดู volume profile แบบทั่วไปแล้ว อีกรูปแบบที่เราสามารถทำ volume analysis ในลักษณะการดู zone ราคาได้นั้นคือ การใช้ volume footprint โดยดูแรงปะทะและดูการเกิดของ volumeในระดับ zone ราคาต่างๆตามช่วงเวลาที่เราสนใจ การวิเคราะห์ลักษณะนี้ถ้าไม่ได้ส่งต่อไปทำ data analysis เช่นการจัด weight เพื่อ คำนวณร่วมกับข้อมูลอื่นๆ เพื่อวางแผนการเทรด หรือทำ money management เราก็สามารถใช้ดู market activity และ Depth of Market (DOM) ที่เกิดได้ โดยเฉพาะทิศทางการเดินของราคาสินทรัพย์ ทั้งในภาพใหญ่และภาพเล็ก รวมถึงการใช้ดูแนวรับ แนวต้าน หรือราคาที่มีนัยยะต่อการตัดสินใจของผู้เล่นในตลาด volume footprint จะแตกต่างการดู volume รายช่วงเวลา ทั่วไปตรง มีการแยกมิติของระดับราคาที่สะท้อนความถูกแพง , market discount และความผันผวนจากกรอบการเคลื่อนไหวของราคาที่เกิด ปล. ถ้าดูเรียลไทม์ในโปรแกรทรดบางตัวมีฟังก์ชั่นนี้ ถ้าไม่มีก็ต้องเขียนโปรแกรมเพื่อสร้างการจัดกลุ่มข้อมูล volume สำหรับการวิเคราะห์ footprint เอง

Volume footprint in Quant Method

มีคำถามหนึ่งทาง email น่าสนใจ ถามว่า Qaunt วิเคราะห์ volume ยังไงครับ ? >> ปกติเราจะดำเนินการกับ volume เหมือนเป็น data ชุดหนึ่งครับการวิเคราะห์ก็ใช้ stat model หลักๆคือการหาค่าปกติและภาวะการเปลี่ยนแปลง รวมถึงการจัดหมวดหมู่เพื่อ เตรียมไว้ประมวลผลต่อไป แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่ทำ คือเราจะไม่ท่องจำรูปแบบ volume แล้วมาหาข้อสรุป เพราะตลาดมันมีความ random สูง จากการประมวลผลข้อมูลปริมาณการซื้อขายมาเป็นหลายสิบปี พบว่า volume มันแปรผันได้ตามหลายปัจจัย เช่นระดับราคา(price level),asset value, กระแสเงิน,ปัจจัย macro ,volatility ,season มันเลยอยากมากจะไปสรุป สิ่งที่ทำคือ การประมวลผลข้อมูลตามจริงที่เกิดโดยมีหลาย model ให้ใช้ ในภาพนั้นคือ volume footprint ใช้เพื่อดูแรงปะทะและดูการเกิดของ Volume(VolBuy-VolSell) ในระดับราคาต่างๆ ข้อมูลนี้อนาคตจะมาจัดกลุ่ม ใส่ weight คำนวณร่วมกับข้อมูลอื่นๆแล้วนำมาใช้ใน decision tree โมเดลสำหรับการเทรดต่อไป ตัวอย่างในภาพ ผมออกแบบระบบ ในการประมวลผลข้อมูลด้วยโมเดลแล้วมาจัดกลุ่มทุก 30 min จะพบ แนว cluster ของราคาที่สำคัญ กรณีเป็นแนวรับ จะพบมันไม่ใช้แรงขายหมด

volume analysis

ด้วยอานิสงค์การลากดัชนี ด้วยเม็ดเงินมหาศาลจากฝรั่ง(ไม่รู้หัวดำ หัวทอง) ที่พาปู่ SET มาไกลทะลุ 1100 ทำเอาพอร์ตเล็กพอร์ตใหญ่เขียวไปตามๆกัน ใครที่มี Bigcap ก็ยิ้มออกหน่อย แต่ถ้านิยมสะสมหุ้นเล็กตามกระแส ก็อาจจะยิ้มไม่กว้างนัก แต่เอาน่ายังไงก็ยังยิ้มได้ หลายคนดีใจเพราะใกล้ลงดอย บางคนก็ผลตอบแทนของพอร์ตทำ new high แน่นอนว่ามีคนดีใจก็ย่อมมีคนเสียใจ อกหักจากการตกรถ เพราะล้างพอร์ตรอกะว่าให้ set หลุด 1000 แล้วไปรับแถว 920 คนกลุ่มนี้ก็อย่าคิดมากครับ วันพระไม่ได้มีหนเดียว โอกาสหน้ายังมี ขอให้เรียนรู้เป็นบทเรียน สิ่งหนึ่งที่จงตระหนักเถอะว่าราคาหุ้น มันคือเรื่องของอนาคต เราไม่สามารถเดาอนาคตได้ทางที่ดีคือหมั่นสังเกต และติดตามราคาอย่างใกล้ชิด เฝ้ารอพิจารณาหุ้นรายตัวที่มีการย่อพักฐานมาทดสอบแนวต้าน แล้วค่อยลงทุน ดีกว่าไปไล่หุ้นที่ปลายดอย ความเสี่ยงจะสูงกว่าครับ คุณภาพของแนวโน้ม ที่สำคัญเวลาเรามองกราฟราคา สิ่งที่ต้องมองให้ออก หรือตีให้แตก(ยืม ดร.นิเวศมาใช้หน่อยนะครับ) สำหรับการเก็งกำไรระยะสั้น ไม่ใช้แค่ตัวเลขราคา แต่สิ่งสำคัญนั้นคือ แนวโน้ม แนวโน้มหรือ Trend คือรูปแบบทิศทางการเคลื่อนตัวของราคาหุ้น ณ กรอบเ