ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กรกฎาคม, 2011

แนวรับแนวต้าน ตอนที่ 2

ตอนที่สองนี้ ผมขอกล่าวถึงวิธีหาแนวรับ แนวต้านที่นิยมใช้ สองวิธีหลักๆคือการใช้ Fibonacci และการใช้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ สองวิธีนี้เป็นวิธีการที่ใช้เครื่องมือคณิตศาสตร์มาช่วยทำให้เรามองแนวรับแนวต้านบนแนวโน้มใหญ่ได้ง่าย การหาแนวรับแนวต้าน วิธีการหาแนวรับ-แนวต้านของราคาหุ้น เราสามารถหาได้หลายวิธีขึ้นกับเทคนิคที่ผู้วิเคราะห์จะเลือกใช้ เช่นการใช้ Fibonacci, การใช้ค่าเฉลี่ยแบบหลายช่วงเวลา , การใช้เทคนิค Pnt ,การใช้ trend line ย่อยก่อนหน้า และอื่นๆ ผมขอให้แนวคิดไว้ว่า แนวรับแนวต้านนั้นเป็นเพียงจุดสังเกตที่ทำให้นักลงทุนทราบถึงสถานการณ์และการเคลื่อนตัวของราคาตามแนวโน้มเปรียบดั่ง เสาหลักกิโลเมตร ทีเอาไว้ให้เราบอกตำแหน่งบนเส้นทาง ( บนแนวโน้ม ) ดังนั้นผมขอยกตัวอย่างภาพการหาแนวรับแนวต้าน คราวๆดังนี้ครับ 1. การใช้ Fibonacci retracement คือวิธีการใช้สัดส่วนของ Fibonacci มาเป็นตัวกำหนดแนวรับ แนวต้านเพื่อใช้เป็นเส้นสังเกต หลักการใช้งานก็คือการลากจากจุดสูงสุดไปต่ำสุด หรือลากจากต่ำสุดมายังสูงสุดของแนวโน้มก่อนหน้า แล้วแต่แนวโน้มขาขึ้นหรือลง เพื่อนำเอา % มาใช้เป็นตัวกำหนดแนวรับหรือแนวต้าน ในแนวโน้มที่เกิดขึ

แนวรับแนวต้าน ตอนที่ 1

แนวรับและแนวต้าน เปรียบดังแนวของเส้น ณ ตำแหน่งราคาใดๆ ที่ใช้เป็นแนวสังเกตสำหรับการเคลื่อนที่ของราคาผ่านแนวนั้นๆ ด้วยเนื่องจากการหยุด การทะลุผ่าน หรือการไหลตกลงของราคา ณ ที่แนวสังเกตนี้ล้วนมีนัยยะ สำหรับการนำมาใช้งานในรอบต่อไป การทำความเข้าใจเกี่ยวกับแนวรับแนวต้าน จึ้งเป็นเรื่องจำเป็นควบคู่ไปกับการวิเคราะห์แนวโน้มของราคาหุ้น แนวรับ  แนวรับ(Support) คือแนวที่มีแรงซื้อมารับราคาหุ้นไว้ไม่ให้ตกลงไปมากกว่านี้หรือสามารถชะลอการร่วงลงของราคาได้ ในขณะเวลาหนึ่ง โดยทั่วไปแนวรับจะมีลักษณะเหมือนแนวที่เป็นจุดสังเกตการเคลื่อนที่ลงของราคาในแนวโน้มขาลง (Down Trend) แนวรับจะมีได้มากกว่า 1 แนวและสามารถนำแนวรับในอดีตที่มีนัยยะมาใช้ในการสังเกตในปัจจุบันได้ โดยบ่อยครั้งที่แนวรับสำคัญจะเกิดจากการที่ราคาหุ้นในทิศทางลงหลายรอบ มาหยุดลง ณ ที่แนวรับนั้น จากภาพ S0 S1 S2 และ S3 คือแนวรับ บนแนวโน้มของลงที่เมื่อราคาหุ้นวิ่งเข้าหาแล้ว มีการชะลอหรือเด้งกลับระยะสั้นๆ โดยแนวรับที่มีความแข็งแรงจะสามารถหยุดราคาหุ้นในขาลงได้นาน แนวต้าน แนวต้าน(Resistance) คือแนวที่มีแรงขายมาต้านราคาหุ้นไว้ไม่ให้ขึ้นสูงไปมากกว่านี้หรือสามารถช

การวิเคราะห์แนวโน้มราคา 2

หลังจากเลือกตั้งเสร็จ สัญญาณตอบรับจากตลาดก็ดีมาก จนลากพาดัชนียาวมาเกือบลุ้น 1100 จุด แต่ถึงยังไงก็ไม่ควรประมาทครับ เพราะเราไม่มีทางรู้ได้ว่าแนวโน้มระยะสั้นจะจบเมื่อใด วันนี้มาหัดเรียนรู้เรื่องการวิเคราะห์แนวโน้มของราคาหุ้นกันต่อดีกว่าครับ เอาไว้เป็นเกาะป้องกันตัวจากความไม่แน่นอนของตลาด ขนาดของแนวโน้ม จริงแล้วการมองแนวโน้มหรือการมองกราฟราคาหุ้นสามารถมองได้หลายกรอบเวลา (Time Frame, TF) ซึ่งล้วนแต่ มีขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์หรือกลยุทธการลงทุนที่แตกต่างกันไป การเก็งกำไรหรือการล่าส่วนต่างของราคาไม่จำเป็นต้องเล่นสั้นแบบที่หลายคนเข้าใจเสมอไป แนวโน้มเป็นตัวบ่งชีสำคัญที่ใช้ได้ทั้งในรูปแบบ day trade ที่ใช้ TF ระดับนาที ,week trade นักเก็งกำไรแบบรายสัปดาห์กลาง หรือ month trade ที่ดูกันในระดับเดือนแบบเก็งกำไร EPS รายไตรมาสก็มี เพราะหัวใจสำคัญคือ เมื่อรู้แนวโน้มทำให้รู้จังหวะของคลื่น รู้จังหวะราคาที่ควรซื้อ ดังนั้นมันย่อมได้ราคาหุ้นที่ดีกว่าเดินดุ่มๆลุยไปซื้อ ในวันที่ตลาดทำ New High เป็นไหนๆใช่ไหมครับ ? ดังนั้นผมของแบ่งกลุ่มของแนวโน้มตามขนาดของกรอบเวลาหรือ Time Frame คราวๆดังนี้ 1. แนวโน้มใหญ่ คือ เส้

การวิเคราะห์แนวโน้มราคา 1

กราฟเป็นเครื่องมือทางเทคนิคที่ใช้ในการวิเคราะห์ราคาและปริมาณของหุ้น เพื่อทำนายราคาที่น่าจะเป็นในอนาคต โดยทำการพอร์ตราคาหุ้นในรูปแบบกราฟแท่งเทียนหรือกราฟเส้นตามช่วงเวลา สำหรับศึกษารูปแบบแนวโน้มของราคาในอดีตที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน เพื่อใช้ในการอนุมานหรือทำนายแนวโน้มหรือราคาที่น่าจะเป็นในอนาคต ซึ่งจะสามารถใช้ในการกำหนดจังหวะเวลาในการลงทุน หรือกำหนดกรอบการประเมินความเสี่ยงของการลงทุนได้ ดังนั้นการที่นักลงทุน มีความเข้าใจในกราฟเทคนิค ย่อมจะทำให้ทราบถึงพัฒนาการ การเคลื่อนที่ของราคาหุ้น จากการอ่านแนวโน้มของราคา ซึ่งจะทำให้ลดความเสี่ยงในการลงทุนได้เป็นอย่างมาก  ประเภทของแนวโน้ม แนวโน้มคือรูปแบบของราคาหุ้นที่เปลี่ยนแปลงแบบเคลื่อนที่จากช่วงเวลาหนึ่ง (t 0 ) ไปอีกช่วงเวลาหนึ่ง (t1) การเคลื่อนที่ของราคาหุ้นที่ปรากฏบนกราฟ จะอยู่ในลักษณะแบบคลื่น คือมีการแกว่งตัว ไม่ได้มีทิศทางการเคลื่อนที่ขึ้นหรือลงเป็นเส้นตรง สาเหตุมาจากการที่มีปัจจัยอื่นๆของผู้เล่นกลุ่มต่างๆเข้ามามีอิทธิพลต่อการเคลื่อนที่ของราคาหุ้น ก่อให้เกิดความผันผวนซ่อนอยู่ในการเคลื่อนที่ดังภาพ โดยสามารถแบ่งแนวโน้มออกได้เป็นดังนี้ 1. แนวโน้มขาข