ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

David Swensen and Yale Endowment Management

 ผมมีโอกาสได้ฟัง Lecture ครอส Financial Markets (2011) ใน Open Yale Courses Program ของ Professor Robert J. Shiller , ซึ่งได้เชิญคุณ David Swensen เจ้าของ "Yale Model" ,ตำนานผู้บริหารกองทุน Yale Endowment Management มาบรรยาย และถ่ายทอดประสบการณ์ หลายสิบปีในตลาดให้นักศึกษาฟัง คุณ David Swensen ผลงานไม่ธรรมดาเขาบริหาร Yale Endowment ตั้งแต่ปี 1985 - 2011 ,ผลงาน 20 ปี average return ที่ 13.1% สร้างมูลค่าเพิ่มให้พอร์ตระยะ 20 ปีกว่า $12.1 billion , ผมเคยมีโอกาสได้อ่านบทความและหนังสือ" Unconventional Success: A Fundamental Approach to Personal Investment" ของ คุณ Swensen มาบ้างเลยชอบแนวคิดของท่าน

ในคลิปนี้ คุณ David Swensen บรรยายแนวทางการบริหารพอร์ตกองทุน Endowment Fund จุดหนึ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของท่านคือ เน้นไปที่การทำ Asset Allocation เป็นหลักเพื่อสร้างพอร์ตโฟริโอที่มั่นคงและมีการ deversification ที่ดี(รับได้ทุกภาวะตลาด/ภาวะเศรษฐกิจ) ,เขาอ้างงานวิจัยที่สรุปว่าอิทธิผลมากกว่า 90% ใน return นั้นมาจากกลยุทธ์การทำ asset allocation. ประเด็นนี้โดยสรุปคุณ Swensen แนะนำให้ทำ diversification frame work ให้ดีกระจายไปยัง asset class ต่างๆที่มีผลกระทบจากปัจจัยเสี่ยงแตกต่างกัน, เพื่อก่อให้เกิดผลทั้งต่อ Return และ การจัดการ Risk ในระยะยาว(Long term hosizon),
แกเน้นว่าเป้าหมายเป็นเรื่องการลดความผันผวนของพอร์ตระยะยาว,โดยเฉพาะช่วงวิกฤติในตลาดหุ้นที่เกิดบ่อยกว่าที่ นักลงทุนคาดคิด เช่น 1929, 1987,1998,2000,2008 เป็นต้น แต่ละครั้งที่เกิดย่อมกระทบต่อตลาดหุ้นอย่างหนัก (stock index ลดลง -30% ถึง - 50%),ทำให้เผชิญกับการถดถอยของพอร์ต, รวมถึงนักลงทุนส่วนใหญ่ หรือแม้แต่ ผจก.กองทุนก็อาจจะทนรับการขาดทุนที่เกิดไม่ไหว อาจจะตัดสินใจขายเมื่อขาดทุนหนักเพื่อไปซื้อ Bond สินทรัพย์ปลอดภัยและอาจจะทำให้เสียโอกาสหลังตลาดหุ้นฟื้นกลับคืนมา ,ซึ่งสรุปไม่เป็นผลดีต่อแผนการลงทุนระยะยาว (แต่แกก็ไม่ปฏิเสธว่าการทำ diversification อาจจะได้ผลตอบแทนที่น้อยในบางช่วงเวลา เมื่อเทียบกับตลาด)



ประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจและเป็นความพิเศษของ คุณ David Swensen (คล้ายแนวคิดของ Ray dalio) คือเขาไม่เน้นเรื่องของ Market Timing และ Security Selection โดยเขาบอกว่ามันเป็นเรื่องยาก ที่จะได้ผลตอบแทนที่ดีระยะยาวที่พึงจากการคาดเดาทิศทางตลาด หรือการหาข้อมูลเพื่อเลือกหุ้นทีเด็ดในการสร้างผลตอบแทน ,เพราะถ้าผิดพลาดโอกาสขาดทุนสูง และเป็นต้นทุนแพง ที่ต้องจ่าย ทั้ง Market Timing และ Security Selection คุณ David Swensen ยกงานวิจัยเกี่ยวกับผลงานของ mutual fund และผลตอบแทนของนักลงทุนในกองทุน มาอธิบายร่วมได้น่าสนใจ
โดยการกลยุทธ์การปรับพอร์ต asset allocation ในช่วงเวลาต่างๆเพื่อปรับน้ำหนักในการถือ asset แต่ละชนิดที่เหมาะสม ก็ช่วยทำให้เกิดความแตกต่างในการเติบโตของพอร์ตใน Long Run ได้เช่นกัน
สรุปบางส่วนแต่ถ้าสนใจลองไปฟังคลิปดู บางเรื่องบางอย่างเราก็สามารถปรับประยุกต์มาใช้ในการสร้างพอร์ตโฟริโอของเราได้ แม้จะเป็น Trader ที่ใช้เรื่องของ Market Timing ก็ตาม
คลิปการสอน