ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

Price Indicator 1

การวิเคราะห์ทางเทคนิคด้วยดัชนีราคา(Price Indicator) ก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของอาวุธที่เราใช้ในตลาดหุ้นในเกมเก็งกำไรหรือการล่าส่วนต่างของราคา โดยเป้าหมายหลักของการวิเคราะห์ด้วยกราฟดัชนีราคาคือการอธิบายหรือสังเกตพฤติกรรมของราคาหุ้นโดยใช้ค่าทางสถิติและสมการคณิตศาสตร์มาช่วย และนำไปสู่การพยากรณ์การเคลื่อนที่ของราคาบนแนวโน้มในอนาคตต่อไป ด้วยกราฟดัชนีราคาคือการอธิบายหรือสังเกตพฤติกรรมของราคาหุ้นโดยใช้ค่าทางสถิติและสมการคณิต  สิ่งหนึ่งที่ต้องตระหนักคือ ดัชนีราคาใช้ค่าราคา ณ ช่วงเวลาต่างๆมาคำนวณดังนั้น เมื่อเหตุการณ์เกิดขึ้นแล้ว การย้อนมาดูดัชนีราคามันจึงสมเหตุสมผลทุกครั้ง เพราะสามารถอธิบายปรากฏการณ์ของราคาได้ แต่ส่วนของการคาดเดาอนาคตนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ส่วนนี้ขึ้นอยู่กับการเก็บข้อมูลและการประเมินความถูกต้องของการใช้ดัชนีราคาโมเดลต่างๆกับหุ้น เพื่อให้เกิดความมั่นใจในสัญญาณซื้อ ขายต่อไป  ดัชนีราคาที่ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบันนั้นมีมากกว่า 50 ตัวแยกย่อยไปตามสมการและวิธีการคำนวณ โดยส่วนใหญ่มักจะทำเพื่อสังเคราะห์สัญญาณซื้อ สัญญาณขายของราคาหุ้น ณ กรอบเวลาต่างๆ ในที่นี้ โดยการใช้งานดัชนีราคาให้เกิดประสิ

แนวรับแนวต้าน ตอนที่ 2

ตอนที่สองนี้ ผมขอกล่าวถึงวิธีหาแนวรับ แนวต้านที่นิยมใช้ สองวิธีหลักๆคือการใช้ Fibonacci และการใช้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ สองวิธีนี้เป็นวิธีการที่ใช้เครื่องมือคณิตศาสตร์มาช่วยทำให้เรามองแนวรับแนวต้านบนแนวโน้มใหญ่ได้ง่าย การหาแนวรับแนวต้าน วิธีการหาแนวรับ-แนวต้านของราคาหุ้น เราสามารถหาได้หลายวิธีขึ้นกับเทคนิคที่ผู้วิเคราะห์จะเลือกใช้ เช่นการใช้ Fibonacci, การใช้ค่าเฉลี่ยแบบหลายช่วงเวลา , การใช้เทคนิค Pnt ,การใช้ trend line ย่อยก่อนหน้า และอื่นๆ ผมขอให้แนวคิดไว้ว่า แนวรับแนวต้านนั้นเป็นเพียงจุดสังเกตที่ทำให้นักลงทุนทราบถึงสถานการณ์และการเคลื่อนตัวของราคาตามแนวโน้มเปรียบดั่ง เสาหลักกิโลเมตร ทีเอาไว้ให้เราบอกตำแหน่งบนเส้นทาง ( บนแนวโน้ม ) ดังนั้นผมขอยกตัวอย่างภาพการหาแนวรับแนวต้าน คราวๆดังนี้ครับ 1. การใช้ Fibonacci retracement คือวิธีการใช้สัดส่วนของ Fibonacci มาเป็นตัวกำหนดแนวรับ แนวต้านเพื่อใช้เป็นเส้นสังเกต หลักการใช้งานก็คือการลากจากจุดสูงสุดไปต่ำสุด หรือลากจากต่ำสุดมายังสูงสุดของแนวโน้มก่อนหน้า แล้วแต่แนวโน้มขาขึ้นหรือลง เพื่อนำเอา % มาใช้เป็นตัวกำหนดแนวรับหรือแนวต้าน ในแนวโน้มที่เกิดขึ

แนวรับแนวต้าน ตอนที่ 1

แนวรับและแนวต้าน เปรียบดังแนวของเส้น ณ ตำแหน่งราคาใดๆ ที่ใช้เป็นแนวสังเกตสำหรับการเคลื่อนที่ของราคาผ่านแนวนั้นๆ ด้วยเนื่องจากการหยุด การทะลุผ่าน หรือการไหลตกลงของราคา ณ ที่แนวสังเกตนี้ล้วนมีนัยยะ สำหรับการนำมาใช้งานในรอบต่อไป การทำความเข้าใจเกี่ยวกับแนวรับแนวต้าน จึ้งเป็นเรื่องจำเป็นควบคู่ไปกับการวิเคราะห์แนวโน้มของราคาหุ้น แนวรับ  แนวรับ(Support) คือแนวที่มีแรงซื้อมารับราคาหุ้นไว้ไม่ให้ตกลงไปมากกว่านี้หรือสามารถชะลอการร่วงลงของราคาได้ ในขณะเวลาหนึ่ง โดยทั่วไปแนวรับจะมีลักษณะเหมือนแนวที่เป็นจุดสังเกตการเคลื่อนที่ลงของราคาในแนวโน้มขาลง (Down Trend) แนวรับจะมีได้มากกว่า 1 แนวและสามารถนำแนวรับในอดีตที่มีนัยยะมาใช้ในการสังเกตในปัจจุบันได้ โดยบ่อยครั้งที่แนวรับสำคัญจะเกิดจากการที่ราคาหุ้นในทิศทางลงหลายรอบ มาหยุดลง ณ ที่แนวรับนั้น จากภาพ S0 S1 S2 และ S3 คือแนวรับ บนแนวโน้มของลงที่เมื่อราคาหุ้นวิ่งเข้าหาแล้ว มีการชะลอหรือเด้งกลับระยะสั้นๆ โดยแนวรับที่มีความแข็งแรงจะสามารถหยุดราคาหุ้นในขาลงได้นาน แนวต้าน แนวต้าน(Resistance) คือแนวที่มีแรงขายมาต้านราคาหุ้นไว้ไม่ให้ขึ้นสูงไปมากกว่านี้หรือสามารถช

การวิเคราะห์แนวโน้มราคา 2

หลังจากเลือกตั้งเสร็จ สัญญาณตอบรับจากตลาดก็ดีมาก จนลากพาดัชนียาวมาเกือบลุ้น 1100 จุด แต่ถึงยังไงก็ไม่ควรประมาทครับ เพราะเราไม่มีทางรู้ได้ว่าแนวโน้มระยะสั้นจะจบเมื่อใด วันนี้มาหัดเรียนรู้เรื่องการวิเคราะห์แนวโน้มของราคาหุ้นกันต่อดีกว่าครับ เอาไว้เป็นเกาะป้องกันตัวจากความไม่แน่นอนของตลาด ขนาดของแนวโน้ม จริงแล้วการมองแนวโน้มหรือการมองกราฟราคาหุ้นสามารถมองได้หลายกรอบเวลา (Time Frame, TF) ซึ่งล้วนแต่ มีขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์หรือกลยุทธการลงทุนที่แตกต่างกันไป การเก็งกำไรหรือการล่าส่วนต่างของราคาไม่จำเป็นต้องเล่นสั้นแบบที่หลายคนเข้าใจเสมอไป แนวโน้มเป็นตัวบ่งชีสำคัญที่ใช้ได้ทั้งในรูปแบบ day trade ที่ใช้ TF ระดับนาที ,week trade นักเก็งกำไรแบบรายสัปดาห์กลาง หรือ month trade ที่ดูกันในระดับเดือนแบบเก็งกำไร EPS รายไตรมาสก็มี เพราะหัวใจสำคัญคือ เมื่อรู้แนวโน้มทำให้รู้จังหวะของคลื่น รู้จังหวะราคาที่ควรซื้อ ดังนั้นมันย่อมได้ราคาหุ้นที่ดีกว่าเดินดุ่มๆลุยไปซื้อ ในวันที่ตลาดทำ New High เป็นไหนๆใช่ไหมครับ ? ดังนั้นผมของแบ่งกลุ่มของแนวโน้มตามขนาดของกรอบเวลาหรือ Time Frame คราวๆดังนี้ 1. แนวโน้มใหญ่ คือ เส้

การวิเคราะห์แนวโน้มราคา 1

กราฟเป็นเครื่องมือทางเทคนิคที่ใช้ในการวิเคราะห์ราคาและปริมาณของหุ้น เพื่อทำนายราคาที่น่าจะเป็นในอนาคต โดยทำการพอร์ตราคาหุ้นในรูปแบบกราฟแท่งเทียนหรือกราฟเส้นตามช่วงเวลา สำหรับศึกษารูปแบบแนวโน้มของราคาในอดีตที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน เพื่อใช้ในการอนุมานหรือทำนายแนวโน้มหรือราคาที่น่าจะเป็นในอนาคต ซึ่งจะสามารถใช้ในการกำหนดจังหวะเวลาในการลงทุน หรือกำหนดกรอบการประเมินความเสี่ยงของการลงทุนได้ ดังนั้นการที่นักลงทุน มีความเข้าใจในกราฟเทคนิค ย่อมจะทำให้ทราบถึงพัฒนาการ การเคลื่อนที่ของราคาหุ้น จากการอ่านแนวโน้มของราคา ซึ่งจะทำให้ลดความเสี่ยงในการลงทุนได้เป็นอย่างมาก  ประเภทของแนวโน้ม แนวโน้มคือรูปแบบของราคาหุ้นที่เปลี่ยนแปลงแบบเคลื่อนที่จากช่วงเวลาหนึ่ง (t 0 ) ไปอีกช่วงเวลาหนึ่ง (t1) การเคลื่อนที่ของราคาหุ้นที่ปรากฏบนกราฟ จะอยู่ในลักษณะแบบคลื่น คือมีการแกว่งตัว ไม่ได้มีทิศทางการเคลื่อนที่ขึ้นหรือลงเป็นเส้นตรง สาเหตุมาจากการที่มีปัจจัยอื่นๆของผู้เล่นกลุ่มต่างๆเข้ามามีอิทธิพลต่อการเคลื่อนที่ของราคาหุ้น ก่อให้เกิดความผันผวนซ่อนอยู่ในการเคลื่อนที่ดังภาพ โดยสามารถแบ่งแนวโน้มออกได้เป็นดังนี้ 1. แนวโน้มขาข

ไม่มีทางลัดสำหรับอิสรภาพ!!!!

ช่วงนี้คำว่า Freedom เป็นกระแสที่กำลังฮิตจริงๆหลายคนอยาก สัมผัสกับอิสระอยากหลุดออกจากรอบเดิม แบบที่ต้องตื่นเช้า ลากสังขารไปทำงานหนักที่ตนเองไม่ได้รัก เจอสภาพแวดล้อมที่โหดร้าย การแข่งขันการเอาเปรียบและการต้องเผชิญต่อแรงกดดันจากเจ้านาย ทั้งหมดทั้งมวลนี้ล้วนพันธนาการเราไว้ด้วยคำว่า "เงินเดือน" ดังนั้นการจะหลุดกรอบนี้ได้ต้องตัดล็อคแม่กุญแจอันโตออก หรืออีกนัยหนึ่งคือการอยู่ได้โดยไม่ต้องพึ่งเงินเดือนจากงานประจำ จึงเป็นที่มาของคำว่า อิสรภาพทางการเงิน  อิสระมีจริงหรือ  หลายคนมองพาหนะที่จะพาตัวเองหลุดจากกรอบเดิมไปสู่อิสรภาพทางการเงินด้วยการเข้ามาสู่ตลาดหุ้น เข้ามาสู่สังเวียนการลงทุน แน่นอนว่าแรงบันดาลใจแรกเริ่มของทุกคน(รวมถึงผมด้วย) ย่อมมาจากเจ้าวลีที่ว่า “อิสรภาพทางการเงิน” หรืออีกคำที่คลาสสิกไม่แพ้กันคือ “ให้เงินทำงานแทนเรา” ฟังสองคำนี้แล้วแทบซึ้งเพราะมันโดนใจจี๊ดขึ้นมาทันที ผมจำได้ว่าหลายปีที่แล้ว วันแรกที่เข้ามาสู่ตลาดหุ้นมันก็คล้ายกับเด็กบ้านนอกเข้ากรุงหรือพจมานถือ ชลอมกำลังจะก้าวเข้าสู่บ้านทรายทอง อะไรที่พบที่สัมผัสล้วนดูแปลกตา ผมมีคำถามมากมายที่เฝ้าถามไถ่คนที่เดินผ่านไปมา สวนทา

ลงทุนให้เหมาะกับอาชีพ

วิชาชีพ คำนี้คือคำสองได้แก่  “ วิชา ” + ” อาชีพ ” คำที่มาเจอกันและผสมกัน มีความหมายแบบสามัญว่า มันคือวิชาที่เราใช้หาเลี้ยงชีพ ทั้งชีพของเราและชีพของครอบครัว เป็นวิชาที่ผสมกับหยาดเหงื่อแรงงาน บวกเวลาอันมีค่า เพื่อนำไปแลกกับเงิน มาใช้ในการดำรงชีวิตในสังคม ทุกคนที่ทำงานแลกเงิน ล้วนแล้วต้องมีวิชาชีพ ไม่ว่าจะจบมหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษาใดๆหรือไม่จบ เพราะทุกคนที่มีอาชีพล้วนผ่านการเรียนรู้ทักษะที่ใช้ในการประกอบอาชีพ ทั้งจากการเรียนในห้องเรียนและเรียนโดยตรงจากการปฏิบัติงาน ซึ่งยิ่งมีชั่วโมงบินสูงๆมีอายุการทำงานสูงๆวิชาชีพท่านยิ่งกล้าแข็ง เก่งกล้า ทำงานแลกเงิน แต่แน่นอนว่า การนำวิชาชีพไปแลกเงินเดือนที่ดูเหมือนจะน้อยนิดเมื่อเทียบกับต้นทุนทางสังคมที่ต้องจ่าย ทั้งค่าเสื้อผ้า ค่ารถ ค่าคอนโด รวมถึงโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ มันทำให้การมองเห็นอนาคตอันสดใสริบหรี่เต็มที่ ยิ่งพยายามเอาเวลาที่มีค่าไปแลกเงินมามากเท่าใด ความสุขในชีวิตก็ยิ่งลดลง ดังนั้นจะดีแค่ไหนที่เราสามารถเอาวิชาชีพที่ร่ำเรียนมา หรือมีความชำนาญ ไปใช้ในการสร้างผลตอบแทนทางการเงินด้วยการลงทุนในตลาดหุ้น มาถึงตรงนี้หลายคนอาจจะสงสัยว่า อาชีพที่ทำท