ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

leverage

ช่วงนี้ดูเหมือนความกังวลเกี่ยวกับตลาดหมีน้อยจะกลับมาอีกรอบ โดยเฉพาะเรื่องของปัญหาหนี้สินของกรีซ และประเทศอื่นๆในยุโรป สลับกับตัวเลขทางเศรษฐกิจของอเมริกา ที่ออกมาให้ลุ้นกันได้เรื่อยๆ เมื่อหลายคนกังวล ผลที่ตามมาคือ ตลาดหุ้นมักตอบสนองกับความกังวลนั้น จะสั้นหรือยาวก็ตามแต่สถานการณ์ รวมถึงวิธีการเล่นของผู้เล่นรายใหญ่ เดี่ยวนี้จึงได้เห็นแมงเม่าแห่ลงไปเทรด Tfex กันมากขึ้น ตามคำชวนของเพื่อน ของมาร์ ด้วยความเชื่อที่ว่า จะได้มีเครื่องมือไว้ทำกำไรในช่วงตลาดขาลง  โดยหลายคนขาดความเข้าใจเกี่ยวกับการเทรดในตลาดฟิวเจอร์ ขาดระบบการเทรด ขาดการวางแผนการเงินที่ดี เพราะหลายคนเพิ่งจะเริ่มเทรดหุ้นได้ไม่นาน และส่วนมากยังขาดทุนกับการเล่นหุ้นเก็งกำไร จึงคิดที่จะมีทางลัดในการทำเงินจากตลาดฟิวเจอร์ ที่มี leverage สูงได้กำไรเยอะ เร็ว (อันนี้คำโฆษณาที่ยอดฮิต)  ผลที่ปรากฏส่วนมากก็จะขาดทุนไปตามระเบียบ บางคนเล่นไม่ต่างกับไฮโล แทงสั้น แทงยาว ไปตามการคาดเดา จับข่าว จับเรื่องราว จับดาวน์โจน ดาวน์โจนฟิวเจอร์ จับฝรั่งซื้อ-ขาย มาเป็นวัตถุดิบในการเดา สุดท้ายผิดทาง(จริงๆตัวเลขเหล่านี้ ส่วนมากใช้ประกอบกับข้อมูลอื่นๆหรือประกอบกับ

เริ่มต้นดีมีชัยไปว่าครึ่ง

มีคนเคยกล่าวไว้ว่า "เริ่มต้นด้วยดีเท่ากับสำเร็จไปแล้วครึ่งหนึ่ง" มันสะท้อนถึงสัจธรรมความจริงที่ว่า ไม่ว่าจะทำสิ่งใด การเริ่มต้นเป็นสิ่งที่สำคัญ และสามารถสะท้อนได้ถึงโอกาสที่จะประสบความสำเร็จได้เสมอ ไม่เว้นแม้แต่การลงทุนในหุ้น  ผมเชื่อว่าทุกคนย่อมมีก้าวแรกที่เริ่มออกเดินกันทั้งนั้น ซึ่งแต่ละคนออกอาจจะออกตัวเดินที่จุดเริ่มต้นและต้นทุนทางสังคมที่แตกต่างกันไป  คนรวยเริ่มต้นด้วยเงินถุงเงินถัง มีเงินจากครอบครัวแบ็คอัพ ก็หมือนได้ขึ้นบันไดเลื่อน ไม่ต้องกดดันมาก เหมือนเดินบนพรม ถ้าเป็นคนจนคนชั้นกลาง อาจจะต้องใช้ความพยายามมากสักหน่อย กว่าจะหาเงินก้อนมาเริ่มลงทุนได้ แทบลากเลือด แต่สุดท้ายจะเริ่มต้นด้วยเงินมากหรือน้อยเท่าไหร่ก็ไม่สำคัญ เท่าทัศนคติและวิธีคิดเริ่มต้นในการลงทุน การเริ่มต้นเป็นอะไรที่ยากเสมอ เพราะในเรื่องการลงทุนหลายคนไม่ได้มีพื้นฐาน ไม่ร่ำเรียนมาโดยตรง ดังนั้นถ้าจะให้ผ่านช่วงที่ยากที่สุดไป จำเป็นที่จะต้องมีแรงบันดาลใจ ส่วนหนึ่งเราสามารถหาได้จากการอ่านบทความเรื่องราวของ นักลงทุนที่ประสบความสำเร็จ จำได้ว่าช่วงต้นปีที่ผ่านมามี บทความแนวนี้ออกมาค่อนข้างเยอะ ให้เราได้อ่าน ทั้งน

เมื่อหุ้นโดนน้ำท่วม

ชั่วโมงนี้ถ้าไม่พูดถึงเรื่องน้ำท่วมคงจะเฉยไปแล้ว โดยเฉพาะหับคนกรุงเทพ ที่เฝ้ารอการมาถึงของน้องน้ำอย่างใจจดใจจ่อว่าจะเข้ามาถึงบ้านเมื่อไหร่ ผมว่าวิกฤตครั้งนี้มันสะท้อนหลายสิ่งหลายอย่างออกมาทั้งมิติเรื่องสังคม(อีกพวกให้ปิด อีกพวกให้เปิดประตูน้ำ เปิดคันกั้นน้ำ ทะเลาะกัน ตีกัน ยิงปืน ปิดถนน) และการเมือง(ทั้งการเมืองท้องถิ่นและการเมืองระดับประเทศ ที่ขยันเล่นการเมืองท่ามกลางความเดือดร้อนของประชาชน) รวมถึงเรื่องการบริหารจัดการและการเตรียมรับมือกับภัยพิบัติ ที่เมืองไทยยังขาดเรื่องนี้อยู่มาก  ผมเองก็ไม่คิดว่าชีวิตนี้จะมีโอกาสได้เจอกับภัยพิบัติและมีโอกาสได้เป็นผู้อพยพ จากบ้านที่อยู่มานานหลายสิบปี ก็คราวนี้เอง มีโอกาสได้เป็นส่วนหนึ่งของภัยพิบัติ ที่เกิดก็เป็นประสบการณ์ที่ดี มันทำให้เราได้มีสติ เตือนให้เราไม่ประมาท ผมเองมีโอกาสได้เห็นรถขันละหลายล้านบาท บ้านหลังละเกือบยี่สิบล้าน รวมถึงนิคมอุตสาหกรรมมูลค่าหลายหมื่นล้าน จมไปกับน้ำ ทำให้รู้เลยว่าทรัพย์สินนั้นเป็นสิ่งที่ไม่จีรังยั้งยืน ใครจะคิดว่าสักวันเราจะพ่ายแพ้กับพลังธรรมชาติ พลังที่เราเคยภูมิใจว่าเราสามารถควบคุมและใช้ประโยชน์จากมันได้  ในวิกฤตินี้

ตามติดต่อตี (กลยุทธบริหารจัดการเงิน)

ท่ามกลางวิกฤตน้ำท่วมกรุง ที่ดูเหมือนยังหาทางแก้ไขหรือบรรเทาไม่ได้ในขณะนี้ นักลงทุนเองก็มีข่าวดีให้ยิ้มได้ คือ ตลาดหุ้นปรับตัวบวกขึ้นต่อเนื่องจนมาถึงแนวต้านที่ 980 หลายคนที่เทรดในรอบนี้ก็รับทรัพย์กันอื้อซ่า ส่วนคนที่ติดดอยจากรอบก่อนหน้าก็คงจะใจชื้น มีหวังได้ลงดอยกันบ้าง(แต่ความจริงก็ยังไม่มีอะไรที่แน่นอน บ่งบอกว่า SET จะกลับไปที่จุดเดิม) คนอีกกลุ่มหนึ่งที่ผมพบปะแล้วเจอไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากลุ่มที่ติดดอย ก็คือกลุ่มคนที่เรียกตัวเองว่า ตกรถ เพราะล้างพอร์ตขาดทุนไปรอบก่อนหน้า เพราะกลัวปัญหาหนี้สินยุโรป พอร์ตว่างยังลังเลไม่กล้าซื้อ ไม่กล้าเข้า เพราะกลัวจะติดดอยอีก วันนี้มีเทคนิคเบื้องต้นมาแนะนำครับ ปัญหาอย่างหนึ่งของคนที่ตกรถคือมักจะเป็นคนที่เคยขาดทุนมาก่อน ด้วยความกลัวที่ข้างในอารมณ์มันจึงทำให้ไม่กล้าที่จะซื้อหุ้นที่ราคาวิ่งขึ้น พอจะซื้อราคาหุ้นเริ่มชะลอตัวก็ไม่มั่นใจคิดว่าจะลง รอต่อไปอีกหน่อยราคาหุ้นก็วิ่งต่อ (รอบนี้ที่เราเห็นมากคือการกระโดดเปิด GAP ตั้งแต่เปิดตลาด) ยิ่งราคาบวกไปสูงความกลัว(อารมณ์) ก็เข้ามารบกวนจิตใจ รอต่อไปหุ้นก็ขึ้นต่ออีก สุดท้ายไม่กล้าซื้อ หรือบางคนคันมืออดใจไม่ไหวมาโดดใส่ต

วัยรุ่นพันล้าน#2

ตอนที่แล้ว เนื่องจากเขียนถึงเรื่องราวของวัยรุ่นที่อยากเอาดีบนถนนสายการลงทุน ผมมีอีกหนึ่งตัวอย่างที่น่าสนใจ ของเทรดเดอร์รุ่นใหม่ที่ใช้ความมุ่งมั่นในเล่นหุ้น เริ่มลงทุนตั้งแต่เรียนจบมหาวิทยาลัย เขาใช้เวลา 8 ปีสร้างตัวเองให้มีเงินระดับพันล้านบาทจากเงินออมเริ่มต้น ชายคนนี้คือ Kotegawa Takashi นักเก็งกำไรชาวญี่ปุ่น ลองอ่านเรื่องราวของเขาเพื่อว่าจะได้เป็นแรงบันดาลใจในการลงทุนต่อไปครับ นักลงทุนรายย่อยคนนี้พึ่งจะอายุ 29 ปี แต่ทว่า พอร์ตของเขามีมูลค่าสูงถึง 19,000,000,000 เยน หรือประมาณ 5,700,000,000 บาท หนุ่มคนนี้คือ Kotegawa Takashi หนุ่มน้อยคนนี้มีชือเรียกอีก 2 ชื่อ คือ BNF และ J-com otoko (นายเจคอม) BNF เป็นชื่อที่เขาใช้เรียกตัวเองเวลาเขียนตอบกระทู้ในเว็บไซด์ 2 channel (คล้ายกับ พันทิพย์ บ้านเรา) ส่วน J-com otoko นั้นเป็นชื่อที่นักข่าวเรียกเขาจากการที่เขาสามารถทำกำไรจากการเทรดหุ้น j-com ประมาณ 600 ล้านบาทภายในเวลาสิบกว่านาทีและทำให้เขามีชื่อเสียงรู้จักไปทั่วเพียงข้ามคืน ชื่อของBNF เป็นข่าวครั้งแรกเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2005 เมื่อผู้รับชอบการซื้อขายหุ้นของ Mizuho Securities ออกคำสั่งขา

วันรุ่นพันล้าน#1

มีน้องคนหนึ่งเป็นสมาชิกใน fanpage เขียน email มาคุยเรื่องหุ้น น้องคนนี้มีความรู้สึกว่า กำลังจะเรียบจบ ม.ปลาย แต่เขาไม่อยากทำงานประจำ อยากเล่นหุ้นอยู่บ้าน โดยน้องเขามีวิธีคิดที่เหมือนใครหลายคนที่ผมรู้จักมาคือ คิดจะเล่นหุ้นเก็งกำไรให้ได้ผลตอบแทนวันละ 300 - 500 บาทให้พอเป็นค่าใช้จ่าย และเป็นเหมือนช่วงการฝึกเก็บเกี่ยวประสบการณ์การเป็นเทรดเดอร์ พันล้านในอนาคตต่อไป ผมชอบแนวคิดของน้องคนนี้จัง มันมีความฝันความทะเยอทะยานและความสดซ่อนอยู่ในข้อความที่เขียนมาปรึกษา นึกถึงเรื่องของเถ้าแก่น้อย ในหนังวัยรุ่นพันล้าน เรื่องราวของคนที่อยากรวย อยากก้าวหน้า ตั้งแต่วัยรุ่นกระทง มันเป็นเรื่องที่ดีน่ายกย่อง แต่สิ่งหนึ่งที่เราต้องสำเนียกคือ ชีวิตจริงมันไม่มีอะไรได้มาง่ายๆ ก่อนจะประสบความสำเร็จ ยังไงก็ต้องมีโอกาสลิ้มรสความล้มเหลวได้เสมอ ผมขอนำเอาข้อเสนอแนะที่ผมเขียนตอบน้องคนนี้ไปมาเรียบเรียงไว้ในบล๊อคของผม เพื่อว่าจะมีวัยรุ่นคนไหนที่อยากได้คำแนะนำแนวนี้ไปลองปรับใช้ดู ความกดดันจากคนรอบข้าง ผมว่าการที่เราอยู่บ้านเฉยๆ ไม่ได้ทำงานนี้ เราอาจจะต้องหาคำตอบให้กับครอบครัว เพื่อนบ้าน ตลอดจนคนอื่นๆที่มักถามเราว่าทำงานอะ

ชีวิตนอกกรอบ

สังคมมักตัดสินหรือให้ความสำคัญของคนที่ฐานะการเงิน รถ บ้าน เครื่องประดับ หน้าที่การงาน โดยเรามักมองคนที่มีวัตถุติดกายที่มีมูลค่ามากว่าเป็นคนพิเศษ ให้ความเกรงใจ หรือยอมรับมากกว่า คนที่มีสิ่งเหล่านั้นน้อยกว่า จนมันกายเป็นค่านิยมทางวัตถุที่เกาะกินใจของคนทั่วไป ก่อให้เกิดการปลูกฝังความต้องการทางวัตถุในคนทุกเพศทุกวัย  จนต่อมความอยากมี อยากได้มันเติบโต แซงหน้าต่อมจริยธรรมและสำนึกชั่วดี ทำให้เกิดปรากฏการณ์ความโลภแบบไร้ขีดจำกัดในสังคม ดังที่เราเห็นกันอยู่มากมายด้วยแรงขับดันจากความอยากได้ อยากมี หลงใน ยศ อำนาจและเงินทอง ด้วยความปราถนาที่จะเป็นที่ยอมรับจากคนรอบข้างและคนในสังคม  คนชั้นกลาง ในสังคมที่โดนกระแสวัตถุพัดพาไปก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่วนเวียนอยู่ในค่านิยมนี้และโดนทำร้ายทางอ้อมอยู่เนืองๆ ดังที่เราจะเห็น คนเหล่านี้คือคนที่เป็นแรงงานให้กับนายทุนในระบบทุนนิยม เป็นมนุษย์เงินเดือนที่รับค่าแรง ตามงานที่ทำ และถูกหล่อหลอมให้เกิดการใช้จ่ายเกินตัวจากวัตถุนิยมรอบข้าง ถูกชักนำให้เกิดการก่อหนี้ที่มากกว่าการออม ผ่านการใช้งานบัตรเครดิต และการกู้เงินผ่านธนาคาร แล้วถูกกระตุ้นให้เกิดการแข่งขันด้วยการสะสมทางวัตถ