ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2010

บทเรียนของปีเก่า

กลิ่นของปีใหม่ใกล้เข้ามาเรื่อยๆแล้ว ผมชอบบรรยากาศปลายปีแบบนี้จัง อากาศเย็น บรรยากาศของความสุข สนุกสนานของงานเลี้ยง และวันหยุดยาว ผู้คนต่างจับจ่ายซื้อของขวัญให้กัน บางคนเตรียมตัวสำหรับเดินทางไกลไปท่องเที่ยวหรือกลับบ้านที่ต่างจังหวัด  ผมเชื่อว่าหลายอาชีพสัปดาห์นี้คงจะไม่มีกระจิตกระใจทำงานกันแล้ว จิตใจคงจดจ่ออยู่กับวันหยุดและการฉลองเทศกาลปีใหม่มากกว่า รวมถึงอาชีพนักลงทุน บรรยากาศของตลาดหุ้นช่วงสัปดาห์นี้ก็เงียบเหงา มีสลับตื่นเต้นบ้างบางวัน แต่โดยรวมความคึกคักก็หายไปมาก ที่น่าชมเชยคงจะเป็นหุ้นเล็ก หุ้นมีของขยันวิ่งกันมากมายทุกวัน ทำเอาคอเดยเทรดไม่มีเบื่อกันเลย แท้จริงแล้ว ชีวิตเราก็คือการลงทุน พ่อแม่ลงทุนในการเลี้ยงดูและให้การศึกษาลูก, ทำบุญก็คือรูปแบบของการลงทุนเพื่อจะให้ได้ไปสวรรค์ เป็นต้น สิ่งที่เกิดขึ้นพร้อมกับการลงทุนนั้นคือ "ความคาดหวัง" เมื่อมีความคาดหวังย่อมมีทั้ง สมหวัง และ ผิดหวัง ควบคู่กัน สิ่งสำคัญที่สุดคือเราต้องมีสติและเรียนรู้จากความผิดหวังเพื่อให้เกิดการพัฒนาตนเอง เพื่อไปสู่เป้าหมายตามที่คาดหวังไว้ การลงทุนในตลาดหุ้นสิ่งหนึ่งที่ผมอยากจะแนะนำสำหรับนักลงทุนรุ่นใหม่ก

ติดอาวุธให้นักรบกองทุน

นอกจากจะลงทุนในหุ้นแล้ว ผมมีพอร์ตการลงทุนในกองทุน โดยบริหารการลงทุนให้กับเงินของครอบครัว มิใช่ว่าเชื่อใจในฝีมือของ Fund manager แต่อย่างใด แต่ที่ใช้บริการเพราะว่าสะดวกกว่าการลงทุนในหุ้นแบบเน้นคุณค่าระยะยาว เพราะสามารถดึงเงินกลับได้ทุกเวลา และปลอดภัยกว่าการลงทุนในหุ้นเก็งกำไร ซึ่งเหมาะกับเงินของครอบครัวที่รับความเสี่ยงได้จำกัด แน่นอนว่าผมทำการซื้อขายหน่วยลงทุนกองทุนรวมพวก Passive Fund ที่อ้างอิงราคากับดัชนีตลาดหลักทรัพย์ แบบลูกค้าทั่วไป แต่สิ่งหนึ่งที่ผมทำก็คือเอาการวิเคราะห์ทางเทคนิคของหุ้นเข้ามาใช้ โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลดัชนี เพื่อประกอบการกำหนดจังหวะการซื้อ ขายหน่วยลงทุน โดยเป้าหมายการลงทุนของผมก็คือที่ปีละ 20% ไม่มากไม่น้อยจนเกินไป การวางเป้าหมายแบบสบายๆจะทำให้เราไม่ต้องไปเสี่ยงและเร่งรัดกับแผนการลงทุนจนมากไป ผมขอแบ่งปันเทคนิคเบื้องต้นในการวิเคราะห์แนวโน้มของดัชนี สำหรับการประกอบการตัดสินใจในการลงทุน นั้นก็คือการใช้ค่าเฉลี่ย EMA5 และ EMA10 มาช่วยกำหนดจังหวะการซื้อ ขาย หน่วยลงทุน เนื่องด้วยราคาของหน่วยลงทุนนั้นจะเคลื่อนที่อิงอยู่กับดัชนีของตลาด ดังนั้นแนวโน้มของดัชนี SET ก็จะเป็นแน

"จอร์จ ตัน" เซียนเหนือเซียน

ชอบบทความนี้ครับ พอได้อ่านแล้วอยากนำมาเก็บไว้ ผมว่ามันทำให้เราตาสว่างและได้มีโอกาสเห็นในมุมของรายใหญ่บ้าง จริงเท็จแค่ไหนตอบไม่ได้ครับ แต่ก็ฟังหูไว้หูบ้างก็ไม่เสียหาย -------------------------------------------------------- ตอน..กลยุทธ์หักเหลี่ยมโค่น "เซียน" ที่มา: Bangkok Biznews "จอร์จ ตัน" คือชื่อที่ "เอกยุทธ อัญชันบุตร" โด่งดังในมาเลเซีย และสิงคโปร์ ในฐานะมือบริหาร "เฮดจ์ฟันด์" (กองทุนบริหารความเสี่ยง) มือฉกาจ ที่เล่นกับความเสี่ยงทุกชนิด ทั้งหุ้น ค่าเงิน และความผันผวนของราคาน้ำมัน "ผมเล่นหุ้นทั่วโลกเล่นมาเป็น 10 ปีแล้ว" เอกยุทธให้คำนิยามตัวเองว่าเป็น ?นักธุรกิจ? ที่แสวงหาโอกาสจากความเสี่ยง และผลกำไร ที่มาเลเซีย และสิงคโปร์ เขาบอกว่าเพื่อนๆ จะให้เกียรติเรียกว่า "ไต่กอ" หรือ ?Big Brother? ภาษาไทยแปลว่า?พี่ใหญ่? "เพื่อนฝูงผมเยอะมากทุกวงการจนบางคนเขามองผมว่าเป็น "มาเฟีย? ถ้าคุณไป สิงคโปร์ มาเลเซีย วันนี้ไปถามชื่อผมว่า "จอร์จ ตัน? เมืองไทย นักธุรกิจทุกคนรู้จักผม ไม่มีทางลืมชื่อผม? เอกยุทธกล่าวด้วยความมั่นใจ เอกยุท

การประกอบธุรกิจ

เมื่อวันก่อนมีเพื่อนชวนไปทำธุรกิจร่วมกัน ด้วยเหตุผลที่ว่าเค้ามีเงินเก็บประมาณหนึ่ง จึงอยากที่จะมีธุรกิจเสริมรายได้ และเพิ่มความงอกเงยให้กับเงินออม ประกอบกับความหวังว่าถ้าธุรกิจไปได้ดี โอกาสที่จะกระโดดหนีออกจากงานประจำอันแสนน่าเบื่อก็จะเปิดกว้างขึ้น ตลอดเวลาสองชั่วโมงในร้านอาหารญี่ปุ่น ผมทำตัวเป็นผู้ฟังที่ดี รับฟังความคิดบวกความฝันของเธออย่างตั้งใจ ควบคู่ไปกับการกินซูชิและบะหมี่เย็น ข้างกายมีกระดาษโน๊ตชิ้นเล็กๆเอาไว้จดไอเดียเด็ดและประเด็นสำคัญ พยักหน้าให้เธอเป็นบางครั้ง สลับกับการจดโน๊ตที่น่าสนใจไว้สรุปกับเธอในครั้งต่อไป (หาโอกาสกินข้าวฟรีได้อีกมื้อ) ที่ยังไม่อยากสรุปวันนี้เพราะอยากเปิดพื้นที่ให้จินตนาการและความฝันมันทำงานอย่างเต็มเปี่ยมก่อน วันนี้ทุกอย่างที่เธอเล่ามาดูมันเป็นความคิดที่ยังไม่ตกผลึกมันดิบปนสุก มีทั้งความคิดที่ว่าจะเป็นไปได้บวกกับความรู้สึกขัดแย้งกันเองเต็มไปหมด ตามประสาเด็กน้อยที่กำลังจะก้าวออกจากกรอบ แต่สิ่งที่รับรู้ได้จากแววตามันคือความสนุกความอยากที่จะออกมาผจญภัยในสิ่งที่ตัวเองไม่เคยทำ ผมลองมานั่งเปรียบเทียบการลงทุนในตลาดหุ้นกับการประกอบธุรกิจเสริม พบว่

ว่าด้วย GAP

เวลามีคนพูดถึง GAP ว่าหุ้นตัวนั้นเปิด GAP แล้ว แต่ไม่ปิด GAP ถ้าไม่รู้จักอาจจะ ฟังมักจะดูเท่ห์จัง เพราะหลายคนให้น้ำหนักของ GAP แล้วนำการเกิด GAP ไปใช้ให้เกิดโอกาส จริงๆแล้ว GAP เป็นเครื่องมือรูปแบบราคาทางเทคนิค ที่สะท้อนถึงจิตวิทยาตลาดได้เป็นอย่างดี การตีความและการนำไปใช้ บางคนอาจจะมองไม่เหมือนกัน วันนี้นำเรื่องของ GAP มาฝาก ช่วงนี้มีหุ้นหลายตัวที่โชว์ GAP ให้เราเห็นบ่อยๆ จึงคิดว่าควรนำ GAP มาทำความรู้จักกับทุกท่าน โดยทั่วไปแล้วการเกิด GAP จะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของราคาแบบไม่ต่อเนื่อง ฉับพลันทันทีทันใดในรูปแบบของการก้าวกระโดด ทั้งในทิศทางขาขึ้นและขาลงของราคาหุ้น จนทำให้เกิดช่องว่างของราคาขึ้นมา GAP ขาขึ้นนั้นจะสะท้อนความแข็งแรงของตลาด และความต้องการของแรงซื้อที่มาก เช่นการแย่งกันซื้อแบบรุนแรง ในทิศทางขาลง GAP ก็สะท้อนการอ่อนตัวของราคาหุ้นแบบถดท้อย จนเกิดการแย่งกันขาย แบบมีนัยยะสำคัญ เช่นการตอบสนองต่อข่าว หรือปรากฏการณ์ผลกระทบจากภายนอกต่อตัวหุ้น GAP สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทตามรูปแบบการเคลื่อนตัวของแท่งเทียน ดังนี้ คือ 1. Common Gap : เป็น GAP แบบธรรมดาที่ไม่มีอะไรน่าสนใจ มีความสำคั

กฎ 10 ข้อพื้นฐานการวิเคราะห์เทคนิค

ถ้าศึกษาเทคนิค และรักจะลงทุนแนวนี้จำเป็นต้องรู้ครับ กฎ ทั้ง10 ข้อนี้ เป็นหลักการสำคัญสำหรับผู้ที่ใช้วิธีการวิเคราะห์ทางเทคนิคสำหรับการลงทุน เพราะหากไม่มีหลักการดังกล่าวแล้ว เราก็จะไม่สามารถกำหนดการซื้อขายที่เป็นรูปแบบได้ ซึ่งในกฎเหล่านี้จะพูดถึงการวิเคราะห์แนวโน้ม , หาจุดกลับตัว, ติดตามค่าเฉลี่ย, มองหาสัญญาณเตือน และอื่นๆ เป็นแนวคิดความเข้าใจพื้นฐานที่ต้องมีและใช้ในการลงทุน ควบคู่ไปกับการวิเคราะห์ทางเทคนิค พอได้ไปพบกระทู้เก่าจากสินธร แต่เขียนไว้เกือบ 2 ปีแล้วยังทันสมัยอยู่จึงขอนำมาแปะไว้ครับ 1. ดูแนวโน้ม เรียน รู้ชาร์ตในระยะยาว โดยเริ่มการวิเคราะห์ชาร์ตในระดับเดือนและสัปดาห์ ของช่วงเวลาหลายๆปี การดูชาร์ตในระดับของช่วงเวลาที่กว้างขึ้นจะทำให้สามารถมองเป็นแนวโน้มของ ตลาดในระยะยาวได้ชัดเจนขึ้น เมื่อทราบถึงแนวโน้มระยะยาวแล้ว จึงจะดูชาร์ตในระดับวันและนาที การดูแนวโน้มในช่วงสั้นเพียงอย่างเดียวจะทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ถึงแม้ว่าคุณจะลงทุนในระยะสั้น คุณจะได้ผลตอบแทนที่ดีกว่าหากคุณลงทุนในทิศทางเดียวกับแนวโน้มในระยะกลางและ ยาว 2. วิเคราะห์และไปตามแนวโน้ม แนว โน้มของตลาดมีหลายช่วงเวลา ระยะยาว

ความไม่แน่นอน

ไปเจอบทความดีๆที่ว่าด้วยกฏของธรรมชาติ คืออนิจจัง เป็นนิทานธรรมะที่เตือนใจนักลงทุนได้ดีครับ ลองอ่านดูแล้วจะไม่ประมาทในการใช้ชีวิตและการลงทุน สุทิน กับ สินธุ เป็นเพื่อนกันตั้งแต่เรียนวิศวะ จบมาแล้วก็ได้งานทำที่โรงงานเดียวกัน ชื่อที่คล้องจอง ลักษณะนิสัยที่คล้ายคลึง ทำให้เขาทั้งสองสนิทสนมกันมาก ทำงานร่วมกันมาหลายปี จนกระทั่งปลายปี ๒๕๔๙ เศรษฐกิจตกต่ำลง โรงงานที่เขาทั้งสองทำงานอยู่ปิดกิจการ งานที่เคยคิดว่ามั่นคง ตำแหน่งงานผู้บริหารระดับต้นอันทรงเกียรติกลายเป็นอดีต เขาทั้งสองจำต้องแยกย้ายไปคนละทิศละทาง หลายปีผ่านไป เศรษฐกิจขึ้นแล้วลง ลงแล้วขึ้นไปตามวัฏจักรของมัน เขาทั้งสองไม่ค่อยได้เจอกันอีก ขณะนี้สุทินทำงานเหมืองที่ประเทศลาว ในบริเวณป่าเขาที่แทบจะติดต่อโลกภายนอกไม่ได้ ทำงานติดต่อกันทุกวัน เป็นเวลาหกสัปดาห์ และ หยุดสองสัปดาห์ เพื่อใช้หนี้ที่เขาติดค้างญาติเป็นค่ารักษาพยาบาลพ่อก่อนที่พ่อของเขาจะเสียชีวิต ส่วนสินธุนั้นหลังจากเขานำเงินที่เก็บได้ไปเล่นหุ้นจนเกือบหมดตัวแล้วก็ว่างงาน ต้องทำงานรับจ้างเล็กๆ น้อยๆ จนเศรษฐกิจเริ่มดีอีกครั้ง สินธุจึงได้งานใหม่ในตำแหน่งผู้จัดการโรงงานแห่งหนึ่ง อยู่มาวันหน

MACD System

ผมใช้เวลาในช่วงวันหยุดแบบนี้ ทำสิ่งที่อยากทำเป็นการส่งท้ายปีนั้นก็คือการปรับปรุงและตรวจสอบระบบเทรดและโมเดลที่ใช้มาทั้งปี ยอมรับว่าปีนี้ระบบเทรดทำงานได้ดีทั้งระบบสำหรับ Up trend และระบบเทรดแบบ Sideway บวกกับเป็นช่วงปีทองตลาดขาขึ้นทำให้ผลตอบแทนปีนี้ฟู่ฟ่ามากที่สุดเท่าที่ผมเคยลงทุนในตลาดหุ้นมา สำหรับใครที่ยังหาแนวทางไม่เจอก็ขอเป็นกำลังใจให้พยายามต่อไปนะครับ เพราะไม่มีอะไรได้มาง่ายๆ ต้องหมั่นศึกษาเรียนรู้ ยิ่งเรียนยิ่งได้ ยิ่งฝึกยิ่งเป็นรับรองไม่เสียเปล่าเท่ากับศูนย์ครับ ผมเองเคยแนะนำให้เพื่อนใช้ระบบ MACD ในการกำหนดจังหวะการซื้อ-ขายหุ้นพื้นฐานแบบอัตโนมัติ ช่วยสำหรับการลงทุนโดยไม่ต้องใช้อารมณ์เป็นตัวกำหนด และเหมาะสำหรับคนที่ไม่ได้ต้องการซื้อๆขายๆทุกวัน แต่แน่นอนว่า MACD ก็มีจุดอ่อน และที่สำคัญจำนวน วันที่เป็นพารามิเตอร์ในการคำนวณ สำหรับหุ้นแต่ละตัวที่มีพฤติกรรมต่างกันจำเป็นที่จะต้องปรับตั้งให้เหมาะสมกับรอบการเคลื่อนตัวของราคา การใช้ MACD(12-26-9) ตลอดทุกตัว ก็ไม่ใช้ทางเลือกที่มีประสิทธิภาพนัก ส่วนจะใช้เท่าไหร่นั้นต้องทำวิจัย ทดสอบทดลองหาค่าที่เหมาะสมเอาครับ วันนี้ผมมีตัวอย่างงานวิจัยเล็กๆที

เงินน้อยไม่ใช่ปัญหา

มีคนเคยถามผมว่า เริ่มลงทุนในตลาดหุ้น ควรมีเงินเริ่มต้นเท่าไหร่ดี 1 แสน 1 ล้าน หรือ 10 ล้าน อุึปสรรคในการเริ่มต้นลงทุนของคนชั้นกลาง มนุษย์เงินเดือน คงจะเป็นในเรื่องการกังวลกับความเสี่ยงในการลงทุนและเงินเริ่มต้นในการลงทุน อาจจะเป็นเพราะติดกับความเชื่อเดิม ที่กรอกหูจากเพลงเพื่อชีวิต วิตามินบี 12 ที่บอกว่า "คนจน เล่นหวย คนรวยเล่นหุ้น" เมื่อคิดว่าฉันยังไม่รวยก็เลยเล่นหวยกันต่อไป แท้จริงแล้ว เงินไม่ใช่ปัญหาสำคัญในการเริ่มต้นลงทุน ผมกลับมองว่ายิ่งเริ่มเร็วยิ่งได้เปรียบ ยิ่งเริ่มจากเงินน้อยๆยิ่งได้เปรียบ เพราะอะไรหรือครับ ก็เพราะว่ากว่าที่เราจะมีวิชากล้าแข็ง มีทักษะในการลงทุนต้องใช้เวลา ลองผิดลองถูกยิ่งเริ่มเร็ว โอกาสในการทำกำไรในการลงทุนยิ่งมาถึงเร็ว ถ้าเริ่มตอนอายุ 40 -50 มีครอบครัว ความเสี่ยงที่รับได้ก็จะน้อย ที่สำคัญอายุมากขึ้นเวลาใช้ให้เงินทำงานก็น้อยลง ถ้าจะลงทุนตอน 50 กว่าจะมีเงินจากปันผลให้ทบต้นสัก 1 เด้งก็อาจจะต้องรอไปสัก 10-15 ปี ก็เป็นได้ เผลอๆตายก่อนอดใช้เงินอีก เคยมีคนบอกผมว่านักลงทุนกว่าจะเก่งต้องอยู่ในตลาดมากกว่า 5 ปี ต้องลงทุนชนะตลาด(SET) ได้ติดต่อกันมากกว

มีเงินสิบล้าน ควรนำไปทำอะไรดีครับ ???

คำถามแบบนี้เป็นคำถามที่เราสามารถพบเห็นได้บ่อย เป็นคำถามที่เสียดแทงใจหลายคนที่เป็นนักเล่นหุ้นแต่มีเงินเก็บน้อยกว่าคนถาม ซึ่งเราจะพบการสะท้อนความอัดอั้นได้จากคำตอบประเภทแดกดันที่ว่า มีเงินเยอะขนาดนี้ไม่รู้จะเอาไปทำอะไร ก็เอาไปฝังดินไว้เถอะ ผมว่ามันก็ไม่ได้เป็นคำถามอะไรที่แปลกแต่อย่างใด อยากให้มองด้วยใจเป็นกลางเพราะผมเชื่อว่าทุกคนย่อมเคยมีคำถามอย่างนี้มาก่อน ต่างกันตรงที่จำนวนเงินมากบ้างน้อยบ้าง แต่อย่างน้อยด้วยคำถามแบบนี้มักจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เราหันมาศึกษาเรื่องการลงทุน และเข้ามาสู่ตลาดหุ้น หรือสนามการลงทุนรูปแบบต่างๆ ไม่ใช่หรือครับ ตลอดชีวิตตั้งแต่เรียน จนทำงาน เรามักถูกสอนและพยายามจะเรียนรู้แต่การทำเงิน สร้างเงิน พยายามขวนขวายสร้างศักยภาพ ทำงานหนักเพื่อการสร้างรายได้ ทั้งจากทางตรงคือสร้างโอกาสให้ได้รับตำแหน่งงานที่ดีเพื่อเงินเดือนที่สูงขึ้น หรือทางอ้อมจากการทำงานพิเศษ แน่นอนว่านั้นก็คือการทำงานเพื่อแลกเงิน แต่เราไม่ได้เรียนรู้เรื่องการเงินการลงทุนเท่าไหร่นัก นอกจากผู้ที่ศึกษามาโดยตรงทางด้านนี้(แต่ถ้ามีทัศนะคติที่ผิดก็ไม่มีประโยชน์) ปัญหาก็คือต่อให้เรามีความสามารถและมีวินัยในการ