ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Relative Strength Index (RSI)

RSI คือเครื่องมือดัชนีประเภท fast active oscillator ยอดนิยมในกลุ่ม momentum indicator ที่สามารถนำมาใช้พิจารณาการแกว่งตัวของราคาในช่วงกรอบจำกัด ราคามีความผันผวนหรือใช้สังเกตการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มราคาได้ดีอีกตัวหนึ่ง โดยที่นิยมใช้กันคือการดูค่า Overbought และ Oversold, ดู Crossovers หรือใช้ในการสังเกตการณ์เกิด divergence และ convergence ระหว่างตัวดัชนีและราคาหุ้น


ปกติเรามักนิยมใช้ ค่า RSI 14 วันเป็นค่าปกติที่ใช้กัน แต่อาจจะมีการดัดแปลงค่าวันจากการทำการเก็บข้อมูลสถิติเพื่อทดสอบให้เหมาะกับรอบการแกว่งของหุ้นแต่ละตัวได้ เพื่อให้สัญญาณที่ใกล้เคียงกับพฤติกรรมของหุ้น ณ ช่วงเวลานั้นๆมากที่สุด

การแปลความหมายและการนำไปใช้

การตีความของ RSI สามารถจำแนกเป็นลักษณะต่างๆได้ดังนี้

- การดูค่าความอิ่มตัว Overbought และ Oversold
เป็นการนำเอาค่าจาก RSI มาใช้นิยามค่าความอิ่มตัวของแนวโน้ม เพื่อใช้บอกจังหวะการลงทุนโดย Overbought คือการอิ่มตัวขาขึ้น เกิดจากการซื้อมาก และ Oversold คือการอิ่มตัวขาลง เกิดจากการขายมาก โดยแบ่ง zone ของการอิ่มตัวได้ดังนี้
        Overbought คือช่วง 70% - 100%
        Oversold คือ 30% - 0%

โดยเส้น 70 และ 30 จะเป็นเส้นเฝ้าระวังเมื่อราคาเข้าสู้ zone ทั้งสอง เช่นกรณีที่ราคาเข้าสู่ Overbought zone และราคาหุ้นไม่สามารถทดสอบแนวต้านผ่าน คือจุดสูงสุดเดิมได้ นั้นหมายความว่า โอกาสที่จะเกิดการกลับตัวของราคาก็จะมีสูงมากขึ้น เป็นจังหวะ ที่ควรเฝ้าระวัง 



หรือช่วงที่ ราคาเข้าสู่ Oversold zone และราคาหุ้นไม่สามารถทะลุแนวรับเดิมในอดีตได้ นั้นหมายความว่า โอกาสที่จะเกิดการกลับตัวของราคาก็จะมีสูงมากขึ้น เป็นจังหวะ ที่ควรเฝ้าระวัง 


นอกจากนี้ Overbought และ Oversold ยังสามารถใช้อธิบายความแข็งแกร่งของแนวโน้มได้อีกด้วย เช่น แนวโน้มขาขึ้น มีการแกว่งของ RSI เข้าสู่ Overbought zone หลายรอบ เกิด RSI หลายยอด บนเขต Overbought มันสามารถแสดงถึง ความแข็งแกร่งของแนวโน้มขาขึ้น และแรงซื้อที่เข้ามาได้เป็นอย่างดี



- การดู Crossovers
เป็นอีกเทคนิควิธีที่นำเอาการเปลี่ยนแปลงของค่า RSI มาใช้กำหนดสัญญาณ ซื้อขาย ในลักษณะการพิจารณาการตัดกันของเส้น RSI กับ EMA ของ RSI โดยใช้เส้น EMA เป็นเหมือนแนวรับ แนวต้านของ RSI นิยมใช้ในกรณีที่ราคาไม่มีแนวโน้มที่เด่นชัด ค่า RSI อยู่ในช่วงกลางระหว่าง 30% ถึง 70 % ส่วนค่าวันของ EMA ที่นิยมใช้คือ EMA14 หรือ EMA9 แต่ทั้งนี้ขึ้นกับการแกว่งของราคาหุ้นแต่ละตัวเป็นหลักด้วย

โดยใช้สัญญาณซื้อ Buy signal คือ EMA14(RSI) < RSI ส่วนสัญญาณขาย  sale signal คือ EMA14(RSI) > RSI ดังภาพ 


- Divergence
พิจารณา Divergence ของราคากับทิศทางของ RSI เพื่อสังเกตการณ์ขัดแย้งกัน เป็นการบ่งบอกการกลับทิศแนวโน้มของราคาหุ้น โดยแบ่งออกเป็น Bullish Divergence และ Bearish Divergence

Bullish Divergence คือ ช่วงที่ราคาทำ new low แต่ยอดของ RSI ไม่ทำ new low ตามแต่กลับยกสูงขึ้น ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่า new low ของราคากำลังจะหยุด และกลับทิศทางเป็นขาขึ้น

Bearish Divergence คือ ช่วงที่ราคาทำ new high แต่ยอดของ RSI ไม่ทำนิว high หรือทะลุยอดเดิม ตามแต่กลับต่ำลง ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่า new high ของราคากำลังจะหยุด และกลับทิศทางเป็นขาลง