ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บันทึกเรื่องกรีซและวิกฤติหนี้ยุโรป

รอบนี้เป็นรอบที่สาม นับตั้งแต่ควันของวิกฤติหนี้สินภาครัฐของกรีซเริ่มปะทุขึ้น ซึ่งส่งผลไปสู่ตลาดหุ้นทั่วโลกเพราะกรีซเป็นหนึ่งในชาติสมาชิกของ EU ด้วยความคิดที่จะโตไปพร้อมกัน โตไปอย่างมั่นคงและยิ่งใหญ่ กลับกลายเป็นดาบสองคมเมื่อยามเกิดวิกฤติ ซึ่งสาเหตุหลักๆก็คือการที่ประเทศในกลุ่ม PIIGS (Portugal, Italy, Ireland, Greece และ Spain) กำลังเผชิญปัญหาหนี้ภาครัฐที่สูงมาก ในขณะเดียวกับการขยายตัวของเศรษฐกิจและการเติบโตของ GDP กับสวนทางกับหนี้สิน ทำให้เกิดปัญหาลุกลามทั้ง เจ้าหนี้และลูกหนี้ของแต่ละประเทศ ทำให้กลายเป็นปมปัญหาที่ต้องรอการแก้ไข



ตัวละครตัวแรกที่เปิดฉากวิกฤติครั้งนี้ก็คือ กรีซ ประเทศของเทพเจ้ากรีกโบราณ ประเทศที่ดูหรูหรา คลาสิก แต่ตอนนี้กำลังเหลือแต่เปลือกรอวันแตกสลาย เพราะการที่ EU และ IMF ยื่นมือมาช่วยเหลือทั้งการประนอมหนี้ การสลับสนุนเงินกู้เพื่อเสริมสภาพคล่องให้รัฐบาลเพื่อช่วย นำมาใช้จ่ายในค่าสวัสดิการ ค่ารักษาพยาบาล ค่าเบี้ยงเลี้ยงและเงินเดือนแก่พนักงานของรัฐ แลกกับการทำตามแผนการลดหนี้ ซึ่งต้องบังคับให้ประชานรัดเข็มขัด ตัดสวัสดิการประชาชน ตัดเงินช่วยเหลือต่างๆ และขูดรีดภาษีเพิ่มแบบมหาโหดเพื่อมาแก้ปัญหาหนี้สินที่พอกพูน ซึ่งปัญหาต่างๆเหล่านี้ในประเทศ PIIGS ก็มีต้นตอมาจากการที่นักการเมืองเล่นเกมส์ประชานิยมจนเกินตัว จนปล่อยให้ภาระหนี้สินต่อ GDP สูงมาก มีการเร่งออกพันธบัตร กู้เงินแบบลับๆตามโค้วต้าของประเทศสมาชิกยูโรที่กู้เงินได้ในอัตราดอกเบี้ยที่ถูกและใช้จ่ายงบประมาณแบบขาดดุลต่อเนื่อง จนหนี้สาธารณะเพิ่มสูงขึ้น เพื่อแลกกับการได้เสียงสนับสนุนทางการเมือง สปอยประชาชนจากนโยบายลดภาษี ขึ้นค่าแรง นโยบายเกษียณก่อน 60ปี เพิ่มสวัสดิการ บำนาญ ลดค่าสาธารณูปโภค ลดภาษีน้ำมัน นโยบายลงทุนใช้เงินไปกับการจัดโอลิมปิคแบบมากมายถึง 7 พันล้านยูโร เพื่อให้เกิดการจ้างงานและส่งเสริมภาคการท่องเที่ยว ประชาชนมีความสุข



ปัญหาการเมืองกับเศรษฐกิจมันคือเรื่องเดียวกัน แยกจากกันยากเมื่อประชาชนลำบาก เศรษฐกิจแย่ รายได้ลด ต้องรัดเข็มขัด คนตกงาน เด็กจบใหม่หางานยาก แถมยังต้องจ่ายภาษีแพง ประชาชนไม่มีความสุข แน่นอนว่าเกิดการประท้วง ส่งผลให้เกิดความไม่แน่นอนทางการเมือง บางประเทศมีแนวโน้มจะเปลี่ยนขั่วรัฐบาล เช่น ฝรั่งเศส กรีซและในอีกหลายประเทศ เพราะประชาชนไม่พอใจการแก้ปัญหาแบบยาแรง แม้รู้ว่าจะได้ผลแต่เมื่อตนเองเดือดร้อน ก็มักจะไม่ยินยอม ผลที่ออกมาก็เลยเป็นลูกโซ่ เมื่อรัฐบาลกรีซอีกขั่วเอาใจประชาชน ไม่ยอมทำตามแผน EU เพื่อแก้ปัญหา ประเทศก็โดนบีบเรื่องผ่านนโยบายทางการเงิน ทำให้เกิดความไม่แน่นอน กระทบกับความเชื่อมั่น ธนาคารต่างๆโดนลดเครดริต คนแห่ไปถอนเงินเพราะความไม่แน่นอน เช่นเดียวกับหลายประเทศที่เริ่มมีสัญญาปัญหาแบบเดียวกันเช่น สเปน โปรตุเกส และอิตาลี่ ที่มีอัตราหนี้สินต่อ GDP ที่สูง(กรีซวันนี้เกือบ 170% ต่อ GDP) และมีปัญหาหนี้เน่ามากมาย 



ในขณะเดียวกันประเทศพี่ใหญ่แบบ ฝรั่งเศส และ เยอรมัน ต่างก็รู้ดีในฐานะเป็นเจ้าหนี้ว่าการปล่อยให้ประเทศเหล่านี้ล้มก็คือหานะดีๆนั้นเอง กรีซล้มความเสียหายก็มหาศาล ถ้าปล่อยเอาไว้ไม่แก้ไขปัญหาก็จะลุกลาม ภาวะแบบนี้ก็คือการกลืนไม่เข้าคายไม่ออก ในขณะที่ประชาชนของประเทศฝรั่งเศส และเยอรมัน ต่างเริ่มมีปฎิกริยาที่ไม่พอใจ ในการที่รัฐบาลของตนเอาภาษีและเงินสำรองไป ช่วยประเทศที่เกิดปัญหา ผลที่ตามมาก็คือ ความไม่พอใจรัฐบาลและการประท้วง


ทางออกของวิกฤตจะเป็นเช่นไร ไม่มีใครตอบได้ว่าจะทนอยู่กันต่อไปหรือจะแยกประเทศที่มีปัญหาไปจาก ยูโรโซน เพื่อให้ใช้ค่าเงินของตัวเอง ลดค่าเงินได้กระตุ้นการท่องเทียว และการจ้างงาน แต่ปัญหาอื่นๆก็ตามมาอีกโดยเฉพาะปัญหากับธนาคารที่ต้องเปลี่ยนมาใช้ค่าเงินของตัวเองแทนยูโร แต่ผมเชื่อว่าทุกปัญหาก็มีทางออกเสมอ 


นักลงทุนแบบเราแม้จะอยู่หางไกลคนละทวีปแต่ก็ไม่ควรประมาท มีสติ เราควรเตรียมแผนรับมือหากเกิดวิกฤติ ไว้แต่เบื้องต้น กำหนดแผนและจุดตัดขาดทุน ในกรณีที่ราคาหุ้นลดลงรุนแรงจากกระแสเงินที่ไหลออก วางกลยุทธการบริหารเงินทุน ไว้ให้ดีๆ เตรียมพร้อมเสมอเมื่อวิกฤติมาถึงจะได้ไม่ panic จนเกิดความเสียหายครับ