ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

วิกฤติการเงินโลกกับตลาดหุ้นไทย # 2

วิกฤติการเงินโลก ตอนที่สองนี้ จะเป็นเรื่องราวในช่วงหลังยุค 1990 ซึ่งช่วงนั้นเป็นช่วงที่โลกมีความสงบ ปราศจากสงครามเป็นยุคของการแข่งขันทางอุตสาหกรรม เทคโนโลยี และคอมพิวเตอร์ ทำให้การสื่อสาร การติดต่อระหว่างประเทศนั้นรวดเร็วและง่ายขึ้น ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดี แน่นอนว่าก็เป็นยุคที่มีวิกฤติการเงินโลกมากมาย และมีวัฏจักรการเกิดที่ถี่มากขึ้นด้วย โดยเฉพาะประเทศยักษ์ใหญ่ของโลกอย่าสหรัฐอเมริกา



7. The Japanese asset price bubble (1986-1990)


เป็นวิกฤติการเงินแรกที่รุนแรงและเกิดในทวีปเอเซีย โดยขณะนั้นญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีภาคอุตสาหกรรมที่เข้มแข็ง มีตัวเลขเศรษฐกิจ ดีโดยเฉพาะการส่งออก ญี่ปุ่นมีเทคโนโลยีด้านอิเล็กทรอนิค เป็นอันดับต้นๆของโลกในขณะนั้น มีการส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าไปยังประเทศต่างๆทั่วโลก โดยเฉพาะอเมริกา ตลอดจนการผลิตสินค้าอื่นๆ 


หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลญี่ปุ่นไม่ต้องใช้จ่ายเงินด้านการสะสมอาวุธและการป้องกันประเทศ เพราะถูกสหรัฐควบคุม ทำให้มีงบประมาณเหลือในการพัฒนาประเทศ พัฒนาคนและเทคโนโลยี ประกอบกับประชาชนหลังจบสงครามโลกครั้งที่ 2 ผู้คนต่างประหยัด สะสมเงินในธนาคาร เพื่อเก็บไว้ใช้ในอนาคต เพราะไม่รู้ว่าจะเกิดเหตุการณ์อะไรอีก ทำให้ภาคธนาคารญี่ปุ่นมีเงินสำรองจำนวนมาก


เมื่อมีเงินมาก ย่อมต้องสร้างผลกำไร ทำให้ธนาคาร ปล่อยกู้ให้กับภาคเอกชนนำไปดำเนินธุรกิจ ขยายกิจการ และลงทุนในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ จำนวนมาก ประกอบกัยนโยบายส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิค เพื่อผลิตสินค้าคุณภาพสูงส่งออกต่างประเทศ ทุกอย่างไปได้ดี นักลงทุนต่างชาติสนใจเข้ามาลงทุน ประชาชนมีงานทำ รายได้ดี ธุรกิจต่างเติบโตมีกำไร 


ราคาหุ้นพุ่งขึ้นสูงต่อเนื่อง ภาคธนาคารส่งเสริมเงินกู้เสรีให้กับ คนชั้นกลางและมนุษย์เงินเดือน ได้กู้เงินไปซื้อบ้าน ซื้อรถยนต์ ซื้ออสังหาริมทรัพย์ ทำให้ราคาทื่ดิน และราคาบ้าน ในเขตเมืองใหญ่เช่นโตเกียว ราคาบ้านสูงขึ้น และเป็นที่ต้องการ เพราะประชาชนสามารถใช้เครดิตเงินกู้ยืม มาซื้อบ้านได้ง่าย ปี 1989 เศรษฐกิจญี่ปุ่นดีถึงขีดสุดดัชนี NIKKEI ทำจุดสูงสุดที่ 38,957.44 จุด


จนเมืื่อปี 1990 ตัวเลขทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นเริ่มชะลอตัว ไม่มีการเติบโตร้อนแรงแบบอดีต สินค้าอิเล็กทรอนิคคุณภาพดี ราคาสูง ถูกสินค้าเลียนแบบจากเกาหลีใต้และไต้หวัน เข้ามาชิงส่วนแบ่งการตลาด บวกกับกระแสเงินทุนที่เข้ามาลงทุนในญี่ปุ่นเริ่มไหลออก เพราะความได้เปรียบทางธุรกิจของญึ่ปุ่นลดลง ค่าแรงงาน และค่าครองชีพมีระดับสูง อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไม่ต่ำแบบอดีต ราคาที่ดินสูง


จากนั้นฟองสบู่ก็แตก ทุกภาคส่วนต่างล้มเสียหาย โดยเฉพาะภาคอสังหาริมทรัพย์และภาคธนาคาร รวมถึงตลาดหุ้นราคาตกดิ่งจากจุดสูงสึด ลงสู่ก้นเหว เป็นจุดจบของยุครุ่งเรืองที่ผ่านมา





8. Swedish Financial Crisis (1990-1994)


วิกฤตินี้เกิดกับประเทศสวีเดน ประเทศกลุ่มยุโรปที่มีโครงสร้างเป็นรัฐสวัสดิการ รัฐบาลให้การสนับสนุนสวัสดิการต่างกับประชาชนอย่างดี ทำให้ประเทศมีหนี้สาธารณะต่อ GDP สูง ในช่วงปี 1990 รัฐบาลเล็งเห็นโอกาสการทำกำไรในภาคการเงิน จึงยกเลิกกฎระเบียบเกี่ยวกับการเงินและการธนาคาร ทำให้มีการปล่อยกู้และระดมทุนในธุรกิจการเงินการธนาคารแบบเสรี ผลก็คือสถาบันการเงินและธนาคาร ทำการปล่อยกู้ให้กับประชาชนและภาคเอกชนแบบ ไม่จำกัดเพื่อสร้างผลตอบแทนจากดอกเบี้ยเงินกู้ 


จนทำให้เกิดภาวะฟองสบู่ ประชาชนกู้เกินความสามารถในการชำระหนี้ มีการซื้่อบ้าน ซื้ออสังหาริมทรัพย์ ซื้่อรถและสิ่งอำนวยความสะดวก สินทรัพย์หลายอย่างมีราคาสูงขึ้น ประกอบกับมีการซื้อเพื่อเก็งกำไร จนสุดท้าย ฟองสบู่ก็แตก ประชาชนไม่สามารถชำระหนี้ได้ ธนาคารสถาบันการเงินขาดทุน หนี้เสีย ล้มละลายจำนวนมาก ราคาสินทรัพย์เช่นบ้าน ที่ดิน ตกต่ำ เกิดการแตกตื่นในตลาดหุ้น เงินทุนไหลออก  ประชาชนแห่ถอนเงิน และสุดท้าย รัฐบาล ต้องออกมาประกันธนาคาร รับภาระหนี้เสียและสินทรัพย์ด้อยค่าสูงถึง $9.9 billion




9. Mexico Economic Crisis(1994)


วิกฤติการเงินประเทศแมกซิโก เกิดจากการกู้หนี้้มหาศาลจากต่้างประเทศต่อเนื่อง ด้วยความได้เปรียบจากการเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันนอกกลุ่ม OPEC ทำให้มีหลายประเทศโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา ให้เงินกู้แก้ประเทศแมกซิโกรัฐบาลแมกซิโก ผ่อนปรนนโยบาลการเงินการคลัง ใช้จ่ายเงินอย่างเกินตัวไปกับโปรเจคต่างๆ ทั้งเรื่องสาธารณูปโภค เช่นเรื่องระบบน้ำ ระบบถนน การพัฒนาเมือง ศูนย์ราชการ เพื่อกระตุ้นนโยบายหาเสียงของพรรคประธานาธิปดี รวมถึงปัญหาคอรัปชั่น หลายโครงการใช้เงินจำนวนมาก แต่ไม่ก่อให้เกิดรายได้


เมื่อจุดหนึ่ง FED ได้ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยจาก 12% เป็น 24% ส่งผลให้ลูกหนี้ของธนาคารและสถาบันการเงินของสหรัฐ เกิดปัญหาการชำระหนี้ บวกกับราคาน้ำมันเริ่มลดลง แมกซิโกมีอัตราหนี้สาธารณะสูง เมื่อเทียบกับ GDP และรายได้ของรัฐจากการเก็บภาษี จนสุดท้ายรัฐบาลแมกซิโกประกาศลอยตัวค่าเงินเปโซ จากแบบเดิมที่กำหนดค่าคงที่ ทำให้ค่าเงินเปโซอ่อนค่าลงอย่างมาก จาก 4 เปโซต่อดอลาห์ เป็น 7.2 เปโซต่อดอลลาห์ ทำให้เกิดวิกฤติการเงินในประเทศ จนสหรัฐอเมริกา และ IMF รวมถึงชาติต่างๆต้องเข้ามาช่วยเหลือ





10. The dot-com bubble (1995 – 2000)


ยุคปี 1995 ยุคที่เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์ พัฒนาไปมาก ผู้คนในประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่นสหรัฐอเมริกาสามารถมีคอมพิวเตอร์ และเข้าถึงเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ธุรกิจการบริการบนอินเตอร์เน็ตเติบโต เป็นที่นิยมมาก 

เมื่อกระแสความนิยมที่มาแรง บวกกับเป็นตลาดใหม่ที่มียอดผู้ใช้งานเติบโตเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ บวกกับราคาคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมีราคาลดลง และราคาการใช้งานอินเตอร์เน็ตรายชั่วโมงถูกลง ยิ่งทำให้แนวโน้มการเติบโตของธุรกิจนี้ดูดีในสายตานักลงทุน ทำให้มีนักลงทุนทั้งรูปแบบสถาบัน กองทุน และประชาชนนักลงทุนทั่วไป เข้ามาลงทุนในหุ้นของบริษัท ผู้ผลิตคอนเทนต์ และผู้ผลิตเว็บไซต์ให้บริการออนไลน์ทางอินเตอร์เน็ต ประเภทเว็บ .com มากขึ้น จนราคาหุ้นกลุ่มนี้ พุ่งสูงแบบต่อเนื่องเติบโตหลายร้อยเปอร์เซ็นต์ 

บวกกับทำให้มีบริษัท Startup ประเภทนี้เข้าตลาดหุ้นเพิ่มมากขึ้น มีการระดมทุนและมีการเก็งกำไรในราคาหุ้นเหล่านี้ จนเกิดเป็นฟองสบู่ขนาดใหญ่ จนเมื่อถึงจุดหนึ่งที่ผลประกอบการของบริษัทเหล่านี้ไม่ได้สวยหรูแบบที่คาด หลายเว็บไซต์กลายเป็นสินค้าแฟชั่น เมื่อคนเลิกฮิต เลิกนิยม ยอดการใช้บริการก็ต่ำลงแบบติดดิน ยอดรายได้ก็ลดลง จนทำให้ผลประกอบการแย่


นักเก็งกำไรต่างเทขายหุ้น ทำกำไร นักลงทุนต่างผิดหวัง หลายบริษัทขาดทุนจนต้องปิดกิจการ ราคาหุ้นกลุ่มอินเตอร์เน็ตเหล่านี้ร่วงติดพื้น หลายตัวมูลค่าลดลงเหลือไม่กี่เหรียญ เพราะบริษัทไม่สินทรัพย์ที่มีมูลค่าอะไร





11 Asian Financial Crisis (1997 – 1999)


วิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย หรือวิกฤติต้มยำกุ้ง ที่คนไทยรู้จักกันดี คงไม่ต้องอธิบายอะไรมาก เบื้องลึกเกิดจากฟองสบู่ จากการบูมของเศรษฐกิจ มีหนี้สาธารณะที่สูง มีปัญหาหนี้สินในภาคธนาคารการปล่อยกู้กันแบบปราศจากการควบคุม การเก็งกำไรในอสังหาริมทรัพย์ ที่ดิน อาคาร บ้าน รวมถึงการขยายธุรกิจแบบเกินตัว ภาคเอกชนกู้เงินจากต่างประเทศ ที่มีอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า แบบง่ายดายไม่มีกฏเกณฑ์ที่ซับซ้อนมาควบคุมแบบปัจจุบัน 

เมื่อถึงจุดหนึ่ง ฟองสบู่ก็แตกด้วยปัญหาค่าเงิน ที่ภาครัฐพยายามจะไปอุ้มเองเงินสำรองไป อุ้มเพื่อช่วยภาคเอกชน สุดท้ายเงินหมดหน้าตัด เงินสำรองไม่พอ ไปต่อไม่ได้ ก็ต้องลอยตัวค่าเงินบาท ธุรกิจเสียหาย ล้มตาย เป็นอันมาก เอกชนที่มีหนี้ต่างประเทศ ก็ต้องล้มละลาย เพราะค่าเงินจาก 25 บาท อ่อนค่าลงไปแตะสูงสุดถึง 56 บาทต่อเหรียญสหรัฐ 


หนี้สาธารณะต่อ GDP ก็สูงเกิน 100% ขาดความน่าเชื่อถือ ชาดความสามารถในการชำระหนี้ต่างประเทศ บริษัทต่างๆ ขาดทุนเจ๊ง ล้มละลาย คนตกงาน จำนวนมาก ไม่มีเงินผ่อนบ้าน ผ่อนรถ เกิดปัญหาหนี้เสีย NPL ธนาคาร สถาบันการเงินก็เจ๊ง ตลาดหุ้นตกต่ำสุดในรอบหลายปี วิกฤตินี้ทำให้ตระกูลคนรวยหรือเจ้าสัว หายไปจากไทยจำนวนมาก ว่ากันว่าจำนวนคนรวยระดับเจ้าสั่ว ลดลงเกือบ 60% หลายธุรกิจใหญ่ระดับประเทศ ต้องล้มละลายในพริบตา

ไม่เฉพาะไทยเท่านั้น แต่ปัญหานี้ลามไปหลายประเทศในเอเซีย โดยเฉพาะ อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ ฟิลิปิน มาเลเซีย และฮ่องกง มีหนี้สาธารณะต่อ GDP จากการกู้ของรัฐบาล สูงเกินระดับ 120% เมื่อเศรษฐกิจแย่ หลายประเทศก็แย่ไปตามๆกัน โดยเฉพาะค่าเงินภูมิภาคที่หลายประเทศผูกติดกับดอลล่าห์สหรัฐ และมีการกู้เงินและทำธุรกรรมทางการเงินในภาคธุรกิจ เป็นดอลล่าห์สหรัฐ ปราศจากการป้องกันความเสี่ยงจากค่าเงิน เมื่อดอลล่าห์แข็งค่ามาก 



ประกอบกับเศรษฐกิจเอเซียตอนนั้นอ่อน แอค่าเงินก็อ่อนลง หลายประเทศพึ่งพาการส่งออก ยิ่งทำให้ขาดดุลการค้า  GDP ก็ตกต่ำลงไปอีก สุดท้าย IMF พร้อมสัญญาทาสก็เข้ามาให้การช่วยเหลือ แบบเอาเชิงเอาเปรียบ(ถ้าดูบทบาท IMF กับตอนเกิดวิฤติซับไพร์มและวิกฤติยุโรป จะพบเลยว่ามัน สองมาตรฐานชัดๆ) กับมาตรการรัดเข็มขัด เพื่อปลดหนี้จำนวนมหาศาล 

วิกฤตินี้เป็นบทเรียนสำคัญ ที่คนไทยควรจะเรียนรู้ ไว้ครับ





12 Russian Financial Crisis (1998)


วิกฤติการเงินในประเทศรัสเซีย เกิดคาบเกี่ยวกับวิกฤติการเงินเอเซีย ดินแดนหมีขาว ที่เศรษฐกิจกำลัวบูมสุดขีด จากการเปิดประเทศ หลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียด รัสเซียเป็นประเทศที่เน้นอุตสาหกรรมหนัก มีทรัพยากรธรรมชาติมากมาย มีการส่งออกน้ำมัน ถ่านหิน แร่ธาตุ เช่น เหล็ก ทองแดง  ต่างๆไปยังเอเซีย และยุโรป มีแรงงานราคาถูก ทำให้นักลงทุนจำนวนมากสนใจลงทุนในรัสเซีย บวกกับรัฐบาลสนับสนุน ต้องการเงินมาสร้างโครงสร้างพื้นฐาน เช่นถนน และการขนส่ง ทำให้ออกพันธ์บัตรรัสเซีย ที่ให้ผลตอบแทนสูงถึง 15-20%


เมื่อช่วง 1997 เอเซียเกิดวิกฤติการเงิน บวกกับเศรษฐกิจเอเซียเกิดชะลอตัว ทำให้การนำเข้าสินค้าและวัตถุดิบพวก hard commodity ในเอเซียจากรัสเซียต้องหยุดชะงักลง ความต้องการสินค้า hard commodity เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ลดลง ส่งผลให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์เช่น เหล็ก ถ่านหิน ทองแดง ต่างลดต่ำลงอย่างมาก 


หลายบริษัทที่ดำเนินกิจการผลิตและขุดเจาะ หรือทำเหมือง ต้องขาดทุน และ ปิดตัวลง ส่งผลโดยตรงต่อเศรษฐกิจประเทศที่พึ่งพาอุตสาหกรรมนี้ กลุ่มอุตาหกรรมนี้ ไม่สามารถจ่ายภาษี และดำเนินกิจการต่อได้ เกิดปัญหาว่างงาน เกิดปัญหารายได้ของรัฐลดลง รัฐบาลไม่มีงบประมาณบริหารประเทศ ขาดสภาพคล่อง ในขณะที่ความเชื่อมั่นต่อนักลงทุน ลดลง ความสามารถในการชำระหนี้กับเจ้าหนี้ต่างประเทศของรัสเซียมีปัญหา โดยเฉพาะการจ่ายหนี้พันธ์บัตรระยะสั้นและจ่ายอัตราดอกเบี้ยพันธ์บัตรระยะยาว


ตลาดหุ้นรัสเซียพังถล่ม ค่าเงิน Ruble ของรัสเสียลดต่ำลงถึง 65% อัตราเงินเฟ้อพุ่งสูง ประชาชนอดยากเนื่องจากไม่มีเงินซื้ออาหาร จนเกิดวิกฤติการเงินครั้งใหญ่ในประเทศ ครั้งใหญ่และส่งผลกระทบวงกว้างไปยังประเทศ อื่นๆเช่น Estonia, Latvia and Lithuania,Belarus,Kazakhstan, Moldova,Ukraine,Uzbekistan






13. Argentine economic crisis (1999 – 2002)

วิกฤติการเงินอเจนติน่า เกิดจากปัญหาการนำเข้าสินค้า จากต่างประเทศจำนวนมาก จนเกิดปัญหาขาดดุลการค้า อย่างหนัก ประเทศคู่ค่าในอเมริกาใต้แบบบราซิล แมกซิโก้ ก็เจอปัญหาเศรษฐกิจ ทำให้ปริมาณการส่งออกลดต่ำลง ความผิดพลาดหนึ่งคือการที่รัฐบาล  คาร์ลอส ซามูล เมเนม ในอดีตปี 1991  ทำการกำหนดค่าเงินแบบคงที่โดย กำหนดค่า 1 เปโซต่อดอลล่าสหรัฐ ซึ่งเป็นการกำหนดค่าเงินที่แข็งค่าเกินจริง ซึ่งสงผลเสียต่อการส่งออก บวกกับการถดถอยของเศรษฐกิจที่สะท้อนจาก GDP ลงลง 4 ปีต่อเนื่อง

อเจนติน่ามีหนี้สาธารณะที่สูงถึง 132 พันล้านเหรียญสหรัฐ จากการกู้เงินมาลงทุนโครงการขนาดใหญ่ในประเทศแบบเกินตัว และเกิดปัญหาคอรับชั่น จากภาครัฐ จากนักการเมือง รวมถึง
การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และกิจการสาธารณูปโภคของรัฐ โทรศัพท์ ไฟฟ้า ประปา และอื่นๆ จนสุดท้าย เมื่อเศรษฐิจแย่ เกิดปัญหาเงินเฟ้ออย่างหนักมากกว่า 100% ราคาสินค้าและสาธารณูปโภคแพงอย่างมหาศาล ค่าครองชีพสูงขึ้น  

ประชาชนเดือดร้อนเกิดปัญหาการเมืองตามมา สุดท้าย IMF ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ นับเป็นหายนะครั้งสำคัญ ที่เกิดจากนโยบายระบบทุนนิยม บวกกับการคอรัปชั่นของนักการเมือง ที่สุดท้ายประชาชรก็ต้องกลายเป็นแพะรับบาป



14. U.S. subprime mortgage crisis (2007-2009)


วิกฤติซับไพร์ม วิกฤติการเงินสหรัฐลูกใหญ่ที่เกิดจากการผ่อนปรนนโยบายและกฏระเบียบทางการเงิน การธนาคาร มากจนทำให้ภาควาณิชธนกิจเกิดการหาผลประโยชน์แบบสุดโต่ง จนทำให้เกิดปัญหาวิกฤติการเงิน โดยเฉพาะการปล่อยกู้ แบบมากมายเกินตัวให้กับประชาชน เพื่อนำไปซื้อบ้าน ซื้อรถ ตลอดจนให้เอกชนนำไปลงทุน การปล่อยกู้ให้กับประชาชนแบบความเสี่ยงสูง บางคนเครดิตทางการเงินไม่ดี เงินเดือนน้อย อาชีพไม่มั่นคงก็กู้ได้ จากนั้นบริษัทเงินทุน หรือวาณิชธนกิจ ก็เอาหนี้ทั้่งหลายมายำรวมกัน สร้างเป็น CDO เพื่อขายให้กับนักลงทุน  โดยเป็นสินค้าทางการเงินให้ผลตอบแทนสูง เรตติ้งดี(AAA) ทำให้มีความต้องการนักลงทุน 


นอกจากนี้ยังมีการเก็งกำไรในอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากประชาชนชั้นกลางและล่าง จำนวนมากต้องการซื้อบ้าน ซึ่งสินเชื่อจากธนาคารขอกู้ได้ง่าย นอกจากนี้ยังมีการกู้เงินมาลงทุนเก็งกำไรในอสังหาริมทรัพย์ มีการซื้อบ้านหลังที่ สอง ที่สาม ไว้ขายเก็งกำไร เนื่องจากราคาบ้านในช่วงปี 2005-2007 มีราคาสูงต่อเนื่อง 

สุดท้าย เมื่อเศรษฐกิจชะลอตัว เกิดปัญหาคนตกงาน เกิดหนี้เน่า CDO ก็ด้อยค่า อสังหาริมทรัพย์ราคาตก ฟองสบู่แตก บริษัทเงินทุน ธนาคาร วาธิชธนกิจ บริษัทประกัน ก็เจ๊ง ล้มละลาย เป็นจำนวนมาก ตลาดหุ้นสหรัฐและทั่วโลกต่าง ตกลงรุนแรง มีความผันผวนของกระแสเงิน ไหลออกจากตลาดหุ้นจำนวนมาก 

จนสุดท้าย FED ต้องเข้ามาช่วยหลายกิจการก็กลายเป็นของรัฐ บางแห่งขาดสภาพคล่องต้องล้มละลาย ปิดกิจการไปก็มีมาก ประเมินความเสียหายสูงถึง $700 billion   ปัจจุบันปี 2012 หลังจาก FED ออกมาตรการลดอัตราดอกเบี้ยติดดิน รวมถึงการอัดฉีดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจจำนวนมากผ่าน QE1 QE2 แต่ภาพรวมของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาก็ยังไม่สดใสเหมือนเดิม


15. Northern Rock Bailout (Great Britain, 2007)

สืบเนื่องมาจากวิฤติซับไพร์ม ในสหรัฐ แน่นอนว่าตลาดเงินตลาดทุนโลกในยุคปัจจุบันมันถึงกัน สถาบันการเงิน และธนาคารของอังกฤษ ต่างเข้าไปลงทุนในหนี้สิน การปล่อยจำนอง และลงทุนกับ CDO ในสหรัฐอเมริกาด้วย เมื่อเกิดปัญหา เกิดวิกฤติก็ต้องร่วมเจ๊งไปด้วยกัน


Northern Rock ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ อันดับต้นของอังกฤษ นำเงิน ไปลงทุนในซับไพรม์ จนเกิดปัญหาหนี้เน่า ขาดสภาพคล่องหลังเกิดวิฤติ จนทำให้รัฐบาลอังกฤษต้องเข้ามาช่วย รับประกันเงินฝากของประชาชน รวมถึงการอัดฉีดเงินช่วยเหลือเพื่อเสริมสภาพคล่องไม่ให้บริษัทล้มละลาย โดยเข้ามาถือหุ้น 45% 





16. European sovereign-debt crisis (2010 เป็นต้นไป)

วิกฤติหนี้สาธารณะยุโรป เป็นวิกฤติลูกล่าสุด ที่เพิ่งอยู่ในขั้นเริ่มต้น ปัญหาเกิดจากการที่ประเทศในกลุ่มยูโร มีหนี้สาธารณะต่อ GDP ที่สูง อันเกิดจากการกู้เงินของภาครัฐไปใช้ในนโยบายประชานิยม การพยายามใช้เงินจำนวนมากในการให้สวัดิการณ์แก่ประชาชน การสร้างสาธารณูปโภค การลงทุนจัดมหกรรมกีฬาและอื่นๆ ทำให้หนี้สาธารณะขึ้นสูง โดยเฉพาะกลุ่ม PIIGS ได้แก่ โปรตุเกส, อิตาลี,ไอแลนด์, กรีซ และสเปน ที่เจอปัญหาหนัก หลังจากเกิดซับไพร์มปี 2008 เศรษฐกิจโลกซบเซา กลุ่มประเทศเหล่านี้ไม่สามารถส่งออกสินค้าได้มาก บวกกับในประเทศมีการใช้นโยบายการเงิน ที่สนับสนุนการกู้หนี้ภาคประชาชน เพื่อให้เกิดการใช้จ่ายเงิน ซื้อบ้าน ซื้อรถ และอื่นๆ 

รัฐบาลก็มีการสร้างโครงการประชานิยม ที่ให้การสนับสนุนประชาชน เพื่อแลกกับคะแนนเสียง โดยใช้เงินงบประมาณจำนวนมาก จากการขายพันธ์บัตรรัฐบาล บวกกับการกู้ยืมในอัตราดอกเบี้ยต่ำในกลุ่มยูโรโซน ทำให้สุดท้ายเมื่อเศรษฐกิจในประเทศชะลอตัว GDP ต่ำลง เก็บภาษีได้น้อย ความสามารถในการชำระหนี้ของรัฐบาลก็หมดลง รวมถึงการขาดสภาพคล่องในการนำเงินมาใช้จ่ายภาครัฐ เช่นการจ่ายเงินเดือน จ่ายค่าสวัสดิการ บริการสังคม สุดท้ายก็ต้องพึ่งขอความช่วยเหลือ โดยประเทศในกลุ่ม PIIGS ได้ขอความช่วยเหลือจาก IMF และ ECB เพื่อกู้ปัญหาวิกฤตหนี้

วิกฤติหนี้สาธารณะยุโรป เป็นวิกฤติปัจจุบันที่่เพิ่งจะเริ่มต้น ยังอยู่ในสถานการณ์ที่ยังไม่ประทุ แต่ก็มีผลต่อตลาดหุ้นทั่วโลกและตลาดเงินยุโรป โดยเฉพาะในแง่จิตวิทยาการลงทุน กระแสเงินจำนวนไม่น้อยจากกองทุนในประเทศยุโรป มีการไหลกลับเข้าประเทศ เพื่อใช้ในการชำระหนี้ และเสริมสภาพคล่อง 

ปัจจุบัน กรีซ น่าจะเป็นประเทศแรก ที่คาดกันว่าจะเป็นตัวประทุ ปัจจุบันค่าเงิน EU อ่อนค่าลงไปมากนับจากปี 2011 บวกกับปัญหาความเชื่อมั่นในความสามารถในการชำระหนี้ของกรีซที่ลดต่ำลง จนมีโอกาสที่จะผิดนัดชำระหนี้ ทำให้ประชาชนแห่กันไปถอนเงินจากธนาคาร ตลาดหุ้นกรีซและตลาดหุ้นในยุโรป เข้าสู่ขาลงที่ชัดเจน แต่อย่างที่ได้กล่าวไป นี่เป็นเพียงแค่การเริ่มต้น เท่านั้นเพราะยังมีประเทศ อิตาลี และสเปน ที่มีเศรษฐกิจใหญ่ อันดับต้นๆของยุโรป ก็กำลังประสบปัญหาเดียวกันกับกรีซ 



มีต่อตอนที่ 3 มาวิเคราะห์วิกฤติการเงินโลก ความสัมพันธ์กับ ตลาดหุ้นไทย