ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Momentum indicator

ห่างหายไปนานกับการเขียนเรื่องการวิเคราะห์เชิงเทคนิค วันนี้เลยขอนำเอา เครื่องมือดัชนีราคาชื่อ Momentum มาฝากกัน โดยเครื่องมือนี้กลุ่มประเภทนำราคา ลักษณะการให้สัญญาณเหมือนกับพวก Oscillator อื่นๆ นิยมใช้ในการให้สัญญาณระยะสั้น เพื่อดูการแกว่งตัวในกรอบ หรือดูการเปลี่ยนทิศทางของแนวโน้มราคา


คำว่า Momentum นี้ไม่ใช่ประเภทกลุ่มดัชนี (indicator Group) หรือเป็นคำที่ VI เอาไปใช้เรียกการดูสภาวะตลาดแบบแรงเฉื่อย อะไรแบบนั้น แต่ Momentum indicator ที่ผมกำลังพูดถึงนี้คือเครื่องมือเชิงเลข ที่ใช้วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้น ปัจจุบันเทียบอดีตแบบสัมพัทธ เพื่อดูพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้น ในทิศทางต่างๆ โดยเราสามารถใช้เครื่องมือดัชนีราคาตัวนี้ได้จากโปรแกรมเทรดทั่วไป

สมการของ  Momentum Indicator 
       MOMENTUM = CLOSE(x)/CLOSE(i-x)*100
โดย
       CLOSE(x) — ราคาปิดแท่งเทียนปัจจุบัน;
       CLOSE(i-x) — ราคาปิดแท่งเทียนก่อนหน้า ตามคาบเวลาที่สนใจ.

การนำไปใช้สามารถใช้ได้ในทุกคาบเวลา ที่ต้องการวิเคราะห์ และใช้ค่า parameter จำนวนแท่งเทียน ตามสภาวะตลาดได้ ตัวอย่างการใช้งาน ทั่วไป นิยมใช้ x = 9, 10 หรือ 14 เป็นตัวแทนช่วงเวลาที่เปรียบเทียบ



จากภาพจะเห็นความสัมพันธ์ของทิศทางราคากับ Momentum โดยเทียบจุดสูงสุด และต่ำสุด ของ ราคา กับ จุดสูงสุด และต่ำสุดของ Momentum นั้นจะมีความสัมพันธ์กัน ทำให้เราสามารถนำรูปแบบและทิศทางการเคลื่อนที่ของ Momentum มาอธิบายการเปลี่ยนแปลงบนแนวโน้มได้

การวิเคราะห์และการนำไปใช้งาน

1. ดูการเปลี่ยนแปลงของราคา
หลักการพิจารณาคือ
- ถ้าค่า Momentum ออกมา สูงกว่า 100 นั้นหมายความว่า ราคาปิดแท่งเทียนปัจจุบันสูงกว่าอดีต ทิศทางเป็นบวก  คือทิศทางราคาเพิ่มสูงขึ้น



-  ถ้าค่า Momentum ออกมา ต่ำกว่า 100 นั้นหมายความว่า ราคาปิดแท่งเทียนปัจจุบันต่ำกว่าอดีต ทิศทางเป็นลบ คือทิศทางราคาลดต่ำลง




เมื่อนำข้อมูลค่า Momentum มาพ็อตต่อกันเป็นเส้นจะมองเห็นรูปแบบการเปลี่ยนแปลงของทิศทางราคา

2. แนวโน้มของ Momentum
เป็นการนำค่า  Momentum มาเข้าสมการค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่(Moving Average)เพื่อประเมินรูปแบบการเคลื่อนตัวของ  Momentum และจะสามารถหาสัญญาณการย่อตัวรุนแรง หรือกลับตัวได้


รูปใช้ EMA 5 กับ Momentum เพื่อใช้พิจารณาแนวโน้มของ  Momentum เพื่อดูจุดกลับตัวของราคา

3. การดู Divergence
การพิจารณารูปทรงและทิศทางเวกเตอร์ของ Momentum เทียบกับ ทิศทางของราคา โดยกรณีที่
- Bullish divergence : ทิศทางราคาปรับตัวลง แต่ทิศทางของ Momentum เคลื่อนที่ในทิศขึ้นเกิดการสวนทางกัน ความน่าจะเป็นที่ราคาจะเกิดการกลับทิศจากลงเป็นขึ้นก็มีสูง



- Bearish Divergence: ทิศทางราคาปรับตัวขึ้น แต่ทิศทางของ Momentum เคลื่อนที่ในทิศทางลง สวนกัน ความน่าจะเป็นที่ราคาจะเกิดการกลับทิศจากขึ้นเป็นลงก็มีสูง