ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Quantitative Qualitative Estimation (QQE)

วันนี้นำเครื่องมือ วิเคราะห์ราคาเชิงปริมาณชื่อ Quantitative Qualitative Estimation (QQE) มาแนะนำกันครับ ความน่าสนใจของเจ้าตัวนี้คือการใช้ค่าความผันผวน (volatility) มาเป็นตัวตีความถึงจังหวะการซิ้อขาย ไม่ทราบมาแต่มีใช้กันมานานหลายปีแล้ว มีใช้เป็นฟีเจอร์ในโปรแกรมเทรดชื่อดังหลายตัว



ผมรู้จัก QQE เมื่อปลายปีก่อนจากเพื่อนชาวอินโดนีเซีย ที่เจอกันในเว็บบอร์ดของเทรดเดอร์ FX ต่างประเทศ เขาใช้งานตัวนี้ ผมเห็นน่าสนใจดีเลยลองนำมาศึกษาต่อ พอแกะสมการ ดูรายละเอียดเห็นว่าเข้าท่าดีเลยนำมาแชร์ต่อกัน

แนวคิดการทำงาน
QQE พัฒนาอยู่บนแนวคิดของ wilders RSI สมการโมเดลนั้น สร้างจากค่า smoothed Relative Strength Index (RSI 14) จาก Moving average ตาม period ที่กำหนด เพื่อเปรียบเทียบกับ ค่า ATR(14) โดยมี trailing stop lines ทั้ง 2 เส้นคือ 
- fast trailing stop สร้างจาก ATR smoothed ที่คำนวณจาก wilders function [wilders()] * 2.618
- slow trailing stop สร้างจาก ATR smoothed ที่คำนวณจาก wilders function [wilders()] * 4.236

การแปลความหมาย
QQE แสดงค่า 2 เส้นคือ fast และ slow ร่วมกับการพิจารณาระดับ level ที่สำคัญในการบอก นัยสำคัญของระดับ คือ level 50 ตัวบ่งบอกการเปลี่ยนทิศของแนวโน้ม

การให้สัญญาณแบ่งออกเป็น 2 ระดับ
1. ดู cross over การตัดของเส้นทึบ fast(สีฟ้า) และเส้นประ slow (สีเหลือง)โดย เส้นทึบค่า fast trailing stop และเส้นประ คือค่า slow trailing stop 

ถ้าเส้นทึบ fast ตัดขึ้น หมายถึงการ ยกตัวของระดับราคา ถ้าเส้น slow ตัดลงหมายถึงการย่อตัวของระดับราคา

2. ดู level เนื่องจากแนวคิดของ RSI คือการเทียบ rate of change ของการแกว่งตัว ในคาบเวลาที่กำหนด แล้วนำมาสเกลแบบเปอร์เซนต์  ระดับที่มี นัยยะสำคัญในการเปลี่ยนทิศทางแนวโน้ม จากทิศขึ้น เป็นลง หรือ ทิศลงเป็นขึ้น คือ ระดับที่ 50 ซึ่งเป็นตัวบ่งบอก ยืนยันการเกิดแนวโน้มที่ชัดเจนและคงตัว 

สัญญาณซื้อ 
-ที่นิยมใช้กันคือ รอดูค่า เส้นทึบ fast ตัดขึ้นเส้นประ slow (บอกการกลับตัว) และเส้นทึบ fast ยืนเหนือเส้น level line ที่ 50 

สัญญาณการขาย
-  ที่นิยมใช้กันคือ รอดูค่า เส้นทึบ fast ตัดลงเส้นประ slow และเส้นทึบ fast ลงต่ำใต้เส้น level line ที่ 50 

- กรณีแกว่งตัวแคบ หรือ sideway trend สามารถเลือกใช้เฉพาะการตัดกันของเส้นเพื่อบอกสัญญาณซื้อขายได้