ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์ที่มีป้ายกำกับ การวิเคราะห์เทคนิค

พื้นฐานการเทรดกราฟเปล่า

  พอดีเมื่อวานมีน้องเทรดเดอร์ท่านหนึ่ง มาขอให้ช่วยสอนเทรดกราฟเปล่า พอดีผมจำได้ว่ามีคลิปบรรยายพิเศษ หัวข้อ " การวิเคราะห์ Supply & Demand สำหรับกลยุทธ์การเทรดหุ้นและสินค้าโภคภัณฑ์ ( Supply and Demand Trading) ปี 2018 " เอาไว้เลยนำมาแชร์ให้เทรดเดอร์มือใหม่ อยากเรียนเทรดกราฟเปล่า ได้ลองศึกษากัน สนใจลองเข้าไปดูได้ที่ link ด้านล่างครับ ปล. ผมใช้คำว่าพื้นฐานเพราะจริงๆผมไม่ได้สอนเรื่องการวิเคราะห์ Order Flow และ Order Book รวมถึงตัว Volume profile ซึ่งเทคนิคพวกนี้คือขั้นสูง ถ้าอยากพัฒนาก็ลองไปเรียนรู้และศึกษาเพิ่มเติมได้ครับ https://youtu.be/c1ifFDR50eg

การ วิเคราะห์ volatility ของราคาด้วย Average True Range (ATR)

Volatility คือ ค่าความผันผวน ที่คำนวณจากการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า เป็นข้อมูลมีไม่คงตัว เปลี่ยนแปลงได้เสมอ ตามช่วงเวลา หรือบน Time series ค่า volatilitั จะมีการเพิ่ม การลด ได้ตลอด  โดยเฉพาะกรณีที่ภาวะตลาดไม่ปกติ หรือปัจจัยพิเศษเข้ามา ซึ่งสำหรับวิธีการคำนวณ Volatility หลากหลายวิธี โดย ATR เป็นโมเดลการคำนวณค่า volatility อีกรูปแบบหนึ่ง เรียนรู้การวิเคราะห์จาก https://www.youtube.com/watch?v=dngNllTmIa8

On Balance Volume (OBV)

สัปดาห์นี้จะมาต่อ lecture ด้านการเทรดให้(หลังจากหยุดไปนาน), ดังนั้นวันนี้มาสอนเรื่องการวิเคราะห์โมเมนตรัมและกำลังของตลาด ด้วย On Balance Volume (OBV) เครื่องมือธรรมดา ที่เอาไปประยุกต์ใช้ได้หลากหลาย  โดย On Balance Volume (OBV) พัฒนาโดย Joe Granville เผยแพร่ในปี 1963 ตีพิมพ์ลงหนังสือ New Key to Stock Market Profits เครื่องมือประมวลผลข้อมูลราคา(Price) ร่วมกับ Volume เพื่อหาค่า บ่งบอกระดับ แรงดันฝั่งซื้อและขาย (Buy/Sell Pressure) -ใช้วัดกำลังของ Momentum ในข้อมูลราคา, และสามารถใช้ประยุกต์การเทรด Momentum Trading ได้ เข้าฟังได้ที่ https://youtu.be/vgxWz-m9-kc

Momentum Analysis

สัปดาห์นี้ทำ content สอนการวิเคราะห์ข้อมูล Momentum Analysis ให้ได้ลองเรียนรู้กัน , การวิเคราะห์โมเมนตรัม ไม่ซับซ้อนและเป็นพื้นฐานของการเทรดกลยุทธ์ Momentum Trading ,Swing Trading หรือแม้แต่ Pullback Trading Strategy ที่เราจะสามารถนำไปต่อยอดได้ วันหยุด ถ้าไม่ได้มีกิจกรรมอะไรทำ ลองเข้าไปเรียนรู้กันได้จาก link ด้านล่างครับ https://youtu.be/CXzYs00PUT8

แนวทางการวิเคราะห์พฤติกรรมราคาด้วย Quantative Data analysis สำหรับการเทรด

จากโปรเจค เตรียมการบ้านเทรดประจำสัปดาห์ ทำให้มี คนถามมาเยอะ ถึงการวิเคราะห์พฤติกรรมราคา Forex , Gold และ Crypto currency ในส่วนของการเตรียมการบ้านประจำสัปดาห์ เพื่อความกระจ่างและชัดเจน ผมเลยทำคลิปวีดีโอ อธิบายการวิเคราะห์อย่างละเอียดให้ฟัง อีกหนึ่งวีดีโอ(อันนี้จะลึกกว่าที่อธิบายในคลิปแรก) ท่านที่สนใจการวิเคราะห์ข้อมูล หรือต้องการเรียนรู้เตรียมตัวเทรดด้วยกัน ลองเข้าไปฟังในคลิปนี้ได้ครับ จะเข้าใจที่มาที่ไปและวิธีการ อย่างชัดเจน https://youtu.be/6vv_n4LZARk

Bull trap 101

เทรดเดอร์ ที่ท่องยุทธจักรมาพอสมควรน่าจะเคยได้ยินคำว่า Bull trap หรือกับดักตลาดกระทิง ไม่มีอะไรซับซ้อนตามตำราว่ากันว่า อะไรที่ดูเหมือนจะกระทิง ราคาจะวิ่งแรงเบรกแนวต้าน ยิ่งดูเหมือนมันจะคึกคักหรือดีเกินจริง บนความไม่แน่นอน(หรือความผันผวนแฝงตัว) สภาวะนั้นย่อมจะเกิด กับดักทำให้คนเชื่อ หรือไล่ราคาซื้อตาม และสุดท้ายตลาดก็วิ่งกลับตัวในทางตรงข้าม สิ่งที่น่าสนใจคือ Bull trap มักเกิดบ่อยช่วงปลายตลาดกระทิง ช่วงที่ตลาดมีภาวะทิศทางไม่แน่นอนหลังการ sell off ร อบใหญ่ นอกไปจากนั้น Bull trap ยังเป็นส่วนหนึ่งที่ตำราเทคนิคอล ใช้อธิบายสถานะของการเกิด Bubble อีกด้วย เอาเรื่องนี้มาฝาก เพราะช่วงนี้ ต่างประเทศโดยเฉพาะอเมริกา มีการพูดถึงคำนี้บ่อยๆ ส่วนตลาดจะเป็นยังไงต่อไป จะขึ้นหรือลง คงต้องรอดูกัน ไม่ประมาทดีที่สุดครับ อ่านต่อ https://www.investopedia.com/terms/b/bulltrap.asp

มุมมองการใช้เครื่องมือ Technical Analysis จาก Jeffrey Gundlach

มุมมองเรื่องการใช้เครื่องมือ Technical Analysis จากนักลงทุนรุ่นเก๋า ประสบการณ์สูงกว่า 35 ปีและมีชื่อเสียงอย่างมากโดยเฉพาะตลาดพันธ์บัตรอย่าง คุณ Jeffrey Gundlach ซึ่ง เป็น CIO และผู้บริหาร investment firm ชื่อ Double Line Capital โดยสรุป Gundlach กล่าวว่าเขาเองก็ใช้การวิเคราะห์ราคาจาก Technical Analysis แต่เหมือนทราบกันว่ามันไม่ได้ 100% ในทุกภาวะตลาด( work some of the time and fail some of the time) คุณ Jeffrey Gundlach เขาเน้นใช้เครื่องมือเทคนิคอลลักษณะการพิจารณา Demand  Supply รวมถึงติดตามการเปลี่ยนแปลงราคา asset บนระดับแนวรับ แนวต้าน ผสานไปกับการพิจารณาข้อมูลพื้นฐาน ข้อมูลเศรษฐกิจประกอบ โดยเขาเน้นใช้ เทคนิคอลในช่วงที่ตลาดมีความผันผวนต่ำบนสภาวะที่แน่นอน ภาวะตลาดที่ technical analysis ทำงานได้ดี 70% คือช่วงที่สัญญาณที่เกิดมันสอดรับกับภาวะเชิง sentiment It works when the market’s resistance and support levels are “in sync” with sentiment signals, When those things marry together, “technical analysis works 70% of the time.” ปล. นำมาแชร์เพื่อจะได้เปิดมุมมอง และทำให้ตระหนัก

การใช้งาน trailing stop

เรียนเรื่องการใช้ trailing stop ในการเทรดกัน โดยเทคนิคนี้จะช่วยเพิ่มประ สิทธิภาพการเทรดและลดการขาด ทุนกำไรจากความผันผวนของราค าได้ โดยบทเรียนแบ่งเป็น 3 ตอน ดังนี้ - introduction - Type of trailing stop  - Trailing stop method เข้าชมได้จาก link ด้านล่าง https://youtu.be/ XzVdzoTUCz4 https://youtu.be/ rfSUBRtyLIk https://youtu.be/ 0YNJiHI4bQA

เทคนิคอล แล้วไปไหน??

เมื่อบ่ายอ่านหนังสือ ตายแล้วไปไหน เลยอยากเขียนบทความ บวกกับเจอคำถาม ของน้องคนหนึ่ง เกี่ยวกับเทคนิคอลอนาไลสิส น้องเขาถามหลายประเด็น แลกเปลี่ยนสนุกดี อันหนึ่งที่ติดใจคือ "เทรดเดอร์ต้องเรียน เทคนิคอลไปจนตายเลยไหม" ขอตอบ มันแยก 2 ประเด็น เทคนิคอลพวกโมเดล มันมีอะไรใหม่ๆตลอด ถ้าอัพเดตได้ก็ดี แต่ตรงนี้ก็ขึ้นความสนใจ ส่วน ถ้าเราเจอที่ถนัด ก็อาจจะเลือกใช้เป็นหลักไปอันเดียวและศึกษาเชิงลึกเฉพาะก็ได้

OTS: Heikin Ashi

ห่างหายจากการเขียนบทความนานพอสมควร เพราะตอนนี้กำลังทำโปรเจค Thaitrade โปรเจคที่เทรนด์น้องๆและเพื่อนๆที่อยากเข้ามาเป็นเทรดเดอร์อิสระ คัดเลือกผู้สนใจจากการสอบเบื้องต้นด้วยการเขียนรายงาน assay นำเข้ามาเทรนด์ทั้งภาคทฤษฏีและปฏิบัตินาน 3 เดือน ยอมรับว่าทำโครงการนี้แล้ว กินเวลาส่วนใหญ่ไปเยอะพอสมควร โดยใช้เวลาหมดไปกับการอ่านรายงานและอ่าน Trader diary ของผู้เข้าอบรม รวมถึงการติวเข้ม และการเตรียมเนื้อหาการสอน ทำให้ต้องลดงานด้านการเขียนบทความ และการเขียนตำราลง

OBV (On Balance Volume)

การมองแนวโน้มราคาหุ้นว่าจะมีทิศทางขึ้นหรือลงให้ขาดนั้น บางครั้งเราไม่อาจจะมองได้จากข้อมูลราคา เพียงอย่างเดียว  จำเป็นที่ต้องใช้การสังเกตและวิเคราะห์ปริมาณการซื้อขายที่เกิดขึ้นด้วย จึงมีการนำเอาสมการคณิตศาสตร์ มาประยุกต์สร้างเป็นเครื่องมือวิเคราะห์ปริมาณการซื้อขายในรูปแบบอินดิเคเตอร์ เพื่อใช้ในการยืนยันแนวโน้มของราคาหุ้น โดยอาศัยหลักที่ว่า ถ้าราคาหุ้นมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นหรือลง ปริมาณการซื้อและย่อมมีการเพิ่มขึ้นแบบมีนัยยะจากจุดเริ่มต้น บ่งบอกถึงผู้ลงทุนให้ความสนใจในหุ้นตัวนั้น และบ่งบอกความแน่นอนของแนวโน้มที่เกิดขึ้นด้วย  OBV (On Balance Volume)  On Balance Volume เป็นดัชนีที่ใช้ในการแกว่งตัวของ Volume โดยมีหลักการคิดเบื้องต้นว่า ปริมาณของหุ้นวันที่ปิดบวก (ราคาปิดสูงขึ้นจากราคาเปิด) เป็นการสะสมหุ้น ส่วนปริมาณของหุ้นวันที่ปิดลบ (ราคาปิดต่ำกว่าจากราคาเปิด) เป็นการกระจายหุ้นออกไป โดยวิธีการคำนวณมาจาก สมการ -กรณีที่ ราคาปิดวันนี้ > วันก่อน                                 OBV ใหม่= OBV เดิม+ปริมาณหุ้นวันนี้ -กรณีที่   ราคาปิดวันนี้ < วันก่อน                               OBV ใหม่= OBV

GAP

GAP แปลว่าช่องว่าง ในการวิเคราะห์หุ้นเชิงเทคนิค GAP เป็นตัวบ่งบอกอะไรได้หลายอย่าง และสามารถใช้เป็นจุดสังเกตความผันผวนและการเคลื่อนตัวแบบรุนแรงไม่สม่ำเสมอ ฉับพลันทันทีทันใดในรูปแบบของการก้าวกระโดด ทั้งในทิศทางขาขึ้นและขาลงของราคาหุ้น จนทำให้เกิดช่องว่างของราคาขึ้นมา GAP ที่เกิดบนทิศทางขาขึ้นนั้นจะสะท้อนผิดปกติของแนวโน้ม และความต้องการของแรงซื้อที่มาก เช่นการแย่งกันซื้อแบบรุนแรง ในขณะทิศทางขาลง GAP ก็เป็นตัวสะท้อนการอ่อนตัวของราคาหุ้นแบบถดถอย จนเกิดการแย่งกันขาย แบบมีนัยยะสำคัญ เช่นการแตกตื่นตอบสนองต่อข่าว หรือปรากฏการณ์ผลกระทบจากภายนอกต่อตัวหุ้น 1. Common Gap เป็น GAP แบบธรรมดาที่ไม่มีอะไรน่าสนใจ มีความสำคัญน้อยจะเกิดได้ในช่วงที่มีการซื้อ ขาย เบาบาง สังเกตดูได้จาก Volume ของหุ้นเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ ซึ่งจะมาพร้อมกับการแกว่งตัวของราคาออกด้านข้าง sideway เรียกได้ว่าเจอ GAP แบบนี้ก็ไม่มีอะไรที่น่าตื่นเต้นตกใจ 2. Breakaway Gap การกระโดดของราคาทั้งในทิศทางขาขึ้นและขาลง เรียกได้ว่าจะเกิดเมื่อมีการฟอร์มรูปแบบทิศทางของราคาที่ชัดเจนแล้ว และมีการกระโดดของ Volume เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ท

จุดบรรจบของเทคนิคคอลและพื้นฐาน C-A-N-S-L-I-M # 2

ตอนที่สอง ผมจะกล่าวถึงเทคนิคการลงทุนแบบ C - A - N - S - L - I - M ของคุณ วิลเลียม โอนิล (William O’Neil) ปรมาจารย์ด้านการลงทุนของโลกอีกท่าน ผมชอบเทคนิควิธีนี้เพราะเป็นการผสมผสานทั้งเรื่องของปัจจัยพื้นฐาน การเติบโตของธุรกิจ บวกกับการพิจารณาแนวโน้มราคาหุ้นและแนวโน้มตลาด ควบคู่กันในการลงทุน ผมนำเอาเทคนิคนี้มาประยุกต์และใช้ในการลงทุนระยะยาวของตัวเอง  โดยประยุกต์เอาแนวคิดและเทคนิคบางอย่างใส่ลงไปด้วย เพื่อให้เหมาะกับสภาวะตลาดหุ้นบ้านเราและเหมาะกับจริตการลงทุนของตัวผมเอง สิ่งที่เขียนในหัวข้อนี้เป็นเพียงตัวอย่างการประยุกต์เท่านั้น ไม่ใช่สิ่งที่ตายตัว เพื่อนๆสามารถศึกษาหลักการของ C - A - N - S - L - I - M ให้เข้าใจและลองนำไปประยุกต์ใช้ดูครับ C - A - N - S - L - I - M ประกอบด้วยตัวแปรที่ต้องพิจารณา 7 ตัวได้แก่  1. C= Current quarterly earnings per share. 2. A = Annual earnings per share. 3. N = New product/management/price high. 4. S = Supply/Demand: Small Cap + Volume 5. L = Leader 6. I = Institutional Sponsorship 7. M = Market Direction โดยจำแนกปัจจัยหลัก 5 ด้านคือ งบการเงิน,สภาพคล่อง,ผลิตภัณฑ

จุดบรรจบของเทคนิคคอลและพื้นฐาน C-A-N-S-L-I-M # 1

ผมเป็นนักลงทุนแนวเก็งกำไร เป็นเทรดเดอร์ชื่นชอบการทำกำไรตามรอบกำลังของหุ้น แน่นอนว่าสิ่งที่ต้องทำทุกวันก็คือการติดตามราคาหุ้นเป้าหมาย(ไม่ใช่การขวนขวายซื้อขายหุ้นทุกวัน) ใน watch list ทุกวันต้องดูกราฟวันละหลายรอบต่อตัว สิริแล้วก็เป็นร้อยต่อวัน และหลาย time frame เพื่อคำนวณความน่าจะเป็นและหาจังหวะเข้าซื้อขาย สิ่งที่ทำไม่ใช่งานที่สบาย นั่งชิวๆและได้เงินเหมือนที่หลายคนเข้าใจครับ การลงทุนระยะสั้นแบบเก็งกำไร หรือใช้คำว่าเล่นหุ้น เป็นอะไรที่ใช้เวลาและความพยายามค่อนข้างมาก สำหรับผมมันคือการเอาใจใส่อย่าใกล้ชิดกับปัจจุบัน เพื่อหาจังหวะที่ดีที่สุด ที่จะสร้างผลกำไรในรอบนั้นให้เรามากที่สุด ดังนั้นมันจึงห่างไกลกับคำว่า "อิสระภาพ" หรือการปล่อยให้เงินทำงาน สร้างรายได้เข้ามาอย่างเพียงพอและตัวเราก็สามารถไปประกอบอาชีพหรือทำอย่างอื่นที่ต้องการได้ โดยปราศจากการความกังวลเรื่องราคาหุ้น เรื่องผลตอบแทน แต่เมื่อใดก็ตามที่เรายังต้องวิเคราะห์และติดตามราคาหุ้นมันตลอดนั้นก็หมายถึงเรายังต้องทำงานกับมัน ยังติดอยู่กับกรอบอีกกรอบหนึ่งแทน คำถามที่ตามมาคือ ถ้าเป็นอย่างนั้นแล้วจะมาเทรดหุ้นเก็งกำไรให้เหนื่อยทำไม?

MACD

MACD เป็นเครื่องมือดัชนีชี้วัดอีกตัวหนึ่งที่เป็นตัวยอดนิยม สำหรับนักเทคนิคคอล ด้วยความที่เป็นดัชนีที่เข้าใจง่ายและประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย ทั้งเรื่องการดูกำลังของแนวโน้ม การพิจารณา divergent ดังนั้นการเรียนรู้และทำความรู้จักกับ MACD จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจและสมควรจะศึกษา MACD(Moving Average Convergence-Divergence) คือเครื่องมือดัชนีประเภท slow active oscillator ลักษณะการพิจารณาการแกว่งในช่วงวันที่กำหนดเหมาะกับช่วงราคาที่มีการแกว่งตัวทั้งระยะสั้นและระยะกลาง แต่อาจจะไม่เหมาะกรณีที่เกิด sideway ในระยะสั้นเพราะจะเกิด false signal หรือการให้สัญญาณที่ช้าและถี่เกินไป โดยเราสามารถใช้เครื่องมือเพื่อ วิเคราะห์สัญญาณซื้อขายได้ สูตรการคำนวณเบื้องต้น ใช้ค่าผลต่างของ EMA เส้นสั้นและเส้นยาว (โดยทั่วไปเส้นยาวจะยาวมากกว่าเส้นสั้นประมาณ 2 เท่า) - MACD: (EMA 12 วัน – EMA 26 วัน ) -  Signal Line EMA 9 ค่า ของ MACD -  MACD Histogram: MACD - Signal Line จากสมการจะเห็นว่า ใช้ค่าต่างของ EMA สองคาบเวลาเป็นตัววันแรงขับเคลื่อนของราคา โดย กรณีที่ MACD เป็นลบหมายความว่า EMA12 < EMA26 แสดงถึงทิศทางการลด

EMA (Exponential moving average)

Moving average คือค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ที่มีการนำราคาหุ้น ณ ช่วงเวลาต่างๆมาทำการสร้างเป็นชุดข้อมูลในรูปแบบกราฟเส้น โดยมีการเกลี่ยข้อมูลให้เรียบ เพื่อลดการผันผวนด้วยจำนวนวัน โดยนิยมใช้ Moving average ในการดูแนวโน้มทิศทางของราคาหุ้น  โดย Moving average มี indicator ต่างๆอีกมากมายเช่น SMA (Simple moving average), WMA (weighted moving average) TMA (Time series moving average) และ EMA (Exponential moving average) เป็นต้น ผมขอเลือก EMA (Exponential moving average) เพราะเป็นตัวที่มีการคำนวณที่ซับซ้อนและมีการเกลี่ยค่าถ่วงน้ำหนักความแปรปรวนของข้อมูล โดย EMA ให้ค่าที่ตอบสนองต่อราคาในปัจจุบันได้ใกล้เคียงมากกว่าตัวอื่นๆ ทำให้แสดงถึงแนวโน้มที่ชัดเจน การตีความหมาย การนำ EMA มาใช้ในการกำหนดสัญญาณซื้อ ขายนั้นส่วนมากนิยมนำเส้น EMA 2 เส้นหรือมากกว่ามาใช้ โดยพิจารณาการตัดกันของเส้นค่าเฉลี่ย EMA โดย - สัญญาณซื้อ(Buy signal) : EMA เส้นสั้นตัด EMA เส้นยาวขึ้น จากภาพ EMA8 (เส้นสั้น) มีค่ามากกว่า EMA20 (เส้นยาว) ทำให้เส้นสั้นตัดเส้นยาวขึ้น แสดงถึงการยกตัวของราคาหุ้น เกิดสัญญาณซื้อ ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มขาขึ้น