ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์ที่มีป้ายกำกับ Money Management

Downside risk with Kelly Criterion Method

โมเดลที่จะนำมาสอนการใช้งานวันนี้เรียกว่า Kelly Criterion Method หรือที่หลายคนอาจจะรู้จักกันในนามของ Kelly formula ขอออกตัวไว้ก่อนนะครับ ว่าในบทความนี้ที่เขียนให้สมาชิก cway อ่านผมเขียนแบบเบื้องต้นสั้นๆเข้าใจง่าย ละเรื่อง math model เอาไว้เพราะถ้าเขียนทั้งหมด มันจะยาวและจากประสบการณ์ พวกเราจะเบื่อตามไม่ทัน ดังนั้นพวกเป็นรายละเอียดโมเดลงานวิจัยการทดสอบระบบ การ optimize ด้วย  Kelly formula ผมละเอาไว้สอนในคลาสต่อไปแล้วกัน  Kelly Criterion คือโมเดลเชิงคณิตศาสตร์ที่ใช้หลักความน่าจะเป็นสถิติเข้ามาประเมินหา ขนาดของ position size ที่เหมาะสมกับ risk ที่รับได้ บนเงื่อนไขความสามารถของระบบเทรด(พูดภาษาชาวบ้านคือ ใช้ค่าสถิติจากการประเมินระบบเทรดของเราเป็นตัวตั้งในการคิดค่าความเสี่ยงที่เหมาะสม) โมเดลนี้เป็นที่นิยม พอสมควรใช้เยอะในพวก algorithm trade เพราะทุกอย่าง จะขึ้นกับศักย์ภาพและประสิทธิภาพของระบบ โดยKelly Criterion ถูกพัฒนาขึ้นในช่วงปี  1923–1965 โดย คุณ John Larry Kelly Jr หลักการใช้งาน 1. เริ่มจากการพัฒนาระบบเทรด สำหรับสินค้า หรือตลาดที่ต้องการจะเข้าไปเทรด จากนั้นทำการทดสอบระบบทั้ง

Determine your risk

วันนี้มีคำถามเรื่อง Money management เข้ามาทางกล่องข้อความ จากน้องในกลุ่มไทยเทรด ผมตอบคำถามเรื่องนี้บ่อยพอสมควร  หลายครั้งที่ตอบ คิดว่ามันมีประโยชน์ และคนทั่วไปที่สนใจเข้ามาเทรด เก็งกำไร จำนวนมากยังสับสนและไม่ค่อยเข้าใจ ในหลักการนำไปใช้เท่าไหร่  เลยอยากนำมาเขียนอะไรง่ายๆ สรุปไว้ จริงๆเรื่องของ Money management มันเป็นคณิตศาสตร์บางครั้งพูดมาลงลึก ยากไป ก็เบื่อ แถมไม่มีกราฟิกให้ดู ให้ท่องจำแบบ เทคนิคอล ทำให้คนไม่สนใจ และมักจะเลิกที่จะลืมมันไป  แต่น้องๆที่คิดจะมาเทรด จำไว้อย่างนะครับ เราไม่มีทาง betting แล้วชนะ ทุกครั้ง โอกาสขาดทุนมันมี เสมอ มีคนถามผมเสมอ ใช้เทคนิคอล ต่อให้ backtest หรือ forward test ทำไปทำไม ในเมื่อมันไม่มีทางถูกต้อง 100%  คำตอบก็คือ ทำไปไม่ใช้หาว่ามันถูกแค่ไหนเป็นหลัก แต่ทำเพื่อให้รู้ว่ามันมีโอกาสผิดพลาดหรือ %loss มากแค่ไหน  ถ้ามันมีโอกาสแพ้เยอะ ใช้ไม่ได้ก็ต้องโยนทิ้ง ถ้ามันมี %loss พอรับได้ เราก็ต้องประเมินให้ออกว่าระดับมันมาก ปานกลาง หรือสูงเท่าไหร่ เพื่อเอาโมเดลของ Risk Management หรือ Money management มาเป็นตัวไปจับ เพื่อจำกัด ลดทอนขนาดของความเส

Cash flow strategies for TFEX

การเทรด tfex ของผมปกติ ไม่ได้เน้นเทรดเอารวย หมื่นล้าน แสนล้าน อะไรแบบนั้น แต่เทรดเพื่อบริหารพอร์ต คู่กับพอร์ตหุ้น หรือหา cashflow มาเติม ในส่วน ของเงินสดเป็นหลัก ดังนั้นการเทรด จะเป็นเชิงกลยุทธ์ที่เน้นบนความเสี่ยง(risk) มากกกว่าการหา maximum profit สำคัญเน้นการสร้างกระแสเงินที่ต่อเนื่อง แน่นอน ประสิทธิ์ภาพระบบเทรดแบบนี้วัด ที่ Max Drawdown เป็นหลัก โมเดลนี้เอาไปต่อยอด ในการคุม equity curve และ Drawdown curve ที่เราติดตาม เพื่อบริหารพอร์ตต่อ คำถาม น้องคนหนึ่ง ถามว่า พี่เอก วางแผนการเก็บ CF อย่างไง เทรดยังไงให้ ได้กระแสเงินต่อเนื่อง  ผมคงไม่บอกทั้งหมด ไล่ไปทำการบ้านต่อ แต่สอนวิธีคิดการวางแผน ที่เป็นไปได้ให้ คำตอบ 1. ผมคิดหาโซนที่จะเทรดก่อน ทุก ซีรีย์ ที่เทรด ผมจะออกแบบโซนการเทรดเอาไว้เสมอ เพื่อประเมิน loss ที่จะเกิดกับระบบ ต้องหา พิสัยกรอบการเคลื่อนโดยประมาณให้ได้ก่อน สมมติเป็นค่า DS 2. คิดค่า estimated loss ที่มีโอกาสเจอ จาก DS โดยทั่วไปผมจะเพื่อบวกไว้ ตามค่า factor ของเกิดในช่วงเวลานั้นๆ + ประเมิน systematic risk เอาง่ายๆไม่อยากทำอะไรเยอะ ก็เอาค่าคงที่ คูณ เช่น คิด DS จากซีรีย์ก่อ

System Patching / Asset Swing

กำไร มันเป็นเรื่องของ odd แต่ สิ่งที่ต้อง take care คือ loss หรือ การขาดทุนต่างหาก  ถ้าเราหาได้ว่า ระบบมี %loss ที่จะเจอมากแค่ไหน ยิ่งเป็นที่แน่นอนว่า แน่ๆเจอแน่ๆ นี่ยิ่งดี เพราะ ค่าสถิติ loss (maxloss consec loss min loss recover time dd maxdd ) ทั่้งหลายจากการทดสอบระบบ จะนำไปใช้ใน การวางแผนจัดการความเสี่ยง ได้  ตรงนี้ที่มืออาชีพ สนใจ รายมายาวเพื่อจะตอบคำถาม ก่อนจบ พยายามจะทำตัวเอง ไม่ให้เป็นพวก NATO (No action talk only)

เตรียมมาร์จิ้นให้เหมาะสมกับความเสี่ยง(tfex)

วันนี้(19-06-2013) tfex S50 ปรับขึ้น IM จาก 55,100 เป็น 76,000 (outright) ถือว่าปรับขึ้นมาสูงพอสมควรจากอดีต (อดีต IM หลัก 36,000 แต่ช่วงปีที่แล้ว กรณีต้องการให้คนมาเทรดมากๆ ก็ลด IM ลงก็มีให้เห็น เช่นตอนปลายปีที่แล้ว IM ลดจาก 47500 เหลือ 38000) 

หัวใจของระบบเทรด

มีคำถามจากเพื่อนสมาชิกเข้ามาเรื่องการทำระบบ สนทนากันยาวพอควรน่าสนใจดี และน่าจะเป็นประโยชน์ ผมเอาคำตอบที่ผมตอบมาสรุปสั้นๆให้ได้อ่านกัน ถ้าทำระบบเทรดทำใช้จริง ต้องเน้นทำกำไรต่อเนื่องอยู่รอดและยั่งยืน ยั่งยืนได้ไม่วัดกันที่กำไรมากๆ ระบบที่ดีต้องเล่นได้ทั้งเกมส์รุกและเกมส์รับ บนปรัชญา limit risk high return หัวใจของระบบเทรดคือการสร้างกระแสเงินสด หรือ cash flow ให้ออกมาต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ไม่ใช่หวังลุ้นแจ๊คพ็อตจากกำไรก้อนโตอย่างเดียว เมื่อทำระบบเพื่อใช้จริงให้อยู่รอดระยะยาว สิ่งสำคัญไม่ใช่กำไรก้อนโต หรือ %growth แต่มันคือ Drawdown ทั้ง MaxDrawdown, Relative Drawdown เราต้องคุมให้เป็นบังคับให้อยู่  ถ้าปล่อย %drawdown สูงเกิน 50% หมายความระบบมีโอกาสเสี่ยงสูง high risk high return โอกาสหมดตัวได้เสมอ (ส่วนใหญ่เขาจะไม่ใช้กัน ต้องปรับปรุง) ระบบเทรดที่สเถียร์ต้องเป็น limit risk high return อีกประการถ้าดูเกมส์รุก อย่าไปดูแค่ %growth ได้เยอะแล้วบอกระบบดี ถ้าระบบเกมส์รุกดีต้องมี Profit factor ที่สูง และค่า Z-Score ควบคู่ไปด้วย เรียกว่ากำไรมันมาอย่างสเถียร์และมีเหตุมีผล ProfitFactor = GrossProfit

Portfolio Evaluation

มีคำถามเรื่อง การประเมินผลการลงทุนเข้ามาบ่อย ผมตอบไปก็เยอะ วันนี้ถือโอกาสนำมาเรียบเรียงเป็นบทความเอาไว้ให้เพื่อนๆได้อ่านกัน ไปเลย เชื่อว่าหลายคนคงอยากรู้วิธีการประเมินผลงานของการลงทุนของตัวเอง นอกเหนือจากการดูแค่กำไรขาดทุน เพียงอย่างเดียว

MAE/MFE Charts

การพัฒนาระบบ สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กับการทำ Black Testing ก็คือขั้นตอนการประเมินผลการทำงานของระบบ ในสถานการณ์จริง เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของระบบ และการเทรดของเทรดเดอร์ ขั้นตอนการประเมินผล มีหลายโมเดล โมเดลหนึ่งที่ผมจะนำมาเสนอคือเรื่องของ MAE/MFE

Drawdown

หลายคนรู้จักระบบเทรดกันมากขึ้น สิ่งหนึ่งที่ผมดีใจตรงที่ว่าหนังสือ "เล่นหุ้นเป็นระบบ(Trading System)" ของผมช่วย กระตุกความคิดคน เปลี่ยนความเชื่อเดิมๆที่มีในเชิงลบ ว่านักเล่นหุ้นหรือนักเก็งกำไรเป็นผีพนัน พวกนี้คิดไม่เป็นไม่โลภ หวังรวยเร็ว ทำให้เขาเห็นภาพนักเก็งกำไรมืออาชีพ ที่เล่นเก็งกำไรแบบมีระบบ โดยจำกัดความเสี่ยง และเน้นที่ผลกำไรที่ยั่งยืนระยะยาว ไม่ต่างอะไรกับนักลงทุน มีการวางแผน มีกลยุทธ มีการจัดการความเสี่ยง และการบริหารจัดการเงินที่แยบคายมีขั้นมีตอน หวังผลการเติบโตของพอร์ตระยะยาว ที่สำคัญนักเก็งกำไรคือนักฉวยโอกาสที่มองเห็นโอกาสจากการเคลื่อนไหวของราคาหุ้น การเปลี่ยนแปลงจากภาวะอารมณ์ตลาดและความไม่เป็นเหตุเป็นผลของราคา นำจังหวะนั้นมาสร้างเป็นผลกำไร ด้วยระบบปราศจากอารมณ์ พูดถึงเรื่อง การบริหารจัดการเงิน สิ่งหนึ่งที่อยากนำมาแบ่งปันก็คือเรื่องของ การวิเคราะห์การขาดทุน เพราะเรื่องของการขาดทุนเป็นสิ่งที่นักเก็งกำไร ในตลาดไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้ แต่เราสามารถควบคุมมันได้ ตัวที่บ่งบอกพฤติกรรมการขาดทุนของระบบได้ดี นั้นก็คือ Drawdown ทำไมต้องสนใจ Drawdown คือ ค่าที่ได้จากการวัดจากการว

tfex: เทรดเกินตัว ปวดหัวไปอีกนาน (Don't over trade)

วันนี้เป็นวันแรกของไตรมาส 4 ต้นเดือนตุลาคม อีกไม่กี่เดือนปี 2012 ปีที่เคยมีความกังวลว่าโลกจะแตกอีกแค่ 3 เดือนปีนี้ก็กำลังจะผ่านพ้นไป วันนี้ยังเป็นวันแรกที่มีการใช้ราคา initial margin ใหม่ของสินค้าในตลาด tfex โดยราคา IM ปรับลดลงมาจากเดิมมากพอสมควรในหลายรายการ เรียกว่าเปิดโอกาสให้รายย่อยเบี้ยน้อยหอยน้อยได้เข้ามาเทรดในสนามนี้มากขึ้น  tfex หรืออนุพันธ์ในประเทศไทยเริ่มต้นเปิดมาตั้งแต่ปี 2547 เมื่อสี่ห้าปีก่อน จำนวนผู้เล่นรายย่อยก็ยังไม่มากเท่าปัจจุบัน จนเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมากลายเป็นว่านักลงทุนรายย่อยจำนวนมากเข้าไปเทรดเก็งกำไรในตลาด tfex กันมากขึ้น ถึงแม้ว่าจะเป็นมือใหม่ เพิ่งหัดเทรดหุ้น ก็กล้าเสี่ยงกล้าเข้าไปเล่นในสนามตลาดนี้กันแล้ว โดยเหตุผลหลักๆก็คือ อยากรวย  เพราะ tfex นี้มีกำลังทด(Leverage)สูง ใช้เงินไม่มากก็สามารถเทรดสัญญาที่มีมูลค่ามากได้ ถ้าถูกทางกำไรก็ได้มาก และแน่นอนว่าผิดทางก็ขาดทุนบักโกรกหมดตัวได้เช่นกัน แต่ด้วยความหอมหวานของเม็ดเงิน ที่รายย่อยเห็นโอกาสในการทำเงินหลายหมื่น หลายแสนในเวลาสั้นๆ มันยิ่งดึงดูดนักลงทุนรายย่อยเข้ามาเทรดในตลาดนี้มากขึ้นไปอีก เรียกว่ากล้าได้กล้าเสียง จนหล

The Position Size : เล่นหุ้นยังไงไม่ให้หมดตัว

 คำว่า "เล่นหุ้น" ในความหมายที่ผมใช้บ่อยๆนั้นคือ "การเก็งกำไร" เพื่อสร้างผลตอบแทนในรูปแบบของส่วนต่างราคา คำว่าเล่น นั้นก็หมายถึงการมองว่า การเก็งกำไร นั้นก็คือ เกมส์การเงินในรูปแบบหนึ่ง ที่เราสามารถแพ้ชนะ ได้ในแต่ละตา เหนือสิ่งอื่นใด ถ้าเราจะเป็นผู้ชนะในเกมส์ เราต้องมีทักษะและมีกลยุทธ ในมุมมองแบบหัวโบราณ อาจจะมองว่าเกมส์ เป็นเรื่องของเด็ก ไร้สาระเสียเวลา แต่แท้จริงแล้ว ในงานวิจัยจำนวนมากของต่างประเทศชี้ว่า เกมส์นั้นมีประโยชน์ มีกฏ มีรูปแบบชัดเจน และช่วยฝึกสมอง การคิดการสร้างกลยุทธให้กับเรา ผมเอง เป็นอีกคนที่ชื่นชอบบอร์ดเกมส์มาก ฝึกทักษะการเอาชนะ การคิดเป็นระบบ และการวางกลยุทธ เกมส์แบบนี้ผู้ใหญ่ก็เล่นได้ และสนุกได้กับมัน หรือถ้าใครคิดภาพบอร์ดเกมส์ไม่ออก ลองจินตนาการย้อนกลับไปวัยเด็กนึกถึง เกมส์เศรษฐีบอร์ดเกมส์ ที่มีกระดานตาราง, เงินปลอมกระดาษ ,ลูกเต๋า ,โฉนดที่ดิน และใบคำทำนายใน ประตูดวง เกมส์แรกที่สอนให้เรารู้จักคำว่า "ล้มละลาย" สอนให้เรารู้จักเลือกลงทุนในที่ดิน อสังหา ที่ให้ผลตอบแทนสูงๆ เรียกเก็บเงินจากคู่แข่งได้  รูปประกอบจากอินเตอร์เน็ต หัวใจสำคัญของเกมส

Risk Reward Ratio

คำว่า “การลงทุนมีความเสี่ยง” เป็นคำที่ผมเชื่อว่านักลงทุนทั่วไปคุ้นหู และมักจะได้รับข้อความนี้จากการชี้ชวนการลงทุนต่างๆ แต่นักลงทุนส่วนใหญ่ในตลาดหุ้น มักละเลย เพราะมันจับต้องไม่ได้หรือมองไม่ค่อยเห็นความเสี่ยงก่อนการลงทุนจริงๆ บวกกับคำพูดทัศนคติแปลกๆที่ฝังหัวว่า "ไม่ขายไม่ขาดทุน" ไม่ขาดทุนก็ไม่เสี่ยง  มันจึงทำให้เกิดการประมาทหรือละเลยในความเสี่ยงที่จะเกิดนั้น และไดรฟ์การลงทุนด้วยกำไรที่ตนเองอยากจะได้เพียงอย่างเดียว ความเสี่ยงรวมในหุ้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ ความเสี่ยงที่เป็นระบบ(Systematic risk) และ ความเสี่ยงที่ไม่เป็นระบบ(Unsystematic Risk) โดยความเสี่ยงเป็นระบบ เป็นความเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายนอกตัวหุ้น ได้แก่ความผันผวนของตลาด ความผันผวนของกลุ่มอุตสาหกรรม ความผันผวนของกระแสเงินต่างชาติ เป็นต้น ซึ่งความเสี่ยงตัวนี้ แสดงออกชัดเจนและมีความต่อเนื่องในรูปแบบของกราฟ มีลักษณะเป็นแนวโน้มและมีทิศทางที่ชัดเจน และเกิดในลักษณะเดียวกันกับหุ้นอื่นๆในกลุ่มเดียวกัน  ความเสี่ยงไม่เป็นระบบ เป็นความเสี่ยงที่เกิดเฉพาะกับตัวธุรกิจ หรือเกิดเฉพาะกับหุ้นนั้นๆ เช่นไฟไหม้โรงงาน, ผลประกอบการขา

ความสำคัญของการบริหารจัดการเงิน

มีคำกล่าวของนักปราชญ์จีนท่านหนึ่งว่า ปัญหาทุกอย่างจะไม่เกิด ถ้าหากมีการบริหารจัดการ แต่ถ้ามองรอบๆตัวเราจะพบว่า เรากำลังรอให้ปัญหาเกิด และหาทางแก้ปัญหา แบบเฉพาะหน้าทีละปัญหา ที่เลวร้ายไปกว่านั้นคือ การแก้ปัญหาหนึ่งกับไปสร้างปมปัญหาที่สอง ที่สามตามมา อีกไม่รู้จบ ถ้านึกไม่ออกลองมองปัญหาต่างๆในสังคม หรือจะเอาเรื่องน้ำท่วม มาเป็นกรณีศึกษาก็ได้ครับ จะพบเลยว่า ปัญหามันไม่ได้ถูกขจัดออกไป หรือถูกจัดการโดยแท้จริง แต่กับเน้นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เพื่อให้รอดพ้นวิกฤตไปเท่านั้น นักปราชญ์หรือคนที่มีปัญญา เขาจะให้ความสำคัญต่อการบริหารจัดการมากกว่า การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ผมเอาเรื่องนี้มาพูดเพราะในโลกของการลงทุน เรามีโอกาสจะพบปัญหาต่างๆมากมาย สารพัด แต่ปัญหาใหญ่ที่ทำให้เราล้มเหลว นั้นคือ ความเสี่ยง ดังนั้นการบริหารจัดการเงินทุน นั้นก็คือ เครื่องมือสำคัญในการลดความเสี่ยง หรือจำกัดวงของความเสี่ยง ให้เบาบางลง (แน่นอนว่าคงไม่สามารถทำให้หมดไปได้)  ผมเองพบว่านักลงทุนในหุ้น ส่วนใหญ่มักชอบและเพลิดเพลินต่อกำไร สนุกกับการได้เงิน จนมุ่งไปหาแต่หนทางทำกำไรสูงสุด จากนั้นก็นำผลที่ได้มาอวดกัน ได้ค่ากับข้าวเท่านั้นเท่านี้

การตัดขาดทุน (Cut loss)

ช่วงนี้ถ้าใครติดตามข่าวเศรษฐกิจ คงชวนให้กังวลและวิตกไม่น้อยเพราะเรื่องของ วิกฤติหนี้ยุโรป ที่กรีซก็ใกล้จะมาถึงจุดจบ และพบสัญยาณชัดเจนในการลามไปถึงสเปนและอิตาลี บวกกับแต่ละประเทศยังมีปัญหาการเมืองภายในที่เริ่มไม่สเถียร เพราะประชาชนต่างไม่ยินดีกับมาตรการรัดเข็มขัดอันแสนโหดของภาครัฐ เมื่อวิกฤติการเงินโลกกำลังจะประทุ แน่นอนว่ามันย่อมมีผลต่อการเคลื่อนไหวของกระแสเงิน(Fund flow) โลกที่ตลาดหุ้นมักจะกลายเป็นของร้อน ที่มีโอกาสเสี่ยงสูง กระแสเงินมักจะวิ่งไปหาสินทรัพย์ที่มั่นคงกว่าเช่น พันธ์บัตร ทองคำ ตลาดหุ้นทั่วโลกย่อมได้รับ ผลกระทบและมีแนวโน้มลดลงไปตามๆกัน สำหรับนักเก็งกำไร ไม่มีอะไรแย่ไปกว่าการขาดทุน แล้วไม่จำกัดการขาดทุนปล่อยให้เงินทุน ค่อยหายไปหรือเน่าเสียไป หลายคนอาจจะเถียงว่า ไม่มีทางเป็นไปได้เพราะหุ้นไม่ขายไม่ขาดทุน วลีที่ใช้หลอกแมงเม่าหน้าใหม่ ผมเองไม่เคยเชื่อในคำนี้ เพราะว่าการไม่ขายหุ้น นั้นไม่ได้แปลว่าไม่ขาดทุน แท้จริงแล้วคุณขาดทุนทางโอกาส มีค่าเสียโอกาสของเงิน แทนที่จะนำไปลงทุนในครั้งใหม่ให้ได้กำไรเพิ่ม ถ้าคุณคิดว่าหุ้นดีไม่ขายไม่ขาดทุน อาจจะลองไปคุยกับคนที่มี PTT ตอนปี 2007 ที่ราคา

ความเสี่ยง มือสังหารที่ไร้ความปราณี

เราอยู่บนโลกของการลงทุน ความเสี่ยงน่าจะเป็นเพื่อนสนิทที่เราต้องเจอและต้องทำความรู้จักกับมันให้มากๆ เพราะถ้าเราไม่สนิท ไม่รู้จัก หรือประมาท ดูเบามัน วันหนึ่งความเสี่ยงก็จะเข้ามาทำร้ายเรา และนำเราไปสู่ความหายนะได้ ไม่ว่าเราจะคิดว่าตัวเองเก่งแค่ไหน หรือจะมีเครื่องมือวิเคราะห์ดีเท่าใด ถ้าเราไม่สามารถรับมือและควบคุมความเสี่ยงไว้ได้ ก็ไร้ประโยชน์ ปลายอาทิตย์ที่ผ่านมา ข่าวที่ใหญ่ที่สุดข่าวหนึ่งของแวดวงการเงินโลก คงหนี้ไม่พ้นเรื่องการขาดทุนแบบไม่คาดฝัน ของ JP Morgan (JPM) ที่มากถึง สองพันล้านดอลล่าห์สหรัฐ( $2 billion) เงินจำนวนมหาศาลที่ขาดทุนจากลงทุนภายในระยะ 6 สัปดาห์บนตราสารอนุพันธ์ จาก hedging mechanism ของฝ่าย proprietary trading ที่ห้องค้าลอนดอนโดยทาง CEO ยืนยันว่าไม่ใช้ rogue trader หรือการทุจริตแต่อย่างใด การขาดทุนเสียหายจากโมเดลการลงทุนที่ซับซ้อนในช่วงตลาดผันผวนแต่ขาดการดูแลความเสี่ยงให้ดีพอ ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้เสมอ เพราะโลกนี้มันไม่มีอะไรที่แน่นอนเราไม่สามารถคาดเดาอนาคตที่จะเกิดขึ้นได้ การลงทุนไม่ว่าจะสั้นหรือยาว นั้นก็เป็นการเสี่ยงบนความน่าจะเป็น ที่มีโอกาสผิดพลาดเสมอ ความเสี