ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์ที่มีป้ายกำกับ Money Management

Diversification

อ่านบทความแนวนี้เยอะมากช่วงปีนี้ หลายที่พูดคล้ายกันว่าอนาคต การทำ Diversification อาจจะทำให้เกิด return ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าการเทรด หรือการลงทุนในตลาดเดียว เพราะจากภาวะความผันผวนที่จะเข้ามา จากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ บทความนี่น่าสนใจเอามาแปะไว้ เรื่อง Diversification Works Whether You Want It To Or Not เขียนโดย Eric D. Nelson จาก ServoWealth นำเสนอข้อมูลผลตอบแทน asset class แบบจำแนกช่วงเวลาได้น่าสนใจ ลองมาคิดต่อ จากข้อมูลที่เขานำเสนอ มันก็จริงเพราะ ด้วยความยากของตลาดและ volatile ที่เกิด ประเภท trader hero หรือการใช้ skill อย่างเดียว เพื่อรีดเอากำไร อาจจะยากกว่าอดีตโดยเฉพาะสาย trend หรือ momentum ดังนั้นการปรับตัวคือ การเทรดแบบกระจาย ตาม fundflow เพราะการโยกเงินของเรา เข้าถูกตลาดที่มีเม็ดเงิน fundflow ไปลง มันสามารถสร้างกำไร ได้บนภาวะความเสี่ยงที่น้อยกว่า เช่นเดียวกัน ถ้าเงินเราไปอยู่ผิดที่ในตลาดที่ fundflow ออกหรือหมดความสนใจ ต่อให้ใช้กลยุทธ์ใช้เทคนิคขั้นสูงยังไง มันก็รีด กำไรออกมายาก แถมความเสี่ยงในการขาดทุนก็จะสูงด้วย http://www.servowealth.com/resources/articles/diversification-wor

Smart beta Portfolio

ทดลองพัฒนาโมเดล สร้างพอร์ตแบบ smart beta ขึ้นมาโดยเป้าหมายหลักคือยังใช้ความไม่สมบูรณ์ของตลาด บวกกับ volatile ที่เกิด มาสร้างให้เกิด cashflow เพื่อสร้าง balance curve ให้โตต่อเนื่อง ความท้าทายมันอยู่ตรงที่การบริหารเงิน คือทำยังไงให้เกิดความได้เปรียบ และจำกัดความเสี่ยงให้เหมาะสม ได้ดีที่สุด เพราะไม่เช่นนั้นความผันผวนของตลาด มันจะมาทำร้ายพอร์ตของเรา สิ่งแรกที่ทำคือ หาโมเดลคุมการบริหารเงินแบบเป็น Dynamic ที่แปรผันไปตามค่า volatility ของตลาด เรียกง่ายๆคือให้ leverage มันแปรผันไปตาม volatility ที่เกิด สิ่งที่สองคือ เพิ่มความแข็งแกร่งให้โมเดล โดยเอาระบบเทรดสองตัวมาทำงานร่วมกัน แนวคิดนี้ก็ง่ายๆ คือเราวิจัยระบบมามากพอ รู้ว่าอะไรคือจุดอ่อนของกลยุทธ์ประเภทต่างๆ ดังนั้น เราจับสองกลยุทธ์ที่มี จุดอ่อน จุดแข็งเสริมกันได้มาทำงานด้วยกันซะ อย่างในโมเดลนี้ ใช้ Scalping ร่วมกับ Trend Following โดยเอาสองกลยุทธ์มาแก้ชดเชย ข้อจำกัดกันและกัน บวกการหาประโยชน์จาก swap ของสินค้าและการอ่านแนวโน้มภาพใหญ่แบบ macro view เพื่อเกาะตามเทรนด์(core beta) แต่ข้อเสียคือเมื่อพยายามเทรด เล่นกับ volatile มันทำให้ กา

Drawdown is your friend

วันนี้มีคนถามเรื่อง Drawdown ระบบ ว่าทำไมต้องไปสนใจมันมาก คำตอบคือ ถ้าเราไม่สนใจมัน ปล่อยให้มันไปของมันเรื่อยๆ มันจะทำให้คุมไม่อยู่รู้ตัวอีกที ก็เสี่ยงมาก จนอาจจะล้างพอร์ตได้  ดังนั้นการดูเรื่อยๆ มันช่วยเราคุมการโตของ equity curve ได้ดี ลดความผันผวนของพอร์ต แถมควบคุมจังหวะหนักเบาของการใช้เงินได้ด้วย ตรงนี้ไม่ใช่เรื่องของเทคนิคอล ไม่ใช่เรื่องของการลากเป้า ดูอินดิเคเตอร์ ดูรูปแบบแท่งเทียน มันเป็นเรื่องของการ บริหารเงิน และบริหารความเสี่ยง ที่จะทำให้เรา "อยู่รอดในตลาดเก็งกำไร" และเมื่อมีทักษะสร้างกำไรได้ต่อเนื่อง โอกาสโตอย่างยั่งยืนมันก็มี เทรดเดอร์ต่างชาติ หรือกองทุน เขาให้ความสำคัญเรื่องนี้มาก เพราะการเทรดไม่ใช่เรื่องของการเดา หรือทำนายอนาคตให้แม่นอย่างเดียว การควบคุมผลของการตัดสินใจและสิ่งที่เกิดตามมาต่างหากคือ Key ที่จะทำให้ประสบความสำเร็จในระยะยาว บนภาวะตลาดที่มีความไม่แน่นอนและผันผวนสูง ปิดท้ายเอาตัวอย่าง เกณฑ์การเทรดของ Fund หนึ่งมาให้ดู ผมมีโอกาสศึกษาโมเดลของ hedge fund นี่พบว่ามีหลายส่วนน่าสนใจ โดยเฉพาะกลยุทธ์การเทรด ที่มีเกณฑ์การคุมขนาดของ Drawdown ที่เกิดแบบเคร่

Stoploss Hunting Vs Stealth Mode

วันนี้มาบันทึกประเด็นสนุกๆที่ได้สนทนากับ นักเก็งกำไรท่านหนึ่ง ทาง line สิ่งที่น่าสนใจคือ พี่ท่านนี้มีปัญหาเรื่อง stoploss คือ วางทีไร โดนกินทุกที เล่นกันเอา พารานอยด์ จิตตกกันไป และแพะก็กลายเป็น stoploss hunting ที่เป็นเหยื่อของนักเก็งกำไรเกือบทุกคน ที่เสีย stoploss ทั้งที่จริง กลยุทธ์การทำ stoploss hunter เป็นอะไรที่ ไม่ได้เกิดบ่อยๆ แถมทำมากๆทำมั่วๆโดนจับได้ ครั้งไม่ใช้ไม่มี ไม่วาง stoploss ก็โดนลาก ล้างพอร์ต ไปเช่นกัน stoploss หรือการหยุดขาดทุนมันเป็นเรื่องของการควบคุมและจัดการความเสี่ยง รูปแบบหนึ่ง ถ้ามีความรู้มีวิธีอื่นๆที่เหมาะสมกว่าก็ใช้แบบนั้นก็ได้ เพราะอย่างผมเคยบอกไป manage loss มีหลายวิธี เช่นการทำ hedging หรือการทำการจัดการความเสี่ยงจาก loss รูปแบบต่างๆ(แน่นอนต้อง require วิธีการที่ซับซ้อน และมีเงินทุนที่เพียงพอ) stoploss เป็นอะไรที่สะดวกและง่าย แต่การใช้งานให้เกิดประโยชน์ ต้องเข้าใจพฤติกรรมของราคา การวาง stoploss ให้ dynamic ยืดหยุ่นและเข้ากับสถานการณ์นี่เป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะปัจจัยเรื่อง volatility ที่มีบทบาทมาก ต่อความสำเร็จ (ขอละประเด็นนี้ไว้อนาคต จะมาสอนต่อไป) Sto

Recovery Factor

หัวใจของการทำระบบ ไม่ว่าจะซับซ้อนแค่ไหน เบื้องต้นต้องคุม risk ให้ได้ก่อนไปเร่ง profit ถ้าคุม risk ไม่อยู่แล้ว Drawdown(DD) มันโตเรื่อยๆ ระบบจะลำบาก เราละเลยไม่ได้ ต้อง monitor ตลอดเหมือนดู equity นั้นแหละ ลองวางแผนจัดระดับจุดวิกฤติเอาไว้ เช่นของผมจะใช้ 20% ถ้าเกินผมจะปรับ money management ใหม่ จะลด position size ผ่อนทันที และปรับ Stoploss ให้เหมาะเก็บกำไรไปเรื่อยๆ จนกว่า wining rate มันจะดีขึ้น ค่า DD มันเริ่มเปลี่ยน แล้วค่อยมาลุย เกมส์รุกใหม่ ตรงนี้จะเห็น ผมเอา Drawdown เหมือนตัวคุมหางเสือ จากนั้นดูสถิติของ win/loss ratio ประกอบ ถ้าผลงานไม่ดีแถม Drawdown โต บวกถ้าเจอ consecutive loss เยอะ แบบนี้หยุดเลย ออกมาทบทวนก่อน ถ้าเราไม่คุม DD ให้ดี ยามเจอหนักๆ โดนอัดมากๆ หรือมี consecutive loss มากไม่นานอาจจะล้างพอร์ตได้ โดยเฉพาะถ้าใช้ robot เทรดมันเร็วมาก อาจจะลองนำค่า Recovery Factor มาใช้ประกอบโดย Recovery Factor = Netprofit / MaxDD ไม่ว่าจะเทรดกลยุทธ์อะไร Trend following ,Momentum trading , Swing trading หรือ Grid แก่นการอยู่รอด อยู่ตรงนี้ ถ้าระบบ คุมภาวะสมดุลของการ สร้างกำไร และการสูญเสีย

แก้มลิงกับการบริหารพอร์ต

แก้มลิง คือ แนวทางการบริหารจัดการน้ำตามแนวพระราชดำริของ ในหลวง ที่สร้างประโยชน์ให้กับประชาชนในหลายพื้นที่จำนวนมาก ทั้งแก้ปัญหา น้ำท่วม น้ำแล้ง โดยใช้แนวคิดการหน่วงน้ำ  ผมชอบคำบรรยาย ตอนที่มีโอกาสได้ดูงานในโครงการแก้มลิง ที่อธิบายแนวคิดแสนเรียบง่ายแต่มีประสิทธิ์ภาพ ด้วยพฤติกรรมการกินของลิง ลิงพอได้รับกล้วยมา ถ้าเราสังเกตจะพบว่า มันจะรีบปลอกและกินกล้วยที่มี เกือบทั้งหวีในเวลาอันสั้น และพยายามจะเคี้ยวกินให้อิ่ม ได้มากที่สุด ถ้ายังไม่หมดมันก็จะเคี้ยวแล้วเก็บไว้  โดยมันเคี้ยวพอละเอียดแล้ว เก็บไว้ในกระพุ้งแก้ม จนเต็มกระพุ้งแก้ม มันเก็บอาหารของมันไว้อย่างนั้นได้ทั้งวัน จากนั้นมันก็จะค่อยๆคายออกมาเคี้ยวกินต่อและกลืนลงกระเพาะภายหลัง แนวคิดนี้เหมือนการเก็บ และสำรองทรัพยากร ที่หามาได้ เอาไว้ใช้ในยามจำเป็น เช่นเดียวกันตอนมันมีมาก ก็ไม่จำเป็นต้องรีบบริโภค หรือใช้ให้หมดจนเกินความพอดี  ผมนำเอาหลักคิดนี้มาสร้างตะกร้ากำไร สำหรับบริหารพอร์ตการเทรดของตัวเอง ใช้มาหลายปีแล้วพยายามถ่ายทอดต่อ  การหากำไร มาได้ ในยามตลาดกระทิง ตลาดขาขึ้น มันเป็นเรื่องไม่ยาก หันไปทางไหนก็มีแต่คนได้กำไร มี

Dynamic Rebalancing

พูดเรื่อง risk management บ่อย เพราะอยากยำว่ากลยุทธ์ ด้านนี้สำคัญมาก สำหรับ การสร้างพอร์ต ให้มั่นคงระยะยาว อยากแนะนำให้ ลองศึกษา หรือหาแนวทาง มาปรับใช้กันเยอะๆ โดยเฉพาะ คนที่เทรดหุ้น เทรดอนุพันธ์ หรือเทรดตลาดต่างประเทศ ความเสี่ยง มันคือ การไม่รู้อนาคต ดังนั้น ถ้าคุณเดาอนาคต 100% ไม่ว่าจะเล่นสั้น เล่นยาวทำอะไร จะใช้ระบบแบบไหน มันเสี่ยงทั้งนั้น มากน้อยก็ว่ากันไป วันนี้ผมเอาบทความหนึ่ง น่าสนใจของคุณ Vineer Bhansali จาก  PIMCO เรื่องเกี่ยวกับการทำ dynamic rebalancing โดยใช้ค่า vollatility ของตลาด บทความนี้ตีพิมพ์ลงใน The Journal of Portfolio Management. หัวใจสำคัญคือทำยังไง ให้ max loss เกิดน้อยสุด เกิด drawdown ของระบบต่ำที่สุด โดยเฉพาะจากปัจจัยเสี่ยงที่เกิดขึ้น และเข้ามากระทบ ผมคงไม่ลงรายละเอียดทั้งหมด เพราะมันเยอะ แต่เอาคอนเซป มาให้ดูว่า การบริหารความเสี่ยงนั้นสำคัญ ไม่ใช่ หลับหูหลับตาเทรด หรือ วิ่งหากำไร เห็นของถูก เห็นคนเชียร์เยอะๆ ก็จะเข้าไปเก็บตลอด การประเมินสถานการณ์ความผันผวน ความไม่ปกติให้ออก แล้วรู้จักผ่อน หนัก เบา ช้า เร็ว เป็น key สำคัญของมืออาชีพ ที่สามารถทำพ

ผลตอบแทนจากประสบการณ์

เมื่อคืนเป็นอีกคืนที่ happy มากเพราะพอร์ตน้ำมัน ทำ cashflow ได้สูงเป็นสถิติ รอบหลายเดือน จากการรีบาวนด์กลับทิศทางยกตัวขึ้น ทำให้ระบบ GRID เริ่มสร้างกำไร ปรับต้นทุนในโซนเทรด $40-$50 ได้ เมื่อย้อนไปอ่าน diary เขียนไว้ในปี 2013 ตอนนั้นเทรด crude oil ตอนโซน $99 เขียนแนวคิดวิธีการเทรดเรื่องการเก็บ cashflow ไว้ชัดเจน ที่ดีใจคือ ตัวเองยึดมั่นในระบบที่เราพัฒนา เทรดได้ตามแผน ไม่ว่าน้ำมัน จะเข้าสู่ภาวะโหดร้ายแค่ไหน พอร์ตผมก็ยังไม่ล้าง อยู่รอดและทำกำไรได้ต่อเนื่อง แม้จะไม่มีกำไรไม้ละหมื่นละแสน แต่เวลาที่ผ่านไป การได้เทรดทุกวัน ติดตามตลาดทุกวัน มันสร้างประสบการณ์และการเรียนรู้มากมาย นี่ต่างหากคือกำไร ที่แท้จริง ที่ผมคาดหวัง เพราะผมเชื่อว่าไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับตลาดในปี 3 ปี 5 ปีข้างหน้าผมก็จะสามารถอยู่รอดและปรับตัวให้เข้ากับสภาวะที่เกิดได้ โดยไม่ต้องไปเสียจริต เสียเวลาเดาอนาคต เล่นไปตามระบบ ไม่หวั่นไหวไปตามข่าว ตามบทวิเคราะห์ที่ออกตามสื่อหลัก ถึงน้ำมันจะไป $10 จริงๆ ผมเชื่อว่าด้วยระบบเทรด และองค์ความรู้ที่มี โดยเฉพาะการบริหารจัดการความเสี่ยง สิ่งเหล่านี้ก็น่าจะทำให้ พ

Paul Tudor Jones: Basic MM

 Paul Tudor Jones  ชายคนนี้ประสบความสำเร็จจากการเป็นเทรดเดอร์ในตลาดอนุพันธ์  ก่อนผันตัวไปเป็น hedge fund manage บริหารเงินทุนขนาดหลายพันล้านจนประสบความสำเร็จ  Paul Tudor Jones ปัจจุบันอายุ 60 ปี เป็น hedgefund อันดับ top ของโลก เศรษฐีพันล้านอันดับที่ 108 ของอเมริกา เขามีทรัพย์สิน $4.3 billion โลดแล่นในตลาดเก็งกำไรมาตั้งแต่ก่อนยุค 1980 ชายคนนี้เป็นตำนานของ Wall Street วีรกรรมที่ทำให้เขาโด่งดังหนี้ไม่พ้นการทำเงิน $100 million จากช่วงตลาดหุ้น wall street พังในปี 1987 ตอนนั้นเขาอายุเพียง 32 ปีและสามารถสรา้ง return ในตอนจบปีถึง 200% แต่เหมือนกันทุกคน คงไม่มีใครเจอแต่วันดีเสมอไป เพราะความเสี่ยงมันคือการไม่รู้อนาคต  คนที่อยู่รอด คือคนที่เข้าใจในจุดนี้ คือคนที่ไม่ประมาท  คุณ Paul Tudor Jones ก็เคยผ่านช่วงเวลาที่เลวร้าย เขาเอาเคยขาดทุนหนักถึง $6 million ในหนึ่งวันจากความผันผวนของตลาดตอนนั้นเขาบริหารเงินในพอร์ตอยู่ $125 million พอลสอนเรื่อง Money management ไว้หลายประเด็น และดีมาก มันเป็นมุมมองที่บ่งบอกถึงประสบการณ์และความเข้าใจตลาดแท้จริง คนจำนวนไม่น้อ

Nonsystematic Risk :Franc Surge

ความเสี่ยงจากการไม่รู้อนาคตนี้เป็นเรื่องที่ อันตรายมากสำหรับ เทรดเดอร์ ไม่วาคุณจะเก่งแค่ไหน แต่สุดท้าย อนาคตเป็นเรื่อง ที่ยากจะคาดเดา เขียนเรื่องนี้บันทึกเรื่อง ปรากฏการณ์ สวิตฟังซ์ CHF เอาไว้เพราะมันคือ ประสบการณ์ในรอบหลายปีที่เกิด กับการเทรดของผม ยอมรับว่าไม่เคยเจอ effect จากข่าวที่ผิดคาด มาเซอร์ไพร์สตลาดและทำให้ ราคาวิ่งแบบถล่มขนาดนี้ ประเด็นที่เกิดมาจากข่าว Swiss National Bank (SNB) ยกเลิก minimum exchange rate ที่ 1.20 / ยูโร กับ การปรับอัตราดอกเบี้ยชนิดที่พรวดเดียว จาก -0.25% ไป -0.75% ข่าวนี้ออกมาช๊อคตลาด เรียกว่า USDCHF และ EURCHF ร่วงหนักทำจุดต่ำสุด แบบรวดเร็วในเวลาไม่ถึง 20 นาที และทำจุด low ที่ทำให้ระบบรวน และเสียหายอย่างน่ากลัว บางโบรกนี้หยุด การซื้อขายไปชั่วขณะเลย  ดูจากภาพจะเห็นความโหด และเร็ว กดกันไปเกิน 3000 pip ในเวลาไม่ถึง 20 นาที  สิ่งที่ตามมาก็ป่วนสิครับ แม้จะมี รีบาวน์ยกกลับมาได้เกินครึ่ง แต่ก็ลดลงหนักมากกว่า 2000 pip  เป็นการปรับตัวที่รุนแรงและ high volatility มากที่สุด ที่ผมเคยเทรดมา งานนี้ทำเอา EA ของผมหลายตัวร

Downside risk with Kelly Criterion Method

โมเดลที่จะนำมาสอนการใช้งานวันนี้เรียกว่า Kelly Criterion Method หรือที่หลายคนอาจจะรู้จักกันในนามของ Kelly formula ขอออกตัวไว้ก่อนนะครับ ว่าในบทความนี้ที่เขียนให้สมาชิก cway อ่านผมเขียนแบบเบื้องต้นสั้นๆเข้าใจง่าย ละเรื่อง math model เอาไว้เพราะถ้าเขียนทั้งหมด มันจะยาวและจากประสบการณ์ พวกเราจะเบื่อตามไม่ทัน ดังนั้นพวกเป็นรายละเอียดโมเดลงานวิจัยการทดสอบระบบ การ optimize ด้วย  Kelly formula ผมละเอาไว้สอนในคลาสต่อไปแล้วกัน  Kelly Criterion คือโมเดลเชิงคณิตศาสตร์ที่ใช้หลักความน่าจะเป็นสถิติเข้ามาประเมินหา ขนาดของ position size ที่เหมาะสมกับ risk ที่รับได้ บนเงื่อนไขความสามารถของระบบเทรด(พูดภาษาชาวบ้านคือ ใช้ค่าสถิติจากการประเมินระบบเทรดของเราเป็นตัวตั้งในการคิดค่าความเสี่ยงที่เหมาะสม) โมเดลนี้เป็นที่นิยม พอสมควรใช้เยอะในพวก algorithm trade เพราะทุกอย่าง จะขึ้นกับศักย์ภาพและประสิทธิภาพของระบบ โดยKelly Criterion ถูกพัฒนาขึ้นในช่วงปี  1923–1965 โดย คุณ John Larry Kelly Jr หลักการใช้งาน 1. เริ่มจากการพัฒนาระบบเทรด สำหรับสินค้า หรือตลาดที่ต้องการจะเข้าไปเทรด จากนั้นทำการทดสอบระบบทั้ง

Determine your risk

วันนี้มีคำถามเรื่อง Money management เข้ามาทางกล่องข้อความ จากน้องในกลุ่มไทยเทรด ผมตอบคำถามเรื่องนี้บ่อยพอสมควร  หลายครั้งที่ตอบ คิดว่ามันมีประโยชน์ และคนทั่วไปที่สนใจเข้ามาเทรด เก็งกำไร จำนวนมากยังสับสนและไม่ค่อยเข้าใจ ในหลักการนำไปใช้เท่าไหร่  เลยอยากนำมาเขียนอะไรง่ายๆ สรุปไว้ จริงๆเรื่องของ Money management มันเป็นคณิตศาสตร์บางครั้งพูดมาลงลึก ยากไป ก็เบื่อ แถมไม่มีกราฟิกให้ดู ให้ท่องจำแบบ เทคนิคอล ทำให้คนไม่สนใจ และมักจะเลิกที่จะลืมมันไป  แต่น้องๆที่คิดจะมาเทรด จำไว้อย่างนะครับ เราไม่มีทาง betting แล้วชนะ ทุกครั้ง โอกาสขาดทุนมันมี เสมอ มีคนถามผมเสมอ ใช้เทคนิคอล ต่อให้ backtest หรือ forward test ทำไปทำไม ในเมื่อมันไม่มีทางถูกต้อง 100%  คำตอบก็คือ ทำไปไม่ใช้หาว่ามันถูกแค่ไหนเป็นหลัก แต่ทำเพื่อให้รู้ว่ามันมีโอกาสผิดพลาดหรือ %loss มากแค่ไหน  ถ้ามันมีโอกาสแพ้เยอะ ใช้ไม่ได้ก็ต้องโยนทิ้ง ถ้ามันมี %loss พอรับได้ เราก็ต้องประเมินให้ออกว่าระดับมันมาก ปานกลาง หรือสูงเท่าไหร่ เพื่อเอาโมเดลของ Risk Management หรือ Money management มาเป็นตัวไปจับ เพื่อจำกัด ลดทอนขนาดของความเส

Cash flow strategies for TFEX

การเทรด tfex ของผมปกติ ไม่ได้เน้นเทรดเอารวย หมื่นล้าน แสนล้าน อะไรแบบนั้น แต่เทรดเพื่อบริหารพอร์ต คู่กับพอร์ตหุ้น หรือหา cashflow มาเติม ในส่วน ของเงินสดเป็นหลัก ดังนั้นการเทรด จะเป็นเชิงกลยุทธ์ที่เน้นบนความเสี่ยง(risk) มากกกว่าการหา maximum profit สำคัญเน้นการสร้างกระแสเงินที่ต่อเนื่อง แน่นอน ประสิทธิ์ภาพระบบเทรดแบบนี้วัด ที่ Max Drawdown เป็นหลัก โมเดลนี้เอาไปต่อยอด ในการคุม equity curve และ Drawdown curve ที่เราติดตาม เพื่อบริหารพอร์ตต่อ คำถาม น้องคนหนึ่ง ถามว่า พี่เอก วางแผนการเก็บ CF อย่างไง เทรดยังไงให้ ได้กระแสเงินต่อเนื่อง  ผมคงไม่บอกทั้งหมด ไล่ไปทำการบ้านต่อ แต่สอนวิธีคิดการวางแผน ที่เป็นไปได้ให้ คำตอบ 1. ผมคิดหาโซนที่จะเทรดก่อน ทุก ซีรีย์ ที่เทรด ผมจะออกแบบโซนการเทรดเอาไว้เสมอ เพื่อประเมิน loss ที่จะเกิดกับระบบ ต้องหา พิสัยกรอบการเคลื่อนโดยประมาณให้ได้ก่อน สมมติเป็นค่า DS 2. คิดค่า estimated loss ที่มีโอกาสเจอ จาก DS โดยทั่วไปผมจะเพื่อบวกไว้ ตามค่า factor ของเกิดในช่วงเวลานั้นๆ + ประเมิน systematic risk เอาง่ายๆไม่อยากทำอะไรเยอะ ก็เอาค่าคงที่ คูณ เช่น คิด DS จากซีรีย์ก่อ

System Patching / Asset Swing

กำไร มันเป็นเรื่องของ odd แต่ สิ่งที่ต้อง take care คือ loss หรือ การขาดทุนต่างหาก  ถ้าเราหาได้ว่า ระบบมี %loss ที่จะเจอมากแค่ไหน ยิ่งเป็นที่แน่นอนว่า แน่ๆเจอแน่ๆ นี่ยิ่งดี เพราะ ค่าสถิติ loss (maxloss consec loss min loss recover time dd maxdd ) ทั่้งหลายจากการทดสอบระบบ จะนำไปใช้ใน การวางแผนจัดการความเสี่ยง ได้  ตรงนี้ที่มืออาชีพ สนใจ รายมายาวเพื่อจะตอบคำถาม ก่อนจบ พยายามจะทำตัวเอง ไม่ให้เป็นพวก NATO (No action talk only)

เตรียมมาร์จิ้นให้เหมาะสมกับความเสี่ยง(tfex)

วันนี้(19-06-2013) tfex S50 ปรับขึ้น IM จาก 55,100 เป็น 76,000 (outright) ถือว่าปรับขึ้นมาสูงพอสมควรจากอดีต (อดีต IM หลัก 36,000 แต่ช่วงปีที่แล้ว กรณีต้องการให้คนมาเทรดมากๆ ก็ลด IM ลงก็มีให้เห็น เช่นตอนปลายปีที่แล้ว IM ลดจาก 47500 เหลือ 38000) 

หัวใจของระบบเทรด

มีคำถามจากเพื่อนสมาชิกเข้ามาเรื่องการทำระบบ สนทนากันยาวพอควรน่าสนใจดี และน่าจะเป็นประโยชน์ ผมเอาคำตอบที่ผมตอบมาสรุปสั้นๆให้ได้อ่านกัน ถ้าทำระบบเทรดทำใช้จริง ต้องเน้นทำกำไรต่อเนื่องอยู่รอดและยั่งยืน ยั่งยืนได้ไม่วัดกันที่กำไรมากๆ ระบบที่ดีต้องเล่นได้ทั้งเกมส์รุกและเกมส์รับ บนปรัชญา limit risk high return หัวใจของระบบเทรดคือการสร้างกระแสเงินสด หรือ cash flow ให้ออกมาต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ไม่ใช่หวังลุ้นแจ๊คพ็อตจากกำไรก้อนโตอย่างเดียว เมื่อทำระบบเพื่อใช้จริงให้อยู่รอดระยะยาว สิ่งสำคัญไม่ใช่กำไรก้อนโต หรือ %growth แต่มันคือ Drawdown ทั้ง MaxDrawdown, Relative Drawdown เราต้องคุมให้เป็นบังคับให้อยู่  ถ้าปล่อย %drawdown สูงเกิน 50% หมายความระบบมีโอกาสเสี่ยงสูง high risk high return โอกาสหมดตัวได้เสมอ (ส่วนใหญ่เขาจะไม่ใช้กัน ต้องปรับปรุง) ระบบเทรดที่สเถียร์ต้องเป็น limit risk high return อีกประการถ้าดูเกมส์รุก อย่าไปดูแค่ %growth ได้เยอะแล้วบอกระบบดี ถ้าระบบเกมส์รุกดีต้องมี Profit factor ที่สูง และค่า Z-Score ควบคู่ไปด้วย เรียกว่ากำไรมันมาอย่างสเถียร์และมีเหตุมีผล ProfitFactor = GrossProfit

Portfolio Evaluation

มีคำถามเรื่อง การประเมินผลการลงทุนเข้ามาบ่อย ผมตอบไปก็เยอะ วันนี้ถือโอกาสนำมาเรียบเรียงเป็นบทความเอาไว้ให้เพื่อนๆได้อ่านกัน ไปเลย เชื่อว่าหลายคนคงอยากรู้วิธีการประเมินผลงานของการลงทุนของตัวเอง นอกเหนือจากการดูแค่กำไรขาดทุน เพียงอย่างเดียว

MAE/MFE Charts

การพัฒนาระบบ สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กับการทำ Black Testing ก็คือขั้นตอนการประเมินผลการทำงานของระบบ ในสถานการณ์จริง เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของระบบ และการเทรดของเทรดเดอร์ ขั้นตอนการประเมินผล มีหลายโมเดล โมเดลหนึ่งที่ผมจะนำมาเสนอคือเรื่องของ MAE/MFE

Drawdown

หลายคนรู้จักระบบเทรดกันมากขึ้น สิ่งหนึ่งที่ผมดีใจตรงที่ว่าหนังสือ "เล่นหุ้นเป็นระบบ(Trading System)" ของผมช่วย กระตุกความคิดคน เปลี่ยนความเชื่อเดิมๆที่มีในเชิงลบ ว่านักเล่นหุ้นหรือนักเก็งกำไรเป็นผีพนัน พวกนี้คิดไม่เป็นไม่โลภ หวังรวยเร็ว ทำให้เขาเห็นภาพนักเก็งกำไรมืออาชีพ ที่เล่นเก็งกำไรแบบมีระบบ โดยจำกัดความเสี่ยง และเน้นที่ผลกำไรที่ยั่งยืนระยะยาว ไม่ต่างอะไรกับนักลงทุน มีการวางแผน มีกลยุทธ มีการจัดการความเสี่ยง และการบริหารจัดการเงินที่แยบคายมีขั้นมีตอน หวังผลการเติบโตของพอร์ตระยะยาว ที่สำคัญนักเก็งกำไรคือนักฉวยโอกาสที่มองเห็นโอกาสจากการเคลื่อนไหวของราคาหุ้น การเปลี่ยนแปลงจากภาวะอารมณ์ตลาดและความไม่เป็นเหตุเป็นผลของราคา นำจังหวะนั้นมาสร้างเป็นผลกำไร ด้วยระบบปราศจากอารมณ์ พูดถึงเรื่อง การบริหารจัดการเงิน สิ่งหนึ่งที่อยากนำมาแบ่งปันก็คือเรื่องของ การวิเคราะห์การขาดทุน เพราะเรื่องของการขาดทุนเป็นสิ่งที่นักเก็งกำไร ในตลาดไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้ แต่เราสามารถควบคุมมันได้ ตัวที่บ่งบอกพฤติกรรมการขาดทุนของระบบได้ดี นั้นก็คือ Drawdown ทำไมต้องสนใจ Drawdown คือ ค่าที่ได้จากการวัดจากการว