ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์ที่มีป้ายกำกับ intermediate level

ลงทุนเก็งกำไรระยะยาว สไตล์ Cway

ปัจจุบันอายุเฉลี่ยของนักลงทุนที่เริ่มมาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์นั้นมีน้อยลงเรื่อยๆ ผมมีโอกาสได้คุยกับบางท่านทางเว็บบอร์ด พบว่าหลายคนอายุแค่ 17-18 ปี ก็เริ่มลงทุนแล้ว สำหรับผมมองว่าเป็นเรื่องที่ดีและน่าอิจฉา เพราะถ้าเกิดคนเหล่านี้สามารถลงทุนในรูปแบบที่ถูกทางและ อยู่รอดในตลาดเกิน 10 ปี โอกาสจะเป็นเศรษฐีก็มีไม่น้อย แต่ถ้าพลาดไปเป็นขาซิ่งแบบผิดๆ ติดในวังวงเก็งกำไรรายวันแล้วละก็คาดว่าไม่ถึง 1 ปีคงได้น้ำตาตกกลับออกไปจากตลาดหุ้นแน่นอน คนอายุน้อยก็มีข้อจำกัดเรื่องวุฒิภาวะ การควบคุมอารมณืและข้อสำคัญถ้ายังไม่เคยทำงานหรือประกอบอาชีพมาก่อน อาจจะมองไม่เห็นคุณค่าของเงินมากพอ ทำให้เกิดการลงทุนแบบเสี่ยงๆ และพยายามใช้ความกล้าได้กล้าเสียมาวัดดวง จนสุดท้ายก็กลายเป็นการพนันไป ยิ่งลูกผู้ดีมีเงินที่หาเงินได้ง่ายจากทรัพย์ของพ่อแม่แล้วนั้น การลงทุนแบบเกินตัว ขาดการจัดการด้านเงินทุนที่ดี โอกาสหมดตัวก็สูง ตลาดหุ้น แท้จริงก็คือสนามรบสำหรับนักเก็งกำไร ทุกบาทที่ท่านได้มา นั้นย่อมมาจากเงินของผู้อื่นที่เสียไป แต่การสู้รบในสนามแห่งนี้ไม่ได้เกิดจากการสู้กับผู้อื่น แต่มันมาจากการสู้รบกับตัวเอง สู้กับจิตใจของตนเอง โดยส่วนต

ขาดทุนไม่ใช่เรื่องแปลก

ช่วงนี้ถ้าพูดเรื่องขาดทุน คงจะเป็นของแสลงของใครหลายคน อันด้วยมาจากดัชนีที่ดิ่งตกลงเหวแบบไม่มีใครขาดคิด ผมไม่เห็นใครที่ไหนมาเตือนเลยว่าระวัง SET จะย่อตัวนะ จนกระทั้งมาเจอเหตุการณ์ ช๊อคชินิม่า ทำเอาหลายคนอึ้งกิมกี่ ไปตามๆกัน สิ่งที่ทำได้คงไม่ใช่การไปโทษฟ้า โทษดิน โทษฝรั่งว่าขายได้ยังไงกัน ไม่บอกกันล่วงหน้า (เอ้า ถ้าบอกกันล่วงหน้าจะขายได้ ราคาไหมอ่ะครับ) ผมเองคิดว่าเราควรโทษตัวเองมากกว่าที่ไม่ได้มีแผนสำรองรับมือเหตุการณ์แบบนี้ มันขายกับน้ำท่วมที่ผ่านมา เราไม่คิดว่ามันจะท่วม เลยไม่ได้รับมือเมื่อภัยมาถึงตัวก็สายเสียแล้ว การขาดทุน ไม่ใช้เรื่องแปลกครับ ตลอดการลงทุนมาคนที่ไม่เคยขาดทุน ไม่มีหรอกแม้แต่นักลงทุนระดับโลก ก็ยังขาดทุน สิ่งสำคัญไม่ใช่การหลีกเลี่ยงขาดทุน คนที่กลัวขาดทุน ควรเอาเงินไปฝังดินหรือฝากธนาคาร(จริงๆก็ขาดทุน เงินเฟ้อนะ) การลงทุนในหุ้น ยังไงก็มีโอกาสขาดทุน สิ่งสำคัญคือการจำกัดความเสียหายและ จำกัดโอกาสการขาดทุนต่างหาก จำกัดโอกาสการขาดทุน การจำกัดโอกาสการขาดทุนทำได้โดย การเลือกลงทุนในเกมส์ที่เรามีโอกาสชนะสูงมากกว่าแพ้ มี win/lose ratio มากกว่าหรือเท่ากับ 1 เช่นโอกาสชนะ 50% โอกาสแพ

เมื่อเทคนิคคอลไม่ง่ายอย่างที่คุณคิด!!!!

ช่วงนี้สินธรกลับมาคึกคักกันอีกรอบ จากการเปิดประเด็นถกเถียงทางวิชาการ เกี่ยวกับ การวิเคราะห์ราคาหุ้นทางเทคนิค(TA) ทำเอากระทบกระเทือนหลายคนที่ใช้กราฟราคาและการวิเคราะห์ทางเทคนิคในการลงทุน ต้องร้อนๆหนาวๆ เพราะเซียนระดับอาจารย์หลายคน ออกมาตั้งประเด็นถกกันอย่างสนุก (แต่หลังๆเริ่มออกแนวใช้อารมณ์แล้ว) กลุ่มฝ่ายที่สนับสนุน แนวคิดการหาสัญญาณซื้อขายจากดัชนีแบบที่ คุณหมอทั้งสอง(ขออนุญาติไม่เอ่ยนาม) ต่างยกเหตุผลสนับสนุนของการตัดสินใจซื้อขายตามสัญญาณจากเครื่องมือเช่น Stochastic,EMA,RSI MACD ส่วนอีกกลุ่มฝ่ายค้านนำทีมโดยอาจารย์ ป. ที่ยกเหตุผลที่น่าสนใจมาถกเรื่องของกราฟ เป็นเพียงการนำข้อมูลในอดีตมาคำนวณมันไม่สามารถใช้นำทางในอนาคตได้ และมีอีกหลายท่านที่หาตัวอย่างมาอภิปรายได้อย่าน่าสนใจ พร้อมอธิบายเหตุผลที่ว่า กราฟของคุณหมอที่สามารถบอกได้ว่า หุ้นจะขึ้นหรือลงนั้นเพราะ ตัดเอามาเฉพาะ case ที่ชัดเจน บางกรณีเป็นตัวอย่าง ซึ่งบางกรณีก็จะไม่เป็นจริง ลองไล่เรียงไปอ่านได้จากกระทู้ต่างๆดังนี้ 1. เริ่มต้นการอภิปราย http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/topic/I10144400/I10144400.html 2. แตกประเด็น - http://www

ว่าด้วย P/E

P/E เป็นอัตราส่วนทางการเงิน ยอดนิยมและสำคัญที่เราควรทำความรู้จักไว้ เพราะค่านี้เป็นค่าที่บ่งบอกความถูกและแพงของหุ้น หลายคนใช้เป็นเงื่อนไขในการซื้อ ขาย หุ้นอีกด้วย สืบเนื่องจากอารมณ์ค้างจากเมื่อวานที่คุณเรื่อง P/E กับพี่คนหนึ่ง ระหว่างนั่งซุ่มหัวกันล้วงแคะแกะเกางบการเงินของบริษัทหนึ่งในร้านอาหาร มันมีประเด็นเรื่อง P/E ที่ผมยังไม่เคลียร์เลยใช้เวลาทั้งวันทำการบ้านเพิ่ม ผลก็คือ อินเตอร์เน็ตช่วยได้ กระจ่างศาสตร์ขึ้นมาก ตอนนี้เลยอยากเขียนถึง P/E เพื่อแชร์ความรู้ไว้บนบล็อคสำหรับท่านอื่นๆที่ผ่านเข้ามา เผื่อว่าจะได้เก็บนำไปใช้ประโยชน์กัน P/E คืออะไร P/E หรือ PER คือ Price/Earning per Share (EPS) เป็นอัตราส่วนที่ใช้อนุมานความถูกและแพงของตัวหุ้น(กิจการของบริษัท) โดยใช้ราคา หารด้วย EPS(กำไรสุทธิต่อหุ้น) ค่าที่ได้เป็นจำนวนเท่า โดยถ้ามองการเติบโตที่คงที่ ก็จะทำให้ทราบปีที่จะคุ้มทุน ตัว EPS นี่ละครับ เป็นเหมือนหัวใจของ P/E อีกตัว ถ้าดูข้อมูล P/E ที่ใช้กัน EPS อาจจะใช้ข้อมูลผลประกอบการในอดีต 4Q ย้อนหลังมาคิด หรืออาจจะใช้ข้อมูลการประมาณการผลประกอบการ(เดา)ในอนาคตมาร่วมด้วย P/E ไม่คงที่แปรผันตามเวลา เน

จิตวิทยาการลงทุน

สองสามวันที่ผ่านมาดัชนี SET ร่วงลงมาอย่างรุนแรง ส่งผลให้หุ้นรายตัวต่างพุ่งดิ่งลง แบบแดงกันเกือบทั้งกระดาน เหตุการณ์แบบนี้เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อย ซ้ำแล้วซ้ำเล่ายิ่งถ้าท่านได้ลงทุนในตลาดหุ้นนานขึ้น ท่านจะเคยชินและตกใจน้อยกว่าน้องใหม่ที่เพิ่งเข้ามาสู่ตลาด แต่แน่นอนว่าไม่ว่าหน้าเก่าหรือหน้าใหม่การที่เห็นดัชนีหุ้นของตัวเองถูกกระหน่ำเทขาย แบบไม่ลืมหูลืมตาย่อมก่อให้เกิดผลทางจิตใจ และแน่นอนครับว่าเจ้าผลกระทบทางจิตใจนี้เองที่ มีผลต่อการกำไร หรือขาดทุนของเรา  เพราะเมื่อจิตใจเราโดนครอบงำด้วยอารมณ์ความกลัว ความตื่นตะหนก บวกกับจิตวิทยาหมู่ของตลาด มันทำให้การตัดสินใจของเรานั้นเกิดจากอารมณ์ มากว่าเหตุและผล ซึ่งจากเหตุการณ์ที่เพิ่งผ่านมา ผมขอเอาประสบการณ์จากเพื่อนๆ และตัวเอง(ในอดีต) มาสรุปไว้ให้อ่านว่า จิตวิทยาจะมีผลยังไงต่อการลงทุนของท่านบ้างในวันแดงเดือดแบบนี้ 1. ขายตามคนอื่น อันนี้เป็นเรื่องของสัญชาตญาณการเอาตัวรอดของมนุษย์ ซึ่งเป็นเรื่องที่หลายคนโดยเฉพาะนักลงทุนหน้าใหม่ และหน้าเก่าที่ขี้ตกใจกระทำกัน โดยเรามักจะรีบขายหุ้นตัวที่ราคาลดลงอย่างรวดเร็ว ติดลบมาก และมี การโยนขายแบบไม้ใหญ่ๆต่อเนื่อง ก