ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

Quantitative Trading

งานหลักของ Quant คือการเล่นกับ data ครับ ตรงมีประเด็นมีรายละเอียดและโมเดลเยอะ แต่ยิ่งเล่น เราจะยิ่งเข้าใจ จะยิ่งมองเห็น ธรรมชาติของพฤติกรรมราคา นำไปใช้ประโยชน์ด้านกลยุทธ์การเทรด การออกแบบระบบเทรดขั้นสูงต่อไป ตรงนี้คือข้อแตกต่างของ Quant จากเทคนิคอล หรือระบบเทรดปกติ ที่จะโฟกัสไปที่ การเคลื่อนที่หรือ movement ของราคาเป็นหลัก เพื่อหา สัญญาณซื้อขาย ตรงนี้ก็จะเป็นโมเดล หรืองานที่สนอง ต่อการเทรดอย่างเดียว เทคนิคอล หรือเครื่องมือเทคนิคอล ส่วนใหญ่การพัฒนาโมเดล มันจะมีการกำหนดขอบเขตข้อมูล ที่เฉพาะ ตามสมมติฐานออก มา ปัญหาใหญ่คือ ตลาดมันไม่เป็นเส้นตรง แบบนั้น การนำเครื่องมือไปใช้งาน มันจึงมีข้อจำกัด และไม่เป็นจริงทุกกรณี Quant ส่วนมาก เน้นการเล่นกับข้อมูล ในโดเมนต่างๆ เพื่อทำความเข้าใจกับมัน มองหาจุดไม่ปกติ และสร้างโมเดล ทำการวิเคราะห์ด้วย คณิตศาสตร์ สถิติขั้นสูง เพื่อใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่เกิด ตรงนี้มันขึ้นว่าเราจะเลือกอะไร จะศึกษาอะไร แต่สุดท้ายถ้าเข้าใจมันก็ใช้ประโยชน์ได้ทั้งนั้น ข้อมูลในภาพเป็น S&P500 ที่ผมนำมาวิเคราะห์ก่อนจะสร้างกลยุทธ์เทรด

Trading as a way of life

ผมศึกษาเทรดเดอร์เก่งๆระดับโลก เยอะมาก รวมถึงผู้จัดการกองทุน hedgefund ต่างๆที่ประสบความสำเร็จ แล้วก็ไปพบกับคนหนึ่งเข้า เขา คือ Jihan Bowes-Little เป็นผู้จัดการกองทุน ชื่อดังอีกคน และเป็น นักร้อง Hip hop ฟังเขาพูดใน ted talk แล้วรู้สึกไม่ธรรมดาเลยอยากเอามาแชร์ Jihan Bowes-Little เป็นดาวรุ่งของวอลสตรีทอีกคน เขาเป็นนักเรียนทุน ชั้นหัวกระทิที่จบ Economics and Philosophy จาก Brown หลังจากนั้นก็มาเป็น prop trading ให้กับ Goldman ที่ London ตอนปี 2002 จากนั้น 2009 ก็ลาออกจาก GS กลับมา อเมริกามาเป็นเทรดเดอร์อิสระ และทำงานเพลง Hip hop ที่เขาต้องการ ปี 2012 ก็เข้ามา บริหารกองทุนและดูแลพอร์ตให้ hedgefund ชื่อดังอย่าง BlueCrest Capital Management (AUM £30 billion, 2013) ของ Michael Platt (มหาเศรษฐี billionaire) ปี 2016 Jihan Bowes-Little เขาลาออกจาก BlueCrest ย้ายมาทำงานบริหารเงินให้กับ JPMorgan Private Bank และ คุณ Jihan ยังเปิดค่ายเพลงและทำงานด้าน rap music ร่วมไปด้วย ผมชอบ principle การทำงานและใช้ชีวิตของ Jihan Bowes-Little มันเป็นเรื่องของการสมดุลชีวิต ในรายการ Ted talk เขาบรรยายหัวข้อ Tr

Order book dynamics in High Frequency

พยายามเก็บคลิปวีดีโอสอนเทรดดีๆมาย่อยสรุป เก็บไว้ เติมความรู้ให้สมอง เรื่อยๆ โดยตั้งเป้าขั้นต่ำ วันละคลิปโปรเจค เนื่องจากดองไว้เยอะมาก แต่ละอันก็ดีๆทั้งนั้น คืนนี้เล่นของยากเลย เรื่อง Order book dynamics in High Frequency Trading เป็นเหมือนการดูงาน HFT ของตลาดอินเดียไปในตัว ความยากของคลิปนี้ไม่ใช่เนื้อหาแต่เป็นภาษาอังกฤษสำเนียงอินเดีย ที่ลิ้นรัวจนฟังยากสักนิด vdo นี้เป็น webinar ของ QuantInsti(สถาบันควอน) บรรยายโดย Gaurav Raizada,รวมๆแล้วเนื้อหาดี เทคนิคความเร็วที่มาเล่นกับการชิง match order และหาจุดได้เปรียบในการเข้าซื้อขายของพวก HFT มีภาพให้ดูชัดดี รวมไปถึงการทำ algorithm มาวิเคราะห์ order book และข้อมูลคำสั่งเพื่อหา dynamics ของตลาด ถ้าสนใจ ก็เข้าไปดูกันได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=PL8aVde9c2w

Big Short & การรับมือวิกฤติ

เพิ่งจะได้ดูหนัง Big Short  ดูจบสิ่งที่ทำให้ผมคิด คือ เราจะเป็นผู้ชนะในวิกฤติการเงินยังไง? ต้องเป็น Hero แบบ Burry หรือไม่(หลายคนดูออกจากโรงอยากเป็นแบบนี้ ชนะได้แบบนี้กันส่วนใหญ่) นั่งทบทวนดู พบ มี 2 แนวทาง 1. ทำแบบ Michael Burry คือมั่นใจว่าจะเกิดฟองสบู่ กล้าสวนแนวโน้มแล้ว short ทนขาดทุน 2 ปี พอถูกก็กิน แจ๊คพ๊อตก้อนใหญ่ (ก็ต้องยอมรับเขาเก่ง บริหารเงินดีค่อยๆสะสม positionและอึดจิตใจหนักแน่น) 2. ถ้าเชื่อว่า ฟองสบู่จะมาก็ re balance ถือเงินสด(virtual short) มากพอ รอให้มันเกิดวิกฤติ หา discount เข้าซื้อสะสมของถูก ทำกำไรจากการฟื้นตัว >>(อันนี้คนสำเร็จมีเยอะ แต่มันไม่หวือหวา เลยไม่มีคนทำหนัง)  ในตลาดการหากำไรจากวิกฤติจริงๆ 2 แนวทาง มีคนเดินกลยุทธ์และ ประสบความสำเร็จอยู่ทั้ง 2 แบบ มันขึ้นเราจะเลือกทางไหน  ส่วนตัวผมคงไม่ทำแบบ Burry (และไม่เห็นด้วยที่จะไปสนับสนุนให้คนมา short ดัชนีเพียงเพราะคิดว่ามันสูง) เพราะ เพดาน มันหายากการประเมินแรงขับ ความโลภของคนมันทำได้ไม่ง่าย บวกกับก่อนจะลงหรือวิกฤติใหญ่จะมา ตลาด volatile จะสูง ถ้าเดินแผนไม่ดี บริหารเงินห่วยก็โดนกินเรียบได้ แตกต่างจาก

ผลงานระยะยาวของ Trend following

ตอบคำถามเมื่อวาน ที่อธิบายเรื่อง Trend following ไปนะครับ คือระยะยาวภาพใหญ่ 5-10 ปี กลยุทธ์สาย Trend following ก็ยังใช้งานได้(ถ้าคุม risk ให้รอดได้ ผลงานมันจะเฉลี่ยดีและแย่กันไปเอง) ผมเองก็มีพอร์ตที่รันด้วย Trend following ไว้เก็บระยะ กินกำไรยาวๆโดยระบบที่ใช้เอา snowball tactic มาประยุกต์ การใช้ Trend following ภาวะตลาดแบบนี้ต้องมีกลยุทธ์บริหารเงิน บริหารความเสี่ยงประกอบ รับมือกับความผันผวนของตลาดที่เกิด บวกกับจำนวนไม่น้อยสายนี้ มักเลือกลดความผันผวนของพอร์ตด้วยการ ทำ allocation ไปในสินค้าหลายตัว อาจจะทำให้ผลตอบแทนรวมช่วง 1-2 ปีนี้ ในภาวะตลาดไม่มีแนวโน้มชัดเจน ค่อนข้างต่ำ ในภาพเอามาจาก trend-following-wizards-fund-performance  ผลงานของกองทุน สาย CTA ที่ใช้ Trend following เป็นกลยุทธ์หลัก Jez Liberty เขารวบรวม ผลงานกองทุนของตำนาน trend following เอาไว้ มีกองทุนเก่าแก่ของเทรดเดอร์คนดังหลายคน เช่น Michael Clarke, Jerry Parker, Bernard Drury ,Bill Dunn , Dave Harding และอื่นๆ  update ล่าสุดของ feb 2016 http://www.automated-trading-system.com/resources/trend-following-wizards-fund-pe

แนวคิดการทำ Backtesting อย่างถูกวิธี

มีคำถามเรื่อง การทดสอบย้อนหลัง(Backtesting) เข้ามา ผมตอบไปทาง mail ยาวพอควร และอยากย้ำอีกรอบว่า ต้องเข้าใจบทบาทของการทดสอบดีๆ เราทำเพื่อหาข้อบกพร่อง จุดอ่อนมาปรับปรุงไม่ได้ทำมาเพื่อโชว์ หรือปลอบใจตัวเอง ดังนั้น ต้องทดสอบอย่างมีคุณภาพและถูกวิธีการ ระวังโรคมโนจากการ Backtest Over fitting จนเกินไป หรือการทำ curve fitting แล้วมารัน monte carlo เอาจำนวนเยอะเข้าว่าอย่างเดียว เราควรคำนึงถึงคุณภาพและหาข้อมูลมาทดสอบให้มากพอ และทำ WFA ทดสอบให้เต็มรูปแบบไปเลย ที่สำคัญทดสอบแล้ว ปรับปรุงแล้ว ก็ต้องลองกับข้อมูลจริงแบบ forward testing ก่อนใช้งานเสมอ เพื่อให้แน่ใจว่า เมื่อระบบเจอตลาดจริงๆ จะสามารถทำงานได้ ผมมี clip อันนี้เรื่อง 10 Ways Backtests Lie ดีมากของ Dr. Tucker Balch จากงาน QuantCon ลองเข้าไปฟัง วีธีการทดสอบอย่างเป็นระบบ และข้อควรระวังต่างๆ เพื่อที่เราจะได้ทำระบบเทรด ทำ algorithm trading ดีๆออกมา ไม่ใช่ใช้งานไปแล้วพาล้างพอร์ต เสียหายไป https://vimeo.com/122703520

My Life as a Quant

หนังสืออีกเล่มนะครับ ที่จะมาแนะนำเรื่อง Quant สำหรับคนจะเริ่มศึกษาด้านนี้ ควรจะลองศึกษาดู เป็นของสุดยอด Quant อย่าง คุณ Emanuel Derman  "My Life as a Quant" เป็นเรื่องราวของ Emanuel Derman เนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องราวของ นักฟิสิกส์ที่เปลี่ยนสายนำความรู้ทางคณิตศาสตร์และฟิสิกส์มาใช้ใน wallstreet เขาทำงานให้กับ Goldman, Sachs & Co ตำแหน่ง Financial Engineer ตลอดช่วงปี 1985 ถึง 2003 โดยเขาทำงานเกี่ยวกับ equity derivatives (Single Stock Futures , Options) และงาน risk management  หนังสือเล่มนี้เหมือนเป็นบันทึกการเดินทางสายอาชีพ อ่านสนุกและน่าสนใจมาก โดยเฉพาะการพูดถึงเรื่องการใช้คณิตศาสตร์และตรรกะในการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ตัวของผู้เขียนคุณEmanuel เขาเชื่อในการคำนวณมากกว่า การเชื่อในดวงชะตา แม้ไม่ปฏิเสธว่าตลาดมีความเป็น random walk แต่เขายังอธิบายถึงหลักการของการสร้างโมเดลที่นำมาใช้ได้ในภาวะปกติ บนค่าความเสี่ยงที่เหมาะสม เขายกข้อดีของการใช้โมเดลและระบบการลงทุนแบบคณิตศาสตร์มาแสดงให้เห็น แม้มีหลายบทในหนังสือที่อ่านแล้วก็งงๆเพราะเขายกเขาทฤษฏีทางฟิสิกส์ที่ซับซ้อน เช่น Muon Co