ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

Gold and inflation Q3 2018

ทองคำช่วงนี้ราคายังอยู่โซนต่ำ แถวระดับ $1200 ความน่าสนใจช่วงนี้จะเริ่มเห็นแรงเชียร์ บทวิเคราะห์เชิงบวกมากขึ้นตลอดเดือนที่ผ่านมา อย่างล่าสุด Francisco Blanch หัวหน้า นวค.ของ Bank of America Merrill Lynch มอง Gold จะไป $1350 ในปี 2019 ท่ามกลางเหตุผลต่างๆนานาๆเชิงบวก อันนี้คงรอดูต่อไปว่าปีหน้าทองจะกลับมาได้หรือเปล่า วันนี้ผมได้อ่านบทความชิ้นหนึ่งของ Mark Rzepczynski พูดถึงความไม่ปกติแง่พฤติกรรมความสัมพันธ์ของราคาทองคำ กับเงินเฟ้อ(inflation) ที่ดูเ หมือนแตกต่างจากอดีตที่ผ่าน เนื่องจากข้อมูล CPI ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ด้าน Core inflation ทั้ง US และ EU ก็ปรับขึ้นมาระดับ 2% แต่ราคาทองคำในปีนี้ ยังอยู่ระดับที่ต่ำและมีสัญญาณการถดถอยอยู่ เช่นเดียวกันจากการทำ QE ที่ผ่านมาการเข้าซื้อ Bond จำนวนมหาศาลของ ECB และ Fed นั้นน่าจะทำให้ตลาด fixed income มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นกว่าช่วงเศรษฐกิจปกติ โดยสรุปคุณ Mark Rzepczynski ชี้ให้เห็นว่าราคาทองคำปัจจุบันมีบางอย่างแตกต่างไปจากพฤติกรรมในอดีต เหมือนตลาดยังเชื่อว่า inflation ยังถูกจำกัดและน่าจะกดอยู่ (ยังไม่เกิดภาวะเงินเฟ้อสูงในเวลานี้) ขณะที่

It Was the Worst of Times: Diversification During a Century of Drawdowns

เช้านี้ผมเพิ่งมีโอกาสอ่าน paper ล่าสุดของ AQR จบพบว่าน่าสนใจอยากนำมาแนะนำ paper นี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับ การป้องกันความเสี่ยงและการถดถอยของพอร์ต จากตลาดหุ้นขาลงและฟองสบู่ โดยทีมวิจัยทำการวิเคราะห์ข้อมูล asset ต่างๆในรอบเกือบ 100 ปี ทดสอบประเมินผลกลยุทธ์การกระจายความเสี่ยง(Diversification)แบบดั่งเดิม(ผสมหลาย asset class) และการทำ Hedging (แบบต่างๆทั้งด้านกลยุทธ์และการใช้อนุพันธ์เช่น put opt ions) เพื่อเปรียบเทียบและประเมินด้านต้นทุนและผลตอบแทนเชิงชดเชยที่ได้รับในช่วงตลาดเลวร้าย การวิจัยโฟกัสไปที่ความคุ้มค่าของการ trade off จากการทำ diversification และการ hedging เพื่อลดและป้อกัน equity drawdowns ผลการทดลองน่าสนใจมากแต่ผมคงไม่นำมาเขียนในทีนี้เพราะ มันเป็นเรื่องละเอียดอ่อนต้องอธิบายกันเยอะ เดี่ยวคนไม่เข้าใจจะไปตีความผิด แต่ผมแนะนำให้ลองอ่าน paper นี้อ่านแบบวิชาการไม่ต้องรีบเชื่อหรือมีธง แค่ data ที่เขารวมหรือประมวลผลออกมา มันก็มีประโยชน์มากโขแล้ว ยังไม่นับรวมเทคนิคการป้องกันความเสี่ยงในแบบต่างๆหลาย level สปอยให้นิด ผลการวิจัยค่อยข้างน่าสนใจ เช่นความเชื่อหลายอย่างในการท

You Don’t Need a Breakthrough, You Need a Microshift

ได้อ่านบทความนี้แล้วรู้สึกชอบอยากเอามาเขียนสรุปเก็บไว้ บทความนี้คุณ Brianna Wiest เขียนถึง Microshift หรือการเปลี่ยนแปลงทีละน้อยๆ แบบค่อยเป็นค่อยไป ว่ามันก็สามารถทำให้เกิดผลอันยิ่งใหญ่ได้ ถ้าเราทำมันอย่างต่อเนื่อง บางคนอาจจะรู้สึกว่ากำลังติด อยู่กับวังวนชีวิต จมติดกับพฤติกรรม อะไรบางอย่างที่มันดูเหมือนจะไม่ได้มีผลดีต่อชีวิต ไม่ได้เป็นสิ่งที่ตัวเราต้องการ แทนที่จะไปรอโอกาส รอให้ Breakthrough รู้ solu tion ทุกอย่างเกิดความรู้สึกฮึกเหิมจะลงมือทำอะไรบางอย่างแล้วเปลี่ยนชีวิตไปทันที คุณ Wiest แนะนำว่าให้เริ่มลงมือทำเลย ทำทีละเล็กๆแล้วพยายามทำมันทุกวันต่อเนื่อง ฝืนตัวเองต่อสู้กับความขี้เกียจและข้ออ้าง จนมันเกิด passion เกิดความรู้สึกว่าเราก็ทำได้ จากนั้นสร้างวินัย จนเข้าสู่จุดที่เริ่มพัฒนาทำให้ดี ทำให้ได้มากกว่าก่อนหน้า สุดท้ายมันไปถึงเป้าหมายได้เอง ตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจเช่นถ้าอยากมีเงิน $1 million ไม่ใช่ไปรอโชคจากการซื้อหวย หรือจ้องจะลาออกจากงานไปทำธุรกิจทันที ลองเริ่มจากการเก็บเงินแค่วันละ $10 ให้ได้จริงจัง แล้วขยับไปสร้างโอกาสสร้างเงินในวิธีอื่นๆควบคู่ไป กรณีเดียวกันถ้าอย

Learning From Mistakes

วันนี้กลับไปอ่าน principles ของคุณ Ray Dalio อีกรอบพร้อมเตรียมตัวอย่างงานวิจัย ที่เรานำหลักการเรียนรู้จากความผิดพลาดที่เกิด มาประยุกต์ใช้กับ machnie learning เพื่อพัฒนาระบบเทรด ส่วนตัวชอบแนวคิดข้อนี้ของคุณ ray dalio มากเพราะการบันทึก ติดตามและศึกษา mistakes ที่เกิดมันช่วยทำให้พัฒนาผลการทำงานของระบบเทรด และตัวเทรดเดอร์ ได้ดีมาก ถ้าใครกำลังอยู่ช่วงหัดเทรด พยายามจดบันทึกผลการเทรด โดยเฉพาะสิ่งที่ผิดพลาดเอาไว้ เพื่อใช้ทบทวนถึงสาเหตุที่เกิดและสร้างเป็นบทเรียนในการเทรด (เพื่อจะไม่ผิดพลาดซ้ำ)แทนที่จะรีบลืม หรือไปนั่งโฟกัสแต่ผลกำไร จำนวนเงินที่ทำได้อย่างเดียว

In the long run

อธิบายหลักการเขียน Trader Journal ให้กลุ่มเทรดเดอร์มือใหม่ฟัง มีท่านหนึ่งถามผมว่า เริ่มเขียนบทความและบันทึกมานานแค่ไหนแล้ว และเคยเบื่อไหม?? ลองมานั่งนึกกลับไป ส่วนตัวผมเริ่มจดบันทึกการเทรด มาตั้งแต่เริ่มหัดเทรด สมัยเริ่มต้นนี้จริงจังมากกับ turtle system จำได้ก่อนเกิด subprime ประมาณ 2 ปีทดสอบระบบและจดบันทึกลงสมุดขนาด A4 ได้หลายเล่มเลย ก็เขียนมาตั้งแต่ตอนนั้น ตอนนี้ก็หลายสิบปีแล้ว ยังไม่เบื่อ ใช้เวลาตอนเช้านั่งเขียนอ่าน นั่งเขียนทุกวัน เริ่มต้นเขียนแบบเอาไว้อ่านเอ ง แต่มาปรับปรุงเป็นบทความจริงจัง แบบให้คนอื่นๆอ่านได้ ก็ตอน 8-9 ปีที่แล้ว สมัยนั้นเฟสบุ๊คยังไม่ฮิต ยังเป็นยุคของ Hi5 และ Myspace ด้านหุ้นด้านเก็งกำไร ส่วนใหญ่จะอยู่บนสินธร ในพันทิป (สินธรยุคนั้นไม่เหมือนสมัยนี้นะครับ) และก็เขียนบทความลง bloggang ส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับหุ้นและทองคำ สิ่งหนึ่งที่ได้รับจากการเขียนคือการได้รีวิว ผลการเทรดและสิ่งที่เกิด ทำให้เราได้เก็บประสบการณ์หลายอย่าง ที่สามารถใช้เป็น template ในการศึกษา ได้ จริงๆก็ผ่านมาแล้วหลายเรื่อง หลาย event ทำให้เราตัดสินใจและเทรดได้ดีขึ้นกว่าอดีต โดยเฉพาะเมื่อเรียนรู้จ

Gold and Inflation 2018

ทองคำช่วงนี้ราคายังอยู่โซนต่ำ แถวระดับ $1200 ความน่าสนใจช่วงนี้จะเริ่มเห็นแรงเชียร์ บทวิเคราะห์เชิงบวกมากขึ้นตลอดเดือนที่ผ่านมา อย่างล่าสุด Francisco Blanch หัวหน้า นวค.ของ Bank of America Merrill Lynch มอง Gold จะไป $1350 ในปี 2019 ท่ามกลางเหตุผลต่างๆนานาๆเชิงบวก อันนี้คงรอดูต่อไปว่าปีหน้าทองจะกลับมาได้หรือเปล่า วันนี้ผมได้อ่านบทความชิ้นหนึ่งของ Mark Rzepczynski พูดถึงความไม่ปกติแง่พฤติกรรมความสัมพันธ์ของราคาทองคำ กับเงินเฟ้อ(inflation) ที่ดูเ หมือนแตกต่างจากอดีตที่ผ่าน เนื่องจากข้อมูล CPI ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ด้าน Core inflation ทั้ง US และ EU ก็ปรับขึ้นมาระดับ 2% แต่ราคาทองคำในปีนี้ ยังอยู่ระดับที่ต่ำและมีสัญญาณการถดถอยอยู่ เช่นเดียวกันจากการทำ QE ที่ผ่านมาการเข้าซื้อ Bond จำนวนมหาศาลของ ECB และ Fed นั้นน่าจะทำให้ตลาด fixed income มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นกว่าช่วงเศรษฐกิจปกติ โดยสรุปคุณ Mark Rzepczynski ชี้ให้เห็นว่าราคาทองคำปัจจุบันมีบางอย่างแตกต่างไปจากพฤติกรรมในอดีต เหมือนตลาดยังเชื่อว่า inflation ยังถูกจำกัดและน่าจะกดอยู่ (ยังไม่เกิดภาวะเงินเฟ้อสูงในเวลานี้) ขณะที่ ec

ทอสอบ GRID(+Machine Learning) บน MT4 TFEX

สาธิต GRID(+ML) บน MT4 TFEX S50 คลิปผลการทดลองตัวอย่างการทำงานจริงของระบบ GRID โดย กลยุทธ์หลักเพื่อใช้ในการเป็น Hedging Layer สะสมสัญญาเพื่อป้องกันความเสี่ยงในพอร์ตหลัก(ผสมกับการเก็บ cashflow จาก Market volatile)  ซึ่งใช้จุดเด่นของ MT4 TFEX ในการจัด Order แบบ GRID (แตกต่างจาก FIFO แบบอดีต) - Non Linear GRID Trading - No SL,TP , No Pending Order - Dynamic Zone based on Machine Learning - Dynamic Exit strate gies - Low Risk (Balance = 500000, RPT 100000 per Unit, SLD>40%ofCV,Max = 5 Contract) - Stop loss By Time (time based exit strategies) เข้าดูตัวอย่างการทำงานได้จาก link  https://www.facebook.com/chaipat.ncm/videos/10156764604269511/