ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

ดีที่สุดในจุดที่ยืน

เมื่อปลายปีที่แล้ว มีโอกาสได้ทดลองให้เทรดเดอร์และสมาชิกที่ติดตามทำแบบสอบถาม ถึงผลการเทรดในปี 2019 ที่ผ่านมา โดยมีสมาชิกเทรดเดอร์ที่ร่วมตอบประมาณ 200 ท่าน (เฉพาะตลาด FX และ Gold) ผลที่ออกมาค่อนข้างน่าสนใจคือ 62% นั้นยอมรับกับผลงานตัวเอง แต่ยังคิดว่าควรจะต้องปรับปรุงตัวต่อไป ในขณะเดียวกัน 21.9% นั้น แย่และขาดทุนหนัก มีแค่ 1.8% เท่านั้นที่ คิดว่าผลงานตัวเองสุดยอด ในโจทย์การศึกษาเดียวกัน ข้อมูลจากการสำรวจเชิงลึกเพิ่มเติม ผมได้มีโอกาสเอาไปวิเคราะห์ต่อ แยกประเภทกลยุทธ์ , อายุ และอาชีพ(เวลาที่พร้อมใช้เทรด) ทำให้เห็น infomation และ pattern บางอย่างที่น่าสนใจหลายประการ เช่นกลยุทธ์ยอดนิยม คนใช้เยอะแต่กลายเป็นกลุ่มใหญ่ที่ขาดทุน ในขณะเดียวกันส่วนน้อยบางคนก็ทำผลงานได้ดี , หรือกลยุทธ์เดียวกันเทรดใน asset ที่แตกต่างกัน ผลงานก็ออกมาแตกต่างกันไป อนาคตจะมาเล่าให้ฟังต่อไป ส่วนท่านใดที่ปี 2019 ยังทำผลงานได้แย่ และไม่ดี ก็ค่อยๆเรียนรู้และพัฒนาตัวเองกันต่อไป Key สำคัญไม่ใช่การลอกหรือทำตามคนอื่นๆ แต่ต้องเป็นการเรียนรู้ ทดลอง ฝึกฝนและสร้างแนวทางการเทรดที่เหมาะกับตัวเอง ให้เจอครับ

Your Money Or Your Life

หนังสือเล่มแรกของปีที่มีโอกาสได้อ่านจบ เล่มนี้มีแปลภาษาไทยชื่อ "เงินหรือชีวิต : Your Money Your Life" ของ Joe Dominguez และคณะ เขียนแนวคิดของเงินได้ดีมาก จริงๆแนะนำให้ลองหามาอ่านกันโดยเฉพาะ เด็กเพิ่งจบมหาวิทยาลัย หรือ คนที่ไม่เคยศึกษาเรื่องของ เงิน มาก่อน แนวคิดหนึ่งที่ดีมาก คือการนิยามว่าการหา "เงิน" คือ สิ่งที่เราใช้พลังงานชีวิตไปแลกมา โดยมีต้นทุนเช่น เวลา และสุขภาพ มาประกอบ โดยในเล่มนี้โยงให้เห็น หน่วยของเงิน ในเทอมของ"เวลา"ด้วย ทำให้ เราเห็นภาพมากยิ่งขึ้น ว่า เรากำลังจะเอาพลังชีวิต 1 วันของเราไปใช้ทำอะไร และผลตอบแทนที่ได้ มันคุ้มค่าหรือไม่? (ซึ่งบางคนไม่เคยคิดนะ) รูปจากอินเตอร์เน็ต เราใช้ "พลังงานชีวิต" ไปทำงานแลก "เงิน" จากนั้นเหนื่อย เบื่อ ทุกข์ เราก็เอา "เงิน" ไปเติม"พลังงานชีวิต" กลับด้วยการหา"ความสุข" ชั่วคราวใส่ตัว เช่น การใช้จ่ายซื้อของที่อยากได้ ,กินอาหารแพง, เที่ยวหรู สุดท้ายก็จะติด loop เดิม ไม่สามารถออกจากวงจรนั้นได้ ดังนั้น ถ้าจะ กำไร หมายความว่า จะต้องทำงานที่สร้างความสุข ก่อน

สวัสดีปีใหม่ 2020 แจก Year book

ขอบคุณมิตรภาพดีๆที่เพื่อนทุกท่านมอบให้ ขอบคุณสมาชิกที่ติดตามและเข้ามาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นมุมมองต่างๆกันตลอดทั้งปี ปีใหม่นีัผมมีของกำนัลมาแจก เป็นหนังสือ Ebook "บันทึกเส้นทางเทรดเดอร์ปี 2019" ความยาว 298 หน้า บันทึกความรู้ ประเด็นเศรษฐกิจและเรื่องราวเกี่ยวกับการเทรดตลอดปี 2019 สามารถเข้าไปอ่านได้ที่ link ด้านล่าง https://www.mebmarket.com/ebook-111931-The-Trader039s-Journal-volume7 ปล. ไฟล์อยู่บน Meb เพื่อแก้ปัญหาเรื่องการแสดงผล ข้อความและฟอร์ทภาษาไทยบน macOS รวมไปถึงสามารถดูผ่านเปิดบนสมาร์ทโฟนและ tablet ได้อย่างสมบูรณ์ด้วย(2 ประเด็นนี้เป็นปัญหาที่หลายท่านมาแจ้งเข้ามา) ปล. ก่อนเข้าอ่านก็สมัครสมาชิก Meb และดาวน์โหลด application ก็สามารถอ่านได้ทันทีครับ

หยุดพิจารณาตัวเอง ก่อนก้าวเดิน

ทุกต้นปีก่อนเริ่มทำงานผมใช ้เวลา ในการทบทวนและวางแผนทิศทางช ีวิต เพื่อทำให้ ตัวเราสามารถมองเห็นภาพรวมใ นเส้นทางที่จะเดินต่อไป รวมถึงจะช่วยเราประเมินความ เสี่ยงและโอกาส ในทุกการตัดสินใจได้ดีขึ้น เบื้องต้นผมเองใช้หลัก อิคิไก(ikigai) ของญุี่ปุ่นความหมายประมาณว ่า "เหตุผลของการมีชีวิตอยู่" มีการถ่ายทอดและมีการสอนให้ นำมาพิจารณาการดำเนินชีวิตข องเรา โดยประ ยุกต์ใช้ตั้งคำถาม เพื่อใช้พิจารณาการงาน หรือกิจการที่เรากำลังทำได้ หลักของ อิคิไก คือการพิจารณาความสมดุล ได้แก่ -ความสุขที่ได้ , -รายได้/ผลตอบแทนที่ได้รับ, -สิ่งที่เราทำได้ดี, -ประโยชน์ต่อผู้อื่นทั้งทาง ตรงทางอ้อม กรณีนี้ประยุกต์เพื่อพิจารณ างานที่ทำเช่นถ้าเราเป็น "เทรดเดอร์" ลองตั้งคำถามตัวเราว่า การเป็นเทรดเดอร์ เราต้องการเป็นเพราะอะไร (อย่าไปโฟกัสแค่รวยอย่างเดี ยว) มันต้องมีเหตุผลประกอบ มีแรงจูงใจ ที่ทำให้อยากพยายาม ต้องตอบตัวเองให้ได้ว่าอยาก เป็นเทรดเดอร์มาก แค่ไหน(เพราะสุดท้ายการพัฒน าตัวเองให้เก่ง มันต้อง trade off ต้องแลกหรือสละอะไรบางอย่าง เสมอ) เมื่อเราชัดเจน จะทำให้อยากทำงาน อยากเรียนรู้และพัฒนาตั

New Year's resolution

ขึ้นปีใหม่ หลายคนเริ่มตั้ง New Year's resolution ของปีกัน บ้างก็คิดเอง(เอาจากปีก่อนห น้าที่ทำไม่สำเร็จ) บ้างก็ลอกๆตามเพจตามคนอื่นๆ  จริงๆไม่ใช่เรื่องเสียหาย แต่ถ้ามีเป้าหมายด้าน Wealth หรือเพิ่มรายได้ แนะนำก่อนจะตั้ง New Year's resolution ของตัวเอง ให้ชมคลิปนี้ อาจจะไม่ได้เกี่ยวกับ การเงินส่วนบุคคลโดยตรง แต่วิธีคิดในการหลีกหนี "ความจน" เราสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได ้ครับ ลองเรียนรู้จากแนวทางของประ เท ศจีน(การสร้างโอกาส ด้วยเทคโนโลยี) หรือแม้แต่การพัฒนาเศรษฐกิจ ที่แต่ละประเทศควรจะมีแนวทา งแตกต่างกัน(กรณีเปรียบเทีย บ มูซัมบิก กับอเจนตินา เมื่อ 50 ปีก่อน) เป็นต้น เพราะการ "หนีความจน" มันไม่ใช่การเรียนให้เก่งสุ ดๆ แต่มันคือการมองให้เห็น “ภาพรวม” เพื่อมองให้เห็น "โอกาสการทำเงิน" ที่เหมาะสมกับจริตของตัวเรา  ทรัพยากร(เงินทุน+เวลา)ที่เ รามี อ่านเพิ่มเติม https://www.facebook.com/ tedtopthai/photos/ a.987601578115871/ 1068072583402103 ฟังคลิป https://www.ted.com/talks/ hans_rosling_new_insights_o n_poverty เครดิตในภาพ

Global Market Outlook 2020

ปี 2020 เป็นปีที่ท้าทายถ้าจำกันได้มีหลายกูรู หลายนักวิเคราะห์ นักเศรษฐศาสตร์ออกมาทำนายว่า ปี 2020 นั้นจะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือเกิด down turn ในเศรษฐกิจสหรัฐหรือเศรษฐกิจโลกได้ ทำให้น่าจะต้องระมัดระวัง และวางแผนการจัดพอร์ตรับปี 2020 ด้วยความไม่ประมาท ดังนั้นก่อนเริ่มวางแผน จัดพอร์ตทั้งในประเทศและต่างประเทศ ผมเอาข้อมูล Global Market Outlook จากสำนักต่างๆมาฝาก เพื่อช่วยให้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจและใช้วางแผนกันครับ(แต่ไม่แปลให้นะครับ ทำการบ้านเอาเอง ส่วนสรุปผมจะเอาไปลงใน cway market outlook ต่อไป) 1. JP morgan https://www.jpmorgan.com/global/research/global-market-outlook-2020 2. Bank of America Merrill Lynch https://www.businesswire.com/news/home/20191203005803/en/Bank-America-Merrill-Lynch-2020-Market-Outlook 3.Morganstanley https://www.morganstanley.com/ideas/global-economic-outlook-2020 4.Invesco https://apinstitutional.invesco.com/home/2020-outlook-global-market-strategy-regional-outlooks 5.Goldmansachs https://www.goldmansachs.com/insights/pages/global-outlook-2020.

เมื่อเงินหายไป

เหมือนดังที่อธิบายเมื่อคืนว่า "การขาดทุน" ก็คือการสูญเสียเงิน นอกจากเงินทุนจะหมดไป ยังตามมาซึ่งผลกระทบต่อจิตใจ ต่ออารมณ์ ที่เราต้องมีระบบรับมืออีกด้วย คือต้องทำ loss manamgent (การจัดการหลัง position ขาดทุน) ควบคู่ไปกับ emotion management (จัดการกับอารมณ์ที่เกิด) เขียนถึงเรื่องนี้แล้วมันทำให้ผมนึกถึงงานทดลอง ของคุณ jack ที่เขาสอบถามคนจำนวน 600 กว่าให้มาโหวตว่า "ถ้าเงินที่เรามี(personal wealth) ลดลง 10 เท่า ตัวเลขยอดเงินเท่าไร่ที่จะมีผลกระ ทบต่อความสุขของเรา(personal happiness) มากที่สุด" ผลโหวตออกมาจากเงิน 1,000,000 ลดเหลือ 100,000 เป็นตัวเลขที่คนโหวตว่ากระทบต่อความสุขมากสุด จริงๆไม่มีข้อสรุปเป็นวิชาการ แต่มันสะท้อนให้เห็นว่า ยอดเงินมาก การสูญเสียเงินยิ่งมีผลกระทบต่อจิตใจ เพราะตัวเลขที่ loss ไปมันโต และมันชัด เช่น ถ้ามีเงิน 1 ล้านแต่ขาดทุนเหลือ 5 แสน เหมือนจะหายไปแค่ 500000 หรือ ครึ่งหนึ่ง แต่เงิน 5 แสนมันเกือบเท่าราคา iPhone11 pro จำนวน 10 เครื่อง ยิ่งคิดยิ่งเปรียบเทียบเชิงวัตถุ เราก็จะยิ่งเสียดาย และรู้สึกทุกมากขึ้นครับ สุดท้าย การเสียเงิน กับ อา