ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

Volatility: how ‘algos’ changed the rhythm of the market

บทความนี้นะครับ ที่ได้พูดถึงเมือวาน แม้จะเป็นของเก่าของปีที่แล้วแต่ก็สามารถอธิบาย ประเด็นการใช้ technical analysis ในตลาดปัจจุบันทำไมแตกต่างหรือได้ผลลัพธ์ ไม่เหมือนในตำรา ที่เขียนกันมาเมื่อ 50 ปีที่(1970) แล้ว เครื่องมือพวกนี้ ผู้พัฒนาเขาก็คิดค้นทดลองวิจัย กับข้อมูลตลาดในยุคหนึ่ง พอพฤติกรรมตลาดเปลี่ยน ผลการทำงานของเครื่องมือหรือความแม่นยำ มันย่อมเปลี่ยนตาม แต่ไม่ได้แปลว่า ใช้ไม่ได้  แต่เทรดเดอร์ต้องใช้ให้เป็น ต้องใช้ data driven strategy แทนการมโน หรือการยึดติดกับเครื่องมือ ราวกับว่ามันเป็นลูกแก้ววิเศษ ลองอ่านบทความนี้ได้จาก link ด้านล่าง ยาวมากแต่จะทำให้เราเข้าใจพฤติกรรมตลาดในยุคปัจจุบันและอนาคตดีขึ้น โดยเฉพาะพฤติกรรมราคาที่มีความผันผวนสูง เกิดบ่อยและอ่อนไหวต่อ sentimental factor ทุกอย่างทั้งพฤติกรรมราคาและ volume ต่างเปลี่ยนแปลงได้เร็ว อันเกิดจากการเทรดพวก computer trading (กลายเป็นกลุ่มที่ครอง volume การเทรดอันดับต้นในหลายตลาด) หรือพวก HFT ซึ่งจากข้อมูลปัจจุบันพวกนี้มีบทบาทขึ้นเรื่อยๆ ในตลาด (และยุคนี้ไม่ใช่แค่เร็ว HFT ยังฉลาดเพราะ +AI ที่เทรนมาเพื่อ หาจุดเข้าออกบนการวิเ

ตัวอย่างระบบ GRID Trading Sytem

ระบบ GRID Trading Sytem มันยืดหยุ่นมีหลายลักษณะในการนำไปใช้เทรด ทั้งความแตกต่างในด้าน Entry&Exit Strategies และด้าน Money Management (ซึ่งเราต้องแยกกัน เพราะ level ความเสี่ยงมันไม่ได้ขึ้นกับกลยุทธ์ GRID แต่มันขึ้นกับการบริหารจัดการเงินและใช้ leverage) ถ้าเราศึกษาเยอะๆจะพบถึงตัวอย่างการใช้งานที่หลากหลาย ยิ่งถ้านำมาทดลองเทรด จะสังเคราะห์ถึงข้อได้เปรียบและข้อจำกัด ของมัน จะช่วยให้ต่อยอดพัฒนา ระบบเทรดของตัวเองได้ดี ผมยกตัวอย่างเรื่องนี้ เพราะไปเจอบทความหนึ่งเกี่ยวกับการพัฒนา GR ID Trading คุณ Klymenko เขานำเสนอ บทความชื่อ RANGE-BASED GRID IN TREND DIRECTION และ CORRECTION-BASED GRID WITH MARTINGALE (เขาใจว่าไอเดียเขาเอามาจากหนังสือ GRID ของรัสเซีย) มันคืองานวิจัย ทดลอง อ่านแล้วไม่ได้แปลว่าต้องไปเห็นด้วยหรือทำตาม ขณะเดียวกันก็ไม่ได้แปลว่า EA ของเขาจะ work แต่เราสามารถสกัดไอเดีย การพยายามจะลด risk ของการใช้ระบบ GRID ในการเทรดได้ คือไม่ได้ไปนั่งอม loss หรือ martingale สะสม Drawdown รอวันล้างพอร์ตอย่างเดียว การใช้ระบบ GRID มารับกับ market volatie เป็นเรื่องไม่ง่าย ขณะเดียวกัน

REIT และ Property Fund

เมื่อวานสอนเรื่อง REIT และ Property Fund เทคนิคการวิเคราะห์ธุรกิจและการเลือกกองหลักที่จัดเข้า WL กลุ่ม D (low beta และมี Yield เฉลี่ย 3Y ที่ดี) จากธุรกิจอสังหาแต่ละประเภท มีคำถามต่อ ว่าแล้ว REIT ของอเมริกาเป็นยังไง เอา ข้อมูล Performance Chart นี้มาให้ดู จะเห็นว่าเฉลี่ย REITs ปี 2019 ของอเมริกา บวกกระจาย +28.9% เฉลี่ย 10 ปีที่ 12.0% นวค.อเมริกา บอกว่า ตลาดอสังหา ของอเมริกากำลังบูมขึ้นเต็มตัว หลังวิกฤติการเงินปี 2008 แต่ต้องไม่ลืมว่า  volatility ของเขาก็สูงกว่า กองในไทยหลายเท่าด้วย บ้านเรา volatility เฉลี่ยราวๆ 6-7 กว่าๆ ยิ่งบางกองเป็น free hold ที่ทำเลดี ธุรกิจดียิ่งต่ำไปอีก ถ้าผสมกับเทคนิคการจัดพอร์ตที่ดี กระจายเงินไปในกองที่มีคุณลักษณะเฉพาะต่างกัน(ท่องเที่ยว,ศูนย์การค้าและค้าปลีก,คลังสินค้า เป็นต้น) ก็จะลด Risk ลงไปได้อีก การเทรดให้ดีให้แม่น ก็สำคัญแต่ภาวะตลาดที่มีความเสี่ยงและความไม่แน่นอน การใช้แผนใช้กลยุทธ์บริหารความเสี่ยงและจัด asset allocation ที่เหมาะสม ก็ช่วยให้เกิดความมั่นคงและความต่อเนื่องของผลตอบแทนรวมได้ดีด้วยเช่นกันครับ ปล. คนอื่นอาจจะซื้อคอนโดหลายล้านเพื่

Bitcoin is going to disrupt payments.??

บทความจากคุณ charlie อธิบายถึงตอนปี 2010 กระแสสกุลเงินคริปโตและบิตคอย มาแรงมาก ท่ามกลางการก้าวกระโดดของราคาตลอดหลายปี บนความเชื่อที่ว่า จะมาแทน หรือดิสรัป โมเดลการจ่ายเงินแบบเดิม ซึ่งกระทบโดยตรงต่อ digital และ online payment แต่สิ่งที่เกิด ค่อนข้างจะไม่เป็นไปตรามความเชื่อหรือสมมติฐานนั้น คุณ charlie bilello นำเสนอข้อมูล return ของราคาหุ้น VISA และ Mastercard ตั้งแต่ช่วงปี Jan 2009 ที่เริ่มมีการแลกเปลี่ยนและใช้ Bitcoin จนถึงปัจจุบันราว10 ปี กว่า ผลคือ Visa: +1,462% และราคาหุ้น Mastercard: +2,139% (ครับอ่านไม่ผิด ไม่ใช่หลักร้อยแต่เป็นหลักพันเปอร์เซนต์ ในขณะที่ความผันผวนต่ำกว่าบิตคอยหลายเท่านัก) ธุรกิจของสองบริษัท ยังมีกำไรและขยายตัวได้ต่อเนื่อง เช่นเดียวกับนักลงทุน ที่ถือหุ้นในบริษัทเหล่านี้ สิ่งที่เห็นอาจจะไม่ใช่การ disruption แต่น่าจะเป็นการปรับเปลี่ยนโมเดลธุรกิจ ทำให้สอดคล้องกับโลกออนไลน์และสังคมไร้เงินสด ในอนาคตมากกว่า ในขณะเดียวกัน นักวิเคราะห์อ้างถึงตัวเลขการใช้ สกุลเงินคริปโต สำหรับการซื้อขายแลกเปลี่ยน สินค้า ในโลกจริง ที่ยังมีปริมาณน้อยมากในการนำไปใช้เมื่อเทียบก

การเพิ่มอัตราค่าแรงขั้นต่ำเพียง $1 สามารถลดอัตราการฆ่าตัวตายในกลุ่มคนทำงานได้ถึงเฉลี่ย 4%

ผลงานวิจัยเผยแพร่ใน Journal of Epidemiology and Community Health ระบุการเพิ่มอัตราค่าแรงขั้นต่ำเพียง $1 สามารถลดอัตราการฆ่าตัวตายในกลุ่มคนทำงานอายุระหว่าง 18 - 64 ปีที่จบการศึกษาระดับมัธยมปลายลงไป ได้ราว 3.4% to 5.9% (เทียบเท่ากับประชากรหลายพันคนต่อปี) งานวิจัยนี้ดูเหมือนจะถูกใช้เป็นแรงกระตุ้นในภาคการเมืองและผู้กำหนดนโยบายหันมาเพิ่มอัตราค่าแรงขั้นต่ำให้เหมาะสม (สอดคล้องกับการปรับเพิ่มของค่าครองชีพในเมืองใหญ่) ดูจากการศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ของค่าแรงกับความสุขในชีวิตของคนในประ เทศที่เจริญแล้ว หรือกำลังพัฒนาก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่า เงินรายได้ ที่เพียงพอ นั้นมีบทบาทสำคัญต่อความสุขที่จะเกิด ขณะเดียวกันค่าครองชีพของอเมริกา ก็มีแนวโน้มปรับสูงขึ้น จากภาพล่าสุดจะเห็นค่ารักษาพยาบาล, ต้นทุนการเลี้ยงดูบุตร และอื่นๆ ล้วนมีอัตราเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา อ้างอิง https://www.nytimes.com/2020/01/14/health/minimum-wage-suicide.html

วิกฤติวัยกลางคน(midlife crisis) นั่นอาจจะเกิดขึ้นได้

ผลการศึกษาด้านความสัมพันธ์ของอายุและคุณภาพชีวิต ของ Professor David Blanchflower จาก Dartmouth College ตีพิมพ์ผลการวิจัยลง National Bureau of Economic Research แสดงให้เห็นว่า วัยกลางคน คือช่วงอายุที่ คนส่วนใหญ่จะพบกับความทุกข์มากสุดในชีวิต จากค่าสถิติพบว่าช่วงอายุ 47.2 จะเป็นจุด Peak ของความห่อเหี่ยวและความทุกข์ จากภาพผู้วิจัย แสดง "happiness curve" จากค่าการวิเคราะห์ข้อมูล ออกมาเป็น U shape จุด 47.2 ในประเทศที่พัฒนาแล้ว(median wage ระดับสูงและอายุเฉลี่ยประชากรค่อนข้างยาว) จากนั้นก็จะเริ่มผ่อนลงอาจจะเกิดจาก การเปลี่ยนแปลงทัศนคติ หรือการยอมรับในสิ่งที่เกิด ทั้งฐานะการเงิน สุขภาพ ครอบครัว และตำแหน่งหน้าที่การงาน ผู้วิจัยเน้นถึงการสร้าง เกาะป้องกันสุขภาพจิต ที่คนควรหันมาให้ความสำคัญมากขึ้น โดยเฉพาะอนาคต ถ้าโลกเผชิญกับวิกฤติทางเศรษฐกิจและความไม่แน่นอนทางการเมืองต่างๆ ที่ผลต่อ คุณภาพชีวิตคน รายได้และความมั่นคั่งของคนวัยทำงาน ที่มีภาระรายจ่ายและค่าครองชีพที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ปัญหาและวิกฤติมันเกิดได้แน่ สุดท้ายจะผ่านวัยกลาง ได้อย่างไร คงจะต้องเป็นเรื่องที่ ต่างคนต่า

2019 Asset Performance

ข้อมูลเทรดค่าเงินและทองคำ ปีที่ผ่านมานะครับ ในภาพนี้ผมสรุปค่า Return และ Risk ของค่าเงินสกุลหลักและทองคำ มาให้ดู เหมือนได้อธิบายไปว่าปีที่ผ่านมา ความผันผวนในค่าเงินไม่สูง(เมื่อเทียบอดีตและค่าอ้างอิง)  ด้าน Return ส่วนใหญ่ก็เป็นบวก โดยเฉพาะ CAD GBP ที่กลับมาได้จากการถดถอยหลายปีก่อนหน้า , ส่วนตัวที่ return ติดลบเช่น EUR ก็ไม่มาก -2.16% ส่วน AUD ต้นปีไม่ดีปลายปีบวกกับทำให้จบปี -0.43% ถือว่าไม่เยอะ (อีกนัยยะหนึ่งค ือ ถ้าถือค่าเงินเหล่านี้ไว้ โดยไม่ใช้อนุพันธ์ไม่มีผลกระทบจาก leverage โอกาสจะขาดทุนหมดตัวน้อยมาก ) ส่วนค่า Anualized Volatility ของ Fx สกุลหลัก มากสุดราวๆ 11% กลุ่มผันผวนสูงเช่น JPY และ AUD เล่น story ของ Trade War ทังปี จากข้อมูลจะพบว่า Fx ยังผันผวนน้อยกว่า GOLD และ S&P500 แต่สาเหตุที่คนเทรด forex แล้วขาดทุนล้างพอร์ต มันไม่ได้เกิดจาก asset มันมาจากการเทรดโปรดักซ์พวกอนุพันธ์ CFDs ที่ใช้ Leverage สูง เช่น 100x 500x พอคูณค่าความผันผวน ยามผิดทางก็หมดตัวแน่นอน เป็นเทรดเดอร์รายย่อย มีเงินจำกัด ต้องวางแผนดีๆ ดังนั้นการป้องกันจัดการความเสี่ยง(Risk Management)แล