ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

Where Does Our Trading Edge Really Come From

  ระหว่างพักรอเทรด Gold ซึ่งคืนนี้วิ่งกระฉูด ดีจริงๆ นวค. ว่าความผันผวนรอบนี้รับ ดีเบตรอบ 3 และความเคลื่อนไหวจากการเมืองสหรัฐ ผมมีโอกาสได้ฟังคลิป "Where Does Our Trading Edge Really Come From" ของ คุณ Brett Steenbarger ซึ่งเขาใช้เวลาอธิบายประเด็นที่ว่า edge ของเทรดเดอร์นั้นมาจากปัจจัยอะไร โดยสรุปเป็นภาษาชาวบ้านคือ ส่วนใหญ่มันสืบต่อมาจากทักษะและความสามารถของบุคคลนั้นๆ เช่นถ้าเราถนัดคิดคำนวณชอบตัวเลข การที่เป็น quant trader ย่อมได้เปรียบและทำได้ดีกว่าคนที่ไม่ชอบ , แบบเดียวกันถ้าเราชอบเล่นกีฬาชอบการแข่งขัน หรือเล่นเกมส์ ที่ต้องใช้การตัดสินใจแบบเฉพาะหน้าระยะสั้น การเป็น Day trading ย่อมมีความได้เปรียบและทำได้ดี เป็นต้น คุณ Brett Steenbarger บอกว่าพยายามหาสิ่งที่เรามี เราถนัดทำได้ดี นำมาใช้ในการเทรด การพัฒนากลยุทธ์ สไตล์การเทรดของเรา แต่สุดท้าย การไปสู่ความสำเร็จ ก็ยังต้องมีการพยายาม และทำต่อเนื่อง เพื่อเสริม edge ที่เรามีอีกด้วย แต่ Key คือหาทางที่เหมาะกับจริตและหาความถนัดของเรา ดีที่สุดครับ ฟังคลิปเต็มที่ https://www.youtube.com/watch?v=voyVlMYxbC0

Fear & Greed Index

เคยสอนเรื่องนี้สำหรับการทำ sentiment analysis ไว้เมื่อปีก่อน วันนี้ขอนำเอา Fear & Greed Index มาแชร์อีกครั้ง เพื่อให้พวกเราที่กำลังศึกษาตลาดได้ลองติดตาม ข้อมูล ตัวนี้ในช่วงเลือกตั้งใหญ่ของสหรัฐอเมริกา ที่กำลังจะมาถึงในอีก 5 วันกัน Fear & Greed Index พัฒนาโดย CNN Money ใช้ข้อมูลจากหลายส่วนที่เป็นตัว stress indicator จากปัจจัย 7 ข้อเช่น 1 Stock Price Momentum (The S&P 500 เทียบ MA125() ) 2 Stock Price Strength (จำนวนหุ้นราคาชนแนว52-week High เทียบ , จำนวนหุ้นชน 52 week Low ) 3 Stock Price Breadth (เทียบหุ้น volume ปรับเพิ่มกับตัวที่ปรับถดถอยจาก McClellan Volume Summation Index) 4 Put and Call Options (เทียบจำนวนสัญญาออปชั่นฝั่ง Put และ Call) 5 Junk Bond Demand 6 Market Volatility (จาก VIX) 7 Safe Haven Demand( ส่วนต่างผลตอบแทนระหว่าง stock และ bond) มาวิเคราะห์ค่าผลรวมแบบถ่วงน้ำหนักเท่ากันแล้วสรุปผล เพื่อใช้วิเคราะห์หาพฤติกรรมตลาดหุ้นสหรัฐ ค่าจะเป็นสเกล 0 ถึง 100 คล้าย oscillator ที่บอกว่า ตอนนี้อารมณ์ตลาด ถ้าตัวเลขไปทาง 100 ยิ่งมากแปลว่า greed ยิ่ง bullish ขณะที่ถ้าไปทาง 0

Can Money Buy Happiness?

  เมื่อวานเป็น meeting แรกของกลุ่ม Happy trader พยายามจะลองทำโครงการนี้ เพื่อสร้าง framework ง่ายๆ สำหรับคนคอเดียวกัน คำถามหนึ่งที่ติดใจ คือ เราเทรดได้เงินแล้วเงินมันซื้อความสุขได้ไหม ผมตอบประเด็นนี้ไปโดยอิงจาก คลิปนี้ วันนี้ผมจะมาย่อยให้น้องๆได้อ่านอีกรอบ คลิปนี้คุณ Henry Baker เอาปัญหาอย่าง เงินซื้อความสุขได้ไหมมาเจาะลึก สัมภาษณ์ทั้งนักวิจัยและผู้เชืยวชาญที่ทำงานวิจัยและได้บรรยายแนวคิดบน Ted talk เช่น Dr. robert woldinger, Sandra Matz และ Michael Norton สรุปคือ มีเงินดีกว่าไม่มีเงิน และเงินสามารถซื้อความสุขและคุณภาพชีวิตที่ดีได้ โดยมีหลักดังนี้ - รู้จักตัวเองเป็น Introvert หรือ Extrovert ชอบมี enjoy คนเดียว หรือชอบออกสังคม เพราะถ้าใช้เงินไม่เหมาะสมกับจริตของเราใช้มากแค่ไหนก็ไม่ทางมีความสุขได้ - ใช้เงินเพื่อสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม เช่นการบริจาคเงิน การช่วยเหลือคนอื่น การเลี้ยงอาหารเพื่อน และอื่นๆ ทำให้เราอิ่มใจ และรู้สึกมีคุณค่า ขณะเดียวกัน ไม่จำเป็นต้องมีเงินเยอะ ก็สุขได้ - ใช้เงิน เพื่อซื้อประสบการณ์ แทนการซื้อของไม่จำเป็น: นักวิจัยระบุการใช้เงินแบบนี้จะทำให้เรามีความพึงพอใจและมี

Investing Lessons From the Top of a Quant Fund

  สัปดาห์นี้ได้อ่านบทความ Investing Lessons From the Top of a $7.3 Billion Quant Fund ซึ่งเป็นบทสัมภาษณ์ของคุณ Igor Tulchinsky CEO และผู้ก่อตั้ง WorldQuant LLC (quantitative hedge fund , $7.3 billion) ออกมาในช่วงโปรโมทหนังสือเล่มใหม่ The UnRules: Man, Machines and the Quest to Master Markets ผมเป็นแฟนหนังสือของคุณ Igor Tulchinsky ตั้งแต่เล่มแรก พอได้อ่านบทความนี้จบคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์เลยอยากสรุปประเด็นสำคัญแชร์เก็บไว้ 1. Take risks and to remain an optimist - คุณ Tulchinsky อพยพหลบหนีจากโซเวียตมาใช้ชีวิตในสหรัฐตั้งแต่อายุ 10 ขวบ เริ่มต้นจาก 0 ใช้ชีวิตในห้องเช่าเล็กๆ ประสบการณ์สอนเขาว่าคงมีไม่กี่สิ่งที่เสี่ยงมากไปกว่านี้แล้ว ทำให้ เขากล้าเสี่ยง มองมุมบวก มุ่งมั่นที่จะเอาชนะอุปสรรค ผ่านช่วงที่เลวร้ายและความไม่แน่นอนไปได้ 2. Simulation อายุ 17 ปีเขาได้เริ่มเป็น video-game programmer สิ่งที่ได้เรียนรู้คือเรื่องของการคิดสร้างสรรอย่างเป็นระบบ การหาคำตอบบนความไม่แน่นอนด้วยการโมเดลปัญหาแล้วสร้าง simulation เพื่อหาผลลัพธ์หรือทางแก้ปัญหาที่เป็นได้มากที่สุด 3. Cutting losses and moving on ช่ว

What I Learned Losing a Million Dollars

  ผมหยิบหนังสือเก่ามาปัดฝุ่นอ่านเล่นอีกรอบ What I Learned Losing a Million Dollars เป็นหนังสือโปรดอีกเล่ม ที่ผมมักแนะนำให้น้องๆเทรดเดอร์ ลองหามาอ่าน สาระในเล่มไม่หนัก ไม่ได้มีอะไรมาก แต่มันน่าสนใจเพราะเป็นหนังสือ ที่แตกต่างจากหนังสือส่วนใหญ่ที่มักพูดแต่เรื่อง เส้นทางความสำเร็จ (สไตล์ How To Be Successful) ซึ่งในด้านการเงิน หรือการลงทุนบางทีมันไม่สรณะ หรือไม่อาจจะทำตามกันแล้วสำเร็จ เป็นจริงทุกประการ เพราะมีปัจจัยเฉพาะหลายอย่างมาประกอบ(หลายอย่างมันเคยใช้ได้ในอดีตแต่ปัจจุบันวิธีการเดียวกันอาจจะใช้ไม่ดีอีกต่อไป) แต่เรื่องความล้มเหลว หรือการขาดทุน นี้สิ ส่วนใหญ่ ไม่ต่างกัน 80% เกิดจากสาเหตุคล้ายกัน เคยล้มเหลวเหมือนกัน จุดนี้เราเรียนรู้ได้นำไปใช้ป้องกันหรือหลีกเลี่ยงได้ เล่มนี้ก็ไฮไลท์ไปที่ปมใหญ่ คือเรื่อง จิตวิทยา เช่น ego หรืออัตตา ที่ทุกคนล้วนมีเสมอ โดยหนังสือเล่มนี้เล่าตัวอย่างผ่านเรื่องราวของ Jim Paul ผู้ขาดทุน $1 million จากการตัดสินใจผิดพลาดจากการเทรดในตลาดเก็งกำไร(ตลาดหุ้นและคอมโมดิตี้ฟิวเจอร์) ทั้งเรื่องการลงทุนแบบขาดแผน เล่นตามอารมณ์ , ซื้อขายตามคำแนะนำของฝูงชน หรือพยายามยึดมั่นกับ

Hot Hand fallacy อคติที่เทรดเดอร์ควรระวัง

  เมื่อวานไปช่วยวิเคราะห์ผลการเทรดให้รุ่นน้องเทรดเดอร์มือใหม่คนหนึ่ง สิ่งที่พบจากการวิเคราะห์ pattern ผลการเทรดด้วยการทำ data analysis คือพบปัญหาจากอคติ แบบ Hot Hand fallacy เทรดเดอร์มักมีความย่ามใจ ว่าเทรดได้ดี ได้กำไรติดกัน ก็อยากจะรีบกอบโกย บางทีเราไม่ได้อ่านสถานการณ์ หรือ วิเคราะห์พฤติกรรมราคาให้ดีพอ เทรดแบบเดิม แต่เพิ่มขนาด position size เพียงคิดว่าจะต้องได้มากกว่า ถ้ามือขึ้น จุดจบคือ กำไรที่ได้มา หายหมดในไม้เดียว ความเสี่ยง(risk) มันคือสิ่งที่เทรดเดอร์ ควรตระหนักก่อนกำไร(profit)เพราะสุดท้ายราคาสินทรัพย์ที่เราเทรด ล้วนมีความเป็น Random walk ได้เสมอ นั้นหมายความว่าอิทธิพลจากการ random ย่อมมีผลต่อ performance ของเรา ดังนั้นโอกาสจะถูกทุกครั้ง ถูกต่อไปต่อเนื่อง นั้นเป็นไปได้ยาก ถ้าคิดได้แบบนี้ เราจะมีสติในการจัดการความเสี่ยง ทำตามระบบ รู้จักหยุด รู้จักรอและรู้จักมีจุดที่พึงพอใจ กับผลกำไรภาพรวมที่ได้ ในระยะยาวมากกว่า การรีบกอบโกยระยะสั้น ฟังเรื่อง Hot Hand fallacy เพิ่มเติมได้จาก คลิปนี้ครับ https://youtu.be/IsPHmG3ycpo

ปีที่ไม่ค่อยดีของ Trend-following hedge funds

บทความนี้ดีงามมาก เขาพูดถึงกลุ่ม hedge funds สาย Trend following ที่ปีนี้ผลงานไม่ค่อยดี ค่าเฉลียผลตอบแทนของฟันด์สายกลยุทธ์ CTA ติดลบ -2.2% ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยกลุ่มอุตสาหกรรมที่อยู่ราวๆ +2% แต่ไม่ใช่ทุกฟันด์จะแย่ไปหมด บางฟันด์ที่ปรับตัวก็รอดได้ อยากให้ลองอ่านถึงแนวทางการปรับตัว ในวันที่ตลาดผันผวนและ Trend ไม่ชัดไม่มีให้ follow ง่ายๆแบบในอดีต ชอบคำพูดของ Leda Braga, the head of Systematica มาก สอนให้เราเข้าใจตลาด เข้าใจการปรับตัว และไม่งมงายกับความเชื่อว่าจะมีเครื่องมือวิเศษที่คาดเดาตลาด หรือคาดเดาอนาคตได้ “We don’t claim to have found the Holy Grail. We have to continually learn and adapt our algorithms to cope better, enrich our models and prepare them for regime changes,” อ่านบทความเต็ม https://www.ft.com/.../5ea09868-ecc0-47d1-aa5c-57d33af543f4