ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Short against port(SAP)

อาทิตย์นี้ประเด็นเรื่องความกังวลเกี่ยวกับวิกฤตการเงินยุโรป เริ่มกลับมากดดันตลาดหุ้นรอบโลกอีกครั้ง คราวนี้ประเด็นหลักไปอยู่สเปน ท่ามกลางความหวาดกลัวว่าสเปน จะเจอปัญหาแบบเดียวกับกรีซ เมื่อตัวเลขบ่งชี้ทางเศรษฐกิจหลายตัว ที่ออกมาค่อนข้างหน้าเป็นห่วง บวกกับประเด็นที่หน่วยงานที่ดูแลตลาดหุ้นของสเปนและอิตาลี ต่างออกมาห้ามการทำธุรกรรม Short Selling ในตลาดหลักทรัพย์ทั้งสองประเทศ บ่งชี้ถึง ผลกระทบของวิกฤตหนี้ที่มีผลต่อตลาดหุ้นในยุโรป



แน่นอนว่าหากเกิดวิกฤติการเงินจริงอาจจะไม่มีผลกระทบโดยตรงต่อธุรกิจในประเทศไทยมากนัก นอกจากกลุ่มที่ส่งออก แต่ประเด็นหนึ่งที่ต้องยอมรับก็คือ ระบบเงินทั่วโลกถึงกัน เมื่อประเทศในยุโรปมีปัญหา กองทุนของประเทศโซน EU และประเทศเจ้าหนี้ ย่อมต้องการดึงเงินลงทุนกลับ เพื่อมารักษาสเถียรภาพทางการเงิน หรือเสริมสภาพคล่องของตนเอง ดังนั้น จึงส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นทั่วโลก โดยเฉพาะในโซนเอเซีย และกลุ่มประเทศ TIPS ที่เงินทุนไหลเข้ามาลงทุนจำนวนมากในรอบสองปีนี้


ประเด็นนี้ก็คงไม่ต่างอะไรกับตอนวิกฤติการเงินซับไพรมสหรัฐ ที่ตอนแรก ทั้งเซียนและนักวิเคราะห์ หลายคนเก็งผิด คิดว่าไม่กระทบต่อประเทศไทย เพราะมีความเกี่ยวเนื่องทางธุรกิจและการเงินน้อย แต่ผลออกมาก็ตรงกันข้าม เงินทุนไหลออก ตลาดหุ้นทำจุดต่ำสุด หุ้นพื้นฐานดี หลายตัวราคาตกเตี้ยต่ำดิน ผมยังจำภาพที่ ผบห. หลายบริษัทออกมาการันตีหุ้นว่าพื้นฐานดี แถมตั้งโต๊ะซื้อหุ้นคืน ด้วยเงินกำไรของบริษัท แต่ราคาก็ยังไหลลงต่อ นั้นคือเหตุที่เกิดจริง ยามที่มีวิกฤติการเงินโลก ยามที่ตลาดหุ้นเต็มไปด้วยความกลัวและวิตกกังวล


แน่นอนว่าถ้า ราคาหุ้นต้องตกลง ตามปัจจัยภายนอก ไม่ได้เกิดจากปัจจัยพื้นฐาน ธุรกิจ ย่อมไม่มีอะไรน่ากังวล แต่สิ่งหนึ่งที่เราสามารถจะหาประโยชน์จากการย่อลงของราคาหุ้น อันเกิดจากภาวะตลาดได้ ก็คือ เทคนิคการทำ "Short against port (SAP)"


Short against port ไม่ใช่การขายหุ้นทิ้ง ไม่ใช่การ Short Selling หรือยืนหุ้นมาขาย และไม่ใช่การ Cutloss แบบที่หลายคนเข้าใจ แต่มันคือการลดความเสี่ยงด้วยการทำกำไร หรือดึงกำไรออก เมื่อราคาหุ้นมีทิศทางการลงที่ชัดเจนและรุนแรง ประเด็นนี้ จะทำให้เราลดความเสี่ยงในการขาดทุนกำไร และเมื่อราคาย่อต่ำถึงจุดสเถียร เราก็สามารถเข้าไปซื้อกลับคืน เพื่อถือทำกำไรต่อในระยะยาว การทำ SAP หัวใจคือการ Focus อยู่กับหุ้นตัวเดิม ที่พื้นฐานดี ไม่เปลี่ยนแปลง มีการเติบโตทางธุรกิจ ได้ในอนาคต 


การขาย เป็นการทำกำไร เพื่อ Protect Profit และลดความเสี่ยงจากความผันผวนของราคา อันเกิดจากปัจจัยภายนอก เช่นภาวะตลาด เป็นต้น การทำ SAP จำเป็นต้องศึกษา ฝึกให้ชำนาญเพราะบางครั้งหลายคนขายแล้ว ไม่นานราคาเด้งขึ้นแต่ไม่กล้าซื้อกลับทำให้เสียหุ้นไป การทำ SAP มอง Down Trend ให้ขาดจริงๆ และ มีวินัยในการขาย และซื้อคืน เพื่อทำให้ไม่เสียหุ้นไป 


แต่ถ้าถามว่าเมื่อคิดลงทุนระยะยาว SAP จำเป็นต้องทำไหม คำตอบคือ แล้วแต่เรา ถ้าเป็นนักลงทุนระยะยาวที่เข้าจับหุ้น ตอนราคาต่ำๆหรือตอนดัชนี สัก 500-600 อาจจะไม่มีความจำเป็นเลย เพราะ%กำไร สูง Upside มาก ความเสี่ยงต่ำ แต่ถ้าเพิ่งจะเข้าหุ้น ตอนราคาวิ่งออกมาแล้ว หรือตอนที่ดัชนี SET สัก 1000 จุดแนะนำว่าศึกษาไว้ก็ไม่เสียหาย ดีกว่าทนถือยาวติดดอยให้เงินจม ไปเปล่าๆ ยาวหุ้นลง


การทำ SAP จำเป็นต้องใช้เครื่องมือทางเทคนิคอล มาช่วยวิเคราะห์จังหวะการซื้อขาย โดยกระบวนการที่ใช้มีหลากหลาย ผมขอยกตัวอย่างเทคนิคเบื้องต้นที่ โดยหลักๆ 


1. จะทำ SAP ต้องมีแบนแผน ชัดเจน ไม่ใช่คิดจะขายหรือจะซื้อ ตามอารมณ์ตลาด
2. ต้องรู้แนวโน้มราคาหุ้น มองให้ออก อย่าไปทำ SAP ช่วง Sideway หรือช่วงราคาลงต่ำมาก กว่าจุดสูงสุดก่อนหน้าเยอะๆ แล้ว
3. คิดจะ SAP ต้องมีวินัย ขายออก แล้วต้องซื้อคืนกลับให้ได้ อย่ากล้าขาย แต่กลัวซื้อคืน 
4. ต้องมั่นใจว่า หุ้นลง ไม่ได้เกิดจากปัจจัยพื้นฐานที่เปลี่ยนแปลงระยะยาว เช่นบริษัทเจ๊งขาดทุน ปลดคนงาน หรืออื่นๆ ถ้าเป็นเหตุระยะสั้น เป็นผลกระทบจากตลาด จากกลุ่มอุตสาหกรรม ที่ไม่รุนแรง เมื่อราคาลง มันย่อมจะเด้งขึ้นได้แน่นอน ทำ SAP ก็จะทำให้ได้กำไร และประสบความสำเร็จ 



ภาพบน ใช้ Raff Regression ในการนิยามทิศทางการเคลื่อนที่ของราคาและแนวโน้ม ร่วมกับเส้น EMA 5 และ EMA15 บนกรอบ TimeFrame แบบ Day โดยเมื่อราคาทะลุแนวของ Raff Regression  บวกกับ ราคาปิดลงต่ำใต้เส้น EMA15 ก็จะทำการ ขายหุ้น


เช่นเดียวกันทำการติดตามหุ้นไปเรื่อยๆ จนเมื่อราคาเบรคแนวบนของ  Raff Regression และ ราคาปิดเหนือ EMA15 ถือเป็นสัญญาณกลับตัว หมดรอบการลง ก็จะทำการ Cover หรือซื้อหุ้นคืน