ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Fibonacci Fan

วันนี้มีเครื่องมือ วิเคราะห์การเคลื่อนที่ของราคา(Price Movement) ที่ชื่อว่า Fibonacci Fan มากแนะนำกัน เป็นอีกเครื่องมือที่เราสามารถใช้ควบคู่ไปกับการอ่านแนวโน้ม หรือใช้กำหนดแนวรับแนวต้านได้อีกด้วย มาลองศึกษาดูกันนะครับ

Fibonacci number นั้นมาจาก นักคณิตศาสตร์ชาวอิตาเลียน ลีโอนาโด ฟีโบนัชชี (Leonardo Fibonacci) ผู้ค้นพบลำดับฟีโบนัชชีในต้นศตวรรษที่ 13 เขาเรียนรู้ระบบเลขฐานสิบ และใช้การคำนวณตัวเลข มาอธิบายการสังเกตรูปทรงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ การศึกษาจากตัวอย่างจำนวนมาก ของเขาพบว่า การเกิดของ ปรากฏการณ์เหล่านี้มีรูปแบบที่เป็นปกติ และค่อนข้างสม่ำเสมอ โดยนำมาคิดเป็นตัวเลขทางคณิตศาสตร์ คือ 0, 1, 1, 2, 3, 5, 8, 13, 21, 34, 55, 89, 144, 233, 377, 610, 987, 1597, 2584, 4181, 6765, 10946, 17711, 28657, 46368, 75025, 121393, 196418, 317811 ซึ่งตัวเลขลำกับเกิดจากการนำ ตัวเลขสองตัวข้างหน้ามาบวกกัน เช่น 1+1 = 2, 1+2 = 3

ความน่าอัศจรรย์ ของลำดับเลข ฟีโบนัชชีคือ ลำดับที่จะมีอัตราส่วนจากการหารตัวเลขหลังด้วยตัวเลขหน้า แล้วได้ผลลัพธ์ที่เข้าใกล้ 1.618 ยิ่งตัวเลขมากขึ้นความใกล้เคียงยิ่งมากขึ้นแบบไม่มีสิ้นสุด เช่น 5/3 หรือ 8/5 หรือ 13/8 เป็นต้น ซึ่งเชื่อกันว่าคนโบราณเรียนรู้และรู้จัก ค่า 1.618 กันมานาน จนเรียกมันว่า PHI (ฟี) หรือที่เรียกว่า อัตราส่วนทองคำ (Golden ratio) ซึ่งหลายสิ่งที่เกิดในธรรมชาติ ล้วนเกี่ยวข้องกับอัตราส่วนนี้ เช่น การจัดเรียงเกสรของดอกทานตะวัน ตาสับปะรด ตาลูกสน เปลือกหอยที่เป็นเกลียวรอบ ต่างก็มีอัตราส่วนของเส้นผ่าศูนย์กลางของแต่ละวงเทียบกับวงถัดไปเท่ากับ PHI ทั้งนั้น บ้างก็เรียกว่าเป็นสัดส่วนการสร้างของพระเจ้า ทำให้เกิดความลงตัวของสัดส่วน และความสวยงามตามธรรมชาติ คนโบราณจึงได้ นำตัวเลขชุดนี้ไปใช้ในการก่อสร้างมหาวิหาร, ปิรามิด หรือแม้แต่อาคาร ต่างๆ เพื่อให้ได้สัดส่วนที่ลงตัว เชิงเรขาคณิต

แล้วมันมาเกี่ยวกับหุ้นได้อย่างไร??? คำตอบนี้ผมอ่านเจอในบทความของ Edward Dobson  เขากล่าวอ้างว่า เป็นเพราะรูปแบบการเคลื่อนที่ของราคา มักมีผลมาจากมนุษย์ ดังนั้นด้วยความลงตัวและสวยงามต้องตาต้องใจ มันจึงทำให้ ราคา ที่เข้าสัดส่วนตามแบบ  ลำดับเลขฟีโบนัชชี มักจะมีนัยยะสำคัญ เช่นอาจจะเป็นราคาที่ลงตัวของการแข่งกันของแรงซื้อและแรงขาย เป็นแนวต้านแนวรับที่สำคัญต่อการเปลี่ยนรูปแบบการเคลื่อนที่และทิศทางของราคา เป็นต้น ดังนั้นจึงมีการนำเอา Fibonacci number มาใช้วัดการเคลื่อนที่ของราคาหุ้น ในหลายรูปแบบ เช่น Fibonacci Fan, Fibonacci Arc, Fibonacci Retracement เป็นต้น 


ข้อสำคัญของการใช้ Fibonacci Tools ต่างๆคือการหาจุดเริ่มต้นอ้างอิงให้ถูกต้อง ที่สำคัญคือต้องคำนึงถึงการจุดเริ่มต้นของรอบการเคลื่อนที่ของราคา ด้วย เพราะ Fibonacci Tools จะโปรเจคบนกราฟราคาและให้ค่าแบบ สัมพันธ์ อ้างอิงจากจุดสังเหตเริ่มต้น ถ้ามีการวางค่าเริ่มต้นที่ผิดเพี้ยน การตีความ ณ ลำดับเลขที่มีความสำคัญก็อาจจะผิดพลาดได้ 

Fibonacci Fan เป็นเครื่องมือที่ผมจะนำมาแนะนำวันนี้ โดยสามารถใช้หาแนวรับในลักษณะทิศทางเฉียง ตามแนวโน้มของราคาหุ้น ได้ดี เพื่อเป็นแนวเส้นสังเกตการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้น หลักการใช้งานคือ กำหนดจุดเริ่มต้นอ้างอิง และลากเส้นแนวไปยังจุดสูงสุดหรือต่ำสุด ที่ต้องการจะโปรเจคไลน์ เพื่อใช้เป็นแนวสังเกต ดังภาพ 


จากภาพ ลากเส้นจาก A ไป B เครื่องมือ Fibonacci Fan จะทำการสร้างเส้นแนวอ้างอิง ที่แบ่งโซนจาก A ไป B ตามแนวตั้ง ตามสัดส่วนของ Fibonacci โดย BC = 38.2%, BD=50%, BE=61.8% และ BF=100%  สำหรับแนวโน้มขาลงก็ทำเช่นเดียวกัน เพียงแต่ลากจุด AB จากจุดต่ำสุดไปสูงสุดแทน 


หลักการตีความหมายคือ ถ้าแนวโน้มราคาหุ้นย่อตัวลงมากระทบแนวเส้น Fibonacci Fan ที่ระดับต่างๆ ก็มักจะมีนัยยะการเปลี่ยนแปลง โดยถ้าราคาลงมากระทบแล้วคลอเคลีย ไม่หลุดแนวรับบนเส้นนั้นๆ โอกาสจะเด้งกลับขึ้นไป ก็มีมาก แต่ถ้าลงมากระทบและทะลุหลุดเส้น โอกาสย่อตัวลงหรือกลับทิศก็จะมีสูง โดยเฉพาะเส้น 61.8%




ในขณะเดียวกันถ้าย่อตัวและสามารถทะลุ Break out เส้น Fibonacci line ด้านบนได้โอกาสที่แนวโน้มจะดำเนินต่อไปแบบสเถียรก็จะมีสูง 


ภาพนี้แสดง การหลุดแนวรับสำคัญทั้ง  38.2 และ 50 ลงมาด้่วย Volume ที่มาก แน่นอนว่าถ้าหลุด 61.8 โอกาสที่จะเปลี่ยนแนวโน้มจากขึ้นเป็นลงหรือออกข้าง ก็จะมีสูง เช่น