ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Parabolic SAR

Parabolic SAR (Stop And Reversal)เป็นเครื่องมือดัชนีราคา อีกหนึ่งตัวที่นิยมนำมาใช้ในการกำหนดสัญญาณซื้อขาย โดยเฉพาะการใช้เป็นสัญญาณการออก การปิดออร์เดอร์(trilling stop) หรือบ่งบอกการกลับตัว การย่อตัวของแนวโน้มราคา เป็นดัชนีราคาที่วิเคราะห์การเคลื่อนที่ของราคา ในช่วงแนวโน้มต่างๆ


Parabolic SAR Indicator ถูกพัฒนาโดย Welles Wilder เขาเรียกระบบที่เขาพัฒนาขึ้นว่า "Parabolic Time/Price System" ซึ่งเผยแพร่แนวคิดนี้ตอนปี 1978 ในบทความ New Concepts in Technical Trading Systems หลักการพิจารณาการเคลื่อนที่ของราคา ตามแนวโน้มต่างๆ พิจารณาการเพิ่มหรือลดของราคาเทียบกับจุดอ้างอิงก่อนหน้า โดยคำนวณสมการของ SAR ได้ดังนี้


PSARn+1 = PSARn + (AF*(EP - PSARn))

-EP = ราคาจุดสูงสุดหรือต่ำสุด ก่อนหน้าบนแนวโน้ม
-Acceleration Factor (AF) =ค่าปกติคือ 0.02 (2%) หมายถึง Step increasing ครั้งละ 0.02 (2%)โดยเพิ่มจดถึงค่าสูงสุด maximum = 0.20 (20%)
-PSARn+1 = ค่า PSAR  ล่้าสุด
-PSARn = ค่า PSAR  ก่อนหน้า

อัตราความเร่งของ Price Movement จะถึงนำมาใช้ในการคำนวณ การเคลื่อนที่ของราคาบนแนวโน้มทั้งขาขึ้นและขาลง โดย PSAR จะแสดงผลบนกราฟในรูปแบบจุด โดยกรณีแนวโน้มขาขึ้นหรือการยกตัวต่อเนื่องของราคา PSAR จะแสดงจุด ใต้แท่งเทียน กรณีแนวโน้มขาลงหรือการยุบตัวต่อเนื่องของราคา PSAR จะแสดงจุดเหนือแท่งเทียน 

ระยะห่างของ จุด PSAR สามารถบ่งบอกความเร่งของการเคลื่อนที่ของราคา ได้ยิ่งระยะห่างระหว่างจุดมาแสดง การแกว่งตัวที่รุนแรง ขนาดความกว้างของแท่งเทียนมาก การเคลื่อนที่ของราคาเร็ว ในขณะเดียวกัน ถ้าความห่างของจุดน้อย แปลว่า เกิดการชะลอการเคลื่อนที่ของราคา low volatility 



การใช้งาน PSAR
สามารถใช้ PSAR บ่งบอก Reversal ของแนวโน้ม หรือใช้เป็นจุด Stop Out โดยพิจารณาจาก จุดแรก ของการเกิด PSAR ในทิศทางตรงข้าม เช่น กรณีแนวโน้มขาลง PSAR จะแสดงชุดของจุดต่อเนื่องเหนือแท่งเทียน กรณีที่ความถี่ของจุดเริ่มสูง ความชันของจุดแต่ละจุดทีเรียงเริ่มลดลง และเกิด จุด PSAR ใหม่ ใต้แท่งเทียน นั้นหมายถึงสัญญาณการกลับทิศ

กรณีการยืนยัน อาจจะใช้ PSAR จำนวน 3 จุด(ไม่ควรใช้จุดแรกจุดเดียว เพราะมีโอกาสผิดพลาดได้)เพื่อยืนยัน สัญญาณ หรืออาจจะใช้ ราคาสูงสุด ต่ำสุด ของแท่งเทียนแรกที่เกิดจุด PSAR มาเป็นแนวยืนยันการ ออก หรือการเข้า ก็เป็นได้ 



การปรับแต่งค่าพารามิเตอร์

จากสมการตัวแปร สำคัญของ PSAR นั้นคือค่า Acceleration Factor (AF) โดยค่าปกติที่ผู้พัฒนาแนะนำให้ใช้คือ 0.02 (2%) โดยเราสามารถตั้งค่า AF นี้เพื่อให้เครื่องมือ PSAR เพื่อเพิ่มความอ่อนไหวต่อการตอบสนองต่อการเคลื่อนที่ของราคาได้ เช่นการเพิ่มเป็น 0.03(3%) หรือ 0.05(5%) เป็นต้น โดยการเพิ่มค่า AF นี้นั้นยิ่งค่ามาก การเกิดสัญญาณ Reversal ก็จะเร็วตามการย่อตัวของราคา ดูตัวอย่างดังภาพข้างล่าง


ภาพกรณีให้ STEP เป็น 0.01(1%)

กรณีที่ให้ STEP เป็น 0.02(2%) PSAR จะ sensitive มากกว่าภาพข้างบนที่เป็น 0.01

นอกจากการตั้งต่า Step ของ AF แล้ว บาง trading model ยังนิยมปรับค่า   Maximum AF เพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของแนวโน้ม หรือรอบคลื่น โดยค่าปกติที่ใช้ ค่า Maximum AF จะเท่ากับ 0.20 หรือ 20% กรณีที่เป็นคลื่นยาว เราต้องการลดการตอบสนอง ปรับค่านี้เป็น 0.1 หรือ 10% การเกิด reversal ก็จะลดน้อยลงตามไป

ทั้งนี้การปรับแต่ค่าพารามิเตอร์ของ PSAR ผู้ใช้จำเป็นต้องมีความเข้าใจและ ต้องทำการทดสอบย้อนกลับ ทุกครั้งหลังการปรับแต่ง เพื่อให้ได้ค่าที่เหมาะสมกับระบบเทรด และพฤติกรรมของราคาสินค้าที่เราเทรดด้วยทุกครั้ง ถ้าไม่มีความเข้าใจหรือไม่ได้ทำการทดสอบ ผมแนะนำให้ใช้ค่าปกติของโปรแกรมครับ

ข้อจำกัดของ PSAR
PSAR เป็นเครื่องมือที่เน้นการเคลื่อนที่ของราคา ยิ่งถ้าราคามีแนวโน้มการเคลื่อนที่ขึ้นหรือลง ชัดเจนจะทำให้เครื่องมือสามารถประมวลผลและให้สัญญาณที่ชัดเจนแม่นยำได้มากขึ้น แต่ถ้าการเคลื่อนที่ของราคา เกิดการแกว่งในกรอบแคบ ไม่มีทิศทางที่ชัดเจน หรือเกิด sideway เครื่องมือ PSAR อาจจะให้สัญญาณที่มาก หรือเกิดสัญญาณหลอก ได้ ดังนั้น เทรดเดอร์ควรหลีกเลี่ยง การใช้ PSAR ในกรณีที่เกิด sideway

โดยเราสามารถนำเครื่องมือดัชนีราคาอื่นๆมาเป็น setup เพื่อกรอง sideway เช่น ADX เป็นต้น




PSAR เองเพื่อให้เกิดความมั่นคงในการให้สัญญาณ เทรดเดอร์สายเทคนิคอล ยังมีการนำเอา ดัชนีราคาประเภทอื่นๆมาใช้ร่วมกับ PSAR โดยเฉพาะที่นิยมอย่างหนึ่งคือการนำ รูปแบบแท่งเทียนญี่ปุ่น มาใช้งานร่วมกับ PSAR เพื่อหาจุดกลับตัว Reversal ในแนวโน้มหุ้น เมื่อสัญญาณจากแท่งเทียนและ PSAR มีความสอดคล้องกันโอกาส ที่จะได้สัญญาณเข้าออก ที่ถูกต้องก็จะมีสูงขึ้นครับ