ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Volume Weighted Average Price

กลับมาเร่งงานวิจัยตัวเองต่อ ปีนี้ตั้งใจจะทำระบบใหม่และมีโปรเจคร่วมกับเพื่อนเทรดเดอร์ชาวอเมริกา
เรื่องการทำระบบร่วมกัน ดังนั้น ต้องมานั่งลับสมอง เติมความรู้

เลยจับเอาหัวข้อ VWAP มาเล่นอีกรอบเพราะเป็นตัวค้างไว้เมื่อปีก่อน
สืบจาก papper นี้ที่ไปอ่านเจอ ทำให้อยากลองเอามาทำ algorithm
แต่ก่อนจะไปถึงตรงนั้น ต้องมาแกะโมเดลนี้ให้สำเร็จก่อน 



วันนี้จะเขียนบทความรีวิวเบื้องต้นให้อ่านเกี่ยวกับ VWAP ถือว่าเป็นการทบทวนไปในตัว

---------------------------------------

VWAP เป็นโมเดลที่ไม่ซับซ้อนอะไร มีใช้มานานพอควร
และยังเป็นเครื่องมือเทคนิคอลที่นิยมใช้ (ตัวนี้ก็คือโมเดลเดียวกับ VWAP execution)

โดยเฉพาะกลุ่ม day trader ที่ใช้เทคนิคนี้ในการ process ข้อมูลระดับ tick ใน intraday
เพื่อหาระดับราคาที่เหมาะสม หรือใช้เป็นกลยุทธ์การเทรด

แต่จริงๆ สามารถประยุกต์เจ้า VWAP กับข้อมูลที่หยาบ ระดับชั่วโมง หรือวันก็ได้เช่นกัน 

ซึ่งมีนักพัฒนานิยม เอา VWAP มาทำเป็นตัววัดความแข็งแกร่งของแนวโน้ม หาคุณภาพของแนวโน้ม หรือ Trend Stength

แนวคิดการทำงานของโมเดลนี้ไม่ยาก คือ กำหนด กรอบคาบเวลา มาก่อน ว่าจะ process ในช่วงใด หรือคิดระยะ preriod เท่าไหร่ 
หรือถ้าเป็นแบบพวก day trader ขั้นสูงใช้เขาจะระบุ เวลา จริงลงไป

เช่นประมาณ 1 ชม หลังตลาดเปิด หรือใช้ 20-30 ticks เป็นต้น
หรือใช้ 390 (6.5*60) บน นาทีแบบตลาดอเมริกา เพื่อเป็นตัวแทนวัน
โมเดลเรื่องการกำหนดเวลา ก็เป็น รายละเอียดเชิงกลยุทธ์ของแต่ละคนอีกเช่นกัน

สมการ

การคำนวณราคาโดยใช้ Typical Price  ((High + Low + Close)/3) เป็นตัวแทนของราคา สมการ 


VWAP = Cumulative(Typical Price x Volume) / Cumulative(Volume)




เราจะเห็นว่าใช้การเทีบบค่าแบบถ่วงน้ำหนัก จาก volume สะสมที่เกิด จริง

หน้าตาของผลลัพธ์ก็จะคล้ายกับ MA แต่จะออกแนว non linear weigth ที่แปรผันตาม volume การซื้อขายจริงที่เกิด 
หรือบางกรณีเราต้องการคิดคำนวณแบบข้ามวัน ก็สามารถ apply เอาค่า MA ใส่ไปใน VWAP ได้เรียกว่า MVWAP

ส่วนใหญ่ตัวนี้ในโปรแกรม หรือโปรแกรมของโบรกเกอร์ มักจะเตรียม VWAP ไว้ให้เทรดเดอร์ระยะสั้นใช้ เช่น IB,tradingview, Trading station หรือเจ้าต่างๆก็จะมีเกือบหมด แต่ความหยาบละเอียดแตกต่างกันไป  

การใช้งาน

การใช้งานนี่ไม่ยาก เลย มันนิยมใช้วางกรอบ ราคา หรือใช้ทำเป็นแนวรับแนวต้าน หรือแนวประเมินระดับราคาปกติก็ได้

กลยุทธ์ใช้ได้หลากหลาย ทั้งเทรดแบบ zone , เทรด MR , เทรด swing หรือเทรดแบบโมเมตรัมเทรด 

หลักๆส่วนใหญ่ก็จะเป็นการดู เป็น BM ของระดับราคาปัจจุบัน เทียบกับ VWAP ว่า Over หรือ Under ไปเท่าไหร่ กี่ %
โดยอาจจะใช้ดูเทียบกับ volatility ด้วยก็ได้เพื่อเทียบหาความไม่ปกติ ในจุดต่างๆเทียบเวลา  แต่ไม่ได้ใช้เป้นสัญญาณซื้อขาย โดยตรงแบบ Moving average ทั่วไป

บางกรณี volume เกิดกระชาก ระดับราคาเปลี่ยน แรงเหวี่ยง ออกจาก VWAP จะมีระยะ % กว้างมาก 
หรือถ้า่กรณีที่ volatility สูง แต่ %ระยะห่างจาก VWAP ต่ำๆ
แบบนี้ก็ใช้เป็นข้อมูลสังเกตถึง สภาพคล่องและความไม่ปกติได้เช่นกัน 


จากภาพ ตัวอย่าง Positive momentum แบบ strong



จากภาพ ตัวอย่าง Negative momentum แบบ strong

-----------------------
งานวิจัยระบบ ผมก็นำเอาแนวคิดพื้นฐานของ WVAP มาใช้ แต่นำมันมาประมวลผลต่อด้วยหลักของสถิติ
คือเอาโมเดล zscore มาใช้เพื่อสร้างระดับและกรอบเชิงเลขเพื่อเป็นตัววางแนวและโซนการเทรด และใช้เป็นตัวกรองพฤติกรรมราคา ของระบบ 



ตัวอย่างการจำแนกภาวะไม่ปกติของพฤติกรรมราคา กรอบรัน 5% และ 10% 



ตัวอย่างภาวะที่ ราคาวิ่งออกห่างจาก VWAP มากๆพร้อมกับการเพิ่มของ volatility ระดับที่สูง เอามาแชร์เป็นไอเดีย น้องๆที่สนใจ ก็ลองไปหัดอ่านหัดใช้เพิ่มเติมได้ 

Mr chaipat